สาเหตุปัสสาวะเล็ดในผู้สูงอายุ

สาเหตุปัสสาวะเล็ดในผู้สูงอายุ

ปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง…เกิดได้จากอะไรกันแน่ แต่ก่อนเราอาจเข้าใจว่าปัสสาวะเล็ดเป็นโรคสำหรับผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงจำนวนมากทั้งที่อายุไม่มาก แต่ก็มีอาการปัสสาวะเล็ดจากการไอ จาม หัวเราะ หรือแม้แต่การออกกำลังกายได้เหมือนกันเรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่า

ปัสสาวะเล็ด…คืออะไร?

“ปัสสาวะเล็ด” หรือเรียกโรคนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “อาการช้ำรั่ว” (Urinary Incontinence) เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดที่เกิดได้กับทุกเพศ เริ่มจากวัยทำงานไปจนถึงเริ่มเข้าวัยทอง สาเหตุจากความผิดปกติของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และความอ่อนแอของอุ้งเชิงกราน ซึ่งอย่างหลังมักเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และในบางกรณีก็เกิดจากนิ่วหรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะได้ ทั้งนี้จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงจะดีที่สุด

ปัสสาวะเล็ด…เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 30 ปี!!!

พฤติกรรมง่ายๆ ที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด ได้แก่ ไอ จาม หัวเราะ ซึ่งทำให้เกิดความดันในช่องท้องจนเกิดปัสสาวะเล็ดออกมาได้ แต่ระดับความรุนแรงอาจแตกต่างกัน หากไม่รุนแรงมากอาจจะใช้เวลาไม่นานก็สามารถรักษาให้หายได้ ระหว่างนั้นอาจจะใช้แผ่นซับปัสสาวะไปพลางๆ ก่อน แต่บางกรณีอาจจะต้องพบแพทย์เพื่อปรึกษาหารือวิธีรักษากันต่อไป

วิธีรักษา…เมื่อปัสสาวะเล็ด

มีตั้งแต่วิธีง่ายๆ ที่สามารถทำด้วยตัวเองได้ จนต้องพบแพทย์หากเป็นขั้นรุนแรง

- หัดปัสสาวะให้เป็นนิสัย หัดควบคุมการถ่ายปัสสาวะไม่ให้บ่อยเกินไป ซึ่งปกติคือปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 4-8 ครั้ง หากมากกว่านี้ถือว่ามากเกินไป

- บริหารอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง ด้วยการขมิบกล้ามเนื้อบริเวณนี้ (รอบช่องคลอด) อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ เช่น ขมิบค้างไว้ 5 วินาที และค่อยๆ ขยับเป็น 15 วินาที ในรายที่เป็นไม่รุนแรงน่าจะสามารถช่วยให้จำนวนครั้งในการเล็ดค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ

- ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะหากดื่มน้ำน้อยเกินไป อาจทำให้ปัสสาวะเข้มข้นและทำให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะปัสสาวะได้ และควรงดเว้นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำอัดลม เพราะจะยิ่งระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นได้

- ลดน้ำหนัก เพราะในบางรายที่มีน้ำหนกตัวมากเกินไป ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้

- รักษาด้วยการทานยา หรือหากรุนแรงแพทย์อาจพิจารณาให้รับการผ่าตัด ซึ่งส่วนมากจะผ่าตัดที่บริเวณท่อปัสสาวะ

สอบถามรายละเอียด

ศูนย์สุขภาพสตรี อาคาร 1 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร.02-514-4141 ต่อ 1203-1204

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมสมรรถภาพไปตามธรรมชาติ ทำให้เกิดสภาวะผิดปกติต่าง ๆ ตามมา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงของกระเพาะปัสสาวะ เราจึงอยากพาทุกคนมาทำความเข้าใจและรู้จักวิธีการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะลำบาก

แค่ไหนถึงเรียกว่าภาวะกลั้นปัสสาวะลำบาก?

