การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัว ต่อใช้งานที่เต้ารับพร้อม ๆ กัน อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ใด

การนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปใช้งานในต่างประเทศ

การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัว ต่อใช้งานที่เต้ารับพร้อม ๆ กัน อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ใด

ในการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศนั้น หลายท่านอาจจะต้องการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างติดตัวไปใช้งานในระหว่างเดินทางไปต่างประเทศ (อาทิเช่น โน้ตบุค, เครื่องเป่าผม, กาต้มน้ำ)ซึ่งการจะนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปใช้ในต่างประเทศ มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาอยู่หลักๆ 2 เรื่องคือ รูปแบบของปลั๊กไฟ และ แรงดันไฟฟ้าของประเทศนั้นๆ

สำหรับรูปแบบของปลั๊กไฟในต่างประเทศ อาจจะมีเต้ารับไม่ตรงกับแบบปลั๊กที่ใช้กับในประเทศของเรา อาทิเช่น ประเทศในแถบ ยุโรป มักจะมีเต้ารับที่ใช้กับปลั๊กที่มีลักษณะเป็นขากลม , ประเทศอังกฤษ, สิงคโปร์, ฮ่องกง, มาเลเซีย จะมีเต้ารับที่ใช้กับปลั๊กที่มีลักษณะเป็นขาเหลี่ยม ในขณะที่ประเทศจีน, ออสเตรเลีย จะมีเต้ารับที่ใช้กับปลั๊กไฟที่มีลักษณะเป็นขาแบนเอียง ทำให้เราไม่สามารถเสียบปลั๊กเข้ากับเต้ารับได้

การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัว ต่อใช้งานที่เต้ารับพร้อม ๆ กัน อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ใด
เต้ารับในโซนยุโรป
การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัว ต่อใช้งานที่เต้ารับพร้อม ๆ กัน อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ใด
เต้ารับในอังกฤษ
การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัว ต่อใช้งานที่เต้ารับพร้อม ๆ กัน อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ใด
เต้ารับในออสเตรเลีย

การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ท่านควรจะเตรียมอุปกรณ์สำหรับแปลงขาไฟ หรือที่เรียกกันว่า Traval Adapter โดยเจ้าอุปกรณ์ดังกล่าวจะมีฝั่งเต้ารับที่สามารถใช้กับขาปลั๊กได้หลากหลายชนิดในขณะเดียวกันอีกฝั่งก็จะสามารถเลือกขาในแบบที่เหมาะสมไปเสียบกับเต้ารับของประเทศต่างๆได้(ดูรูปประกอบ)

การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัว ต่อใช้งานที่เต้ารับพร้อม ๆ กัน อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ใด
ตัวอย่าง Travel Adapter

อย่างไรก็ตามมีสิ่งที่พึงระมัดระวังก็คือ อุปกรณ์สำหรับแปลงขาไฟส่วนใหญ่นั้นทำหน้าที่เพียงแค่การทำให้ท่านสามารถเสียบปลั๊กที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันได้เท่านั้น ตัวมันเองไม่ได้ทำหน้าที่ในการปรับแรงดันไฟฟ้าแต่อย่างใด ถ้าหากเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านไม่รองรับแรงดันไฟฟ้าที่แตกต่างกันในบางประเทศ อาจจะทำให้เกิดความชำรุดเสียหายได้

ดังนั้นก่อนเดินทางไปประเทศใด ท่านควรศึกษาก่อนว่าที่ประเทศนั้นๆ ใช้ไฟฟ้าที่แรงดันกี่โวลต์(V) ความถี่ของกระแสสลับกี่เฮิรซ์ (Hz) ยกตัวอย่างเช่น ที่ประเทศญี่ปุ่นแรงดันไฟฟ้าที่ใช้คือ 110V(ความถี่ 60Hz)ในขณะที่ประเทศไทยบ้านเราแรงดันไฟฟ้าที่ใช้คือ 220V(ความถี่ 50Hz)อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างในบ้านเราที่ออกแบบมาให้ใช้กับไฟฟ้าแรงดัน 220V เท่านั้นจะไม่สามารถนำไปใช้ได้ในกรณีนี้

อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่าง ก็สามารถรองรับแรงดันไฟฟ้าและความถี่ได้หลากหลายระดับ ตัวอย่างเช่น อแดปเตอร์ของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคหลายๆ ยี่ห้อ สามารถใช้ได้กับแรงดันไฟฟ้าทั้งแบบ 110V และ 220V(ความถี่ 50 – 60Hz)

วิธีสังเกตว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าใดรองรับไฟฟ้าแรงดันเท่าใด ให้ลองศึกษาจากคู่มือวิธีใช้ หรือ อาจจะดูจากฉลาก (Power Rating Label) ที่ติดอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ซึ่งมักจะระบุเอาไว้หลังจากคำว่า Input หรือ Input Voltage หรือ แรงดันไฟฟ้า ซึ่งถ้าระบุไว้เป็นค่าเดียวเช่น 220V หรือช่วงแคบๆ เช่น 220V – 240V ก็ไม่สามารถนำไปใช้กับประเทศที่จ่ายไฟแรงดัน 110V ได้

การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัว ต่อใช้งานที่เต้ารับพร้อม ๆ กัน อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ใด
ตัวอย่างป้ายบอกแรงดันระดับเดียว

