กินยา แล้ว กินอาหารเสริมได้ไหม

ปัจจุบันวิตามินและอาหารเสริมเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น สังเกตได้จากมีวิตามินเสริม อาหารเสริมออกมาจำหน่ายมากมายหลายยี่ห้อในท้องตลาด เราจำเป็นหรือไม่ที่ต้องกินอาหารเสริมเหล่านี้ แล้วหากกินไปเป็นระยะเวลานานๆ จะเกิดผลเสียหรือไม่อย่างไร ทำไมผู้คนถึงหันมากินอาหารเสริมเป็นทางเลือกสำหรับการดูแลสุขภาพ วันนี้เรามาไขข้อสงสัยกัน

ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “อาหารเสริม” ชื่อก็บ่งบอกตัวมันเองอยู่แล้วว่าเป็นการเสริม เพราะฉะนั้นเราจะใช้ในกรณีที่บางคนได้รับสารอาหารไม่พอเพียงหรือว่าขาดไป ในความเป็นจริงหากเราได้รับมาจากอาหารประจำวันอย่างเพียงพอ เราก็ไม่จำเป็นต้องได้รับจากอาหารเสริมอีก

วิตามินและเกลือแร่ ส่วนใหญ่เราจะได้จากผักและผลไม้

ถ้าสมมุติวันหนึ่งเราได้รับผักหรือผลไม้ไม่ถึง 5 ส่วน 5 ส่วนในที่นี้คืออะไร ให้เรานึกถึงกำปั้นของเรา ผักและผลไม้รวมกัน 1 กำปั้น คือ 1 ส่วน ฉะนั้นหากวันหนึ่งเราได้รับผักและผลไม้ไม่ถึง 5 ส่วน แสดงว่าเราได้รับวิตามินและเกลือแร่ไม่เพียงพอ และเราก็ต้องมาดูต่อว่าคนคนนั้นมีโรคประจำตัวหรือไม่

ถ้าเกิดมีโรคประจำตัว เช่น

ลำไส้ดูดซึมบกพร่อง มีการผ่าตัดลำไส้ หรือมีโรคประจำตัวอื่นๆ ก็ตามที่ทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินหรือเกลือแร่ไม่เพียงพอ จึงจะควรจะทานอาหารเสริมเพิ่มเติมเข้าไป

การตรวจหาวิตามินและเกลือแร่ในร่างกายนั้น ทำได้โดยการเจาะเลือดตรวจหาระดับวิตามินในร่างกาย หากเราไม่สามารถตรวจเลือดได้ และเราไม่แน่ใจ เราอยากจะซื้ออาหารเสริม วิตามินมากินเอง

แพทย์แนะนำว่า

  1. การกินวิตามินหรืออาหารเสริมเยอะๆ ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัย มีอันตรายกับร่างกายเหมือนกัน เพราะมันสามารถไปตกค้างสะสมในร่างกายได้
  2. หากเราต้องการจะกินวิตามิน แนะนำว่าให้ตรวจหาระดับวิตามินในร่างกายเสียก่อน
  3. เลือกวิตามินกลุ่มที่ละลายน้ำจะปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่า เพราะไม่มีการสะสมตกค้างในร่างกาย ได้แก่ วิตามินบี และวิตามินซี
  4. หากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ เพราะวิตามินบางอย่างแพทย์ไม่แนะนำให้กิน เช่น คนไข้มีปัญหาโรคไต เราไม่แนะนำให้ซื้อวิตามินเสริมที่เป็นวิตามินเอ เพราะจะทำให้เกิดภาวะวิตามินคั่งในตับและเกิดผลเสียต่อร่างกายได้

เพื่อสุขภาพที่ดี เราไม่จำเป็นต้องการกินวิตามินเสริมในปริมาณที่สูง

แต่เน้นรับประทานอาหารให้ครบชนิด ในปริมาณที่ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ก่อนตัดสินใจบริโภคควรจะเลือกดูว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการรับรองเรียบร้อยแล้วหรือยัง และอย่าลืมรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อลดการสะสมในร่างกายด้วย

                    สำหรับอาหารเสริมต่างๆ ที่ทานนั้น เนื่องจากไม่ทราบว่ามีองค์ประกอบอะไรอยู่บ้าง จึงอาจไม่สามารถบอกได้ว่าสามารถทานร่วมกันได้หรือไม่ รวมถึงองค์ประกอบบางอย่าง อาจไม่ได้มีอยู่ในฉลากทั้งหมด ดังนั้น เพื่อให้การดูดซึมไม่ของอาหารเสริมไม่ลดลง และไม่เกิดการทำปฏิกิริยา ก็ไม่ควรทานพร้อมกัน แนะนำควรทานห่างจากนมอย่างน้อย 2-4 ชั่วโมงค่ะ 

