วิตามิน กินพร้อมกันได้ ไหม

     วิตามิน ถือเป็นตัวช่วยเติมสารอาหารได้จากการที่ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่างไป ซึ่งนอกจากเราจะกินเพื่อทดแทนสารอาหารที่ขาดหายไปแล้ว ในบางคนยังกินเพื่อบำรุงส่วนต่างๆ อีกด้วย เช่น กินวิตามินซีเพื่อช่วยบำรุงผิวให้แข็งแรงหรือเพื่อให้ผิวขาวผ่อง กินคอลลาเจนเพื่อให้ผิวดูสุขภาพดีและดูอิ่มน้ำ ซึ่งการกินวิตามินแบบนี้ก็ไม่ถือว่าผิดวัตถุประสงค์แต่อย่างใด เพราะวิตามินในปัจจุบันไม่ได้ผลิตขึ้นเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังช่วยบำรุงให้เราดูดีขึ้นได้อีกด้วย

     ถึงแม้แต่ละคนจะมีวัตถุประสงค์ในการกินที่แตกต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายที่มีเหมือนกันนั่นก็คือเมื่อกินวิตามินเข้าไปแล้ว เราจะทำอย่างไรให้วิตามินที่กินเข้าไป ร่างกายสามารถดูดซึมได้เต็มที่ เพื่อให้วิตามินสามารถแสดงผลได้อย่างที่ต้องการและไม่เป็นการเสียของไปเปล่าๆ ค่ะ ซึ่งวิธีในการกินวิตามินแต่ละชนิดนั้นก็ต่างกันออกไป เพราะบางชนิดก็ละลายได้ดีในน้ำ บางชนิดก็ละลายได้ดีในน้ำมัน แต่ละชนิดควรกินตอนไหน กินคู่กับอาหารอะไรจึงจะออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่ วันนี้เรามีมาบอกกันค่ะ

9 วิธี กินวิตามิน ให้ร่างกายดูดซึมได้มากที่สุด

1. วิตามินซี

     วิตามินซีจัดเป็นวิตามินที่สำคัญและร่างกายต้องการค่ะ เพราะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด โรคเลือดออกตามไรฟันและยังช่วยบำรุงผิวได้อีกด้วย ซึ่งวิตามินซีนั้นจัดเป็นวิตามินละลายได้ดีในน้ำแต่ก็ยังมีฤทธิ์เป็นกรด การจะกินให้ได้ผลดีและไม่กระทบกับกระเพาะอาหารนั้น ควรกินหลังอาหารเช้า วันละ 1000 mg ค่ะ

2. วิตามินบี

     วิตามินบีนั้นช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยลดการอ่อนเพลีย อ่อนล้า ใครที่ทำงานหนักจนรู้สึกไม่ได้พักผ่อนลองกินวิตามินบีได้ค่ะ โดยเราควรกินในตอนเช้า ช่วงก่อนอาหารหรือกินในขณะที่ท้องว่างเพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ดีค่ะ พยายามหลีกเลี่ยงการกินวิตามินบีก่อนนอน เนื่องจากอาจจะทำให้นอนไม่หลับค่ะ ซึ่งสำหรับผู้ที่สนใจก็สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิตามินบีได้ >> ที่นี่ <<

3. วิตามินเอ ดี อี เค

    สำหรับวิตามินเอ ดี อี เค จัดเป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในไขมัน เพราะฉะนั้นเราสามารถกินวิตามินเหล่านี้พร้อมกับอาหารก็ได้ หรือจะกินหลังจากที่กินอาหารประเภทไขมันไปแล้ว 30 นาทีก็ได้เช่นกันค่ะ ส่วนสาวๆ คนไหนที่กินอิฟนิ่งพริมโรสอยู่แล้วก็ให้หยุดการกินวิตามินอีค่ะ เลือกกินตัวใดตัวหนึ่งก็เพียงพอ เนื่องจากอิฟนิ่งพริมโรสก็จัดเป็นวิตามินอีเช่นเดียวกัน หากกินทั้งคู่จะได้รับวิตามินอีเกินจากที่ร่างกายต้องการได้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วค่ะ

4. คอลลาเจน

     คอลลาเจนจัดเป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมในการกินเพื่อบำรุงผิวค่ะ โดยเราสามารถกินคอลลาเจนในตอนท้องว่างจะดูดซึมได้ดีกว่า ซึ่งอาจจะเป็นก่อนอาหารมื้อเช้าก็ได้ค่ะ

