การบันทึกบัญชี leasing รถยนต์

บัญชี สัญญาซื้อรถยนต์ แบบ Leasing ?

                กิจการได้เช่าซื้อรถยนต์จำนวน 1 คัน โดยบันทึกบัญชีตามราคาทุนของทรัพย์สิน โดยแยกดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเข้าบัญชีดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดจ่าย แต่ทางสรรพากรให้กิจการทำการปรับปรุงราคาของทรัพย์สินใหม่ เป็นราคาทุนบวกดอกเบี้ยเช่าซื้อ แล้วจึงค่อยนำมาคิดค่าเสื่อมราคา ดังนั้นทางบัญชีควรต้องปรับปรุงบัญชีตามสรรพากรหรือไม่ ในการทำสัญญาซื้อรถยนต์ แบบ Leasing จะบันทึกบัญชีอย่างไรถือเป็นค่าเช่าได้ทั้งหมดได้หรือไม่ หากไม่ได้ต้องบันทึก เป็นทรัพย์สินทั้งจำนวน แล้วจึงค่อยมาตัดค่าเสื่อมราคาใช่หรือไม่ อยากทราบว่าวิธีไหนถูกต้องที่สุดจะ ได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง สัญญาซื้อรถยนต์แบบ Leasing ส่วนใหญ่จะเป็น สัญญาเช่าทางการเงิน เนื่องจากมี การโอนกรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์ไปให้ผู้เช่า ณ วันสิ้นสุดสัญญา ดังนั้น กิจการต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์ทั้งจำนวนก่อน แล้วจึงทยอยปันส่วนเป็นค่าใช้จ่าย (ค่าเสื่อมราคา) ตามอายุการใช้งานของสินทรัพย์นั้นๆตัวอย่างการบันทึกบัญชีกรณีที่เป็นสัญญาเช่าทางการเงินทางด้านผู้เช่า

1.วันทำสัญญาและรับมอบสันทรัพย์ ให้บันทึกบัญชีสินทรัพย์ตามสัญญาเช่าระยะยาวและบันทึกหนี้สินในบัญชีข้อผูกพันตามสัญญาเช่าระยะยาวด้วยมูลค่าปัจจุบันของค่าเช่าขั้นต่ำหรือด้วยราคายุติธรรมแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า 1.วันทำสัญญาและรับมอบสันทรัพย์ เดบิต สินทรัพย์ตามสัญญาเช่าทางการเงิน XXX เครดิต เจ้าหนี้สัญญาเช่าระยะยาว XXX
2.ชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่าการเงิน เดบิต เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่าระยะยาว XXX ดอกเบี้ยจ่าย XXX เครดิต เงินสด/ธนาคาร XXX
3.บันทึกค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ณ วันสิ้นรอบปีบัญชี เดบิต ค่าเสื่อมราคา-สินทรัพย์ XXX เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม-สินทรัพย์ XXX

สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร ?

47/103 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341

แก้ไขครั้งสุดท้าย พฤศจิกายน 14, 2022

 

การบันทึกบัญชี leasing รถยนต์

การบันทึกบัญชี leasing รถยนต์

กรณี เช่าซื้อ และ ลิสซิ่ง กับการ ประหยัดภาษี คงเป็นประเด็นที่นักบัญชีและสรรพากร เองก็คงกุมขมับทุกครั้งที่พูดถึง และในมุมของผู้ประกอบการนั้น การที่จะเช่าซื้อ หรือลิสซิ่ง แล้วต้องการจะปรับหยัดภาษีแบบไหนจะมากกว่ากัน วันนี้เราลองมาดูตัวอย่างกันครับ

–   สมมุตว่าซื้อรถยนต์ มูลค่า   4,799,000 บาท

–   จ่ายเงินดาวน์   2,251,264.48 บาท

–   ผ่อน 60 งวด งวดที่ 1 – 59 ผ่อนงวดละ 36,000 บาท

–  งวดที่ 60 ผ่อน 1,235,750 บาท

–   ราคาซากหลังสิ้นสุดสัญญาเช่า 3,471,324 บาท

 เรามาทำความเข้าใจกับสัญญาการซื้อรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง  การบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษีของรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ได้มาโดยสัญญา แต่ละประเภทกันก่อนดีกว่า  พอจะสรุปได้ดังนี้

ลำดับ

สัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อทรัพย์สิน

คชจ.ทางบัญชี

คชจ.ทางภาษี

1

สัญญาเช่าซื้อ หรือ เงินสด

ค่าเสื่อมราคาทั้งจำนวน

ค่าเสื่อมราคาส่วนที่ไม่เกินล้าน(ที่เกินล้านบวกกลับ)

2

สัญญาลิสซิ่ง (ทางการเงิน)

ค่าเสื่อมราคาทั้งจำนวน

ค่าเช่าไม่เกิน36,000.-/เดือน (บวกกลับค่าเสื่อม)

3

สัญญาลิสซิ่ง(ดำเนินงาน)

ค่าเช่าตามจริง

ค่าเช่าไม่เกิน 36,000.-/เดือน (บวกกลับค่าเช่าส่วนเกิน)

 จากข้อมูล การซื้อรถยนต์ BMW  โดยสัญญาลิสซิ่ง(ทางการเงิน)  จะสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายทางบัญชี และ ค่าใช้จ่ายทางภาษี ดังนี้