                โดยปกติแล้วคนจะเริ่มรู้สึกหน่วง ๆ อยากเข้าห้องน้ำเมื่อมีน้ำอยู่ในกระเพาะปัสสาวะประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ไม่ถึงขั้นปวดและบีบตัวจนอยากเข้าห้องน้ำทันที จะยังสามารถทนได้เมื่อไม่มีจังหวะได้เข้าห้องน้ำ แต่คนที่มีสภาวะกระเพาะปัสสาวะผิดปกติจะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยเกือบทุกชั่วโมง แม้แต่ตอนกลางคืนก็ไม่สามารถหลับได้เต็มอิ่มเพราะต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำทั้งคืน เพราะกระเพาะปัสสาวะจะบีบตัวแม้จะมีน้ำยังไม่เต็มกระเพาะก็ตาม แต่ปริมาณที่ขับถ่ายออกมาจะน้อยสวนทางกับอาการปวด ซึ่งคนที่มีอาการนี้จะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที เพราะอาจจะกลั้นไม่อยู่จนปล่อยราดออกมาได้

                ในกลุ่มของผู้สูงอายุ อาการนี้จะมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของร่างกายที่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานลดลง รวมถึงปัจจัยทางเพศ เช่น ผู้ชายสูงอายุอาจมีภาวะต่อมลูกหมากโต ทำให้ปัสสาวะมากขึ้น และผู้หญิงจะปวดปัสสาวะบ่อยในช่วงวัยทอง เพราะร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง นอกจากนี้ยังเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาและโรคบางชนิด ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น ซึ่งถ้าหากผู้สูงอายุมีปัญหาปัสสาวะเล็ดบ่อยครั้ง หรือต้องลุกมาเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืนบ่อย ๆ จนไม่ได้นอน แปลว่าอาจมีภาวะกลั้นปัสสาวะลำบาก จึงควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำวินิจฉัยและคำแนะนำในการรักษาเพิ่มเติม

ประเภทของอาการกลั้นปัสสาวะลำบาก

อาการปัสสาวะเล็ดในผู้สูงอายุมีหลายลักษณะและสามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 อาการดังนี้

1.        Functional Incontinence (ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ที่เกิดจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง) เป็นการปวดปัสสาวะที่ผู้สูงอายุไม่สามารถกลั้นเอาไว้ได้ เนื่องจากสภาพร่างกายหรือปัจจัยภายนอก ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถไปเข้าห้องน้ำได้ทัน เช่น ผู้สูงอายุมีอาการข้ออักเสบ ทำให้ไม่สามารถถอดกางเกงได้ทันเวลา หรือ ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ทำให้เดินไปเข้าห้องน้ำไม่ทัน การปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืน เป็นต้น

2.        Stress Incontinence (ปัสสาวะเล็ด) กรณีนี้จะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เมื่อไอ จาม หัวเราะ รวมถึงเมื่อทำกิจกรรมที่ต้องออกแรง โดยอาการนี้มักจะเกิดจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและหูรูดลดลง แม้จะมีปริมาณน้ำอยู่ในกระเพราะปัสสาวะน้อย แต่เมื่อเกิดแรงกดในช่องท้องเล็กน้อยก็อาจทำให้ปัสสาวะเล็ดออกมาได้

3.        Urge Incontinence (ปัสสาวะราด) เป็นอาการปัสสาวะราดโดยไม่รู้ตัว เพราะความรู้สึกปวดปัสสาวะเกิดขึ้นกระทันหันและรุนแรง ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรือไปเข้าห้องน้ำไม่ทัน การปวดปัสสาวะแบบนี้มักพบในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน รวมถึงผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตเรื้อรัง ที่เกิดจากการที่มีน้ำตกค้างในกระเพาะปัสสาวะเป็นจำนวนมากจนล้นออกมาเอง

