เคลือบฟลูออไรด์แปรงฟันได้ไหม

คุณน่าจะเคยได้ยินว่าฟลูออไรด์นั้นสำคัญสำหรับเด็กเพราะเป็นช่วงวัยที่ฟันกำลังเจริญเติบโต แต่คุณรู้หรือไม่ว่าฟลูออไรด์นั้นมีความสำคัญต่อคุณมากเช่นกัน ประโยชน์ของการใช้ฟลูออไรด์กับเด็กและผู้ใหญ่ จากข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ของสมาคมทันตแพทย์อเมริกัน (ADA) ระบุชัดเจนว่าฟลูออไรด์มีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุโดยตรงไม่ว่าจะมีระดับความเสี่ยงเรื่องฟันผุมากน้อยเพียงใด ผู้ใหญ่ทุกคนก็ควรใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ ยกเว้นบางกรณีที่ทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแนะนำให้งด ผู้ใหญ่บางคนมีความเสี่ยงหรือประสบภาวะมีฟันผุมากกว่าคนทั่วไป และควรได้รับฟลูออไรด์ปริมาณที่มากกว่าปกติ พบคำถามและคำตอบเกี่ยวกับฟลูออไรด์โดยเฉพาะสำหรับผู้ใหญ่ได้ที่นี่

ประเภทการรักษาด้วยฟลูออไรด์?

คุณสามารถรับการรักษาด้วยฟลูออไรด์จากทันตแพทย์ที่คลินิก หรือการใช้ฟลูออไรด์เองที่บ้าน ที่คลินิกทันตกรรม กระบวนการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญนั้นง่ายและสะดวกรวดเร็ว เริ่มจากทันตแพทย์หรือทันตาภิบาลจะทำการดูน้ำลายและทำให้ฟันของคุณแห้งก่อนทาเจลหรือโฟมฟลูออไรด์บนผิวฟัน หรือ บีบฟลูออไรด์ใส่ถาดรูปฟันแล้วให้คุณกัดค้างไว้ซัก 2-3 นาที แนะนำว่าคุณไม่ควรกลืนฟลูออไรด์ในช่วงเวลาการรักษา ซึ่งแท้จริงแล้วใช้เวลาไม่นาน ไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ แถมฟลูออไรด์ก็มีหลายรสชาติให้คุณเลือกอีกด้วย ควรวางแผนก่อนที่จะนัดเพื่อเข้ารับการรักษา คุณจะไม่ต้องทนหิวระหว่างรอ

ส่วนการรักษาโดยใช้ฟลูออไรด์ที่บ้านสำหรับผู้ใหญ่ ส่วนมากมาในรูปแบบเจลที่มีขายตามร้านขายยา ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความจำเป็นเฉพาะบุคคล เช่นมีระดับความเสี่ยงของฟันผุแค่ไหน รวมถึงต้องเข้าใจปริมาณของฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำประปาของท้องถิ่นที่คุณอาศัยอยู่ด้วย ฟลูออไรด์ที่นิยมใช้คือ ฟลูออไรด์ชนิดเจล เพราะสามารถทาบนผิวฟันได้โดยตรง ทันตแพทย์จะแนะนำรายละเอียดการใช้ฟลูออไรด์ที่เหมาะกับสภาวะและความเสี่ยงของแต่ละคน ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้เองได้ที่บ้าน

ฟลูออไรด์มีประโยชน์สำหรับผู้ใหญ่หรือไม่?

แน่นอนที่สุด! หลายคนมักเข้าใจผิดว่าฟลูออไรด์มีประโยชน์ในการช่วยให้ฟันของเด็กๆ แข็งแรงเท่านั้น แต่ความจริงคือ! มีงานวิจัยค้นพบว่าฟลูออไรด์ที่ผสมอยู่ในยาสีฟัน หรือในน้ำยาบ้วนปาก รวมถึงชนิดเพื่อการรักษา ล้วนมีประสิทธิภาพที่ช่วยป้องกันฟันผุให้กับคนทุกวัย นอกจากนี้ ฟลูออไรด์ยังมีประโยชน์กับผู้สูงวัยที่มีภาวะภาวะปากแห้งหรืออาการน้ำลายน้อยอีกด้วย ส่วนใหญ่ปัญหาปากแห้งเป็นผลข้างเคียงมาจากการใช้ยาบางจำพวก รวมถึงปริมาณน้ำลายจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น น้ำลายเป็นตัวช่วยเรื่องกระบวนการคืนแร่ธาติสู่ผิวฟัน จึงช่วยป้องกันฟันผุได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าควรได้รับฟลูออไรด์เพิ่ม?

หากคุณดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์ แล้วแปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์อย่างสม่ำเสมอ ถือว่าได้รับฟลูออไรด์เพียงพอสำหรับผู้ใหญ่ทั่วไป สามารถโทรศัพท์สอบถามการประปาถึงปริมาณฟลูออไรด์ที่มีในแหล่งน้ำท้องถิ่นของคุณ หรืออาจจะให้ผู้เชี่ยวชาญทางการประปามาตรวจสอบ หากแหล่งน้ำนั้นมาจากบ่อน้ำส่วนบุคคลเพื่อทราบปริมาณของฟลูออไรด์ 1. คุณกำลังทานยาตัวไหนที่อาจทำให้ปากแห้งหรือไม่? คุณมีสภาวะใดที่ก่อให้เกิดอาการปากแห้งบ้างมั๊ย?เหตุเพราะผู้ใหญ่หลายคนจำเป็นต้องใช้ยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ปากแห้ง เช่น ยาต้านฮิสทามีนและยาต้านภูมิแพ้ ยาลดความเครียดและยาต้านความดันโลหิตสูงภาวะการเจ็บป่วยบางประการอาจทำให้เกิดอาการปากแห้งได้เช่นกัน เช่น กลุ่มอาการโจเกรนหรือความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันและอาการจากโรคเบาหวานหากคุณมีอาการปากแห้ง ลองใช้น้ำยาบ้วนปากที่ส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพราะสามารถช่วยให้มีน้ำหล่อเลี้ยงในปากและเสริมสร้างฟันให้แข็งแรง คุณสามารถซื้อสารทดแทนน้ำลาย ( น้ำลายเทียม ) ได้ตามร้านขายยาทั่วไป เพื่อทดแทนภาวะน้ำลายน้อยในช่องปาก การอมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งที่ปราศจากน้ำตาลจะช่วยเพิ่มการเพิ่มการผลิตของน้ำลายในช่องปากมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไซลิทอลก็ช่วยได้เช่นกัน เพราะเป็นความหวานจากธรรมชาติมักไม่ก่อให้เกิดฟันผุ เนื่องจากแบคทีเรียไม่สามารถใช้ไซลิทอลเป็นอาหารได้ 2. คุณเคยมีอาการเหงือกร่นที่เผยให้เห็นถึงเนื้อฟัน? หรือทันตแพทย์เคยบอกว่าคุณมีอาการเหงือกอักเสบมาก่อน?ในวัยผู้ใหญ่ มีโอกาสมากที่จะมีภาวะเหงือกอักเสบ ซึ่งเนื้อเยื่อเหงือกและกระดูกเบ้าฟันจะถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นอาการที่สามารถรักษาให้หายได้ ภาวะเหงือกร่นอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียได้มากกว่า โดยเฉพาะบริเวณใต้เคลือบฟันในรากฟันของคุณ หากคุณสังเกตเห็นว่ามีร่องระหว่างฟัน มีเลือดไหลบริเวณเหงือกหรือมีฟันโยก ให้รีบปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจและรักษาโดยด่วน ผลการศึกษาค้นคว้าโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ของสมาคมปริทันตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (AAP) พบว่ากว่าครึ่งของประชากรชาวอเมริกันกลุ่มอายุ 30 หรือมากกว่ามีภาวะเหงือกอักเสบ ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำรวมถึงการรักษาอย่างเหมาะสมแก่คุณได้เพื่อปกป้องรากฟันของคุณ ทันตแพทย์จะทาฟลูออไรด์วานิชหรือเจลฟลูออไรด์ที่ผิวเคลือบฟัน ใช้น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์หรือฟลูออไรด์เจลที่ทันตแพทย์จ่ายให้เพื่อเพิ่มปริมาณฟลูออไรด์ให้กับฟันและผิวรากฟันของคุณ เหงือกร่นทำให้รากฟันเผยซึ่งก่อให้เกิดอาการเสียวฟัน และเนื่องจากรากฟันนั้นไม่ได้แข็งแรงทนทานเหมือนเคลือบฟัน จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดฟันผุ 3. คุณได้ผ่านการอุดฟันในปีที่ผ่านมาหรือไม่?หากคุณเคยมีฟันผุมาแล้ว คุณอาจเสี่ยงต่อการมีฟันผุอีกมากกว่าคนทั่วไป และถ้าคุณเคยชินกับการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล การเปลี่ยนมาทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการดูแลสุขอนามัยในช่องปากที่ดีมากขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดฟันผุได้ ให้ฟลูออไรด์เป็นส่วนสำคัญในการทำความสะอาดช่องปากทุกวันของคุณ 4. คุณใส่ครอบฟันหรือสะพานฟันหรือไม่?การใส่ครอบฟันนั้นก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ ตราบใดที่คุณยังมีฟันแท้อยู่ ฟันของคุณก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ตลอดเวลา ร่องที่ผ่านการอุดฟันหรือการใส่ครอบฟันมักเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย ฟลูออไรด์จึงเป็นตัวช่วยในการป้องกันฟันผุ ในบางกรณี ฟลูออไรด์ช่วยชะลอกระบวนการที่ทำให้เกิดฟันผุและส่งเสริมการคืนแร่ธาตุสู่ฟันได้ 5. คุณใส่เหล็กดัดฟันหรือไม่?โดยทั่วไปแล้ว การจัดฟันทำให้การทำความสะอาดช่องปากนั้นยากกว่าปกติ เศษอาหารจะติดอยู่ตามซอกเหล็กดัดฟัน และคราบจุลินทรีย์ก่อตัวกลายเป็นแบคทีเรียซึ่งก่อให้เกิดฟันผุตามมา ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใช้ฟลูออไรด์เจลหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ การใช้น้ำยาบ้วนปากหรือฟลูออไรด์เจล รวมถึงใช้ไหมขัดฟันขัดและแปรงบริเวณขอบเหงือกจะช่วยลดปัญหาฟันผุ6. คุณกำลังเข้ารับหรือเคยได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะหรือลำคอหรือไม่?จากการอ้างอิงของสมาคมมะเร็งวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา บุคคลที่เคยผ่านการรักษาด้วยการฉายรังสีอาจมีผลข้างเคียงที่ตามมาบริเวณปาก ฟันและต่อมน้ำลาย แต่โชคดีที่ทันตแพทย์สามารถแนะนำวิธีการดูแลหรือทำการรักษาเพื่อลดผลข้างเคียงเหล่านี้ได้ในกรณีภาวะปากแห้งจากการฉายรังสี ให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุได้ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้ปริมาณฟลูออไรด์ที่มากขึ้นตามสภาวะความเสี่ยงของแต่ละคน เช่น การทำถาดใส่ฟลูออไรด์เฉพาะบุคคล เพื่อให้ถาดกรชับพอดีกับรูปฟันเพื่อให้การเคลือบฟลูออไรด์นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรใช้ถาดที่ขนาดพอดี ตามเวลาที่ทันตแพทย์แนะนำ เพื่อให้แน่ใจว่าฟลูออไรด์จะเกาะติดเนื้อฟันเป็นเวลานานพอเพื่อประสิทธิภาพดีที่สุด หลังจากใช้ฟลูออไรด์แล้ว ไม่ควรบ้วนปากเป็นเวลา 30 นาที ควรนัดพบทันตแพทย์ทุก ๆ 2 ถึง 3 เดือนครั้ง หรือตามคำแนะนำของทันตแพทย์

ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยถึงความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ คุณสามารถลดความเสี่ยงได้หลายวิธี:

  • ลดการทานขนมขบเคี้ยว โดยเฉพาะจำอาหารพวกแป้งหรือมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง
  • ใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่ผสมของฟลูออไรด์ เพื่อฟันที่แข็งแรง
  • แปรงฟัน 2 ครั้งต่อวัน และใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง
  • หากคุณมีปัญหาเหงือกอักเสบ ควรใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีคุณสมบัติกำจัดเชื้อจุลินทรีย์
  • เคี้ยวหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาลหรือลูกอมไซลิทอล

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การดูแลสุขอนามัยในช่องปากและการเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำสามารถช่วยให้คุณมีสุขภาพฟันที่แข็งแรงได้เมื่อคุณอายุมากขึ้น การใช้ฟลูออไรด์และการดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากจะช่วยให้คุณมีสุขภาพฟันที่แข็งแรงเมื่อคุณเริ่มมีอายุมากขึ้นได้เช่นกัน

เคลือบฟลูออไรด์บ่อยๆได้ไหม

โดยปกติแล้ว คุณหมอฟันเด็กจะแนะนำ การเคลือบฟลูออไรด์ ในเด็ก ทุกๆ 6 เดือน แต่ในบางกรณี ถ้าเด็กมีความเสี่ยงในการเกิดฟันผุสูง ทันตแพทย์สำหรับเด็ก หรือ หมอฟันเด็ก อาจจะแนะนำการ เคลือบฟลูออไรด์เด็ก ในทุกๆ 3 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ หมอฟันเด็กเป็นผู้พิจารณาตามความจำเป็นค่ะ

เคลือบฟลูออไรด์ฟันจะขาวไหม

หลายคนอาจสงสัยว่า เคลือบฟลูออไรด์ฟันขาวไหม ซึ่งจริงๆแล้วการเคลือบฟลูออไรด์อาจไม่ได้ช่วยให้ฟันขาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะเป็นเพียงการเคลือบสารลงบนผิวฟัน เพื่อให้ฟันแข็งแรงเท่านั้น

เคลือบฟลูออไรด์ เพื่ออะไร

การเคลือบฟลูออไรด์จะช่วยป้องกันฟันผุได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ใครก็ตามที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีฟันผุก็สามารถเข้ารับการเคลือบฟลูออไรด์ได้ โดยทันตแพทย์จะเคลือบฟลูออไรด์ลงไปที่ฟันของคุณโดยตรง ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของฟันผุคือ มีประวัติฟันผุ

เคลือบฟลูออไรด์ ทำยังไง

วิธีการคือ ทันตแพทย์จะแปรงฟันหรือขัดฟันเด็กให้สะอาด เลือกใช้ถาดฟลูออไรด์ให้เหมาะสมกับจำนวนฟัน แล้วใส่ฟลูออไรด์เจลประมาณ ⅓ ของความสูงของถาด นำถาดมาครอบฟันบนและล่าง แล้วให้เด็กกัดไว้เป็นเวลา 4 นาที ระหว่างนั้นจะดูดน้ำลายออกตลอดเวลา เพื่อป้องกันการกลืนฟลูออไรด์