ค่าเสื่อมราคาทางบัญชี  1 ปี  ( 4,799,000 * 20% *1 )                                              =      959,800.00   บาท

ค่าเสื่อมราคาทางภาษี  1 ปี    ( 4,799,000 + 832,324 ) * 20% * 1                           =   1,126,264.80   บาท

เทียบค่างวดที่ผ่อนชำระ  1  ปี    ( 36,000 * 12 )                                                       =      432,000.00   บาท

ประเภทสัญญา

ค่าเสื่อมราคาทางบัญชี

ค่าเสื่อมราคาทางภาษี

ค่าเสื่อมราคาบวกกลับทางภาษี

สัญญาเช่าซื้อ

959,800

200,000

759,800

สัญญาเช่าลิสซิ่ง(ทางการเงิน)

1,126,264.80

432,000

694,268.80

จากข้อมูลสรุปข้างต้นการซื้อรถยนต์ตามสัญญาลิสซิ่ง ทางบัญชีจะบันทึกเป็นทรัพย์สิน และคำนวณหักค่าเสื่อมราคา แต่ทางภาษีถือว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นการเช่า เนื่องจากกรรมสิทธิ์ตามสัญญายังไม่เป็นของบริษัท จึงต้องบวกกลับค่าเสื่อมทางบัญชีในการคำนวณภาษี และนำค่าเช่าหรือค่างวดที่จ่ายชำระมาหักเป็นรายจ่าย แต่ไม่เกินเพดานที่กำหนด

 จากข้อมูลสรุปได้ว่า การซื้อรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ด้วยสัญญาลิสซิ่ง  จะสามารถประหยัดภาษีมากกว่า  สัญญาเช่าซื้อ

โดยสามารถนำค่างวดที่ชำระไม่เกินเพดานที่กำหนด คูณ ด้วยระยะเวลาเช่า ซึ่งสามารถหักรายจ่ายได้เท่ากับ

 432,000 X 5         =             2,160,000

 เมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาเช่าซื้อ จะสามารถหักค่าเสื่อมราคาฯ รถยนต์ได้เพียง 1.0 ล้านบาท นอกจากนี้เมื่อครบสัญญาลิสซิ่ง  หากกิจการซื้อซากรถยนต์ มูลค่า 3,471,324  บาท สามารถนำมาบันทึกทรัพย์สิน และคำนวณหักค่าเสื่อมราคาฯ ทางภาษีสำหรับมูลค่าส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาทได้อีกด้วยจ้า

 ที่ปรึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  คำตอบข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อท่าน เพื่อทำความเข้าใจ สำหรับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ในอนาคตต่อไป

อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้เราคิดตามกรณี รถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ซึ่งถ้าเป็นกรณีรถทั่วไป เช่น รถกระบะ หรือรถตู้11ที่นั่ง ก็จะถือว่า

> การเช่าซื้อสามารถตัดค่าเสื่อมราคาได้ทั้งมูลค่ารถยนต์ (ไม่มีเกณฑ์ห้ามเกิน 1 ล้านมาคิด) และ

> ถ้าเป็นกรณีลิสซิ่งก็สามารถนำค่าเช่ามาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้เลยทั้งก้อน (ไม่จำกัดแค่ 36,000 บาท ต่อเดือน)

ที่มา : https://onesiri-acc.com/

เช่าซื้อรถยนต์บันทึกบัญชีอย่างไร

วิธีบันทึกเจ้าหนี้เช่าซื้อรถยนต์ (E035).
ขั้นตอนที่ 1 : เพิ่มผังบัญชี.
ขั้นตอนที่ 2 : บันทึกซื้อรถยนต์.
ขั้นตอนที่ 3 : บันทึกยอดยกมาสินทรัพย์เพื่อให้ระบบคิดค่าเสื่อม.
ขั้นตอนที่ 4 : การจ่ายค่างวดรถ.

เช่าซื้อบันทึกบัญชีอย่างไร

การบันทึกบัญชีเช่าซื้อทรัพย์สิน.
การบันทึกบัญชีเช่าซื้อทรัพย์สินมี่ขั้นตอนดังนี้ครับ.
1.บันทึกภาระผูกพันที่ได้รับมา.
2.บันทึกบัญชีมนกรณีที่มีเงินดาวน์ที่ต้องจ่ายก่อนตอนทำสัญญา.
3.บันทึกบัญชีเมื่อมีการจ่ายเงินค่างวดในแต่ละงวด.
และ 4.บันทึกค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่เช่าซื้อมาในทุกๆสิ้นรอบ ครับ.

ข้อใดคือหลักการบันทึกบัญชีสินทรัพย์เช่าซื้อของกิจการ

การบันทึกบัญชีเช่าซื้อทรัพย์สินมี่ขั้นตอนดังนี้ครับ 1.บันทึกภาระผูกพันที่ได้รับมา 2.บันทึกบัญชีมนกรณีที่มีเงินดาวน์ที่ต้องจ่ายก่อนตอนทำสัญญา 3.บันทึกบัญชีเมื่อมีการจ่ายเงินค่างวดในแต่ละงวด และ 4.บันทึกค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่เช่าซื้อมาในทุกๆสิ้นรอบ ครับ

ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี อยู่หมวดไหน

ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี (หมวด 1 ) 80,000.-