จดทะเบียนหย่าต่างอําเภอได้ไหม

การสิ้นสุดการสมรสมี 3 วิธี คือ
1. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
2. การจดทะเบียนหย่า
3. ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส

การหย่า ปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ
            1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายกระทำได้ 2 วิธี คือ การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
            2. การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน

การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เอกสารที่ใช้เพื่อการจดทะเบียนหย่า คือ
            - บัตรประจำตัวประชาชน
            - ใบสำคัญการสมรส
            - หนังสือหย่าหรือหนังสือสัญญาหย่า

การจดทะเบียนหย่า
ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนหย่า
    กรณีการจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
     - คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
     - คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน

    ในกรณีการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
     - คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
     - คู่หย่าตกลงกันก่อนว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องก่อนหลัง และแต่ละฝ่ายจะยื่นคำร้อง ณ
     - สำนักทะเบียนใด
     - คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนตามที่ได้ตกลงกัน

    กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
     - หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก และหากให้คู่สมรสหย่าขาดจากกัน  โดยมีเงื่อนไขให้ไปจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียน การสมรสจึงจะสิ้นสุด

จดทะเบียนหย่าต่างอําเภอได้ไหม

การหย่านั้นถือเป็นการสิ้นสุดการสมรส การหย่าทำได้ 2 วิธี คือ
1.หย่าโดยความยินยอม คือ กรณีที่ทั้งคู่ตกลงที่จะหย่ากันได้เอง กฎหมายบังคับว่า การหย่าโดยความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงรายมือชื่อย่างน้อย 2 คน และถ้าการสมรสนั้นมีการจดทะเบียนสมรส(ตามกฎหมายปัจจุบัน)  การหย่าก็ต้องไปจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอด้วย มิฉะนั้นการหย่าย่อมไม่สมบูรณ์
1.1 การหย่าโดยความยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย ณ สำนักงานทะเบียนเดียวกับสถานที่แจ้ง ให้กระทำ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้ หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1.หนังสือข้อตกลงการหย่าหรือสัญญาการหย่า ซึ่งมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
2.บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการของทั้งสองฝ่าย
3.ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ
4.พยานบุคคล 2 คน ถ้าไม่มีนายทะเบียนจะหาให้แต่ต้องเสียค่าป่วยการพยาน 2.50 บาท
5.ค่าธรรมเนียมไม่ต้องเสียเว้นแต่ค่าป่วยการพยานที่นายทะเบียนหาให้ 2.50 บาท
1.2 การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ต่างสำนักงานทะเบียนที่แจ้งให้กระทำ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้ โดยต่างฝ่ายต่างยื่นคำร้อง ณ สำนักงานทะเบียนที่ตนสะดวก
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1.บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการทั้งสองฝ่าย
2.ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ
3.หนังสือยินยอมการหย่า ซึ่งพยานลงชื่อการหย่าอย่างน้อย 2 คน
4.ค่าธรรมเนียมไม่ต้องเสีย เว้นแต่ค่าป่วยการพยาน 2.50 บาท
2.หย่าโดยคำพิพากษาของศาล กรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งประสงค์จะหย่า แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการหย่าจึงต้องมีการฟ้องหย่าขึ้น เหตุที่จะฟ้องหย่าได้คือ
2.1 สามีอุปการะเลี้ยงดู หรือยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาหรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
2.2 สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติเช่นนั้นเป็นความผิด อาญาหรือไม่ ถ้าความประพฤติเช่นนั้นเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
–ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
–ได้รับความดูถูกเกลียดชัง หากยังคงสถานะของความเป็นสามีภริยากันต่อไป
–ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ คำว่า "ประพฤติชั่ว" เช่น สามีเป็นนักเลงหัวไม้ เที่ยวรังแกผู้อื่น เล่นการพนัน หรือสูบฝิ่น กัญชา เป็นต้น
1.3 สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหมิ่นประมาทหรือ เหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องเป็นการร้ายแรงด้วย อีกฝ่ายจึงจะฟ้องหย่าได้
1.4 สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ การละทิ้งร้างนี้ หมายถึง การที่ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่ง แต่หากไม่เป็นการจงใจ เช่น ต้องติดราชการทหารไปชายแดน เช่นนี้ไม่ถือเป็นการทิ้งร้าง
1.5 ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกจำคุกเกิน ๑ ปี โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนในความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเห็นใจ และการเป็นสามีภริยากันจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อยเกินควร อีกฝ่ายฟ้องหย่าได้
1.6 สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ตลอดมาเกิน ๓ ปี หรือแยกกันอยู่ ตามคำสั่งเป็นเวลาเกิน ๓ ปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.7 สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือ ถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกิน 3 ปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.8 สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง ตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยาอย่างร้ายแรง แต่การกระทำนั้นต้องถึงขนาดที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนโดยเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.9 สามีหรือภริยาเป็นบ้าตลอดมาเกิน ๓ ปี และความเป็นบ้านนั้น มีลักษณะยากที่จะหายได้ และความเป็นบ้าต้องถึงขนาดที่ จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.10 สามีหรือภริยาทำผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือ ในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ เช่น สามีขี้เหล้า ชอบเล่นการพนัน ย่อมทำหนังสือทัณฑ์บนไว้กับภริยาว่าตนจะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีก แต่ต่อมากลับฝ่าฝืน เช่นนี้ ภริยาฟ้องหย่าได้
1.11 สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ซึ่งอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้โรคดังกล่าว ต้องมีลักษณะเรื้อรัง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.12 สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจ ร่วมประเวณีได้ตลอดกาล คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ผลของการหย่า
1. ผลของการหย่าโดยความยินยอม การหย่าโดยความยินยอมนั้น ถ้าการสมรสเป็นการสมรสที่ไม่ต้องจดทะเบียน (การสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย) การหย่าโดยความยินยอมก็มีผลทันทีที่ทำเป็นหนังสือถูกต้อง และลงลายมือชื่อทั้ง 2 ฝ่าย พร้อมทั้งมีพยานรับรอง 2 คน แต่ถ้าการสมรสนั้นเป็นการสมรสที่ต้องจดทะเบียน (ตามบรรพ 5) การหย่าโดยความยินยอมนั้นนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้ว ยังต้องไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภออีกด้วย การหย่าจึงจะมีผลตามกฎหมาย —
–ผลของการหย่าต่อบุตร คือ ใครจะเป็นผู้ปกครองบุตร ตามกฎหมาย ให้ตกลงกันเองได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้ หรือไม่ได้ตกลง ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ใครจะเป็นคนจ่ายก็เช่นกันคือให้ตกลงกันเองว่า ใครจะเป็นผู้จ่าย ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
–ผลเกี่ยวกับสามีภริยา ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาสิ้นสุดลงทันที และไม่มีหน้าที่ใด ๆ ต่อกันเลย
–ผลเกี่ยวกับทรัพย์สิน ให้แบ่งทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาคนละครึ่ง โดยเอาจำนวนทรัพย์ที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าเป็นเกณฑ์
2.ผลของการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลตั้งแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้จะยังไม่จดทะเบียนหย่าก็ตาม ดังนั้น ความเป็นสามีภริยาจึงขาดลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป
–ผลเกี่ยวกับบุตร ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ปกติแล้วฝ่ายชนะคดีจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง แต่ศาลอาจกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้ ส่วนเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู ศาลเป็นผู้กำหนด
–ผลเกี่ยวกับคู่สมรส แม้กฎหมายจะถือว่า การสมรสสิ้นสุดลงนับแต่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดก็ตาม แต่ในระหว่างคู่สมรสก็เกิดผลทางกฎหมายบางประการคือ
1. มีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้จากสามีที่อุปการะหญิงอื่นหรือจากภริยาที่มีชู้และจากชายชู้หรือหญิงอื่นแล้วแต่กรณี และค่าทดแทนเพราะเหตุหย่าตามข้อ ๓.๒ (๓), (๔), (๘) โดยเป็นเพราะความผิดของอีกฝ่ายหนึ่ง
2. มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ ต้องเข้าหลักเกณฑ์คือเหตุแห่งการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพียงอย่างเดียว และการหย่านั้นทำให้อีกฝ่ายยากจนลง เพราะไม่มีรายได้จากทรัพย์สิน หรือการงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส แต่อย่างไรก็ตาม สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพนี้กฎหมาย กำหนดว่า จะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งมาในคดีที่ฟ้องหย่าด้วย มิฉะนั้นก็หมดสิทธิ

