โรคไส้เลื่อนใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม

“ไส้เลื่อน” เป็นภาวะที่พบได้บ่อยกับทุกเพศทุกวัย เกิดจากการที่ผนังช่องท้องอ่อนแอหรือหย่อนยาน จนทำให้ลำไส้เคลื่อนที่ออกจากบริเวณที่อ่อนแอ หรือหย่อนยานนั้น ทำให้เห็นเป็นก้อนตุง ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด การเสื่อมลงของกล้ามเนื้อเนื่องมาจากอายุที่มากขึ้น อุบัติเหตุที่หน้าท้อง ยกของหนัก ไอบ่อย เบ่งอุจจาระ หรือเกิดจากการผ่าตัดช่องท้อง

Show

อาการ

อาการของโรคไส้เลื่อน ที่เห็นได้ชัด มีดังนี้

  1. มีก้อนนูนออกมาบริเวณหน้าท้อง หรือขาหนีบ

  2. มีอาการเจ็บเวลาก้มตัว ไอ หรือยกของหนัก

  3. บางรายอาจมีอาการแน่นท้อง อาเจียน หรือท้องผูกร่วมด้วย

โรคไส้เลื่อนใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม

ไส้เลื่อนเป็นตรงไหนได้บ้าง

โรคไส้เลื่อนสามารถเกิดขึ้นได้หลายบริเวณ ดังนี้

  1. ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ

  2. ไส้เลื่อนที่สะดือ หรือ สะดือจุ่น

  3. ไส้เลื่อนกระบังลม

  4. ไส้เลื่อนเหนือสะดือ

  5. ไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ

  6. ไส้เลื่อนข้าง ๆ กล้ามเนื้อหน้าท้อง

  7. ไส้เลื่อนในช่องเชิงกราน

โรคไส้เลื่อนใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม

วิธีการรักษา

โรคไส้เลื่อน สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดแบบปกติ และการผ่าตัดส่องกล้อง การทานยาประคับประคองอาการ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาขับปัสสาวะ ยาแก้ปวด เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และการวินิจฉัยของแพทย์

การหักเงินประกันสังคม สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานใหม่ ๆ  อาจจะคิดว่า “ไม่จำเป็น” หรืออยากเอาเงินไปทำอย่างอื่นเองคงจะดีกว่า  แต่จริง ๆ  แล้วสิทธิประกันสังคมมี “ข้อดี” อีกมากที่หลายคนอาจจะยังไม่ได้ตระหนักถึง หรือยังไม่รู้ว่าการ จ่ายเงินประกันสังคมในทุก ๆ เดือนนั้น  จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ?

ในวันนี้ . . เราจึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน “ประกันสังคม” จะได้รับบริการทางการแพทย์ ในกรณีเจ็บป่วยมาฝากกันค่ะ

โรคไส้เลื่อนใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม

ในกรณีเจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นโดยที่ได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนดดังนี้

  • เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ การรักษาทั้งอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น และในกรณีเป็นผู้ป่วยใน เบิกได้ตามที่จ่ายจริง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
  • เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของเอกชน กรณีผู้ป่วยนอกเบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 1,000 บาท กรณีผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลกรณีไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท ค่าห้องกรณีรักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท กรณีต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 – 16,000 บาทตามระยะเวลาการผ่าตัด
  • กรณีทันตกรรม เข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม (ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลได้จาก สำนักงานประกันสังคม) สามารถรับค่าบริการทางการแพทย์ได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 900 บาทต่อปี

14 โรคที่ประกันสังคมไม่คุ้มครอง ดังนี้

1. โรคหรือประสบอันตรายเนื่องจากการใช้สารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
2. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล ประเภทคนไข้ในเกิน 180 วันใน 1 ปี
3. การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรังยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และอัตราที่กำหนด
4. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
5. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
6. การรักษาภาวะมีบุตรยาก
7. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดอวัยวะ ยกเว้นการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูกของผู้ประกันตนให้จ่ายค่าตรวจเนื้อเยื่อเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 7,000 บาทต่อราย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด
8. การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น
9. การผ่าตัดอวัยวะ ยกเว้น
- การปลูกถ่ายไขกระดูก ให้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 750,000 บาทต่อราย แก่สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่คณะกรรมการการแพทย์รับรอง และได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา โดยให้เหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล 20,000 บาท และให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย 5,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
10. การเปลี่ยนเพศ