5. โพรไบโอติกส์

     โพรไบโอติกส์นั้นถือเป็นตัวช่วยในการขับถ่ายได้อย่างดีมากๆ ใครที่มีปัญหาท้องผูกเป็นประจำลองหาโพรไบโอติกส์มากินได้ค่ะ ซึ่งโดยปกติเราสามารถรับโพรไบโอติกส์จากการกินอาหารได้อยู่แล้ว ทั้งโยเกิร์ต กิมจิ ก็ล้วนแต่มีโพรไบโอติกส์ทั้งนั้นค่ะ แต่ถ้าหากสาวๆ อยากจะลองกินแบบเป็นวิตามินแล้วก็สามารถกินหลังอาหาร 2 - 3 ชั่วโมงได้ค่ะ

6. แคลเซียม

     แคลเซียมแบบเม็ดที่มีขายในท้องตลาดนั้นถูกแบ่งออกคร่าวๆ เป็น 2 ชนิดค่ะ ซึ่งวิธีการกินก็แตกต่างกัน สหรับคนที่กินแคลเซียมคาร์บอเนต ควรกินหลังอาหารทันที แต่สำหรับคนที่กินแคลเซียมซิเตรตให้เลือกกินตอนท้องว่างค่ะ

7. นมผึ้ง

     นมผึ้งจัดเป็นจัดเป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเป็นแหล่งรวมของวิตามินหลายชนิด ซึ่งปริมาณที่ควรกินอยู่ที่ 1000 Mg/วัน โดยเวลาที่ควรกินนั้นก็สามารถกินก่อนนอนก็ได้ หรือจะกินในตอนเช้าหลังอาหารก็ได้ค่ะ

8. น้ำมันปลา

     น้ำมันปลาคือน้ำมันที่สกัดออกมาจากส่วนต่างๆ ของปลา ซึ่งช่วยลดความโลหิต และยังช่วยเพิ่มปริมาณไขมันดีให้กับร่างกาย โดยการกินน้ำมันปลานี้สามารถกินพร้อมอาหารไปเลยก็ได้หรือจะกินหลังอาหารก็ได้เพราะร่างกายสามารถดูดซึมได้ดีกว่าตอนท้องว่างค่ะ

9. น้ำมันตับปลา

     น้ำมันตับปลาคือสารที่สกัดออกมาจากบริเวณตับของปลาทะเล โดยมีสรรพคุณช่วยลดไขมันเลวในร่างกาย ช่วยลดการเกิดโรคไต ลดการอักเสบของข้อต่อต่างๆ ในร่างกาย ลดความดัน ป้องกันโรคหัวใจ โดยเราควรกินน้ำมันตับปลาพร้อมอาหารหรือกินหลังอาหารทันทีเพื่อลดผลข้างเคียงค่ะ

.........................................

อัพเดทเทรนด์เมคอัพ แฟชั่น เคล็ดลับลดน้ำหนัก และไลฟ์สไตล์ผู้หญิงใหม่ๆ ทุกวัน

ได้ที่แอปพลิเคชัน ทรูไอดี ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!

บทความที่คุณอาจสนใจ


รวมวิตามินเสริมสำหรับสาว 30+ และ 40+ อายุเท่านี้ควรกินอะไร

7 วิตามิน ช่วยบำรุงร่างกาย ควรกินตอนไหน ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

วิตามิน อยู่ในกลุ่มของสารอาหารที่เรียกว่า Micronutrients หรือแปลว่าสารอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการเป็นจำนวนมาก ต่างกับ Macronutrients ที่ร่างกายต้องการเยอะๆ

Macronutrients ประกอบไปด้วย

  • Carbohydrates หรือ แป้ง
  • Fats ไขมัน
  • Protein โปรตีน

ส่วน Micronutrients ที่เป็นวิตามินหลักๆมีดังนี้ 

  • A: สร้างโปรตีน บำรุงสายตา และระบบภูมิคุ้มกัน
  • B: ช่วยให้ระบบประสาทการผลิตเม็ดเลือดแดงระบบเผาผลาญทำงานดี
  • C: สร้างคอลลาเจน ต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • D: ช่วยดูดซึมแคลเซียมและสร้างภูมิคุ้มกัน
  • E: ต่อต้านอนุมูลอิสระบำรุงผิวผม
  • K: ช่วยให้เลือดแข็งตัวเวลาเกิดแผล
วิตามิน กินพร้อมกันได้ ไหม
vegetables and fruits on white background

ด้วยความที่วิตามิน เป็น Micronutrients ร่างกายไม่ได้ต้องการเยอะมากขนาดนั้น ซึ่งคำว่าเยอะเกินไป ในแต่ละวิตามินแต่ละชนิด ก็ต่างกัน แต่โดยปกติแล้ว คนทั่วไปมักจะมีอาการขาด มากกว่าได้รับเกินครับ จากการศึกษา เราพบว่าการจะกินวิตามินให้ “เกิน” จนถึงขึ้นสะสมนั้น จำเป็นต้องกินเยอะในปริมาณที่มากกว่าที่คนทั่วไปกิน เยอะพอสมควรครับ

สรุปว่าสะสมไหม:

อะไรที่เราได้รับเข้าไปนร่างกายนั้น ย่อมมีการถูกย่อย ดูดซึม และขับออกมาตามธรรมชาติ แต่วิตามินนั้น มีสองชนิดหลักๆ คือแบบที่ละลายในน้ำ และแบบที่ละลายในไขมัน ซึ่งในส่วนที่ละลายในไขมัน จะสามารถถูกนำไปเก็บในตับได้

วิตามินที่ละลายในไขมัน คือ

  • Vitamin A
  • Vitamin E
  • Vitamin D
  • Vitamin K

ส่วนวิตามินที่ละลายในน้ำ

  • Vitamin B
  • Vitamin C

ร่างกายคนเราประกอบไปด้วยน้ำ 60-70% ซึ่งน้ำในร่างกายเรา จะถูกถ่ายออกทั้งหมดในเวลาประมาณ 16 วัน และ Recycle ใหม่เสมอๆ

สำหรับวิตามินที่ละลายในน้ำ วิตามินซี หรือบี เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ดังนั้นคำถามว่า “สะสมไหม” ต้องถามต่อว่า สะสมที่ไหน? เพราะในเมื่อน้ำในร่างกายของเราถูก recycle ตลอดเวลา  ดังนั้นจึงไม่เกิดการสะสมนั่นเอง (แต่อาจจะทำให้ร่างกายเราทำงานหนักได้หากได้รับเยอะมากๆ มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่าการกินอาหารเสริมมากๆ ทำให้ส่งผลถึงไตได้ เช่นหากกิน Vitamin C มากเกิน 1g ต่อวันต่อเนื่อง อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วได้) แต่สำหรับคนทั่วๆไป ไม่ต้องเป็นกังวลนะครับ เนื่องจากการจะกิน Vitamin C ให้เกิน 1g อย่างต่อเนื่อง ต้อง “ตั้งใจมากๆ” พอสมควร ดังนั้นคนที่กินอาหารหลัก หรืออาหารเสริมพอดีๆ ไม่มีปัญหานี้แน่นอน) ข้อมูลเสริม: ตัวอย่างสำหรับ Multi Vitamin แต่ละยี่ห้อจะมีปริมาณ Vitamin C ไม่เท่ากัน เช่น Centrum มี Vitamin C 52mg ซึ่งการจะกินจนเกิดผลเป็นนิ่วได้อย่างตัวอย่างนี้ ยากมากๆครับ

ต่างกับวิตามินที่ละลายในไขมัน ซึ่งอาจจะสะสมในตับ และในเซลไขมันในร่างกายได้ครับ วิตามินที่ละลายในไขมันก็เช่น A E D K ซึ่งเอาจริงๆแล้วถ้าไมได้กินอาหารเสริมเยอะมากๆ ก็แทบจะสะสม “ต่อเนื่อง” ได้ยากมากเลยครับ

แต่สิ่งที่อยากให้เข้าใจคือ ถึงแม้บางวิตามินอาจจะไม่สะสม แต่กินเยอะไปก็มีผลเสีย

ถึงแม้ vitamin C และ B จะไม่สะสมก็จริง แต่การกินมากเกินไปก็มีผลเสียได้!

Vitamin C มากเกินไป จะทำให้เกิดอาการเช่นท้องเสีย มึนหัว อาเจียน หรือเป็นนิ่วได้ และจะส่งผลต่อการดูดซึมวิตามอินอื่นๆได้ด้วย ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าคนเรากิน Vitamin C ได้ถึง 10 กรัมโดยไม่มีผลร้ายแรงต่อร่างกาย (เยอะมากๆๆๆ ไม่มีใครกินถึงแน่นอนยกเว้นตั้งใจเปิดกระปุกและเอาวิตามินกรอกปาก) แต่หากกินมากกว่า 2 กรัม อาจทำให้ท้องเสียได้

Vitamin B2 มากเกินไป จะทำให้เกิดอาการปัสสาวะ เป็นสีเหลือง เรียกว่าอาการ Flavinuria เกิดมาจากสาร Riboflavin ที่ขับออกมาด้วย ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบผลเสียครับ

เนื่องจากวิตามิน B มีหลายตัว ข้อเสียของการได้รับมากๆ หลักๆที่ควรรู้คือ Vitamin B 3 ซึ่งอาจจะทำให้มีผลต่อตับได้

(แทบเกิดขึ้นได้ยากมากจากการกินอาหารธรรมชาติ เคสที่เกิดคือกินอาหารเสริมเยอะมากๆ)

