ค่า ส่วนกลาง ลดหย่อนภาษีได้ไหม

  • ผู้มีรายได้สุทธิ ไม่เกิน 150,000 บาท จัดอยู่ในกลุ่มยกเว้นภาษี
  • ซื้อบ้านหลังแรกไม่เกิน 5 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2562 ยื่นเรื่องลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกในปี 2564 สูงสุด 200,000 บาท
  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 100,000 บาท

ได้ทั้งบ้าน ได้ทั้งลดหย่อนภาษี โดยไม่ต้องรอถึงชาติหน้า เพราะชาตินี้เพียงแค่ซื้อบ้านก็สามารถลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก สูงสุดถึง 200,000 บาท และโดยสามารถยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/91 ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ใครที่ซื้อบ้าน คอนโด หรือทาวน์โฮมช่วงนี้ เรียกว่าคุ้มสุด เพราะนอกจากจะได้โปรดีจากขบวนพาเหรดผู้ประกอบการอสังหาฯ พร้อมใจกันลด แลก แจก แถมแล้ว ยังสามารถได้ลดหย่อนภาษีอีกด้วย

ทำอย่างไร ถึงจะได้ลดหย่อนภาษี?

เมื่อรู้ข้อดีของการลดหย่อนภาษีด้วยบ้านหลังแรกแล้ว ถึงเวลาต้องเช็คคุณสมบัติของบุคคลผู้มีรายได้ตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ดังนี้

เงินได้สุทธิ / ปีอัตราภาษีเงินได้
ไม่เกิน 150,000 บาท ยกเว้นภาษี
150,001 – 300,000 บาท 5%
300,001 – 500,000 บาท 10%
500,001 – 750,000 บาท 15%
750,001 – 1,000,000 บาท 20%
1,000,001 – 2,000,000 บาท 25%
2,000,001 – 5,000,000 บาท 30%
5,000,001 บาทขึ้นไป 35%

ทั้งนี้ผู้ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษี สามารถนำค่าลดหย่อนส่วนตัวและจากครอบครัว ลดหย่อนจากกลุ่มประกัน เงินออมและลงทุน ลดหย่อนจากกลุ่มเงินบริจาค และสุดท้ายลดหย่อนจากการซื้ออสังหาฯ มาช่วยลดหย่อนภาษีได้

ค้นหาโครงการบ้าน คอนโด ทาวน์โฮม ทำเลดีพร้อมข้อเสนอสุดคุ้มได้ที่นี่

มาตรการลดหย่อนภาษี จากการซื้ออสังหาฯ 2564

เป็นมนุษย์เงินผ่อน ใช่ว่ามีแต่เรื่องเสียเงินอย่างเดียว เพราะดอกเบี้ยที่ผู้กู้ซื้อบ้านถูกหักจากธนาคารไปทุกเดือนนั้น สามารถนำเอกสารหลักฐานจากธนาคารมายื่นเรื่องลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ค่าลดหย่อนอสังหาฯภาษีที่ลดหย่อนได้
ดอกเบี้ยจากเงินกู้ซื้อบ้าน คอนโด หากกู้อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถใช้ลดหย่อนร่วมกันได้ ส่วนผู้ที่กู้ร่วมหลายคน สามารถแบ่งดอกเบี้ยคนละเท่าๆ กัน ได้ด้วยเช่นกัน ไม่เกิน 100,000 บาท
ซื้อบ้านหลังแรกปี 2558 และบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท รวม 20% ของค่าบ้าน (ลดหย่อนภาษีได้ 5 ปี ปีละ 4%)
ซื้อบ้านหลังแรกปี 2562 และบ้านราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท ไม่เกิน 200,000 บาท

โครงการบ้านหลังแรก ลดหย่อนภาษีสูงสุด 200,000 บาท

จากมาตรการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกปี 2562  ผู้ซื้ออสังหาฯ สามารถลดหย่อนภาษีได้ถึงปี 2563 และสามารถขอลดหย่อนได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยมูลค่าของบ้าน คอนโด หรือทาวน์โฮมต้องไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขการได้รับสิทธิดังนี้

