ต่างชาติจดทะเบียนสมรสกับคนไทยได้สัญชาติไทยไหม

การขอจดทะเบียนการสมรสผู้ที่จะทำการสมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องไปยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เนื่องจาก คู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้า นายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสาร ของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปปนี้มาให้ครบถ้วน

เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย

( 1 ) คำร้องขอจดทะเบียนสมรส ( ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือดาวน์โหลดจาก แบบฟอร์มคำร้อง )

( 2 ) บัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริง หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือ         ใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครองพร้อมสำเนาด้านหน้าและด้านหลัง 1 ชุด

( 3 ) ทะเบียนบ้านไทยตัวจริง หรือฉบับที่มีตรารับรองจากอำเภอ พร้อมสำเนา 1 ชุด ( สำเนาซึ่งอำเภอรับรองมาจะต้องออกให้ภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น )

( 4 ) หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา หน้าที่มีรูปถ่าย หน้าต่ออายุหนังสือเดินทาง และหน้าเปลี่ยนนามสกุลกรณีมีวีซ่า กรุณาถ่ายสำเนาหน้าวีซ่ามาด้วย 1 ชุด

( 5 ) ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยอำเภอไทยไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์กระทรวงการต่างประเทศไทย กรณีที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง ( ออกโดยอำเภอไม่เกิน 3 เดือน ) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย ( ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย )                                                                                   ( 6 ) หากเคยจดทะเบียนหย่ามาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริงหรือใบทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่าพร้อมสำเนา 1 ชุด ( กรณีที่เป็นหญิงไทยต้องหย่ามาแล้วอย่างน้อย 310 วัน หากหย่ายังไม่ถึง 310 วัน ไม่สามารถจดทะเบียนตามกฎหมายไทยได้ )

( 7 ) หากเคยเปลี่ยนชื่อมาก่อน กรุณานำไปเปลี่ยนชื่อตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด

( 8 ) รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป

เอกสารของบุคคลสัญชาติอื่น

( 1 ) หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่ายและมีชื่อ 1 ชุด

( 2 ) หนังสือรับรองสถานะการสมรสออกโดยทางการของประเทศคู่สมรส ซึ่งจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับการรับรองเอกสารจากสถานฑูต / สถานเอกอัครราชฑูตฯ ของประเทศคู่สมรส ซึ่งประจำประเทศจีน 1 ชุด

( 3 ) ใบรับรองการทำงาน 1 ชุด ที่ผ่านการประทับตราและรับรองจาก Notary Public ของจีน

( 4 ) ใบรับรองการเสียภาษี ( 1  ปี ย้อนหลัง ) 1 ชุด ที่ผ่านการประทับตราและรับรองจาก Notary Public ของจีน

( 5 ) ใบรับรองเงินเดือน ( 3 เดือนย้อนหลัง ) 1 ชุด ที่ผ่านการประทับตราและรับรองจาก Notary Public ของจีน

( 6 ) รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว 1 รูป

กำหนดเสร็จ

ประมาณ 30 นาที (ไม่เสียค่าธรรมเนียม )

หมายเหตุ

หากคู่สมรสชาวต่างชาติ ไม่ได้ทำงาน ให้เขียนจดหมายรับรองรายได้ของตนเอง แล้วนำไปประทับตรารับรองจาก Notary Public

การจดทะเบียนสมรสระหว่างชาวไทยกับชาวต่างชาตินั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่ทั้งคู่ต้องรู้ไว้ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ ว่าการจดทะเบียนสมรสต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ต้องจดทะเบียนสมรสที่ไหน และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง Wonderful Package ได้รวบรวมข้อมูลที่คุณควรรู้ เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสระหว่างชาวไทยกับชาวต่างชาติมาบอกให้ทราบค่ะ

สิ่งสำคัญ คือ การจดทะเบียนสมรสระหว่างชาวไทยกับชาวต่างชาตินั้น ทั้งคู่จะต้องดำเนินการด้วยตนเอง เนื่องจากการจดทะเบียนสมรสด้องมีการลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน พร้อมพยานอีก 2 คน

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรสมีอะไรบ้าง??

