จดทะเบียน สมรสออนไลน์ได้ ไหม

จดทะเบียน สมรสออนไลน์ได้ ไหม

Show

TeaC

12 กุมภาพันธ์ 2565 ( 09:40 )

ข่าววันนี้ เทศกาลวันวาเลนไทน์ วันแห่งความรัก ที่หลากกิจกรรมจะขนทัพมาทำในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 รวมถึงการ "จดทะเบียนสมรส" ที่เรา ๆ มักจะเห็นข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวกิจกรรมต่าง ๆ เชิญชวนคู่รักจรดปากกาจดทะเบียนสมรสในวันพิเศษแบบนี้ ในสถานที่พิเศษ สถานที่พัก ที่เที่ยวต่าง ๆ หรือที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขต ชื่อชวนให้รัก อย่าง "บางรัก"

วันวาเลนไทน์ จุดเริ่มต้นสร้างครอบครัว

ทั้งนี้ รายงานสถิติการจดทะเบียนสมรสในวันแห่งความรัก ทั้ง 50 เขต เมื่อปี 2563 พบว่า มีผู้มาจดทะเบียนสมรส จำนวน 2,913 คู่ โดยเขตที่มีคู่รักไปจดทะเบียนสมรสมากที่สุดยังคงเป็น เขตบางรัก จำนวน 773 คู่ รองลงมาใน 10 อันดับแรก คือ

  • เขตบางขุนเทียน 112 คู่
  • เขตลาดกระบัง 103 คู่
  • เขตบางซื่อ 97 คู่
  • เขตสายไหม 82 คู่
  • เขตบางแค 80 คู่
  • เขตดอนเมือง 80 คู่
  • เขตหลักสี่ 80 คู่ เขตมีนบุรี 70 คู่
  • และเขตจตุจักร 58 คู่

เขตที่มีคู่รักไปจดทะเบียนสมรสน้อยที่สุด คือ "เขตปทุมวัน" จำนวน 9 คู่ นอกจากนี้มีผู้มาจดทะเบียนหย่าในวันแห่งความรักใน 21 เขต รวมจำนวน 27 คู่

จะเห็นได้ว่า วันวาเลนไทน์ แม้จะประเพณีแบบตะวันตก แต่คนไทยก็นิยมแสดงความรักในวันพิเศษนี้ไม่แพ้ชาติใดเหมือนกัน และการเดินจูงมือจดทะเบียนสมรสในวันนี้ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กันอย่างตัวเลขดังกล่าว

เพราะคู่รักหลายคู่ถือเอาวันดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างครอบครัวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

วิธีจองคิว "จดทะเบียนสมรส" ออนไลน์! รับวาเลนไทน์

วันนี้ TrueID รวบรวมวิธีการจองคิวจดทะเบียนสมรสออนไลน์ มาให้คู่รักได้ทำตามขั้นตอน จะได้ไม่เสียเวลาเดินทาง ลดเสี่ยงโควิดด้วยนะ 

1. เข้าเว็บไซต์กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

คู่รักคนไหนที่ต้องการจองคิวจดทะเบียนสมรสออนไลน์ ควรให้สามีหรือภรรยา คนใดคนหนึ่ง แค่คนเดียวเท่านั้น คลิกเข้าเว็บไซต์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

2. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน

จากนั้นคุณสามี หรือคุณภรรยากรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน

  • เลขประจำตัวประชาชน (เลขบัตรประชาชน)
  • วันเดือนปีเกิด
  • เบอร์โทรศัพท์

จากนั้นให้กดปุ่ม "ตรวจสอบข้อมูล"

3. เลือกงานบริการ

หลังจากนั้น จะพบหน้าระบบนัดหมายรับบริการล่วงหน้า ให้กดปุ่ม

  • เลือกจังหวัดก่อน
  • เลือกอำเภอ
  • เลือกสำนักทะเบียนที่ใกล้บ้าน

ส่วนงานบริการให้กดปุ่มเลือก "การจดทะเบียนสมรส"

