การดูแล หญิง ตั้ง ครรภ์ ไตรมาสที่ 2

การดูแล หญิง ตั้ง ครรภ์ ไตรมาสที่ 2

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ

ด้านร่างกาย

  • ตกขาว ,กล้ามเนื้อเป็นตะคริว,แสบร้อนกลางอก ,ขาและเท้าบวมเวลานั่งห้อยขานานๆ เต้านม: เต้านมจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น
  • มดลูก :ขนาดมดลูกสูงในระดับสะดือเมื่ออายุครรภ์  20 สัปดาห์
  • การขับถ่าย : การขับถ่ายอุจจาระยากขึ้น อาจทำให้ท้องผูกได้

   ด้านจิตใจ

อารมณ์ของคุณแม่เริ่มคงที่มากขึ้น ปรับตัวได้ดีขึ้น

พัฒนาการของลูกในครรภ์

การดูแล หญิง ตั้ง ครรภ์ ไตรมาสที่ 2

อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ : ลำตัวยาวประมาณ 12 เซนติเมตร  หนักประมาณ 125 กรัม ผิวหนังบางและใส  เริ่มมีเส้นผมบางๆเล็กๆ สามารถแยกเพศได้อย่างชัดเจน

อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ : ลูกเริ่มมีการเตะ ถีบ  ลำตัวยาวประมาณ 16 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 300 กรัม เป็นช่วงที่เหมาะกับการอัลตราซาวน์ เพื่อประเมินความผิดปกติของทารก

อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ : แยกแยะเสียงที่ได้ยินได้แล้ว ลืมตาได้ เป็นช่วงที่สร้างความสัมพันธ์กับลูก เช่น เปิดเพลงพูดคุย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ

อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ : ลำตัวมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร น้ำหนักทารกประมาณ 1 กิโลกรัม สมองทารกพัฒนามากขึ้น มีการสะสมไขมันในร่างกายตลอดทั้งสัปดาห์ น้องจะเริ่มโตไว น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น 100 – 300 กรัม/สัปดาห์

อาการแทรกซ้อนที่ควรมาพบแพทย์

  • เลือดออกทางช่องคลอด
  • การเจ็บครรภ์
  • ช่องคลอดอักเสบ ตกขาวมากขึ้น จับเป็นก้อนและมีอาการคัน สีตกขาวเป็นสีเหลืองหรือเขียว
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โดยมีอาการปัสสาวะแสบขัด  สีขุ่น  หากไม่ได้รับการรักษา อาจเป็นสาเหตุการกระตุ้นให้เจ็บครรภ์ก่อนกำหนดหรือลุกลามจนเกิดภาวะกรวยไตอักเสบได้ ทารกดิ้นน้อยหรือไม่ดิ้น
  • ท้องลดขนาดลงหรือน้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ

สารอาหารที่คุณแม่ควรจะต้องได้รับเพิ่มในไตรมาสนี้ ได้แก่ ควรทานอาหารเพิ่มจากก่อนตั้งครรภ์ 300 kcal/day

1.โปรตีน การสร้างเสริม และการเจริญเติบโตของเซลล์ เนื้อเยื่อ เช่น เนื้อปลา, อกไก่, ไข่, ถั่ว, เต้าหู้, นม และผลิตภัณฑ์จากนม

  1. คาร์โบโฮเดรต เช่น ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง แป้ง เผือก มัน
  2. ธาตุเหล็ก ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันภาวะโลหิตจาง หากคุณแม่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ส่งผลต่อพัฒนาการสมองของทารก อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น ตับ, ไข่แดง, เนื้อแดง, อาหารทะเล, เนื้อปลา, ถั่วชนิดต่างๆ, ผักใบเขียวเข้ม, เมล็ดธัญพืชต่างๆ
  3. วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น ส้ม มะนาว กีวี ฝรั่ง และผักใบเขียวเข้ม
  4. ไอโอดีน เพื่อป้องกันโรคคอพอก และสติปัญญาบกพร่องจากการขาดสารไอโอดีนในทารก เช่น ไอโอดีนใน อาหารทะเล เกลือทะเล
  5. แคลเซียม ช่วยสร้างกระดูกให้ทารกในครรภ์  เช่น  นม ปลา งา ผักใบเขียว โดยเฉพาะปลาเล็กปลาน้อยและอาหารทะเลต่างๆ
  6. น้ำ ควรดื่มน้ำประมาณวันละ  6-8 แก้ว และช่วยให้ระบบขับถ่ายของคุณแม่ดีขึ้น

การปฎิบัติตัว

  • การออกกำลังกาย สามารถออกกําลังกายง่ายๆ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ โยคะสำหรับหญิงตั้งครรภ์                   เป็นต้น
  • เพศสัมพันธ์ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถปฎิบัติได้ตามปกติ   แต่ควรระวังเรื่องท่าในการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ควรใช้ท่าที่มีน้ำหนักกดทับมดลูกและไม่ควรรุนแรง
  • การพักผ่อน อย่างน้อยวันละ 8 –10 ชั่วโมง โดยนอนในท่าที่รู้สึกสบาย  ไม่อึดอัด
  • การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ควรระวังการการกระทบกระเทือนบริเวณท้อง เนื่องจากอาจส่งผลต่อมดลูกและทารกโดยตรง

การดูแล หญิง ตั้ง ครรภ์ ไตรมาสที่ 2

การฝากครรภ์

ทุกครั้งที่แพทย์นัด คุณแม่จะได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และตรวจปัสสาวะ เพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานและโปรตีนในปัสสาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคุณแม่บางรายอาจเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์สามารถตรวจพบได้จากความดันโลหิตที่สูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท และอาจมีโปรตีนปะปนในปัสสาวะด้วย แพทย์จะทำการตรวจวัดระดับยอดมดลูกว่าสัมพันธ์กับอายุครรภ์หรือไม่ และฟังเสียงหัวใจทารก

  • ช่วงอายุครรภ์ 18-21 สัปดาห์ เป็นช่วงที่สำคัญที่แพทย์จะทำอัลตราซาวนด์เพื่อตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์
  • ช่วงอายุ 24-28 สัปดาห์ หากแพทย์พบว่าคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการตรวจคัดกรองเบาหวาน โดยให้คุณแม่ดื่มน้ำเชื่อมเข้มข้นและตรวจเลือดว่าระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ในคุณแม่บางท่าน แพทย์อาจพิจารณาตรวจเลือดอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ระดับความเข้มข้นของเลือด เพื่อติดตามสุขภาพแม่อีกครั้งก่อนเตรียมตัวคลอด