ประโยชน์ของการ ประกันภัย ต่อธุรกิจ

​​​​​​​​​​​​​​​คือการที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัยไว้ ซึ่งความเสียหายนั้นสามารถประเมินมูลค่าหรือกำหนดเป็นวงเงินได้ เช่น บ้าน รถยนต์ โดยผู้เอาประกันภัยต้องชำระเบี้ยประกันภัย

Show

การทำประกันวินาศภัยมีประโยชน์หลายประการ เช่น  

​ให้ความคุ้มครองต่อทรัพย์สิน

หากเกิดความเสียหาย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหาย และนำไปจัดหาสินทรัพย์ใหม่ทดแทนได้​ ​

​ ​

ช่วยให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ​​

​​หากมีความเสียหายเกิดขึ้น ธุรกิจจะมีเงินที่ได้รับชดใช้จากบริษัทประกันภัยมาดำเนินงานต่อไปได้​

​​​​

​ช่วยลดภาระแก่สังคมและรัฐบาลที่จะต้องเข้ามาช่วยเหลือ​

หากเกิดความเสียหาย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินค่าสินไหมทดแทน ไม่ต้องประสบกับภาวะหมดเนื้อหมดตัว หรือขาดที่พึ่งพา​​​

ช่วยระดมทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ​

เนื่องจากบริษัทประกันภัยจะมีการกันเงินสำรองส่วนหนึ่งเพื่อเตรียมไว้สำหรับภัยพิบัติอันอาจจะเกิดขึ้น และจะนำไปลงทุนในรูปของการซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้ ซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ

​​ ​

1. ความรู้เบื้องต้น

ผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันวินาศภัย

ผู้รับประกันภัย คือบริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เพื่อรับประกันต่อความเสียหายต่าง ๆ เช่น อัคคีภัย ภัยรถยนต์ ภัยทางทะเลและขนส่ง (ดูรายชื่อบริษัท)​ผู้เอาประกันภัย คือบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินผู้รับผลประโยชน์ (อาจจะเป็นคนเดียวกับผู้เอาประกันภัยหรือไม่ก็ได้)


ประเภทของการประกันวินาศภัย ได้แก่

ประโยชน์ของการ ประกันภัย ต่อธุรกิจ

1. การประกันอัคคีภัย (Fire Insurance) แบ่งเป็น

1.1 การประกันอัคคีภัย

คือการประกันภัยที่คุ้มครองทรัพย์สินจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้หุงต้มหรือให้แสงสว่างเพื่อการอยู่อาศัย

1.2 การประกันอัคคีภัยและภัยพิบัติสำหรับที่อยู่อาศัย

คือการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ ภัยพิบัติ (น้ำท่วม ลมพายุ หรือแผ่นดินไหว) ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด


2. การประกันภัยรถยนต์ (Motor Insurance) แบ่งเป็น

2.1 การประกันภัยรถภาคบังคับ

คือการประกันภัยรถประเภทที่กฎหมายให้เจ้าของรถซึ่งใช้หรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย เพื่อให้เกิดความคุ้มครองแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนที่ประสบภัยเป็นสำคัญ

2.2 การประกันภัยรถภาคสมัครใจ

คือการประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์ ซึ่งได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ ความเสียหายที่รถยนต์ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้น โดยแบ่งประเภทของความคุ้มครองดังนี้

ประโยชน์ของการ ประกันภัย ต่อธุรกิจ
 

​(1) ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก​และผู้โดยสารในรถ (Third Party Bodily Injury : TPBI)
(2) ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage : TPPD)
(3) ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ (Own Damage : OD)
(4) ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ ​(Fire and Theft : F& T)

ประเภทกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ จำแนกเป็น​ 

1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (Comprehensive)     คุ้มครองครบทั้ง 4 ประเภทที่กล่าวข้างต้น

2. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (Third Party, Fire and Theft) 
    คุ้มครองตามข้อ (1) (2) และ (4)

3. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (Third Party Liability Only) 
    คุ้มครองตามข้อ (1) และ (2)

ประโยชน์ของการ ประกันภัย ต่อธุรกิจ
 


3.  การประกันภัยทางทะเล (Marine Insurance)

คือการประกันภัยที่คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายต่อเรือ ทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายขอบเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางบกซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การประกันภัยตัวเรือ (Marine Hull Insurance) และ การประกันภัยสินค้า (Marine Cargo Insurance)

