หนังสือ ขอ เข้า ศึกษา ดู งาน อ่าว คุ้ง กระเบน

ข้อมูลจาก ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) 

ความเป็นมา

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เริ่มก่อตั้งตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิด พระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2524 โดยมีพระราชดำริแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และได้พระราชทานเงินที่ราษฎรจังหวัดจันทบุรีร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลในโอกาสดังกล่าว เป็นทุนริเริ่มดำเนินการ 

ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ได้มีพระราชดำริเพิ่มเติม

ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สาระโดยสรุปว่า 

"…ให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรมหรือพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาเช่นเดียวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล…” 

จังหวัดจันทบุรีได้ร่วมหารือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและพิจารณาความเหมาะสมจึงกำหนดพื้นที่

ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ตั้งแต่

ปี พ.ศ. 2525 ศูนย์ศึกษาดังกล่าว เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการศึกษาสาธิต และการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล

โดยวิธีการผสมผสานความรู้อันหลากหลายของแต่ละหน่วยงานเพื่อวางแผนพัฒนาการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่

ให้เหมาะสมและยั่งยืนตลอดไป 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสนองพระราชดำริอย่างต่อเนื่องและครบถ้วนสมบูรณ์มีคุณภาพและประสิทธิผล
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ทุกมิติอย่างเป็นระบบตั้งแต่ การศึกษาทดลอง วิจัย ทดสอบ สาธิต ขยายผล และการบริหารจัดการ
  3. มุ่งเน้นการขยายผลการพัฒนาสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯและประชาชนทั่วไป ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  4. พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่อ่าวคุ้งกระเบนและพื้นที่ใกล้เคียงให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศ และการใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนา
  5. พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับประชาชน กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่โครงการฯ เพิ่มขึ้น 

พื้นที่ดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินการศึกษาและพัฒนาของศูนย์ฯ คุ้งกระเบน ครอบคลุ่ม 33 หมู่บ้าน ในตำบลกระแจะ, ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม และตำบลรำพัน, ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ดำเนินการประมาณ 85,235 ไร่

บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน และพื้นที่โดยรอบ มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ ลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล จนถึงที่ราบเชิงเขา โดยดำเนินการพัฒนาแบบผสมผสาน ระหว่างการส่งเสริม การเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและการอนุรักษ์ ป่าชายเลนรอบ อ่าวคุ้งกระเบน ตลอดจนพัฒนาการเกษตร พื้นที่ราบและสวนผลไม้บริเวณเชิงเขา

  1. พื้นที่รอบนอก และพื้นที่ขยายผล

พื้นที่ราบลุ่มตอนในของแผ่นดิน มีพื้นที่ประมาณ  81,235 ไร่ ซึ่งเหมาะสมต่อการพัฒนาด้านการเกษตรควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติผสมผสานกับการพัฒนาอาชีพในด้านต่าง ๆ  

เป้าหมาย

ศึกษารูปแบบการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน

  • เป็นศูนย์กลางในการอบรมและเผยแพร่ผลการศึกษาการจัดการทรัพยากรชายฝั่งให้แก่ส่วนราชการและภาคเอกชนทั่วไป
  • ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ อาชีพ  ของราษฎรบริเวณรอบอ่าวคุ้งกระเบน และพื้นที่ใกล้เคียงโดยมุ่งเน้นพัฒนาช่วยเหลือราษฎรที่มีฐานะยากจน
  • พัฒนาการด้านประมง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตของประเทศและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านการประมง ตลอดจนพัฒนากิจกรรมทางด้านอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย
  • อนุรักษ์สภาพแวดล้อมและดุลยภาพทางธรรมชาติให้คงลักษณะพิเศษของพื้นที่เอาไว้ 

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

  1. แผนศึกษาและพัฒนาการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

ศึกษาทดลองวิจัย และพัฒนาการประมงชายฝั่งพื้นบ้านอย่างถูกวิธี การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้มาตรฐานและอย่างยั่งยืน  เพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำของประเทศและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้าควบคู่กับการศึกษาวิจัยการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย

  • งานผลิตและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ
  • งานวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ดิน และคลินิกสัตว์น้ำ
  • งานส่งเสริม ฝึกอบรม และพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • งานจัดการทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งและสิ่งแวดล้อม
  • งานบริหารการส่งเสริมควบคุมระบบชลประทานน้ำเค็มเพื่อการเลี้ยงกุ้งทะเล
  • งานส่งเสริมและสนับสนุนฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลและสัตว์น้ำมาตรฐาน
  • งานวิเคราะห์การปนเปื้อนในปัจจัยการผลิต
  • งานตรวจสอบสารตกค้างในกุ้งทะเลเพื่อการส่งออก
  1. แผนศึกษาและการพัฒนาการเกษตร

การพัฒนาศักยภาพ การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต และวิธีการผลิตในการยกระดับคุณภาพมาตรฐานของสินค้าเกษตรให้สมดุลระหว่างการผลิตกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและการบริหารอย่างบูรณาการ เป็นระบบครบวงจร เพื่อสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาค ประกอบด้วย

  • งานศึกษาและทดลองการปลูกพืชไร่ พืชสวน พืชสมุนไพร ไม้ดอก-ไม้ประดับ ข้าว เห็ด และพืชเศรษฐกิจ
  • งานศึกษาและทดลองระบบการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • งานพัฒนาและส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์
  • งานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์
  • งานเกษตรอุตสาหกรรมและการแปรรูปผลผลิตการเกษตร
  • งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภค-บริโภค
  • งานพัฒนาที่ดินและการปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร
  1. แผนศึกษาและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ศึกษาและพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองท้องถิ่น การสร้างเครือข่ายการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมทุกระดับ รวมทั้งงานด้านดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรฐานทางสังคม เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนประกอบด้วย

  • งานศึกษาวิจัยและส่งเสริมด้านป่าไม้
  • งานพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ ป่าชายหาด และป่าชายเลน
  • งานอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม
  • งานพัฒนาที่ดิน งานวิจัยทดลองการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
  • งานพัฒนาอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
  • งานอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ
  • งานส่งเสริมและการใช้ประโยชน์ป่าไม้อย่างยั่งยืน 
  1. แผนศึกษาและพัฒนาและเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต

ศึกษาและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันเกษตรกร ธุรกิจชุมชนระดับรากหญ้าให้อยู่บนทางสายกลาง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภายนอกอย่างรู้เท่าทัน สนับสนุนการผลักดันให้เกิดการเพิ่มผลผลิตอย่างเป็นกระบวนการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ผสมผสานภูมิปัญญาไทยกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่สร้างเครือข่ายความร่วมมือเชื่อมโยงทุกระบบและสร้างจิตสำนึกในการพึ่งพาตนเองเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง เข้มแข็งและยั่งยืน ประกอบด้วย

  • งานส่งเสริมและพัฒนาการจัดการป่าไม้เพื่อชุมชน
  • งานส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์ประมงคุ้งกระเบน จำกัด
  • งานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไฟฟ้า ถนน และแหล่งน้ำ
  • งานพัฒนาการศึกษา
  • งานพัฒนาและบริการด้านสุขภาพอนามัย
  • งานพัฒนาเด็กและสตรี 
  1. แผนงานบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

พัฒนาศักยภาพการถ่ายทอดเทคโนโลยี กระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบจัดทำเครือข่ายประสานข้อมูลสารสนเทศของศูนย์ศึกษาทุกกิจกรรม เพื่อกระจายองค์ความรู้ และข่าวสารสู่เกษตรกรอย่างกว้างขวางประสานแผนงานถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างบูรณาการ โดยยึดพื้นที่ภารกิจและมีส่วนร่วมทุกระดับ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกที่ดี รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบด้วย

  • งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • งานส่งเสริมพัฒนาการฝึกอบรมด้านการประมง ป่าไม้ ดิน เกษตร ปศุสัตว์
  • งานสวนพฤกศาสตร์โรงเรียน
  • งานฝึกอบรมและศึกษาสาธารณสุข
  • งานฝึกอบรมเตรียมองค์กรประชาชน 
  1. แผนงานท่องเที่ยวเชิงพัฒนา

พัฒนาการดำเนินการของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ สู่การท่องเที่ยว เพื่อเผยแพร่ความรู้และความเพลิดเพลินแก่นักท่องเที่ยว พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับศักยภาพเชิงวัฒนธรรม วิถีชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขีดความสามารถของพื้นที่อย่างบูรณาการ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชุมชน การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเพื่อการกีฬา สุขภาพ รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพด้านการบริการและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานปลอดภัยทุกระดับ 

ดำเนินการบริหารและจัดการ ประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ และบริการอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานเพื่อให้ดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งร่วมประสานแผนศึกษาพัฒนาและงบประมาณดำเนินการตลอดจนติดตามประเมินผลการดำเนินงาน พร้อมรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

  • งานบริหารโครงการ
  • งานการจัดการที่ดินของรัฐ
  • งานติดตามและประเมินผลโครงการ 

การดำเนินงานโครงการ

ดำเนินการบริหารงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ พร้อมทั้งประสานงานภาครัฐ

และเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการทั้งด้านการปฏิบัติงาน การจัดการที่ดินของรัฐ และการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ 

  1. แผนการศึกษาและพัฒนาการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

ดำเนินการทดลองวิจัย พัฒนาทางด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ตลอดจน

ดำเนินการส่งเสริมฝึกอบรมแก่เกษตรกร พร้อมทั้งดำเนินการทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุล อีกทั้งพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำรอบอ่าวคุ้งกระเบนให้ยั่งยืน โดยจัดสร้างระบบชลประทานน้ำเค็มเพื่อการเลี้ยงกุ้งทะเล ซึ่งเป็นแบบอย่างของการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป ซึ่งผลผลิตกุ้งกุลาดำภายในโครงการฯ ประมาณ 500 ตันต่อไป มูลค่าประมาณ 125 ล้านบาท ในแต่ละปี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ สามารถดำเนินงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ สรุปได้ดังนี้

  • ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกุลาดำรอบอ่าวคุ้งกระเบน 181  ราย/1,064 ไร่
  • สัตว์น้ำอื่น ๆ เช่น การเลี้ยงปลาทะเล และการเลี้ยงหอยนางรม ไม่น้อยกว่า 40 ราย/ปี
  • ผลิตพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง ไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัว/ปี
  • ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง ไม่น้อยกว่า 18 ล้านตัว/ปี
  • งานทดลองวิจัยด้านการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 6-10 เรื่อง/ปี
  1. แผนการศึกษาและพัฒนาการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการศึกษาวิจัย ส่งเสริม พัฒนา และอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ป่าชายหาด ป่าชายเลน พร้อมทั้งปลูกป่าชายเลน ตลอดจนอนุรักษ์ดิน น้ำ พัฒนาสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ดำเนินการส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชายเลนรอบอ่าวคุ้งกระเบน ประมาณ 610 ไร่ และปลูกป่าชายเลนเพิ่มเติมหลังแปลงนากุ้ง และบริเวณอ่าวคุ้งกระเบนไม่น้อยกว่า 512 ไร่

  1. แผนศึกษาและพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์

ดำเนินการศึกษา และทดสอบ การปลูกพืชที่เหมาะสมต่อพื้นที่ทั้งในรูปแบบการปลูกพืชผสมผสาน

และทฤษฎีใหม่เพื่อพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การพัฒนาและส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการ และพื้นที่ใกล้เคียง 

  1. แผนการศึกษาพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิต

ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาโครงการพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฎรด้วย 

  1. แผนบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

บริการทางวิชาการแก่เกษตรกร ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาและฝึกอบรมแก่ราษฎรทางด้านการประมง ป่าไม้ เกษตรและปศุสัตว์ เป็นต้น เพื่อให้ราษฎรสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้ อีกทั้งดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ในด้านต่าง ๆ แก่ผู้เยี่ยมชมและประชาชนที่สนใจด้วย

ในแต่ละปี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ สามารถดำเนินการได้ดังนี้

  • บริการตรวจโรคและวิเคราะห์คุณภาพน้ำให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ไม่น้อยกว่า 10,000 ราย/ปี
  • บริการศึกษาดูงานและถ่ายทอดเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 15,000 ราย/ปี
  • การฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่นักเรียนและเกษตรกร ไม่น้อยกว่า 1,000 ราย/ปี 