ส่วนวิตามินที่ละลายในไขมันก็เกิดผลเสียได้เช่นกันหากกินเยอะมากๆ

  • Vitamin A หากได้รับมากไป อาจจะเกิดอาการปวดหัว วิงเวียนและผิวแห้งได้ (เกิดขึ้นได้ยากจากการกินอาหารปกติ ส่วนใหญ่เกิดจากการกินวิตามินเสริมมากเกินไปเป็นเวลานานๆ)
  • Vitamin D หากได้รับมากเกินไปอาจทำให้วิงเวียน อาเจียนและกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ (เกิดขึ้นได้ยากจากการกินอาหารปกติ ส่วนใหญ่เกิดจากการกินวิตามินเสริมมากเกินไปเป็นเวลานานๆ)
  • Vitamin E และ Vitamin K หากได้รับมากเกินไปอาจส่งผลต่อระบบการแข็งตัวของเลือดได้

สรุป:

วิตามินมีประโยชน์มากกว่าโทษแน่นอนแต่การกินวิตามินเยอะเกินไปก็มีโทษเช่นกัน แต่จริงๆแล้วการกินวิตามินเยอะเกินไป เป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้ยาก หากไม่ได้จงใจกินมากๆ

เช่นบางคนมีแนวคิดว่ายิ่งเยอะยิ่งดีเลยกินวิตามินเยอะๆ หรือในบางกรณีคือมีการกินอาหารบางชนิดเยอะๆซ้ำๆและไปกินวิตามินเสริมอีกเยอะๆโดยไม่ดูว่าเราขาดตรงไหน

ส่วนใหญ่เกิดมาจากความเข้าใจผิดๆซึ่งจริงๆแล้ว เราแนะนำว่าก่อนจะกินวิตามินเสริม เราควรได้รับอาหารหลักให้เพียงพอเสียก่อน

แต่อย่างไรก็ตาม อย่ากังวลมากไปว่าหากกินอาหารบางชนิดมากๆแล้วจะทำให้เราได้รับวิตามินเยอะจนสะสม เพราะหากเรากินอาหารให้หลากหลาย โอกาสที่จะเกิดอาการเหล่านี้มีน้อยมากครับ

แถม เรื่อง Minerals เล็กๆน้อยๆ

Calcium: ช่วยให้ระบบประสาททำงานดี เกร็งกล้ามเนื้อได้ สร้างกระดูกและฟัน และคุมการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ

Iron: เสริมสร้างเซลเม็ดเลือดแดง และช่วยในการลำเลียงและกักเก็บออกซิเจน

Magnesium: ช่วยในการเผาผลาญแป้งและไขมัน และรักษาแผล

Zinc: ช่วยพัฒนาการเจริญเติบโต สืบพันธุ์ และโครงสร้างของเซลในร่างกาย

วิตามินอะไรที่ไม่ควรกินคู่กัน

5 กลุ่ม ยา วิตามินและอาหาร ที่ไม่ควรรับประทานร่วมกัน.

กินอาหารเสริมหลายตัวพร้อมกันได้ไหม

การกินวิตามินหรืออาหารเสริมเยอะๆ ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัย มีอันตรายกับร่างกายเหมือนกัน เพราะมันสามารถไปตกค้างสะสมในร่างกายได้ หากเราต้องการจะกินวิตามิน แนะนำว่าให้ตรวจหาระดับวิตามินในร่างกายเสียก่อน เลือกวิตามินกลุ่มที่ละลายน้ำจะปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่า เพราะไม่มีการสะสมตกค้างในร่างกาย ได้แก่ วิตามินบี และวิตามินซี

กินวิตามินต่อเนื่องได้ไหม

วิตามิน และอาหารเสริมบางชนิดที่ละลายในน้ำได้ไม่ดี ร่างกายจะดูดซึมไปใช้ยากจนเกิดเป็นสารตกค้างอยู่ เมื่อกินเป็นปริมาณมากต่อเนื่องกัน ก็จะตกค้างสะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งส่งผลเสียต่อตับ หรืออาจทำให้เลือดไม่แข็งตัว วิตามินบางชนิดหากร่างกายได้รับมากเกินไป ยังทำให้เกิดนิ่วในไตได้อีกด้วย

วิตามินซีกับบีกินพร้อมกันได้ไหม

วิตามินบี 12 เพราะวิตามินซีอาจทำปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์กับวิตามินบี 12 อีกทั้งยังอาจขัดขวางการดูดซึมวิตามินบี 12 ด้วย ดังนั้นหากจำเป็นต้องกินวิตามินซี และวิตามินบี 12 ด้วยกันทั้งคู่ ควรเว้นช่วงสัก 2-3 ชั่วโมง หรือกินวิตามินแต่ละชนิดคนละมื้ออาหารก็ได้