  1. ซื้อคอนโด ทาวน์โฮม หรือบ้านพร้อมที่ดินเป็นหลังแรก จะเป็นบ้านใหม่หรือบ้านมือสองได้ โดยจะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัยเท่านั้น
  2. ผู้ซื้อต้องโอนกรรมสิทธิ์บ้านภายในปี 2562
  3. ผู้ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านหลังแรกอย่างน้อย 5 ปี นับตั้งแต่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์

อ่านเพิ่มเติม ค่าธรรมเนียมโอนบ้าน คอนโด ทาวน์โฮม ได้ที่นี่

หลักฐานที่ใช้ในการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก

  1. สำเนาสัญญาขาย (ท.ด.13) สำเนาสัญญาซื้อขายห้องชุดในอาคารชุด (อ.ช.23) หรือสำเนาหนังสือโอนกรรมสิทธิ์อาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดแล้วแต่กรณี
  2. หนังสือรับรองจากผู้ขาย ที่เป็นหลักฐานว่ามีการซื้อ-ขายจริง
  3. หนังสือรับรองผู้ซื้อ เพื่อยืนยันว่าเป็นการซื้อบ้านหรือซื้อคอนโดหลังแรก

เจอข้อดีๆ ของการซื้อบ้าน ซื้อคอนโด แล้วยังได้ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกได้เป็นแสน สำหรับใครที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัยทำเลดี พร้อมรับข้อเสนอพิเศษช่วยจ่ายทุกอย่าง ช่วยหมดทุกยูนิต สามารถเข้าไปเลือกชมแสนสิริโปรโมชันดีๆ อย่างโปรโมชันบ้านและทาวน์โฮมพร้อมอยู่ 

ค่า ส่วนกลาง ลดหย่อนภาษีได้ไหม

รู้หรือไม่? ว่าบ้านจัดสรรหรือคอนโดที่คุณซื้อนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่ค่าใช้จ่ายค่าบ้าน ค่าโอนกรรมสิทธิ์ หรือค่าตกแต่งต่างๆ เท่านั้น แต่ยังพ่วงมาด้วยค่าส่วนกลางของโครงการหมู่บ้านหรือคอนโดอีกด้วย โดยค่าส่วนกลางนี้มีความสำคัญอย่างไร และจะผิดไหมถ้าหากลูกบ้านไม่จ่ายตามกำหนด วันนี้เราจะพาไปค้นหาคำตอบกันค่ะ

ค่าส่วนกลางคืออะไร?

ค่าส่วนกลางเป็นค่าใช้จ่ายที่นิติบุคคลของโครงการหมู่บ้านหรือห้องชุดเรียกเก็บจากเจ้าของบ้าน/คอนโดทุกคน ไม่ว่าจะอยู่อาศัยหรือไม่อยู่อาศัยก็ตาม โดยจะเรียกเก็บเป็นรายเดือนหรือรายปีก็ได้ แล้วแต่การจัดการของนิติบุคคล

ทั้งนี้ค่าส่วนกลางของแต่ละโครงการหรือหมู่บ้านจะมีอัตราเรียกเก็บที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้อที่บ้านหรือห้องชุดซึ่งจะคำนวณเป็นอัตราต่อตารางเมตร เช่น ค่าส่วนกลาง 20 บาท/ตารางเมตร หากพื้นที่บ้านมีขนาด 100 ตารางเมตร ค่าส่วนกลางจะเท่ากับ 20×100 = 2,000 บาท

นอกจากอัตราเรียกเก็บที่ต่างกันเพราะขนาดเนื้อที่แล้ว ยังขึ้นอยู่กับสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ส่วนกลางต่างๆ ที่แต่ละโครงการมีให้บริการกับลูกบ้านด้วย เช่น สวนสาธารณะ สระว่ายน้ำ ฟิตเนส Co-Working Space คลับเฮาส์ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้ค่าส่วนกลางมีความแตกต่างกัน

ค่าส่วนกลางถูกจัดสรรใช้ทำอะไรบ้าง?

•  เป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพื้นที่ส่วนกลาง สวน สระว่ายน้ำ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

•  เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ของโครงการส่วนกลาง

•  เงินเดือนสำหรับนิติบุคคล พนักงานธุรการ พนักงานรักษาความปลอดภัย แม่บ้าน พนักงานดูแลสวน

•  ค่าดูแล ซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

•  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ทำให้พื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในสภาพดี

หากนิติบุคคลไม่สามารถเก็บค่าส่วนกลางได้ตามกำหนด จะทำให้งบประมาณต่างๆ ไม่เพียงพอและส่งผลให้พื้นที่ส่วนกลางชำรุดทรุดโทรม ระบบความปลอดภัยไม่ดี และสภาพแวดล้อมโดยรวมไม่น่าอยู่ ทั้งยังทำให้การปล่อยขายหรือให้เช่านั้นเป็นไปได้ยากหรือได้ราคาไม่ดี

ลูกบ้านไม่จ่ายค่าส่วนกลางได้หรือไม่?

