การเรียกดู และ ฟัง ซ้ำ ภาพยนตร์ เพลง ผ่าน หน่วยความจำ คอมพิวเตอร์

การเรียกดู และ ฟัง ซ้ำ ภาพยนตร์ เพลง ผ่าน หน่วยความจำ คอมพิวเตอร์

รูปภาพ : http://padchayayrc.blogspot.com/2015/06/blog-post_5.html

            วันที่ 4 ส.ค. 2558 ถือเป็นการที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ใหม่ (ฉบับที่ 2) ปี 2558 จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ส่งผลให้เหล่าผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ต้องหันมาคำนึงเกี่ยวกับการเผยแพร่หรือแชร์สื่อต่างๆ บนโลกออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ พ.ร.บ. ดังกล่าว ออกมาเพื่อปราบปรามเหล่าผู้ละเมิดขี้ลอกทั้งหลาย โดยไม่ให้เครดิตเจ้าของงาน ซึ่งมีโทษปรับสูงสุดถึงกว่า 1 แสนบาท อีกทั้งใครที่นำเอาผลงานของผู้อื่นบนโลกออนไลน์ไปใช้แสวงหาผลกำไร มีสิทธิ์ถูกปรับตั้งแต่ 5 หมื่น ถึง 4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เลยทีเดียว โดยภาครัฐคาดหวังว่าจะเป็นกฎหมายที่คอยคุ้มครองเหล่าผู้สร้างสรรค์ผลงาน (เจ้าของลิขสิทธิ์) รวมถึงสร้างกฏเกณฑ์ให้กับผู้ใช้งานโลกออนไลน์อย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้น

การเรียกดู และ ฟัง ซ้ำ ภาพยนตร์ เพลง ผ่าน หน่วยความจำ คอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 

(การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง)

1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา
2. มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป

3. สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ มีดังนี้

(1) คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์และคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ให้คนอื่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูลเกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้สร้างสรรค์ ชื่อนักแสดง เป็นต้น โดยหากบุคคลใด ลบ หรือเปลี่ยนแปลง ข้อมูลดังกล่าว ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ

(2) คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น พาสเวิร์ด (password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ในการควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยหากบุคคลใดทำลายมาตรการทางเทคโนโลยีดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอมถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี

(3) กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียกดูงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ดังกล่าวไว้ในหน่วยความจำ (RAM) ทุกครั้ง ด้วยความจำเป็นทางเทคนิคดังกล่าวทำให้ทุกครั้งที่มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องทำซ้ำงานด้วยเสมอ การทำซ้ำลักษณะนี้เป็นการทำซ้ำชั่วคราว ที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

(4) เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP) เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของเว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เอาไฟล์ละเมิดออกจากเว็บไซต์แล้ว และเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการตามคำสั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว

(5) เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนำหลักการระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) มากำหนดให้ชัดเจนว่าการขายงานอันมีลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง ซีดีภาพยนตร์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดีทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้

(6) เพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) เพื่อเพิ่มสิทธิให้นักแสดง มีสิทธิทางศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการแสดงที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้บุคคลใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ

(7) เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive damages) โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่ามีการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย

(8) กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

ใจความสำคัญของ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ 2558 

การเรียกดู และ ฟัง ซ้ำ ภาพยนตร์ เพลง ผ่าน หน่วยความจำ คอมพิวเตอร์

ประการแรก เรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ ละเมิดลิขสิทธ์คืออะไร ดังภาพนี้ก็คือ การนำเอาภาพ บทความ คลิป หรือสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลงานของคนอื่นมา ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข และเผยต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน (หมายความว่า ถ้าได้รับการอนุญาตก็ไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์)

การเรียกดู และ ฟัง ซ้ำ ภาพยนตร์ เพลง ผ่าน หน่วยความจำ คอมพิวเตอร์

บทลงโทษ ค่อนข้างแรง ค่าปรับสูง โดยเฉพาะถ้าเอาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ก็จะยิ่งสูงขึ้น

การเรียกดู และ ฟัง ซ้ำ ภาพยนตร์ เพลง ผ่าน หน่วยความจำ คอมพิวเตอร์

นี่คือคำตอบของคนที่ใช้ Facebook บ่อยๆ แชร์ไปเถอะถ้าเราไม่ได้นำไปทำธุรกิจ หรือขายสินค้า แต่ต้องบอกที่มาว่า รูป บทความ ของใครจากไหน

