ประโยชน์เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านการแพทย์

เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก อีกทั้งเป็นเรื่องที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเราให้ดีขึ้น สบายมากขึ้นตามไปด้วย เทคโนโลยีมีหลากหลายแขนงแยกย่อยออกไป ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ด้านยานยนตร์ ด้านการแพทย์ เป็นต้น เทคโนโลยีแขนงหนึ่งที่กำลังมาแรงอย่างมากเลยก็คือ เทคโนโลยีชีวภาพ สิ่งนี้คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อมนุษย์ยุคนี้

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพกันดีกว่า

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพกันสักหน่อย เทคโนโลยีแขนงนี้หมายถึง การนำองค์ความรู้ต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมาผสมผสานกัน จากนั้นเอาไปประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิตรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือ แม้แต่คนด้วยกันเอง เทคโนโลยีชีวภาพนั้นจะทำขึ้นเพื่อพัฒนาสิ่งมีชีวิตให้ดียิ่งขึ้นไป โดยเทคโนโลยีชีวภาพมีข้อดีต่อชีวิตของมนุษย์ดังนี้คือ

สร้างสรรค์อาหารแบบใหม่ๆให้เกิดขึ้น

อาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับมนุษย์ด้วยกัน เพราะอาหารจะมอบพลังงานและสารอาหารเพื่อให้มนุษย์ดำเนินชีวิตต่อไปได้ เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามามีบทบาททางด้านอาหารก็คือ เทคโนโลยีชีวภาพจะนำไปสู่อาหารแบบใหม่ หรือ อาหารเดิมแต่แปรรูปให้มีความหลากหลายมากขึ้น มีอายุอยู่ได้นานขึ้น อย่างเช่น ขนมปังที่เกิดจากเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านยีสต์ ผงฟูมาผสมกับการแต่งสี กลิ่น รส ทำให้ขนมปังมีความหลากหลาย น่ารับประทานมากขึ้น เครื่องดื่มอย่างไวน์ก็เป็นผลจากเทคโนโลยีชีวภาพด้วยเช่นกัน การหมักผ่านกรรมวิธีใหม่ ยีสต์ น้ำหมักผลไม้ บวกกับเครื่องไม้เครื่องมือการหมักรูปแบบใหม่ทำให้เกิดไวน์ชนิดแบบใหม่อย่างไวน์สับปะรดด้วย

เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร

ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรมเป็นเบื้องหลังสำคัญของหลายประเทศ การผลิตให้ได้มากที่สุดอาจจะไม่ใช่คำตอบอย่างเดียว ผลผลิตทางการเกษตรต้องมีคุณภาพควบคู่กันไปด้วย เทคโนโลยีชีวภาพจะเข้ามาช่วยเรื่องนี้ด้วยการตัดแต่งพันธุกรรมใหม่จะทำให้พืชเศรษฐกิจทำออกมาได้ดีกว่าเดิม อย่างเช่น ข้าว ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้ทนต่อสภาพแวดล้อม ศัตรูพืช และมีผลผลิตต่อไร่มากขึ้นตามไปด้วย มิหนำซ้ำข้าวที่ได้ยังมีคุณภาพมากขึ้นคนเกินก็จะได้รับสารอาหารมากขึ้นด้วย ไม่เพียงแต่เกษตรกร ด้านปศุสัตว์เองก็เช่นกัน เทคโนโลยีชีวภาพจะเข้าไปทำให้การเลี้ยงสัตว์ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงทั่วไป จนถึงสัตว์เศรษฐกิจมีคุณภาพมากขึ้นจนทำให้เกษตรกรด้านฟาร์มมีรายได้มากขึ้นจากการขายอีกทางหนึ่ง

เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม

จุดเด่นของเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพก็คือ มันเป็นสิ่งที่เกิดมาจากสิ่งมีชีวิตที่มีสารเคมีน้อยที่สุด ทำให้มันมีผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดตามไปด้วย กล่าวคือหากเป็นซากพืช ซากสัตว์เราสามารถนำเทคโนโลยีชีวภาพมาย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมัก ที่มีคุณภาพเอาไปใช้ได้อีกต่อหนึ่ง หรือจะเอาปุ๋ยที่ทำมาจากเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้แทนปุ๋ยเคมีก็ดี(เชื่อว่าในอนาคตอาจจะมีการวิเคราะห์สภาพดิน พืชที่ปลูก สภาพอากาศตามหลักชีวภาพแล้วใช้เทคโนโลยีชีวภาพสร้างปุ๋ยชีวภาพสูตรเฉพาะทางขึ้นมา) อีกด้านหนึ่งเราเอาเทคโนโลยีชีวภาพไปกำจัดจุลินทรีย์ในน้ำ กำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีชีวภาพก็ได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เรารักษาสิ่งแวดล้อมเอาไว้อีกต่อหนึ่ง

เทคโนโลยีชีวภาพกับมนุษย์

คนเราเองนี่แหละเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลจากเทคโนโลยีชีวภาพมากที่สุด เราสร้างเทคโนโลยีชีวภาพขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือคนด้วยกันเอง อย่างเช่นการสร้างยาหรือวัคซีนจากธรรมชาติเพื่อมากำจัดโรคร้าย โดยมีผลตกค้างกับคนให้น้อยที่สุดไม่แน่ในอนาคตเราอาจจะเทคโนโลยีชีวภาพบางอย่างสามารถระงับเซลล์มะเร็ง กับโรคเอดส์ให้หายได้แบบไม่มีผลค้างเคียง ยังไม่นับยา อาหารเสริม วิตามิน ที่สกัดขึ้นมาจากเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้คนกินแล้วรู้สึกสดชื่น แข็งแรง ไม่ป่วยง่าย จนหาหมอน้อยลงแบบนี้ก็มี ส่วนเทคโนโลยีชีวภาพเรื่องการตั้งครรภ์ทั้งการฝากน้ำเชื้อ แม่อุ้มบุญ เด็กหลอดแก้ว การทำกิ๊ฟต์ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วตอนนี้เทคโนโลยีชีวภาพเหล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่อยู่ในนวนิยายไซไฟอีกต่อไปมันเกิดขึ้นจริง และมันจะถูกพัฒนาต่อไปจนเราอาจจะจินตนาการโลกในอนาคตไม่ออกเลยว่ามันจะเป็นอย่างไร

ประวัติความเป็นมา หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ เป็นหน่วยปฏิบัติการเครือข่ายของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และหน่วยงานอิสระภาครัฐได้แก่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการสร้าง พัฒนา และผลิตผลงานวิจัยด้านชีวภาพทางการแพทย์ (Bio-medical Research) โดยเฉพาะงานวิจัยทางด้านโรคไข้เลือดออก  ด้านโรคพันธุกรรมของมนุษย์ และงานวิจัยพื้นฐานทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยา  โดยการสร้างความร่วมมือในด้านการวิจัยทั้งระดับภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้การดำเนินงานวิจัยประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีและมีผลงานที่ชัดเจนในรูปของสิ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ สิทธิบัตร ชุดตรวจวินิจฉัยโรค และองค์ความรู้พื้นฐาน รวมถึงการผลักดันให้มีการต่อยอดผลงานวิจัยของหน่วยฯแพทย์ให้ออกเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ เช่น ชุดตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออก และชุดตรวจวัดปริมาณ CD4 lymphocyte ในเลือดของผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์  ห้องปฏิบัติการของหน่วยฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ ชั้น 12 ตึกอดุลยเดชวิกรม โรงพยาบาลศิริราช ภายในพื้นที่ของหน่วยอณูชีววิทยาการแพทย์ สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยในปี พ.ศ. 2543 หน่วยฯ ได้มีการขยายเครือข่ายที่มีงานวิจัยร่วมกันออกไปที่หน่วยฯ สาขา 2 แห่ง คือ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม. เชียงใหม่ (รองศาสตราจารย์ ดร. นพ. นพพร สิทธิสมบัติ) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ molecular biology of dengue virus โดยใช้ infectious cDNA clone เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อการก่อโรคของไวรัสเด็งกี่ และ ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกันคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (รองศาสตราจารย์ ดร. วัชระ กสิณฤกษ์) เพื่อพัฒนาวิธีการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อไวรัสเด็งกี่   โดยในปีงบประมาณ 2550  หน่วยฯ เครือข่ายของคณะเทคนิคการแพทย์ ม. เชียงใหม่ ได้เติบโตและแยกตัวออกไปจัดตั้งเป็นศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ อยู่ภายใต้สังกัดของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) โดยตรง โดยในการผลิตงานวิจัยยังคงมีความเกี่ยวเนื่องและดำเนินงานร่วมกับหน่วยฯ ในหลายโครงการอย่างใกล้ชิด  ปัจจุบันหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ จึงมีหน่วยฯ เครือข่าย 1 แห่ง คือ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม. เชียงใหม่