11. การผสมเทียม
12. การบริการระหว่างการรักษาตัวแบบพักฟื้น
13. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันขุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
14. แว่นตา

โดยเงื่อนไขการใช้สิทธิ์ : ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน

ด้วยความห่วงใยและใส่ใจจากโรงพยาบาลบางปะกอก 3

ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ หรือเป็นผู้ประกันตนเอง รู้หรือไม่ว่าเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่จ่ายไปในแต่ละเดือนนั้น ให้สิทธิประโยชน์ทดแทนในด้านไหนบ้าง โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ ทั้งในกรณีเจ็บป่วยทั่วไป เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง และยังมีโรคอะไรที่เข้าข่ายได้รับการรักษาอีกบ้าง ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาลที่นำมาฝากกันนี้ เพื่อที่จะได้ไม่พลาดใช้สิทธิของตัวเอง

สารบัญ สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล

สิทธิประกันสังคม ตรวจรักษาอะไรได้บ้างสิทธิการรักษาตามมาตราขั้นตอนการเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมด้วยตัวเองเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมได้เมื่อไหร่เลือกโรงพยาบาลประกันสังคมอย่างไร ที่ไหนดี

โรคไส้เลื่อนใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม

สิทธิประกันสังคม ตรวจรักษาอะไรได้บ้าง

สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล ครอบคลุมการเจ็บป่วยปกติ เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ ทันตกรรม บําบัดทดแทนไต ปลูกถ่ายไขกระดูก เปลี่ยนอวัยวะกระจกตา อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบําบัดรักษาโรค ติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ คลอดบุตร รักษาโรคจากการทำงานหรือออฟฟิศซินโดรม และตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้

เจ็บป่วยปกติ

เจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ยกเว้น 14 โรคตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม เช่น เสริมสวย รักษาการมีบุตรยาก ผสมเทียม แว่นตา ใช้สารเสพติด เปลี่ยนเพศ หรือฆ่าตัวตาย จะไม่สามารถใช้สิทธิได้

เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ

กรณีที่เข้าข่ายการเจ็บป่วยฉุกเฉินจะมี 6 อาการด้วยกัน ได้แก่หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจหายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วมเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรงแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุดมีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

     แบ่งการรักษาออกเป็น 2 กลุ่มโรงพยาบาลรัฐบาล เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น เบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 72 ชั่วโมง ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกิน 700 บาท/วันโรงพยาบาลเอกชน กรณีผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,000 บาท/ครั้ง กรณีผู้ป่วยใน ไม่เกิน 2,000 บาท/ครั้ง ค่าห้องและค่าอาหาร ไม่เกิน 700 บาท/วัน โดยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล สำรองจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานไปเบิกขอเงินคืนได้ 

โรคไส้เลื่อนใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม

     กรณีอื่น ๆ เพิ่มเติม

ค่าห้อง (ICU) เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,500 บาท/วันค่าห้องผ่าตัดใหญ่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง 8,000-16,00 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงที่ได้รับการผ่าตัดกรณีฉุกเฉิน เบิกได้ไม่เกิน 4 ครั้ง/ปี (ผู้ป่วยนอก 2 ครั้ง ผู้ป่วยใน 2 ครั้ง) กรณีอุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้งค่าทำ CT Scan เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท/ครั้งค่าทำ MRI เบิกได้ไม่เกิน 8,000 บาท/ครั้งค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท/ครั้งค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายาและอุปกรณ์ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,000 บาท/ครั้ง

ทันตกรรม

ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด 900 บาท/ครั้ง/ปีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียมใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีโดยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล สำรองจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานไปเบิกขอเงินคืนได้

บําบัดทดแทนไต (โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย)

ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 1,500 บาท/ครั้ง ไม่เกิน 4,500 บาท/สัปดาห์เตรียมเส้นเลือดสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/2 ปีตรวจรักษาและน้ำยาล้างช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/เดือนวางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/2 ปีผ่าตัดปลูกถ่ายไต ก่อน-ระหว่าง-หลัง การปลูกถ่ายไต และรับยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต

ปลูกถ่ายไขกระดูก

ค่าบริการทางการแพทย์ นับแต่วันที่เริ่มต้นเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อทำการปลูกถ่ายไขกระดูก จนถึงวันที่ได้รับการไขกระดูก (stem cell) เหมาจ่าย 500,000 บาทค่าบริการทางการแพทย์นับตั้งแต่วันที่ได้รับไขกระดูก (stem cell) จนถึงวันที่ออกจากโรงพยาบาล เหมาจ่าย 250,000 บาท

เปลี่ยนอวัยวะกระจกตา

ค่าบริการทางการแพทย์แก่โรงพยาบาล เหมาจ่าย 35,000 บาทค่าจัดเก็บและรักษาคุณภาพดวงตาแก่สภากาชาดไทย 15,000 บาท/ดวงตา

อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบําบัดรักษาโรค

เบิกได้ตามรายการประกาศที่สำนักงานประกันสังคมกําหนด เช่น กะโหลกศีรษะเทียม กระดูกหูเทียม เท้าเทียม แขนเทียม ไม้ค้ำยัน รถนั่งคนพิการ ฯลฯ

ติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์

ค่าตรวจ CD4 เหมาจ่ายครั้งละ 500 บาท ปีละไม่เกิน 1,000 บาท/คนค่าตรวจ Viral Load เหมาจ่ายครั้งละ 2,500 บาท ปีละไม่เกิน 5,000 บาท/คนค่าตรวจ Drug resistance ครั้งละ 8,500 บาท/คน/ปีค่ายาต้านไวรัสเอชไอวี ในผู้ติดเชื้อทุกรายในทุกระดับ CD4 สูตรยาต้านไวรัส ให้เป็นไปตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คลอดบุตร

เหมาจ่าย 13,000 บาท/การคลอดบุตร 1 ครั้งใช้สิทธิได้ 2 คนรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตรา 50% ของเงินเดือน (ฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 90 วัน

ค่าคลอดเหมาจ่าย 13,000 บาท จะรวมค่าใช้จ่ายตั้งแต่ฝากครรภ์ การคลอด การดูแลหลังคลอดและการบริบาลทารกปกติ สามารถเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ แต่ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร

รักษาโรคจากการทำงาน/ออฟฟิศซินโดรม

มีอาการป่วย เช่น อาการปวดหลัง บ่า ไหล่ ข้อมือ ปวดต้นคอ ปวดหัว หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อันมีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก สามารถขอใช้สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาลได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หากเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษา

ในกรณีที่รับการรักษาที่นอกเหนือจากคำสั่งของแพทย์ เช่น การฝังเข็ม หรือครอบแก้ว หากแพทย์วินิจฉัยว่าไม่จำเป็น ผู้ประกันตนต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่ม ตามอัตราค่ารักษาจริง

โรคไส้เลื่อนใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม

ตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือจังหวัดที่มีการควบคุมในระดับสูงสุด สามารถขอตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ฟรี โดยประกันสังคมจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดังนี้

ค่าบริการทางการแพทย์ซึ่งเป็นค่าตรวจคัดกรองเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยเทคนิค Real Time PCR ประกันสังคมจะจ่ายให้ 1,600 บาท ตามระเบียบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุขค่ารักษาพยาบาลจนเสร็จสิ้นกระบวนการจนกระทั่งรักษาหายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางห้องแล็บในอัตราที่จ่ายจริงในราคาแบบเหมาจ่ายในอัตราครั้งละไม่เกิน 600 บาท

