ยาแก้ปวดเกร็งกระเพาะปัสสาวะ

ปวด(เกร็ง)ท้อง จากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคที่มักพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีกระเพาะปัสสาวะที่สั้นกว่า เชื้อโรคจึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ ยังพบได้บ่อยในผู้ที่ดื่มน้ำน้อยและผู้ที่กลั้นปัสสาวะเป็นประจำ เพราะการที่มีปัสสาวะคั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเป็นเวลานาน ทำให้เชื้อแบคทีเรียเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการติดเชื้อได้ในที่สุด

จะเห็นได้ว่าหนึ่งกลุ่มเสี่ยงที่มักประสบกับปัญหากระเพาะปัสสาวะอักเสบก็คือ “คนวัยทำงาน” ที่จดจ่ออยู่กับงานจนไม่ยอมลุกไปเข้าห้องน้ำ หรืออีกหลายๆ อาชีพที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา รวมทั้งคนที่ติดอยู่บนท้องถนนเป็นประจำ เป็นเหตุให้ต้องกลั้นปัสสาวะอยู่บ่อยๆ ซึ่งโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนี้ควรได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่โรคกรวยไตอักเสบได้นั่นเอง

อาการต้องสงสัย กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โดยกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้นมีได้หลายอาการได้แก่

 ปวดบริเวณท้องน้อย

 ปัสสาวะไม่สุด

 ปวดแสบขัดเวลาปัสสาวะ

 ปวดปัสสาวะแต่ไม่สามารถปัสสาวะออกมาได้

 ปัสสาวะเป็นสีแดงจางๆ จนถึงสีแดงเข้ม

 ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือเป็นหนอง

ในกรณีที่การติดเชื้อรุนแรงและลุกลามไปที่กรวยไต ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้สูงหนาวสั่น และอาจนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุ ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด เป็นต้น

แนวทางการรักษา กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบแล้ว แพทย์จะเริ่มรักษาด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อชนิดรับประทาน 7-10 วัน หากมีภาวะแทรกซ้อนอาจจะเปลี่ยนเป็นยาฆ่าเชื้อชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดแทน ในบางรายอาจจะมีอาการปวดเกร็ง ปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อยร่วมด้วย

“สามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาแก้ปวดและยาที่มีฤทธิ์ลดการหดเกร็งตัวของกระเพาะปัสสาวะที่มีตัวยาสำคัญ คือ Hyoscine-N-butylbromide (HBB) ซึ่งจะไปทำหน้าที่ช่วยลดอาการปวดเกร็งท้องที่เกิดตามหลังการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะได้ดี”

และยังสามารถรับประทานยานี้ควบคู่กับยาฆ่าเชื้อหรือยาแก้ปวดได้ตามปกติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้

ปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยง

 ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน อย่าให้ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ยกเว้นในผู้ที่มีโรคหัวใจหรือโรคไตที่ต้องจำกัดปริมาณน้ำ

 ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ ควรเข้าห้องน้ำทันทีเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะ

 ในกรณีที่ต้องเดินทาง ควรเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทาง

ถ้าได้ปรับพฤติกรรมตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว แต่ยังเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอยู่บ่อยๆ อาจจะมีสาเหตุอื่นๆ ซ่อนอยู่ เช่น นิ่ว เนื้องอก หรือความผิดปกติอื่นๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

พญ.พลอย ลักขณะวิสิฏฐ์

โรคคืออะไร? 
     เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น การกลั้นปัสสาวะ เป็นปัจจัยที่พบบ่อยของการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ บางคนที่กลั้นปัสสาวะเพราะเห็นว่าห้องน้ำไม่สะอาด มีโอกาสเกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้

อาการ
ปวดท้องน้อย ปัสสาวะไม่สุด ปวดปัสสาวะบ่อยแต่ปัสสาวะได้ครั้งละเล็กน้อย กดที่หน้าท้องจะเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มหรือมีสีแดงคล้ายเลือดปนออกมา

     ปัจจัยเสี่ยง 

  • ผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะ ตีบ ,นิ่ว หรือเนื้องอกในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ช่องคลอดจะแห้ง เชื้อแบคทีเรียจะกระจายไปสู่ท่อปัสสาวะได้ง่าย
  • การมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ทำให้เชื้อโรคกระจายเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น 
  • คนที่เคยมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบแล้วมีโอกาสเป็นได้อีกบ่อยๆ แต่ไม่ควรมากกว่า 2 ครั้ง ในเวลา 6 เดือน หรือ มากกว่า 3 ครั้งต่อปี

คำแนะนำในการดูแลไม่ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม 6 -10 แก้ว แล้วแต่ความต้องการของร่างกายของ
    

แต่ละคน

  • ห้ามกลั้นปัสสาวะ ถ้าต้องเดินทางเป็นเวลานานไม่ควรดื่มน้ำมาก ทำให้ต้องกลั้นนปัสสาวะนาน ๆ ซึ่ง  เสี่ยงต่อการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น
  • ปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง 
  • ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยให้ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นร่างกายก็จะกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้เอง

Buscopan (1 แผง 10 เม็ด)

บริการฟรี

logo

แชทปรึกษาเภสัชกรในเครือข่าย พร้อมบริการจัดส่ง โดยร้านยาที่ได้รับอนญาต เเชทผ่านแอป HD ฟรี

ขณะนี้มีเภสัชในระบบ 20 ท่าน

  • ปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ได้ทุกเรื่องเกี่ยวกับยา ทั้งชนิดของยา การใช้ยาอย่างเหมาะสม และข้อควรระวังของยา
  • เภสัชกรจะถือว่า ประวัติสุขภาพและข้อมูลส่วนบุคคลที่คุณให้มาเป็นข้อมูลจริง และใช้ข้อมูลนั้นประกอบการให้คำปรึกษาและแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ข้อมูลดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ระหว่างคุณกับเภสัชกรในหน้าแชทส่วนตัวเท่านั้น
  • HDmall.co.th จะติดต่อร้านขายยาที่ใกล้ที่สุด ให้คุณปรึกษาและใช้บริการจัดส่งยาจากร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตโดยตรง
  • HDmall.co.th ไม่ได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยตรง รวมถึงไม่ได้กระทำธุรกรรมใดๆ ทั้งสิ้น ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดในหน้านี้มีไว้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น
  • 🤝 สนใจเป็นหนึ่งในร้านขายยาที่ช่วยให้คำปรึกษาผู้ใช้ด้านยาหรือไม่? สมัครและใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

รู้โปรฯ ใหม่ก่อนใคร! แค่ทิ้งเมลไว้ เดี๋ยวเราเตือนคุณเอง