แต่ถ้าระบุเอาไว้เป็นช่วงกว้างเช่น 100V – 240Vก็สามารถนำไปใช้ในประเทศที่จ่ายไฟแรงดัน 110V ได้(ความถี่ของกระแสสลับก็เป็นไปในหลักการเดียวกัน)

การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัว ต่อใช้งานที่เต้ารับพร้อม ๆ กัน อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ใด
ตัวอย่างป้ายบอกแรงดันที่เป็นช่วง

นอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่รองรับแรงดันไฟฟ้าแบบเป็นช่วงกว้างแล้ว ก็ยังมีใช้ไฟฟ้าบางชนิดที่มีสวิตช์หมุนปรับเลือกแรงดันไฟฟ้าได้ เมื่อจะนำไปใช้งานกับประเทศไหนก็หมุนปรับสวิตช์แรงดันไฟให้ตรงกับประเทศนั้นๆ

การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัว ต่อใช้งานที่เต้ารับพร้อม ๆ กัน อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ใด
ตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เลือกระดับแรงดันได้

อย่างไรก็ตาม หากท่านมีความจำเป็นจะต้องนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่รองรับแค่แรงดันไฟฟ้าแต่เพียง 220V ไปใช้ในประเทศที่มีแรงดันไฟฟ้าที่แตกต่างออกไป ท่านอาจจะต้องจัดหา อุปกรณ์แปลงแรงดันไฟฟ้า เพิ่มเติมขึ้นมาอีกอันหนึ่ง (ดูรูปประกอบ)

การนำอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัว ต่อใช้งานที่เต้ารับพร้อม ๆ กัน อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ใด
ตัวอย่าง Power Converter

สำหรับสิ่งที่พึงพิจารณาเพิ่มเติมในการเลือกตัวแปลงแรงดันไฟฟ้าก็คือ ค่ากำลังไฟฟ้า (หน่วยเป็น Watt.) ที่ตัวแปลงแรงดันสามารถจ่ายได้ จะต้องมีค่ามากกว่า กำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะนำมาใช้งาน ตัวอย่างเช่นหากท่านต้องการนำเครื่องเป่าผมที่ใช้กับไฟแรงดัน 220V อย่างเดียวไปใช้ที่ประเทศญี่ปุ่นควรศึกษาว่าเครื่องเป่าผมดังกล่าวกินกำลังไฟฟ้าเท่าใด (สังเกตจากตัวเลขที่มีคำว่า วัตต์ หรือ Watt. หรือ W ต่อท้าย) ตัวอย่างเช่น 800 Watt. (หรือ 800 W) ในกรณีนี้ท่านควรเลือกใช้ตัวแปลงแรงดันที่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้มากกว่า 800 Watt. ไม่เช่นนั้นตัวแปลงแรงดันไฟฟ้าอาจจะชำรุดและเกิดเพลิงไหม้ได้ เนื่องจากทำงานเกินกำลังซึ่งหากท่านไม่แน่ใจควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ก่อนตัดสินใจเลือกใช้ตัวแปลงแรงดันไฟฟ้าดังกล่าว

การเตรียมตัวที่ดีจะทำให้การเดินทางมีความราบรื่นสนุกสนาน  หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับคุณลูกค้าของมิตรไมตรีทัวร์ในการท่องเที่ยวหาประสบการณ์ประทับใจในต่างแดน ขอให้มีความสุขกับการเดินทางครับ

เหตุการณ์ใดส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้ามากที่สุด

1. ไฟฟ้าดูด ( Electrical Shock ) เป็นลักษณะของกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายลงสู่ดินและเป็นอันตรายที่มนุษย์ได้รับจากไฟฟ้ามากที่สุด ประมาณ 85% ของผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าทั้งหมด ... ใบเนื้อหา เรื่อง ความปลอดภัยในงานไฟฟ้า.

ข้อใดควรปฏิบัติเป็นอันดับแรกหลังพบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด

หากพบว่าสายไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เช่น ฉนวนเปื่อย หรือถลอกจนเห็นสายทองแดง ต้องรับทำการเปลี่ยนใหม่ทันที โดยผู้มีความรู้ในเรื่องไฟฟ้า แต่หากจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์นั้น ควรใช้เทปพันสายไฟฟ้า พันฉนวนส่วนที่ชำรุดไว้ก่อน หากพิจารณาแล้วเห็นว่า ถ้าใช้ต่อไปอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ให้หยุดใช้แล้วเปลี่ยนใหม่

ข้อใดเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องในการใช้เต้ารับเต้าเสียบ

1. เวลาใช้เต้าเสียบจะต้องแน่นสนิทกับเต้ารับ 2. ไม่ต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชิ้นเข้ากับเต้ารับอันเดียวกัน 3. การดึงเต้าเสียบออกจากเต้ารับควรจับที่เต้าเสียบ ไม่ควรดึงสายไฟเพราะอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้

ข้อใดอาจเป็นสาเหตุให้เตาไฟฟ้าเกิดไฟรั่ว

กระแสไฟฟ้ารั่วเกิดได้หลายสาเหตุ เริ่มตั้งแต่การติดตั้งเดินสายไฟที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน การขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง ตลอดไปจนถึงการเสื่อมสภาพของฉนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้มาเป็นเวลานาน เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการที่ฉนวนที่ใช้ห่อหุ้ม ใช้พัน หรือใช้คั่นส่วนที่มีแรงดันไฟฟ้า เกิดชำรุด หรือ ...