สิทธิการรักษาตามมาตรา

สิทธิการรักษาในโรงพยาบาลโดยใช้ประกันสังคม จะต้องเป็นผู้ประกันตนใน 3 มาตรา คือ มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ซึ่งนอกจากสิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล ยังได้รับสิทธิประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น ว่างงาน สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต

มาตรา 33

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี

โดยต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน คิดเป็นสัดส่วนดังนี้ ลูกจ้าง 5% + นายจ้าง 5% + รัฐบาล 2.75% ของฐานเงินค่าจ้าง ขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาทสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

เจ็บป่วยคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ เสียชีวิต ว่างงาน

มาตรา 39

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน

การสมัครประกันสังคมในกลุ่มนี้ มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ โดยผู้ประกันตนต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือนสิทธิประโยชน์ที่ได้รับเจ็บป่วยคลอดบุตรสงเคราะห์บุตรทุพพลภาพชราภาพเสียชีวิต

มาตรา 40

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 นี้ คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 โดยผู้ที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี มีสิทธิประโยชน์ให้เลือก 3 ทางเลือก ได้แก่  

ทางเลือก 1 จ่าย 100 บาท ต่อเดือน  สิทธิประโยชน์ที่ได้รับเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิตทางเลือก 2 จ่าย 150 บาท ต่อเดือน  สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ  เจ็บป่วยทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพทางเลือก 3 จ่าย 300 บาท ต่อเดือน  สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิตชราภาพสงเคราะห์บุตร

ขั้นตอนการเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมด้วยตัวเอง

การเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมด้วยตัวเอง สามารถทำได้ 3 ช่องทาง ตามขั้นตอน ดังนี้สำนักงานประกันสังคมดาวน์โหลดแบบการเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ (สปส.9-02) คลิกดาวน์โหลดจากนั้นกรอกข้อมูลต่าง ๆ แล้วนำไปยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม จะใช้แบบฟอร์ม สปส.9-02 และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th ทำการสมัครสมาชิกให้เรียบร้อยเมื่อสมัครสมาชิกแล้ว ทำการ Login เข้าเว็บไซต์ แล้วคลิกที่ “ผู้ประกันตน”ทำการคลิกที่ “ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล”เลือกเหตุผลการเปลี่ยนสิทธิ “เปลี่ยนประจำปี” หลังจากนั้นคลิกที่ “เลือกสถานพยาบาลใหม่”จากนั้นทำการเลือกสถานพยาบาลใหม่เมื่อเลือกโรงพยาบาลได้แล้ว ติ๊กยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลง แล้วกด “บันทึก” เป็นอันเรียบร้อย

โรคไส้เลื่อนใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม

แอปพลิเคชัน SSO Connect

  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO Connect ของสำนักงานประกันสังคม
  • iOS : คลิกดาวน์โหลด Android : คลิกดาวน์โหลด
  • จากนั้นลงชื่อเข้าสู่ระบบ (ผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนให้ลงทะเบียนก่อน)
  • เลือก “เปลี่ยนโรงพยาบาล”
  • กรอกข้อมูล และเลือกโรงพยาบาลที่ต้องการเปลี่ยน
  • อ่านหลักเกณฑ์และรายละเอียดต่าง ๆ จากนั้นกด “ยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลง” และ “ยืนยัน”

เปลี่ยนสิทธิประกันสังคมได้เมื่อไหร่

การเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมที่ใช้ในโรงพยาบาล สามารถเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม ของทุกปี แต่สามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม เป็นต้นไปในกรณีที่มีเหตุจำเป็น เช่น ย้ายที่พักอาศัย ย้ายสถานที่ทำงานประจำ หรือพิสูจน์ทราบว่าผู้ประกันตนไม่ได้มีการเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเอง สามารถยื่นเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ภายใน 30 วันนับจากวันที่เกิดเหตุ

