งานหนังสือ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริ กิ ต 2565

ศูนย์สิริกิติ์ การกลับมาพร้อมแรงกระเพื่อมสงครามตลาดบิ๊กอีเวนต์

2 ปีกว่าที่ศูนย์ประชุมทั้งหมดต้องปิดไปตามสถานการณ์โควิด-19

กลับมาครั้งนี้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เผยโฉมใหม่ในพื้นที่โครงการที่ใหญ่กว่าเดิม 5 เท่า และเริ่ดกว่าเก่า

ถามว่าอิมแพคหนาวมั้ย แน่นอนต้องมีบ้าง ภาพของคุณอา คีรี กับหลาน ๆ ปีเตอร์และพอลล์ กาญจนพาสน์ ที่เปิดตัวแถลงข่าวตอกย้ำความชัดเจนของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานีเลยเกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ส่วนไบเทค งานนี้คงต้องเร่งเดอะมอลล์กรุ๊ปให้สร้างอภิมหาโครงการ “แบงค็อก มอลล์” ในพื้นที่ 100 ไร่ ฝั่งตรงข้ามไบเทคให้เสร็จเร็ว ๆ เพื่อเพิ่มเติมความคึกคัก

ทั้ง 3 ศูนย์เป็นของดีเวลอปเปอร์รายใหญ่เบิ้มของประเทศ ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายวิกฤต ไม่เคยมีรายใดล้ม เพียงแค่สะดุด เพราะตลาดนี้ใหญ่มากจริง ๆ

มาดูกันว่า ครั้งนี้แต่ละศูนย์จะไปต่ออย่างไร และมีงานใหญ่อะไรในลิสต์แล้วบ้าง

งานหนังสือ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริ กิ ต 2565

จากสนามหลวง สวนอัมพร และศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ หัวหมาก ในยุคแรก ๆ

พ.ศ. 2534 เกิดศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถูกก่อสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่สำหรับการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ครั้งที่ 46

รองรับผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 10,000 คน จาก 154 ประเทศ ระหว่างวันที่ 1–15 ตุลาคม 2534 

หลังจากนั้นก็กลายเป็นสถานที่จัดงานระดับชาติอย่างต่อเนื่อง เช่น งาน ประกวดนางงามจักรวาล งานประกวดนางสาวไทย งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานท่องเที่ยวไทย ฯลฯ 

ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ปิดปรับปรุงตั้งแต่เดือน เม.ย. 2562 นับเป็นไทม์มิ่งที่ดีมากเพราะช่วงที่ทำการก่อสร้างโควิดระบาด ศูนย์ประชุมอื่น ๆ ก็ต้องปิดพร้อม ๆ กัน ความเสี่ยงที่ว่าลูกค้ารายเก่า ๆ จะถูกช่วงชิงไประหว่างการก่อสร้างเลยไม่เกิด

แถมเวลาเปิดในเดือน ก.ย. 2565 นี้ ก็เป็นเวลาที่ดีเช่นกัน ประเทศเริ่มเปิด ประชาชนเริ่มมีความมั่นใจในการใช้ชีวิตมากขึ้น

ที่สำคัญความใหม่และความทันสมัยของโครงการจะทำให้ศูนย์ประชุมแห่งนี้ไม่หลุดไปจากจุดโฟกัสของลูกค้าเเน่นอน

เเละการอยู่ใจกลางเมืองที่มีรถไฟฟ้าใต้ดินวิ่งผ่าน ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น คืออีกจุดเด่นสำคัญ

ตอกย้ำได้จากการที่รัฐบาลเลือกศูนย์ประชุมสิริกิติ์เป็นที่ประชุม “APEC 2022” ในวันที่ 16 พ.ย.-18 พ.ย. นี้

ที่จอดรถที่เคยเป็นจุดอ่อนถูกกำจัดออกด้วยการสร้างที่จอดรถใหม่ที่รองรับได้ถึง 3 พันคัน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ยังได้เซ็นสัญญากับ 13 พันธมิตรโรงแรมชั้นนำที่เข้าร่วมโครงการ Hotel Partnership กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ เพื่อมอบประสบการณ์สุดพิเศษสำหรับลูกค้าที่มาจัดงานหรือมาร่วมงานที่ศูนย์ฯ

ปัจจุบันศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง

ซึ่งบริหารงานโดยบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัทในเครือของ เจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้เป็นเจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายโครงการในย่านนี้ เช่น วัน แบงค็อก บนพื้นที่ 104 ไร่ ริมถนนพระราม 4 โครงการ “The PARQ” หัวมุมถนนพระราม 4 โครงการ  FYI CENTER ตรงข้ามตลาดคลองเตย

ศูนย์ฯ สิริกิติ์จะประเดิมด้วยงาน ASEAN Sustainability Energy Week ในวันที่ 14-16 ก.ย. นี้ เเละงาน Food & Hotel Thailand ในวันที่ 21-24 เดือน ก.ย.  

พ.ศ. 2539 อิมแพค ในเมืองทองธานี

อนันต์ กาญจนพาสน์ อดีตเจ้าของโครงการเมืองทองธานีผู้ล่วงลับ ได้ก่อสร้างโครงการนี้ขึ้นเพื่อรองรับกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2541 ท่ามกลางวิกฤตต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น

เขาเคยคาดหวังว่างานนี้จะดึงคนเข้ามาเห็นโครงการที่อยู่อาศัยในเมืองทองธานีให้มากขึ้น

เพราะวิกฤตครั้งนั้น “เมืองทอง” แทบกลายเป็น “เมืองร้าง” จากปัญหาซื้อแล้วไม่มีเงินโอนของลูกค้า 

 เอเชียนเกมส์จบศูนย์กีฬาถูกพัฒนาเป็นศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่ “อิมแพค” กลายเป็นแหล่งรายได้หลักของบางกอกแลนด์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (เช่นเดียวกับ The Challenger ที่สร้างเพิ่มขึ้นเมื่อปี 2547)

อิมแพคปรับตัวเองรองรับกับงานได้หลายรูปแบบจากงานแสดงสินค้า เป็นที่แสดงคอนเสิร์ต เป็นสนามมวย เป็นที่แข่งเทนนิส ฯลฯ

ถ้ามองว่าการเดินทางคือจุดอ่อนของสถานที่แห่งนี้ก็ไม่ผิด แต่ถ้ามองกลับไปเมื่อ 20 กว่าปีก่อนนั้นการจราจรในเมืองทองลำบากกว่าสมัยนี้หลายเท่า ยุคนั้นไม่มีรถเมล์ ไม่มีคิวรถตู้ ต้องมางานด้วยรถส่วนตัว หรือรถเมล์ต่อด้วยมอเตอร์ไซค์เข้าไป

และเมืองทองต้องมีแคมเปญซื้อบ้านแถมรถ ด้วยซ้ำไป  

และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้อิมแพคต้องมีที่จอดรถถึง 1.6 หมื่นคัน ทั้งรถส่วนตัว รถโดยสารทั้งในและนอกอาคาร

ดังนั้นรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี ที่คาดว่าจะเปิดใช้ได้ในปี 2568 นั้น และมี 2 สถานี ที่เชื่อมต่อกับอิมแพคจะเป็นการกำจัดจุดอ่อนในเรื่องนี้ออกไป

 อิมแพคมีตารางงานใหญ่ที่จะเกิดขึ้นแล้วหลายงาน เช่น Thailand National Science and Technology Fair 2022 13-21 ส.ค. 2565  Power Buy Expo 2022 19-28 ส.ค. 2565

Furniture Fair 2022  3–11 ก.ย. 2565

Building Construction Technology Expo 2022  21-23 ก.ย. 2565

DigiTech ASEAN Thailand Exhibition Trade 2022  23-25 พ.ย. 2565 ฯลฯ

ปี 2540 ไบเทค ปักหลักย่านบางนา 

กลุ่มบริษัทภิรัชบุรี เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกพัฒนาที่ดินในย่านบางนา โดยเริ่มจากการพัฒนาศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ตลอดจนปัจจุบันมีการพัฒนาขยายบริการในส่วนอาคารสำนักงานอย่างภิรัชทาวเวอร์ แอท ไบเทค และพื้นที่ค้าปลีก สมาร์ท ฟู้ดทอรี่ และยังคงคิดพัฒนาพื้นที่ย่านบางนาอย่างต่อเนื่อง

การเป็นศูนย์ประชุมที่อยู่ห่างจากสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิเพียง 14 กิโลเมตร และสามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS รวมทั้งการขยายตัวด้านที่อยู่อาศัยย่านบางนาอย่างต่อเนื่อง คือจุดเด่นสำคัญ

อภิมหาโครงการศูนย์การค้า “แบงค็อก มอลล์” ของกลุ่มเดอะมอลล์ที่อยู่ในพื้นที่ 100 ไร่ ตรงข้ามศูนย์ประชุมไบเทค ที่กำลังก่อสร้างนั้นเป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาในย่านนี้มากขึ้น

เป็นอีกศูนย์ประชุมที่กำลังมีงานใหญ่เข้ามาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น งานบ้านและสวนแฟร์-14 ส.ค. 2565

MOTOR SALE มหกรรมเปิดโลกยานยนต์ 18-29 ส.ค. 2565

Thailand Coffee Tea & Drinks and Thailand Bakery & Ice Cream 2022  25-28 ส.ค. 2565 ฯลฯ

ทั้ง 3 ศูนย์ฯ ยังมีตัวช่วยจากการมีรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น รถไฟฟ้าสายสีแดง ที่วิ่งจากรังสิตเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อและสามารถเชื่อมต่อไปยัง MRT ได้ ( ศูนย์สิริกิติ์ มีสถานี MRT อยู่ด้วย) รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่ส่วนต่อขยายเข้าไปอีก 2 สถานีในเมืองทองธานี

รวมทั้งมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ที่คาดว่าถ้าวิกฤตโควิดคลี่คลายลง น่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุม งานแสดงสินค้าและนิทรรศการทั้งในประเทศ และนานาชาติมากขึ้น

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ 
Website : Marketeeronline.co / Facebook : www.facebook.com/marketeeronline



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง Line@ : @marketeer

งานหนังสือ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริ กิ ต 2565
งานหนังสือ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริ กิ ต 2565