4. เลือกวันและเวลาที่จะเข้ารับการบริการ

  • เลือกวันก่อนที่จะเข้ารับบริการก่อน โดยสามารถเลือกวันรับบริการล่วงหน้าได้ถึง 15 วัน รวมวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • เลือกเวลาที่ต้องการรับบริการ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเช้า เวลา 10.00 น. ถึง 12.00 น. และช่วงบ่ายเวลา 14.00 น. – 16.00 น. ให้ทกดจองคิวในช่วงเวลาที่ต้องการ

5. ยืนยันการจอง

ตรวจทานข้อมูล วัน เวลา สถานที่ในการเข้ารับบริการจดทะเบียนสมรส เมื่อข้อมูลถูกต้องให้กดปุ่ม "ยืนยันการจอง" ได้เลย

6. จองคิวจดทะเบียนสมรสออนไลน์สำเร็จ

 จะพบรายละเอียดการลงทะเบียนจองคิวจดทะเบียนสมรสออนไลน์สำเร็จ คือ

  • หมายเลขนัดหมายล่วงหน้า วั
  • นที่เข้ารับบริการ
  • งานบริการที่ท่านเลือก
  • สถานที่และเวลา ในการเข้ารับบริการ 

7. จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง? 


จากนั้นเตรียมเอกสารในการจดทะเบียนสมรสให้ครบตามนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • พยานบุคคล 2 ท่าน พร้อมบัตรประชาชน

อย่าลืมไปให้ตรงเวลา ใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้องทุกครั้ง เว้นระยะกันด้วยนะ จะได้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว ลดเสี่ยงโควิดได้

ยกเลิกการจองคิวจดทะเบียนสมรสออนไลน์ ต้องทำอย่างไร?


สำหรับใครที่ต้องการยกเลิกการจองคิวจดทะเบียนสมรสออนไลน์ได้ตามนี้

  • กดปุ่มตรงเมนู
  • กดปุ่ม ยกเลิกนัดหมายรับบริการ 

และนี่คือ วิธีการจองคิวจดทะเบียนสมรสออนไลน์ง่าย ๆ สะดวก รวดเร็ว แถมยังประหยัดเวลาทั้งตัวเราเอง พยานไม่ต้องเสียเวลารอนาน ๆ อีกต่อไป และเมื่อได้คิวแล้ว อย่าลืมวางแผนการเดินทาง ใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง ทุกครั้ง พกเจลแอลกอฮอล์ พกปากกาส่วนตัว เว้นระยะห่าง ปฏิบัติตามกฎของสถานที่ เพื่อให้ราบรื่นไม่มีติดขัดกันนะ

ข้อมูล : กรมการปกครอง

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

เตรียมตัวให้พร้อม! จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง จดออนไลน์ได้ไหม? เสียค่าธรรมเนียมเท่าไหร่? ต้องจดที่ไหน? มีขั้นตอนในการจดอย่างไรบ้าง? ทีมแม่ ABK มีคำตอบ

จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง? จดออนไลน์ได้ไหม?

ทะเบียนสมรส นอกจากจะเป็นหลักฐานในการแสดงความรักแล้ว ยังเป็นเอกสารทางกฎหมายเพื่อยืนยันสถานะการสมรสของบุคคลสองคน ให้มีสถานะเป็นสามี-ภรรยา หรือ คู่ชีวิต ให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย ซึ่งทำให้การกระทำบางอย่างในทางกฎหมาย เช่น การกู้ยืม การครอบครองทรัพย์สินสมรส การครอบครองสินทรัพย์ ต่อให้เป็นการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่จะมีผลผูกพันทั้งสองคนทันที จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง? อ่านต่อได้ที่นี่เลยค่ะ

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส

  • ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิง
    มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
  • ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  • หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
    • คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
    • สมรสกับคู่สมรสเดิม
    • มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
    • ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
    • มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
  • ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ตามกฎหมาย

จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง?

  • บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  • สำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีชาวต่างประเทศ)
  • หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ตัวจริง)
  • พยานบุคคล จำนวน 2 คน
  • พยาน 2 คน (พร้อมบัตรประชาชนของพยานด้วย) ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
  • ถ้าเคยหย่ามาก่อน ให้พกหลักฐานการหย่าไปด้วย
  • กรณีคู่สมรสคนก่อนหน้าเสียชีวิต ต้องมีหลักฐานการเสียชีวิต เช่น ใบมรณบัตร ประกอบ
  • สูจิบัตรและทะเบียนบ้านของบุตร กรณีที่มีลูกก่อนที่จะจดทะเบียนสมรส
  • แบบฟอร์ม คร.1 ตัวนี้สามารถขอได้จากที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนที่ไปจดทะเบียนสมรส

ระเบียบในการขอจดทะเบียนสมรส

  • การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
  • คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
  • คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
  • คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคล จากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด
  • หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง การแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต
จดทะเบียน สมรสออนไลน์ได้ ไหม
จดทะเบียนสมรส

ค่าธรรมเนียม

  • การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
  • ในกรณีการจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน เสียค่าธรรมเนียม 200 บาท และต้องจัดยานพาหนะ รับ – ส่ง นายทะเบียน
  • การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท

ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรส

  1. รับเรื่อง – ผู้ร้องแจ้งความประสงค์ต่อนายทะเบียน โดยลงชื่อในคำร้องตามแบบคร.1 ที่นายทะเบียนเป็นผู้บันทึกข้อความ และจัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
  2. ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
    • นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
    • ผู้มีอำนาจให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้มีอำนาจให้ความยินยอมมาด้วยตนเอง)
    • ผู้ร้องขอเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนหรือไม่ หากหย่าแล้วต้องตรวจ สอบหลักฐานการหย่า หรือคู่สมรสตาย ให้ตรวจสอบหลักฐานการตาย
    • คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลที่ให้จดทะเบียน (กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล)
    • พยานอย่างน้อย 2 คน
  3. นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ร้องทั้งสองฝ่าย
  4. ผู้มีอำนาจในการจดทะเบียน ได้แก่ นายทะเบียน (นายอำเภอ / ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ / อำนวยการเขต / หรือผู้รักษาราชการแทน)
  5. หากผู้ร้องทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้บันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือเรื่องอื่น ให้นายทะเบียนพิมพ์รายละเอียดนั้นไว้ในช่องบันทึก
  6. ตรวจสอบข้อความในทะเบียนสมรส เมื่อพิมพ์ข้อความลงในทะเบียนสมรสแล้ว หากมีข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ทันทีก่อนการสั่งพิมพ์ กรณีไม่มีการแก้ไขและได้สั่งพิมพ์แล้วจะไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขได้อีก เพื่อเป็นการป้องกันการแก้ไขหรือลบข้อมูลโดยมิชอบ
  7. เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้สั่งพิมพ์ทะเบียนสมรส และใบสำคัญการสมรสเพื่อให้ผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอม (ถ้ามี) และพยานลงลายมือชื่อในทะเบียนสมรส  และนายทะเบียนลงลายมือชื่อในใบสำคัญการสมรส
  8. มอบใบสำคัญการสมรส ให้แก่คู่สมรสฝ่ายละหนึ่งฉบับ และนายทะเบียนเก็บรักษาทะเบียนสมรสไว้เป็นหลักฐาน
  9. การใช้นามสกุลของคู่สมรส ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างคู่สมรสให้ทางทะเบียนท้องที่บันทึกข้อตกลงของคู่สมรสว่าจะใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดโดยให้บันทึกต่อท้ายในแบบ คร. 2
จดทะเบียน สมรสออนไลน์ได้ ไหม
จดทะเบียนสมรสออนไลน์