เลือกโรงพยาบาลประกันสังคมอย่างไร ที่ไหนดี

คำนึงถึงความสะดวกในการเดินทาง เลือกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่ทำงาน หรือใกล้ที่พักอาศัย เพื่อจะได้เดินทางสะดวก ไม่เสียเวลาหากมีโรคประจำตัว ควรเลือกโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางตามโรคที่เป็น หรือโรงพยาบาลที่สามารถส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงขึ้นเลือกโรงพยาบาลที่มีสถานพยาบาลเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่ที่สามารถเดินทางไปรักษาได้สะดวก และยิ่งถ้าโรงพยาบาลนั้นมีเครือข่ายจำนวนมาก ทำให้สะดวกสบายมากขึ้นมีทางเลือกมากขึ้นโรงพยาบาลพีเอ็มจี ให้บริการผู้ใช้สิทธิประกันสังคม อย่างมีมาตรฐาน ให้การบริการอย่างรวดเร็ว มีบุคลากรทางการแพทย์คอยดูแล และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ พร้อมให้บริการ

สิทธิพิเศษสำหรับ ผู้ใช้สิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลพีเอ็มจีนั้น สามารถใช้บริการโรงพยาบาลหรือคลินิกในเครือข่ายได้ถึง 11 แห่งดังนี้โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ 02-0891111โรงพยาบาลพีเอ็มจี บางขุนเทียน 02-4772290-3พีเอ็มจีบางขุนเทียน 2 คลินิกเวชกรรม 02-8943713-4สหคลินิก พีเอ็มจีบางขุนเทียน 5 02-4503650-1พีเอ็มจีเทียนทะเล คลินิกเวชกรรม 02-8920145พีเอ็มจีเพชรทองคำ คลินิกเวชกรรม 02-4521407ภัทรคลินิกเวชกรรม 02-7185556คลินิกเวชกรรมมหาชนพระประแดง 02-4631579มิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม (โพธิ์แจ้) 034-115377มิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม (วัดพันท้าย) 034-115071มิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม (เศรษฐกิจ 1) 034-115395

โดยเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00 – 24:00 น.

สรุป

สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในแต่ละเดือน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านสุขภาพ รักษาอาการเจ็บป่วย คลอดบุตร และยังครอบคลุมด้านอื่น ๆ เช่น ว่างงาน สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิตสำหรับผู้ที่เป็นผู้ประกันตนและอยากเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมที่ใช้ในโรงพยาบาลปัจจุบัน สามารถทำได้ 3 ช่องทาง คือ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และแอปพลิเคชัน SSO Connect ในช่วงวันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคมของทุกปี โดยควรเลือกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่ทำงาน ใกล้บ้าน และมีศักยภาพสูงในการให้บริการทางการแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ

โรคไส้เลื่อนใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม

สัญญาณเตือน มะเร็งเต้านม ไม่อยากเสี่ยงควรรู้วิธีป้องกัน พร้อมวิธีการรักษา

‘มะเร็งเต้านม’ คือโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้หญิงเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจึงมีความสำคัญ เพื่อให้พบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และทำการรักษาได้ทันท่วงที

  • 8 มิถุนายน 2022

  • 275

บทความ

โรคไส้เลื่อนใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม

ฝังยาคุมกำเนิด ดีอย่างไร? ช่วยอะไรได้บ้าง? ท้องไม่พร้อม ป้องกันได้

การฝังยาคุมกำเนิดดีอย่างไร? เหมาะกับใคร? ตัวยาสำคัญและการออกฤทธิ์รวมถึงประสิทธิภาพในป้องกันการตั้งครรภ์ ผลไม่พึงประสงค์ต่าง ข้อดี-ข้อเสียต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกคุมกำเนิดด้วยวิธีฝังยาคุมกำเนิด ติดตามอ่านได้ในบทความนี้

  • 8 มิถุนายน 2022

  • 451

บทความ

โรคไส้เลื่อนใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม

โควิดวัคซีนในเด็ก ก่อนฉีดพ่อแม่ต้องรู้อะไร เพื่อความปลอดภัยของลูก

ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ผู้ปกครองจึงควรมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เพื่อคลายความกังวลใจ โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยของลูก ตอบทุกคำถามที่สงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ที่นี่