จดทะเบียนหย่าต่างอําเภอได้ไหม

https://aruneelpru.wordpress.com/category/กฏหมายในชีวิตประจำวัน/การหย่า

จดทะเบียนหย่าต่างอําเภอได้ไหม

เวลาหย่าต้องหย่าที่ไหน

* คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนตามที่ได้ตกลงกัน กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล * หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก และหากให้คู่สมรสหย่าขาดจากกัน โดยมี เงื่อนไขให้ไปจด ทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียน การสมรสจึงจะสิ้นสุด

จดทะเบียนหย่าไม่ต้องมีพยานได้ไหม

๓. การหย่า ไม่มีพยานบุคคลมาด้วย แต่ยืนยันที่จะจดทะเบียนหย่า จะหย่าได้หรือไม่ ตอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๒๐ (๓) ให้ผู้ร้องและพยานลงลายมือชื่อในทะเบียนการหย่า (คร.๖) ดังนั้น จึงต้องมีพยานในการ จดทะเบียนการหย่า

เซ็นใบหย่าใช้พยานกี่คน

4. ลงนามในหนังสือสำคัญการหย่า หลังจากตกลงกันได้แล้วก็ถึงเวลาจรดปากกากันเสียทีค่ะ นอกจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิงแล้ว ยังต้องให้พยานทั้ง 2 คน รวมถึงนายทะเบียนลงนามด้วยจึงจะถือว่าการหย่าเสร็จสมบูรณ์ค่ะ

พยานหย่าใช้เอกสารอะไรบ้าง

หนังสือข้อตกลงการหย่าหรือสัญญาการหย่า ซึ่งมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน.
บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการของทั้งสองฝ่าย.
ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ.
พยานบุคคล 2 คน ถ้าไม่มีนายทะเบียนจะหาให้แต่ต้องเสียค่าป่วยการพยาน 2.50 บาท.
ค่าธรรมเนียมไม่ต้องเสียเว้นแต่ค่าป่วยการพยานที่นายทะเบียนหาให้ 2.50 บาท.