จดทะเบียนสมรสออนไลน์

การจดทะเบียนสมรสออนไลน์นั้น หลายท่านเข้าใจผิดว่าเป็นการทำนิติกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ของทางกรมการปกครอง จริง ๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ เป็นเพียงการจองคิวเพื่อจดทะเบียนสมรสผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น คู่สมรสยังคงต้องไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต หรือสำนักงานทะเบียนเขตพื้นที่ กันอยู่เหมือนเดิมค่ะ เพียงแต่การจองคิวออนไลน์ เป็นการลดเวลาในการรอคิว และยังเป็นโอกาสในการเจอผู้คนหน้าแน่น และยังลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโควิด-19 ได้อีกด้วย

โดยวิธีการจองคิว ก็ง่ายแสนง่าย เพียงว่าที่คู่สามีภรรยาเข้าไปที่เว็บไซต์กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (https://q-online.bora.dopa.go.th/) เพื่อลงทะเบียนขอรับบริการล่วงหน้า โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน, วันเดือนปีเกิด และ เบอร์โทรศัพท์ 10 หลักเพื่อทำการจอง เมื่อเข้าหน้าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะมีหน้ารับบริการที่เราจะต้องเลือกสำนักทะเบียนที่ต้องการเข้าไปจดทะเบียนสมรส โดยเลือกจังหวัด อำเภอ และสำนักทะเบียนใกล้บ้าน จากนั้นให้เลือกวันและเวลาที่ต้องการเข้ารับบริการ เลือกล่วงหน้าได้ถึง 15 วันเลย

ไขข้อข้องใจกันแล้วนะคะว่า จดทะเบียนสมรสใช้อะไรบ้าง จดที่ไหน จะได้เมื่อไหร่ มีขั้นตอนอะไรบ้าง สามารถจดทะเบียนสมรสออนไลน์ได้หรือไม่ และเมื่อทำการจองเรียบร้อยแล้วก็เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียนสมรสให้พร้อม แล้วอย่าลืมไปให้ตรงเวลานัด เพื่อให้การจดทะเบียนสมรสทำได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

คุณแม่ควรรู้ไว้!! ประโยชน์ของ ทะเบียนสมรส ที่คุณอาจไม่เคยรู้

จดทะเบียนรับรองบุตร ทำอย่างไร ลูกอายุเท่าไหร่ถึงจดได้?

เอกสารแจ้งเกิด เพื่อเตรียมทำสูติบัตรให้ลูกน้อย

แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อได้ไหม? อนาคตจะมีปัญหาหรือไม่?

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักบริหารการทะเบียน, th.wikipedia.org, www.wongnai.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

จดทะเบียนสมรสต้องจองออนไลน์ไหม

หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วการจดทะเบียนสมรสออนไลน์นั้นแตกต่างจากการไปที่สำนักทะเบียนเลยอย่างไร อย่างที่บอกว่าการจองคิวจดทะเบียนสมรสออนไลน์นั้นเป็นอีกหนึ่งทางเลือก แต่เรายังคงต้องเข้าไปที่สำนักทะเบียนอยู่ แต่ข้อดีของมันก็คือ ประหยัดเวลา ไม่ต้องรอคิวนาน จองคิวได้ล่วงหน้าถึง 15 วัน

การ จดทะเบียน สมรส ต้อง ใช้ เอกสาร อะไร บ้าง

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส - บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวตามกฎหมาย - สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ - หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)

จดทะเบียนสมรสที่บ้านได้ไหม

พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. ๒๔๗๘ มาตรา ๑๐ วรรคสอง ให้สิทธิชาย หรือหญิงผู้จะทำการสมรสร้องขอให้นายทะเบียนไปจดทะเบียนสมรส ณ สถานที่อื่น นอกสำนักงานทะเบียน เช่นที่บ้านของตน หรือสถานที่จัดงานเลี้ยงฉลองการสมรส แต่ ชายหญิงต้องแสดงความยินยอมเป็นสามีภริยากันให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน ด้วยตนเอง

จดทะเบียนสมรสต้องใช้ทะเบียนบ้านตัวจริงไหม

#เอกสารที่ใช้สำหรับการจดทะเบียนสมรส ❤️✨❤️ ❤️บัตรประจำตัวประชาชน ❤️ทะเบียนบ้าน (กรณีมีชื่อในทะเบียนบ้านเขตบางเขน