สำหรับชาวต่างชาติ

  • คำร้องขอนิติกรณ์
  • หนังสือเดินทาง (Passport) ฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด
  • หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้นๆ พร้อมแปล
  • ใบสำคัญการหย่าฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (ถ้ามี)
    ( ขอ ณ สถานทูตของชาวต่างชาติในประเทศไทย สำหรับบางประเทศสามารถยื่นขอในไทยได้)
  • เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี)

สำหรับชาวไทย

  • คำร้องขอนิติกรณ์
  • บัตรประชาชนฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด
  • ทะเบียนบ้านฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (นำฉบับจริงมาด้วย กรณีที่เราจะทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุลและคำนำหน้าชื่อ)
  • พยาน 2 คน และบัตรประชาชนของพยาน ซึ่งพยานจะต้องเป็นบุคคลใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา พี่น้อง ญาติ
  • ใบสำคัญการหย่าฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด
  • ล่ามคนไทย 1 คน เพื่อแปลภาษาให้ฝ่ายที่เป็นชาวต่างชาติ (แนะนำว่าพยานที่พามา ควรมีคนหนึ่งที่สามารถแปลได้)
  • เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี)
  • มรณบัตร (กรณีคู่สมรสเดิมเสียชีวิต)
    หมายเหตุ : ระยะเวลาและเอกสารที่แจ้งข้างต้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสัญชาติของชาวต่างชาติ

ผู้ที่ทำการจดทะเบียนสมรสต้องมีคุณสมบัติอย่างไร??

  • อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ต้องนำบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอม
  • อายุ 20 ปีบริบูรณ์สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
  • ฝ่ายชายหรือหญิงต้องมีสัญชาติไทย
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดามารดา
  • ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  • หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
    * คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
    * สมรสกับคู่สมรสเดิม
    * มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
    * มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

สามารถจดทะเบียนสมรสได้ที่ไหน??

  • กรณีอยู่ในประเทศไทยจดทะเบียนสมรส ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต
  • กรณีอยู่ต่างประเทศ จดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้นๆ
    * ทำได้เฉพาะการจดทะเบียนระหว่างบุคคลสัญชาติไทยหรือระหว่างบุคคลสัญชาติไทยกับต่างชาติและเป็นการจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ถ้าหากในอนาคตมีความจำเป็นต้องย้ายไปอยู่ประเทศเกิดของสามีหรือภรรยา ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสซ้ำอีก แต่ให้ติดต่อรับรองการจดทะเบียนสมรสของประเทศนั้นๆ

การจดทะเบียนสมรสมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง??   

  • ต้องไปยื่นขอใบรับรองความเป็นโสดจากสถานทูตของชาวต่างชาติ ประจำประเทศไทย
  • นำใบโสดไปแปลเป็นภาษาไทยและนำไปรับรองตราประทับจากกระทรวงการต่างประเทศ
  • ไปที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตตามเวลาที่นัดหมายกับเจ้าหน้าที่ พร้อมล่ามและพยาน (พยานต้องนำบัตรประชาชนไปด้วย)
  • ไปติดต่อฝ่ายทะเบียน แล้วยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่
  • จากนั้นกรอกเอกสารตามที่เจ้าหน้าที่ให้มา
  • เจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูลความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย เช่น ระยะเวลาที่คบหา ระยะเวลาที่อยู่กินกันมา ฝ่ายหญิงจะใช้คำนำหน้านามเป็นอะไร ใช้นามสกุลตามฝ่ายชายหรือไม่
  • ล่ามจะช่วยแปลรายละเอียดในการจดทะเบียนสมรสให้กับทั้งสองฝ่าย
  • เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะมอบเอกสารทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3) ให้กับทั้งสองฝ่าย คนละ 1 ชุด
    สำหรับคนที่วางแผนจะขอวีซ่าหรือจะกลับไปแจ้งกับประเทศว่าได้แต่งงานที่ประเทศไทยแล้ว แนะนำว่าให้ขอคัดเอกสาร คร.2 ฉบับภาษาอังกฤษด้วย สำนักงานเขตสามารถออกเอกสารเป็นภาษาอังกฤษให้ได้