การเรียกดู และ ฟัง ซ้ำ ภาพยนตร์ เพลง ผ่าน หน่วยความจำ คอมพิวเตอร์

เรื่องการแปะคลิป เช่น ใน Youtube ต้องดูว่ามีอนุญาตหรือไม่ ทางที่ดี ควรขออนุญาตก่อน หรือไม่ก็ capture รูปมาลงแล้วใส่ลิงค์ไปที่คลิปเขาจะดีกว่า

การเรียกดู และ ฟัง ซ้ำ ภาพยนตร์ เพลง ผ่าน หน่วยความจำ คอมพิวเตอร์

ถ้าเป็นคลิปจาก Facebook เอาไปแชร์ก็ต้องให้เครดิต

การเรียกดู และ ฟัง ซ้ำ ภาพยนตร์ เพลง ผ่าน หน่วยความจำ คอมพิวเตอร์

สำหรับเนื้อหาที่แปลจากต่างประเทศ ถ้าเป็นข่าว ไม่ผิด แต่ถ้าเป็นบทความ แปลคำต่อคำ ถือว่าผิด แต่เรียบเรียงใหม่ไม่ผิด และเขียนใน บล็อกส่วนตัว ไม่มีแบนเนอร์ไม่ผิด แต่ถ้าติดแบนเนอร์ มีรายได้ ถือว่าใช้ในเชิงพาณิชย์ถือว่าผิด

แนะนำคลิปวิดิโอเกี่ยวกับพรบ.ลิขสิทธิ์ใหม่

พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ 2015 

Law6 050258-7 from mintra_duangsamorn

http://www.slideshare.net/mintra_duangsamorn/law6-0502587-51763784

ขอบคุณสำหรับการรับชม 

การเรียกดู และ ฟัง ซ้ำ ภาพยนตร์ เพลง ผ่าน หน่วยความจำ คอมพิวเตอร์

การเรียกดู และ ฟัง ซ้ำ ภาพยนตร์ เพลง ผ่าน หน่วยความจำ คอมพิวเตอร์

 

รูปภาพ ; http://writer.dek-d.com/japanjomza/story/viewlongc.php?id=279731&chapter=136



การเรียกดูและฟังซ้ำ ภาพยนตร์/ เพลง ผ่านหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ ผิดไหม

(3) กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียกดูงานอันมีลิขสิทธิ์ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์ หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการทำซ้ำ ...

สามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์หรือเพลงจากเว็บไซต์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตมาฟังและแชร์ต่อให้เพื่อนๆฟังใน Facebook ได้หรือไม่เพราะเหตุใด

ตอบ การดาวน์โหลดถือเป็นการทำซ้ำที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ กรณีเว็บไซต์ลิขสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ดาวน์โหลดได้ฟรีก็สามารถดาวน์โหลดได้ แต่ไม่สามารถ แชร์ต่อได้ ส่วนกรณีเว็บไซต์ที่ให้บริการโดยเก็บค่าใช้จ่ายในการดาวน์โหลด เมื่อผู้ใช้เสียค่าบริการแล้ว จึงจะดาวน์โหลดมาเพื่อรับชมหรือรับฟังได้ แต่ไม่สามารถ ...

ม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ

8. ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด - ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ เช่น การเอาเพลง หรือรูปภาพมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ก็สามารถโดนฟ้องได้ 9. ส่งรูปภาพ - ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

เซฟรูปดาราผิดไหม

5. แฟนคลับ เซฟรูปดารา ในไอจี ผิดไหม? . หลายคนเป็นแฟนคลับดารา ชอบและติดตาม บางคนเซฟรูปไว้ดูในมือถือ คอมพิวเตอร์ตนเอง ถามว่า ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ไหม คำตอบคือ "ผิด - แต่ยอมความได้นะครับ" เพราะไม่ได้เอาไปใช้ทำอะไร เอาไว้ใช้ส่วนตัวด้วยซ้ำ แต่ถ้าเอาไปเผยแพร่ซ้ำ ตัดต่อ อันนี้ก็ยิ่งผิดไปเลย