การดำเนินงานในกิจกรรมที่สำคัญ

  1. การอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่าไม้

อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวภูเขา จำนวนพื้นที่ 11,370 ไร่ และจัดเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ

ป่าปก จำนวน 2 เส้นทาง เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจนส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำด้วยหญ้าแฝก 

  1. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร ในพื้นที่รอยต่อป่าชายเลนและเชิงเขา

ส่งเสริมและพัฒนาไม้ผล เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ในรูปแบบผสมผสานและเกษตรอินทรีย์ โดยผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพใช้ไนกิจกรรมการเกษตร เพื่อ ลด ละ เลิกการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ประมาณ 11- 68 เปอร์เซ็นต์

  • ส่งเสริมการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นต้น เกษตรกรมีรายได้จากการเพาะเห็ด 20,000 – 200,000 บาท ต่อครัวเรือนต่อปี
  • ส่งเสริมการผลิตข้าวครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกจนกระทั่งผลิตเป็นข้าวกล้องหอมมะลิ เกษตรกรสามารถผลิตข้าวพันธุ์ดีได้ 450-550 กิโลกรัมต่อไร่ต่อรุ่น
  • ส่งเสริมการเลี้ยงแพะ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม จากการขายลูกแพะ แพะเนื้อ และเป็นตัวอย่างให้แก่เกษตรที่น่าสนใจที่จะเลี้ยงแพะ
  1. อนุรักษ์ป่าชายเลนที่สมบูรณ์รอบอ่าวคุ้งกระเบน

ราษฎรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนรอบอ่าวคุ้งกระเบน จำนวน 1,122 ไร่ โดยการมีส่วนร่วมของราษฎรซึ่งผืนป่าชายเลนแห่งนี้เป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุดในจังหวัดจันทบุรี เพื่อเป็นแหล่งศึกษาด้านนิเวศป่าชายเลนแก่ผู้สนใจและใช้ป่าชายเลนเป็นตัวดูดใช้ธาตุอาหารที่เกิดจากกิจกรรมการเลี้ยงกุ้งทะเลรอบอ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งเป็นกระบวนการบำบัดน้ำทางชีวภาพ เพื่อให้การเลี้ยงกุ้งทะเลในโครงการฯ ยั่งยืนตลอดไป 

  1. ส่งเสริมและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง   

จัดสรรพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรมรอบอ่าวคุ้งกระเบน 728 ไร่ เพื่อพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง แก่สมาชิก 113 ครอบครัว และฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่เสื่อมโทรม 312 ไร่ พร้อมทั้งดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงกุ้งทะเลรอบอ่าวคุ้งกระเบนด้วยระบบชลประทานน้ำเค็ม ปัจจุบันมีสมาชิก 197 ราย มีพื้นที่เลี้ยงกุ้งทะเล 1,005 ไร่ บริการด้านวิชาการแก่เกษตรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง  และส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้ได้มาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ( CoC/ GAP) เพื่อพัฒนาสู่  “ครัวไทย ครัวโลก” 

ผลสำเร็จจากการพัฒนา

  1. ราษฎรในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีเพิ่มขึ้น  มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีเพิ่มขึ้น  ช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่พอเพียงตามอัตภาพ
  2. ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณอ่าวคุ้งกระเบนคงสภาพความสมบูรณ์ เกื้อกูลต่อการพัฒนาอาชีพของราษฎร      
  3. เป็นสถานที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวรวมถึงประชาชนทั่วไป  และสามารถสร้างกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพัฒนาได้ในระยะยาว 

“…มีประโยชน์มาก เมื่อเริ่มมีศูนย์ฯ อะไร ๆ ก็ดีขึ้น ส่วนพันธุ์สัตว์น้ำ มีปูไข่นอกกระดองทางฯ จะเอากระชังลอยน้ำไว้ ถ้าสมาชิกได้ปูนอกกระดอง ก็นำไปคืนให้ศูนย์ จะได้ขยายพันธุ์ออกมาอีก โดยเขี่ยไข่ออกมา จะได้เป็นตัวให้เราจับต่อไป...”