หลังจากจดทะเบียนสมราเสร็จสิ้นทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะเลือกได้ดังนี้

  • ใช้นามสกุลเดิมทั้งสองฝ่าย
  • ผู้หญิงใช้นามสกุลของสามี
  • ผู้ชายใช้นามสกุลของภรรยา
  • ผู้หญิงใช้นามสกุลของสามี ผู้ชายใช้นามสกุลของภรรยา
  • ผู้หญิงไทยที่สมรสกับสามีต่างชาติสามารถใช้นามสกุลเดิมของตนเองเป็นชื่อรองได้
    * เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วคนไทยที่ได้ทำการเปลี่ยนนามสกุลควรรีบมาดำเนินการเปลี่ยนชื่อในทะเบียนราษฎร์ให้เรียบร้อยพร้อมทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่โดยเร็วที่สุด

เห็นไหมละว่าขั้นตอนไม่ยุ่งยากเลยและใช้เวลาไม่นานด้วย (ถ้าเตรียมเอกสารและรายการต่างๆ ครบถ้วน)

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนไทยต้องการมีชื่อในทะเบียนบ้านไทย ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง ??
  • หากคนต่างชาติต้องการมาอยู่ไทยถาวรหลังแต่งงานจะต้องยื่นเอกสารหรือติดต่อที่ไหนบ้างมาดูกันเลย!!

ขอบคุณข้อมูลจาก

  • กรมการกงสุล
  • ศูนย์ตอบปัญหางานทะเบียนและบัตร กรมการปกครอง

Work Permit & VISA consultancy


What are the procedures to register a marriage between Foreigners and Thai people?

外国人想与泰国人办理结婚证 ,有什么流程呢?

แชร์ บทความนี้

พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้

ต่างชาติแต่งงานกับคนไทยได้สัญชาติไหม

1. หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวและได้สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย ถ้าประสงค์จะได้สัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอตามแบบ ก.ช.1. (1) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (2) ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น

คนต่างด้าวสามารถจดทะเบียนสมรสกับคนไทยได้ไหม

การจดทะเบียนสมรสมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?? ต้องไปยื่นขอใบรับรองความเป็นโสดจากสถานทูตของชาวต่างชาติ ประจำประเทศไทย นำใบโสดไปแปลเป็นภาษาไทยและนำไปรับรองตราประทับจากกระทรวงการต่างประเทศ ไปที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตตามเวลาที่นัดหมายกับเจ้าหน้าที่ พร้อมล่ามและพยาน (พยานต้องนำบัตรประชาชนไปด้วย)

แต่งงานแล้วได้สัญชาติไหม

การขอถือสัญชาติไทยตามสามี หญิงต่างชาติซึ่งได้จดทะเบียนสมรสกับสามีซึ่งเป็นคนไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (กฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศก็ได้) หากต้องการมีสัญชาติไทยตามสามี มีเงื่อนไข ดังนี้ จดทะเบียนสมรสกับสามีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (หากจดทะเบียนสมรสกับสามีตามกฎหมายต่างประเทศจะต้องไปจดทะเบียนรับรองฐานะแห่งครอบครัว

ใครขอสัญชาติไทยได้บ้าง

1. ได้สัญชาติโดยการเกิด แบ่งเป็น 2 กรณี 1.1 ได้โดยหลักสายโลหิต คือ บิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดเป็นผู้มีสัญชาติไทย ในขณะที่บุตรเกิดทั้งเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย 1.2 ได้โดยหลักดินแดน ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่เกิดในราชอาณาจักร โดยมีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าวจำแนกได้ หลายกรณี เช่น