4.        Overflow Incontinence (ปัสสววะเล็ดราด) เป็นอาการปัสสาวะเล็ดออกมาเล็กน้อยหลังปัสสาวะเสร็จแล้วเพราะปัสสาวะไม่สุด โดยอาจจะเป็นผลมาจากท่อปัสสาวะตีบหรือเส้นประสาทที่ควบคุมการปัสสาวะผิดปกติ รวมถึงการที่กระเพาะปัสสาวะเต็มอยู่ตลอดด้วยสาเหตุบางอย่าง พบมากในผู้หญิงที่ถุงน้ำบริเวณท่อปัสสาวะมีปัญหา และผู้ชายที่มีต่อมลูกหมากโต

วิธีการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะลำบาก

1.        งดสุรา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ

2.        ลดการดื่มน้ำประมาณ 2-4 ชั่วโมงก่อนเข้านอนเพื่อลดการปวดเข้าห้องน้ำตอนกลางคืน

3.        บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ด้วยการฝึกขมิบ เพื่อให้มีแรงกลั้นปัสสาวะและสามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้ดีมากขึ้น

4.        ทำความสะอาดอวัยวะขับถ่ายให้สะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

5.        หมั่นสังเกตอาการและจดบันทึกปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวันเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม

6.        ปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการและรักษาให้ตรงจุด

อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่คนในครอบครัวควรให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโดยตรง การเข้าใจและรู้จักวิธีการดูแลผู้ที่มีอาการเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้ใหญ่ในครอบครัวใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

สำหรับลูกค้ากรุงไทย-แอกซ่าประกันชีวิตสามารถเข้ารับการตรวจเช็คอาการเบื้องต้นได้ที่ Symptom Checker ผ่านแอปพลิเคชัน Emma by AXA ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.krungthai-axa.co.th/th/emma-by-axa

เพราะเหตุใดผู้สูงอายุจึงกลั้นปัสสาวะไม่ได้

สาเหตุมักเกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยครั้งเกินไปโดยควบคุมไม่ได้ ส่วนใหญ่เกิดจาก ปัญหาของการเชื่อมโยงระบบประสาทสั่งการจากสมองและไขสันหลังมายังระบบปัสสาวะ เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก พาร์กินสัน ภาวะสมองเสื่อม การได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง

การกลั้นปัสสาวะบ่อยๆในผู้สูงอายุชายจะมีผลอย่างไร

การมีปัสสาวะเล็ดราดบ่อยครั้ง ทำให้ผิวหนังเปียกชื้น เกิดการระคายเคือง เกิดผื่นหรือผิวหนังเปื่อย ผิวหนังฉีกขาด เสี่ยงต่อการติดเชื้อของผิวหนัง การที่ผู้สูงอายุกังวลเกี่ยวกับการปัสสาวะบ่อย ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ต้องรีบลุกไปขับถ่าย โดยเฉพาะในเวลากลางคืน มีผลรบกวนต่อการนอนหลับ และการเดินไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ยังทำให้ผู้สูงอายุ ...

ฉี่เล็ดบ่อย เกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดโรคปัสสาวะเล็ดเวลาออกแรงมาจากการมีแรงดันสะสมในช่องท้องติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อในผนังช่องคลอดเกิดการหย่อน กระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะมีการเปลี่ยนมุม เมื่อออกแรงยกของหนักหรือเล่นกีฬาซึ่งเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ปัสสาวะจึงเล็ดออกมา ส่วนการที่ผนังช่องคลอดหย่อนสามารถเกิดได้จากหลาย ...

ภาวะกลั้นปัสสาวะผิดปกติพบมากในช่วงวัยใด

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เป็นภาวะที่พบ ได้บ่อยในผู้สูงอายุ ความชุกในผู้สูงอายุที่อยู่ใน ชุมชนทั่วไปประมาณร้อยละ 14-25 พบมากใน เพศหญิงมากกว่าเพศชาย กล่าวอย่างคร่าวๆได้ ว่าพบในเพศหญิงสูงอายุประมาณ 1 ใน 3 และ ในเพศชายสูงอายุประมาณ 1 ใน 4 อย่างไรก็ตาม ความชุกของภาวะดังกล่าวในผู้สูงอายุที่อาศัยใน สถานพยาบาลระยะยาว (nursing ...