ลูกบ้านที่ซื้อบ้านหรือคอนโด ตามปกติแล้วในการทำสัญญาซื้อขายจะมีระบุในเรื่องของค่าส่วนกลางที่ผู้เป็นเจ้าของบ้านหรือคอนโดต้องรับผิดชอบโดยอาจถูกกำหนดให้จ่ายเป็นรายปีหรือรายเดือนก็ได้

นอกจากนี้ยังมี พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ซึ่งให้สิทธิ์นิติบุคคลในฐานะผู้มีอำนาจในการดูแลโครงการ สามารถระงับการให้บริการเจ้าของบ้านหรือคอนโดที่ค้างชำระค่าส่วนกลาง และดำเนินคดีตามกฎหมายได้ด้วย

จะเป็นอย่างไรหากไม่จ่ายค่าส่วนกลาง?

 1. กรณีลูกบ้านคอนโดไม่จ่ายค่าส่วนกลาง

•  ถูกเรียกเก็บค่าปรับค่าส่วนกลางในอัตรา 12-20% ของยอดที่ต้องชำระพร้อมดอกเบี้ย

•  ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงในที่ประชุม

•  ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้จนกว่าจะจ่ายค่าส่วนกลาง ค่าปรับ ดอกเบี้ย และได้รับใบปลอดหนี้จากนิติบุคคล

•  ถูกฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ค่าส่วนกลางที่ค้างทั้งหมด

 2. กรณีลูกบ้านโครงการหมู่บ้านจัดสรรไม่จ่ายค่าส่วนกลาง

•  ถูกเรียกเก็บค่าปรับค่าส่วนกลางในอัตรา 10-15% ของยอดที่ต้องชำระพร้อมดอกเบี้ย

•  ถูกระงับสิทธิ์การเข้าใช้พื้นที่ส่วนกลาง สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการต่างๆ จากส่วนกลาง

•  ถูกอายัดไม่ให้จดทะเบียนสิทธิ์หรือทำนิติกรรมเกี่ยวกับโครงการ และการขายบ้าน

•  ถูกฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ค่าส่วนกลางที่ค้างทั้งหมด

ดังนั้นการจ่ายค่าส่วนกลาง จึงเป็นการรักษาผลประโยชน์ให้กับทั้ง 2 ฝ่าย คือทั้งกับโครงการเองและสะท้อนกลับมาสู่ลูกบ้าน เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยทุกคนมีพื้นที่ที่จะสามารถใช้พักผ่อน และทำกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ได้ รวมทั้งยังทำให้สภาพแวดล้อมโดยรวมน่าอยู่ และที่สำคัญยังทำให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินอีกด้วย

ค่าส่วนกลาง เสียภาษีไหม

รายรับที่เป็นเงินกองทุน ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าสาธารณูปโภคที่เป็นค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ หรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นที่เรียกเก็บจากเจ้าของห้องชุดหรือผู้เช่าห้องชุด ไม่ต้องนำมารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ค่าที่พัก ลดหย่อนภาษีได้ไหม

2) ค่าซื้อบริการทุกประเภทจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำมาหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ได้ ยกเว้นการซื้อบริการ ดังต่อไปนี้ 2.1) ค่าบริการนำเที่ยว 2.2) ค่าที่พักโรงแรม 2.3) ค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

ค่า ส่วนกลาง คอน โด หัก ณ ที่จ่าย ไหม

นิติบุคคลอาคารชุด เป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุุคล แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ตามที่กฏหมายกำหนด

ทําฟัน ลดหย่อนภาษีได้ไหม

การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล เช่น ทันตกรรม ทำเลสิก ทำศัลยกรรม เข้าคอร์สเสริมความงาม ตรวจสุขภาพ ฯลฯ ค่ารักษาพยาบาลเหล่านี้ได้รับการยกเว้น VAT จึงไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้