การรับประทานอาหารเสริม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็น ชดเชยในบางมื้ออาหารที่เรารับประทานไม่ครบหมู่ แต่ก็พบว่าในบางคนมีการรับประทานอาหารเสริมมากเกินไป ซึ่งจะกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ส่งผลเสียต่อตับ รวมถึงผลข้างเคียงอื่นๆ นอกจากนี้อาหารเสริมบางชนิด ไม่ควรรับประทานคู่กับยาบางรายการ เพราะอาจเกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ ลดประสิทธิภาพของยาที่รับประทาน หรือทำให้เกิดพิษในร่างกายได้ ฉะนั้น มาดูกันว่า กลุ่มยา-วิตามิน-อาหาร ประเภทใดที่ควรรับประทานร่วมกัน หรือควรหลีกเลี่ยง
เปิดวิธีรับประทานวิตามินซีที่ถูกต้องเพื่อ “รักษาโรคหวัด”
6 ข้อแนะนำ เสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ดีขึ้น ช่วงโควิด-19
"วิตามิน" เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่เราคิด

กินยา แล้ว กินอาหารเสริมได้ไหม

5 กลุ่ม ยา วิตามินและอาหาร ที่ไม่ควรรับประทานร่วมกัน

1.ยารักษาเบาหวาน
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : มะระขี้นก,ว่านหางจระเข้, โสม, แมงลัก, พืชตระกูลลูกซัด, ผักเชียงดา, และ อาหารเสริมที่มีแร่ธาตุโครเมียม
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : เสริมการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดทำให้น้ำตาลลดลงมากเกินไป อาจเกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ สายตาพร่า เหงื่อออกมาก หิวบ่อย อ่อนเพลีย

2.ยาลดความดันโลหิต, ยาลดไขมันในเลือด
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : น้ำเกรปฟรุต
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ทำให้ปริมาณยาสูงหลายเท่าในกระแสเลือด อาจให้เกิดพิษจากยาได้

3.ยาละลายลิ่มเลือด
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : น้ำมันดอกคำฝอย, น้ำมันปลา, น้ำมันดอกอีฟนิ่ง, ตังกุย, กระเทียม, แป๊ะก๊วย, ขิง
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : หากรับประทานมากไป จะเสริมฤทธิ์ของยาทำให้เลือดออกง่ายขึ้น

4.ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : ผักใบเขียว ยอ ชาเขียว ถั่วเหลือง บรอกโคลี และ อาหารเสริมโคเอ็นไซม์คิวเท็น
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ต้านการออกฤทธิ์ของยา

5.ยาปฏิชีวนะกลุ่ม fluoroquinolone และกลุ่ม tetracycline
     ไม่ควรรับประทานร่วมกับ : นม โยเกิร์ตหรือยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร และแคลเซียม
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ทำให้ยาดูดซึมได้ลดลง ระดับยาในเลือดไม่เพียงพอต่อการรักษา

กินยา แล้ว กินอาหารเสริมได้ไหม

5 กลุ่ม ยา วิตามินและอาหาร ที่ควรรับประทานร่วมกัน

1.วิตามินเอ ดี อี เค
     ควรรับประทานร่วมกับ : อาหารที่มีไขมันจากสัตว์ หรือจากพืช หรืออาหารเสริมกลุ่มน้ำมันปลา
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ช่วยให้วิตามินดูดซึมได้ดี

2.ธาตุเหล็ก
     ควรรับประทานร่วมกับ : วิตามินซี ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น

3.แคลเซียม
     ควรรับประทานร่วมกับ : วิตามินดี หรืออาหารที่มีวิตามินดี
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ช่วยให้แคลเซียมดูดซึมได้ดีขึ้นในลำไส้เล็ก

4.คอลลาเจนเปปไทด์
     ควรรับประทานร่วมกับ : วิตามินซี
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : การกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของผิวพรรณ

5.โคเอนไซม์คิวเท็น
     ควรรับประทานร่วมกับ : หลังอาหารมื้อใหญ่หรือมื้อที่มีไขมันจากสัตว์หรือจากพืช
     ผลลัพธ์เมื่อรับประทานร่วมกัน : ช่วยให้โคเอนไซม์คิวเท็นดูดซึมได้ดีในร่างกาย

ที่มา รพ.สมิติเวช 

กินยา แล้ว กินอาหารเสริมได้ไหม

กินยา แล้ว กินอาหารเสริมได้ไหม

ข่าวที่คุณอาจพลาด

กินยา แล้ว กินอาหารเสริมได้ไหม

ตรวจก่อนแต่ง! เตรียมพร้อมก่อนสร้างครอบครัว

กินยา แล้ว กินอาหารเสริมได้ไหม

เครื่องบินเล็กชนเสาไฟแรงสูงในสหรัฐฯ ช่วยนักบิน-ผดส.ได้แล้ว

กินยา แล้ว กินอาหารเสริมได้ไหม

ผลฟุตบอลโลก 2022 วันจันทร์ที่ 28 พ.ย.65 กลุ่ม จี,เอช นัดที่ 2

กินยา แล้ว กินอาหารเสริมได้ไหม

ศธ.แยกวิชาประวัติศาสตร์มุ่งสอนเยาวชนรักชาติ

ไม่พลาดทุกเหตุการณ์ติดตามข่าวจาก PPTV ได้ที่ Subscribe