นอกจากนี้หน่วยฯแพทย์ยังมีบทบาทสำคัญร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการผลิตนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยทางด้านการแพทย์ เช่น โครงการผลิตบัณฑิตศึกษา โครงการผลิตอาจารย์แพทย์ (M.D. Ph.D.) เป็นต้น

วิสัยทัศน์  (vision)

  1. เป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ (biomedical fields) โดยเฉพาะการวิจัยเรื่องโรคไข้เลือดออกและไวรัสเด็งกี่ และโรคพันธุกรรมของมนุษย์ การวิจัยโดยใช้เทคนิคและวิธีการสมัยใหม่ เช่น โปรติโอมิกส์  ปฏิสัมพันธ์ของโปรตีน  การจัดการข้อมูลชีวสารสนเทศ เป็นต้น ทั้งงานวิจัยด้านพื้นฐาน และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
  2. เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายงานวิจัยทางด้าน biomedical research  ที่พบมากในประเทศ และการประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการตรวจวินิจฉัย การรักษา รวมทั้งการควบคุมป้องกันโรค
  3. เป็นหน่วยงานที่มีความร่วมมือกับบริษัทเอกชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัย โดยการถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้กับบริษัทเอกชนที่ร่วมมือ

เป็นหน่วยงานเครือข่ายที่ให้ความรู้ และเทคโนโลยีทางด้านการตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข

เทคโนโลยีชีวภาพมีประโยชน์ในด้านการแพทย์อย่างไร

เทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์เพื่อสุขภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ ด้าน เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือโรคทางพันธุกรรมต่างๆ การผลิตยาจากผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต

ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพมีกี่ข้อ

ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ.
ด้านเกษตรกรรม 1.1 การผสมพันธุ์สัตว์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ... .
ด้านอุตสาหกรรม 2.1 การถ่ายฝากตัวอ่อน ทำให้เพิ่มปริมาณและคุณภาพของโคนมและโคเนื้อ เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อวัวและน้ำนมวัว ... .
ด้านการแพทย์ ... .
ด้านอาหาร ... .
ด้านสิ่งแวดล้อม ... .
ด้านการผลิตพลังงาน.

ประโยชน์ด้านการแพทย์มีอะไรบ้าง

1) การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์คือ การนำผลงานไปใช้ประโยชน์หรือ พัฒนาในทางการแพทย์หรือสาธารณสุขเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค รักษาโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น การนำไป ประยุกต์ใช้ทางห้องปฏิบัติการ การตรวจชันสูตร การใช้อ้างอิงทางวิชาการ การใช้ประโยชน์ในการต่อยอดการวิจัยทางการแพทย์หรือสาธารณสุข เป็นต้น

ข้อใดเป็นประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรม

เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมไม่เพียงแค่ช่วยตอบสนองความต้องการของมนุษย์แต่ในอีกมุมหนึ่งยังเป็นหนทางเยียวยาสภาพแวดล้อมที่เคยเสื่อมโทรมให้ฟื้นฟูดีขึ้นแล้วนำมาก่อประโยชน์ตอบสนองต่อกิจกรรมมนุษย์อย่างสร้างสรรค์ไร้มลพิษให้แตกต่างจากยุคเริ่มต้นอุตสาหกรรมก่อนหน้าที่เคยเป็นมา