4.  การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Insurance)

คือการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากเหตุอื่นที่มิได้คาดหมายไว้ เช่น การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident Insurance)  การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก(Liability Insurance)  การประกันภัยเครื่องจักรชำรุดเสียหาย 

2. หลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าเบี้ยประกันภัย

การกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

​1.​  ​ขนาดของความเสี่ยงภัย : หากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีขนาดของความเสี่ยงภัยสูง ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตาม  เช่น ในการประกันภัยอัคคีภัย จะแบ่งลำดับของความเสี่ยงภัยตามลักษณะและจำนวนชั้นของสิ่งปลูกสร้าง และยังคำนึงถึงสถานที่ตั้ง และลักษณะการใช้งานด้วย

2.  ​ระยะเวลาที่คุ้มครอง : หากซื้อความคุ้มครองในระยะเวลาสั้นกว่าหนึ่งปี ค่าเบี้ยประกันภัยก็จะสูง เพราะไม่ได้มีการกระจายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทประกันแต่รวมกันไว้ในปีเดียวกันเลย

3​.​  ​จำนวนเงินเอาประกันภัย : หากจำนวนเงินเอาประกันภัยสูง ค่าเบี้ยประกันภัยก็จะสูงด้วย

 

3. การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย (เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้กรมธรรม์ประกันภัย)

  • 1.  บริษัทประกันภัยเป็นผู้บอกเลิก ด้วยการส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้เอาประกันภัย ในกรณีนี้บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยโดยหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน

  • 2.  ​ผู้เอาประกันภัยบอกเลิก โดยแจ้งให้บริษัททราบเป็นหนังสือ และมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืนหลังจากหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยได้ใช้บังคับมาแล้วตามอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้นตามตารางที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย


  • 4. วิธีการในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

  • 1.  จ่ายเป็นตัวเงิน (Cash Payment) เป็นวิธีการที่ง่าย สะดวก และคล่องตัว

    2.  การซ่อมแซม (Repair) เหมาะในกรณีที่เกิดความเสียหายเพียงบางส่วนและสามารถที่จะซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้

    3.  การหาของมาทดแทน (Replacement) เป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องหาสิ่งที่เป็นชนิด ประเภท และคุณภาพเดียวกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมาทดแทนให้

    4.  การกลับคืนสู่สภาพเดิม (Reinstatement) เป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยการทำให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้กลับคืนสู่สภาพเดิมเหมือนเมื่อก่อนเกิดวินาศภัย ซึ่งไม่สามารถกระทำได้โดยวิธีซ่อมแซมหรือหาของแทน เช่น โรงงานถูกเพลิงไหม้ทั้งหมด ผู้รับประภันภัยจะก่อสร้างโรงงานนั้นขึ้นใหม่ 

    การประกันภัยมีความสําคัญอย่างไร

    เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ที่ได้ทำประกันภัยไว้ ด้วยการเฉลี่ยหรือการกระจายความเสียหายไปยังสมาชิกที่ทำประกันภัย โดยมีบริษัทประกันภัยเป็นผู้ทำหน้าที่เก็บเบี้ยประกันและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในสัญญา

    ประกันภัย คืออะไร และมี ประโยชน์ อย่างไร

    สรุป การประกันภัย (Insurance) คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่งซึ่งโอนความเสี่ยงภัยจากผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทผู้รับประกันภัยโดยทำสัญญาความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัย และผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัทผู้รับประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้ระบุความ ...

    การทําประกันชีวิตมีประโยชน์อย่างไร

    การประกันชีวิตสามารถช่วยสร้างความมั่นคงของรายได้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้ ในกรณีการทำประกันคุ้มครองการเจ็บป่วย หรือการประกันอุบัติเหตุ ผู้เอาประกันภัยจะได้เงินทดแทนเพื่อใช้ในการเลี้ยงชีพในกรณีทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงได้ ด้านการได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

    ประโยชน์ของการประกันภัยจำแนกได้เป็นกี่ระดับ

    ประโยชน์ ของการประกันภัย.
    1. ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย - เป็นการให้หลักประกันต่อบุคคลและครอบครัวของผู้เอาประกันภัยเมื่อมีบุคคลใน ครอบครัวเสียชีวิตไป ... .
    2. ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม - ช่วยสร้างความมั่นคงในสังคม ... .
    3. ประโยชน์ต่อธุรกิจ - ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ.