เบส ใช้ในสารทำความสะอาด คือ

ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ

ข้อคิดเห็นที่ 2:

เบส ใช้ในสารทำความสะอาด คือ

สารทำความสะอาด

ความหมายของสารทำความสะอาด หมายถึง คุณสมบัติในการกำจัดความสกปรกต่างๆ ตลอดจนฆ่าเชื้อโรค

ประเภทของสารทำความสะอาด แบ่งตามการเกิด ได้ 2 ประเภท คือ

1. ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำยาล้างจาน สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพูสระผม ผงซักฟอก สารทำความสะอาดพื้น  เป็นต้น

2. ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำมะกรูด มะขามเปียก เกลือ เป็นต้น
แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

         2.1 สารประเภททำความสะอาดร่างกาย ได้แก่ สบู่ แชมพูสระผม เป็นต้น

         2.2 สารประเภททำความสะอาดเสื้อผ้า ได้แก่ สารซักฟอกชนิดต่างๆ

         2.3 สารประเภททำความสะอาดภาชนะ ได้แก่ น้ำยาล้างจาน เป็นต้น

         2.4 สารประเภททำความสะอาดห้องน้ำ ได้แก่ สารทำความสะอาดห้องน้ำทั้งชนิดผงและชนิดเหลว

  สมบัติของสารทำความสะอาด

         สารทำความสะอาด เช่น สบู่ แชมพูสระผม สารล้างจาน สารทำความสะอาดห้องน้ำ สารซักฟอก บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิดมีสมบัติเป็นเบสซึ่งทดสอบได้ด้วยกระดาษลิตมัส

          สารทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด สามารถกัดกร่อนหินปูนที่ยาไว้ระหว่างกระเบื้องปูพื้นหรือฝาห้องน้ำบริเวณเครื่องสุขภัณฑ์ ทำให้คราบสกปรกที่เกาะอยู่หลุดลอกออกมาด้วย ถ้าใช้สารชนิดนี้ไปนานๆ พื้นและฝาห้องน้ำจะสึกกร่อนไปด้วย นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ใช้เกิดความระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจและผิวหนังอีกด้วย ดังนั้น ในการใช้ต้องระมัดระวังโดยปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้อย่างเคร่งครัดและต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม การใช้ในปริมาณมากเกินไป ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยทำความสะอาดได้มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม อาจทำให้สิ้นเปลืองและทำลายสิ่งแวดล้อม ส่วนสารทำความสะอาดห้องน้ำและเครื่องสุขภัณฑ์

โดย:  พี 1/4 จภ.ม  [23 ธ.ค. 2551 12:24]

ข้อคิดเห็นที่ 10:

เบส ใช้ในสารทำความสะอาด คือ

(ตัดมา)
สารเคมีในสบุ่เหลว
ลองอ่านดูสักนิดเพื่อชีวิตของเรา

สบู่เหลว
จากบทความของ  cdpm_spb     (UID: 48933)

ใช้สบู่เหลว ต้องระวัง

 สบู่เหลว นั้น เป็นแค่สารซักฟอกหรือดีเทอเจน ผสมกับสารเคมีสังเคราะห์อื่น แล้วทำให้อยู่ในรูปของเหลว ฮือฮาน่าตกใจ สบู่เหลวที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ใช่สบู่ แต่เป็นสารเคมีล้วนๆ  เป็นแค่สารซักฟอกที่ใช้ในการผลิตน้ำยาล้างจาน ทำความสะอาดพื้น แถมถ้าใช้ร่วมกับสารประกอบตระกูลอามีนจะกลายเป็นสารก่อมะเร็งในที่สุด!!!
         วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติได้ตีพิมพ์บทความบท หนึ่ง เผยถึง เรื่องใกล้ตัวที่คนทั่วไปให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีใจความระบุว่า เดี๋ยวนี้สบู่เหลวที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่สบู่ แต่เป็นสารเคมีล้วนๆ  สบู่เหลวที่ดีจริงๆ  จะ ต้องมีส่วนผสมของเนื้อสบู่อย่างน้อย 25% แล้วที่เหลือเป็นน้ำ แต่ความเป็นจริงแล้วไม่มีสบู่เหลวแบบนี้วางขายอยู่เลย เพราะผลิตภัณฑ์เกือบทุกชนิดที่วางขายอยู่
          ซึ่งสารซักฟอก หรือดีเทอเจน ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้สบู่เหลวคงจะไม่เกิดขึ้นฉับ พลันทันที แต่จะสะสมเป็นปัญหาในระยะยาวได้ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะแทรกซึมลงไปในผิวหนัง อวัยวะภายใน  และกระแสเลือดได้ทุกครั้งที่เราอาบน้ำ SLS หรือโซเดียมลอริลซัลเฟต  ( Sodium Lauryl Sulfate )  เป็นตัวอย่างหนึ่งของสารเคมีหลักที่มักใช้ในสบู่  (คุณลองไปพลิกพวกผลิตภัณฑ์ซักล้างทุกอย่างดู จะเห็นส่วนผสมนี้จริงๆ  บางทีใช้ชื่อว่าลอริล)   และเป็นสารเคมีอันตราย"
         ทั้งนี้ หลายประเทศในยุโรป และอเมริกามีกฎหมายห้ามใช้แล้ว  และบางประเทศก็จำกัดให้มีการใช้น้อยลง แต่ในบ้านเรากลับใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งๆ  ที่เป็นสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนังได้อย่างง่าย และรวดเร็ว สามารถสะสมอยู่ในดวงตา สมอง หัวใจ ตับ  และก่อปัญหาในระยะยาว หากยิ่งมีการใช้ร่วมกับสารประกอบตระกูลอามีน ก็จะกลายเป็นสารก่อมะเร็งในที่สุด
         เพราะฉะนั้นเราอาจต้องถามตัวเองดูใหม่ว่าจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องใช้สบู่เหลว  ( ซึ่งจริงๆ  แล้วคือสารเคมีล้วนๆ )
         แต่ถ้ายังคงต้องการที่จะใช้ การใช้สบู่เหลวสำหรับเด็กก็จะดีกว่า  (ไม่ได้หมายความว่าปลอดภัย เพียงแต่มีสารเคมีเจือจางกว่าเท่านั้น)  
         ยังพบ SLS ในน้ำยาล้างจาน   และ แชมพูสระผมด้วย

ความปลอดภัยของสาร SLS  ( Sodium Lauryl Sulfate)  ในเครื่องสําอาง
http://www.fda.moph.go.th/prac/watch/tips/sls.shtml

ขณะนี้ได้มีข่าวเกี่ยวกับสาร SLS  ( Sodium Lauryl Sulfate)  ว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้ต่างประเทศได้ยกเลิกการใช้สารประเภทนี้ไปแล้ว แต่ในประเทศไทยยังมีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง โดยเฉพาะสบู่เหลว  ซึ่งใช้กันทุกเพศทุกวัย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาไม่ได้นิ่งนอนใจได้ทำการสืบค้น และติดตาม ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสารที่ใช้ในเครื่องสำอางมาโดยตลอด โดยเฉพาะกรณี ความปลอดภัยของสาร SLS  ( Sodium Lauryl Sulfate)  ในเครื่องสำอาง
สารโซเดียม ลอริล ซัลเฟต หรือที่นิยมเรียกในชื่อย่อว่า เอสแอลเอส  (Sodium Lauryl Sulfate : SLS)  เป็นสารที่มีคุณสมบัติลดแรงตึงผิวของน้ำ ทำให้เกิดฟอง ช่วยให้สิ่งสกปรก คราบไขมันหลุดออกไปได้ง่ายขึ้น จึงเรียกง่ายๆ  ว่าเป็นสารทำความสะอาด นิยมใช้ทั้งในวงการอุตสาหกรรม และเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่น เครื่องสำอาง น้ำยาล้างจาน  (โดยใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้)  เครื่องสำอางที่นิยมผสมสารนี้ ได้แก่ เครื่องสำอางที่ใช้แล้วล้างออกด้วยน้ำ เช่น สบู่เหลว แชมพู ตลอดจนยาสีฟัน
และจากการศึกษาวิจัยทั้งในสัตว์ทดลอง และในคน พบว่าอันตรายของสารนี้ คือ ระคายเคือง ต่อดวงตา  และผิวหนัง โดยความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารนี้ในผลิตภัณฑ์  และระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์สัมผัสร่างกาย  ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจนสรุปว่าสาร SLS มีความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดมะเร็งในคน  ซึ่งข้อมูลความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดมะเร็งจากสารกลุ่มนี้ อาจมาจากสิ่งปนเปื้อนที่เป็นสารก่อมะเร็ง คือ 1,4 Dioxane แต่ปัจจุบันในกระบวนการผลิตสารทำความสะอาด สามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนนี้ได้ด้วยการใช้ระบบสูญญากาศ  ( ซึ่งไม่เป็นภาระเรื่องค่าใช้จ่ายมากนัก)  อีกทั้งได้มีการศึกษาพบว่า โอกาสที่จะพบ 1,4 Dioxane ในเครื่องสำอางสำเร็จรูปมีน้อย จึงไม่ควรกังวลว่าสาร SLS ในเครื่องสำอางจะก่อให้เกิดมะเร็ง
ทั้งนี้เครื่องสำอางที่ผสมสาร SLS อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้บ้าง เช่น แชมพูเข้าตาทำให้แสบตา หรือฟอกสบู่เหลวนานเกินไป อาจระคายเคืองผิว ทำให้ผิวแห้งได้ ขณะนี้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย รวมทั้งประเทศไทย มิได้ห้ามใช้สารนี้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง แต่หากผู้บริโภคต้องการหลีกเลี่ยงสาร SLS ในเครื่องสำอาง สามารถเลือกใช้เครื่องสำอางที่ฉลากระบุว่า “ Sodium Lauryl Sulfate Free” ได้
ขณะนี้มีสารทำความสะอาดอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กัน คือ Sodium Laureth sulfate  (SLES)   ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยกว่า SLS  และยังไม่มีข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการเป็นสารก่อมะเร็ง
ดังนั้น ผู้บริโภคไม่ควรตื่นตระหนกกับเรื่องนี้จนเกินไป หากพบข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสาร หรือผลิตภัณฑ์ใดๆ  โดยเฉพาะข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงบวก หรือเชิงลบ จำเป็นต้องตรวจสอบแหล่งที่มา ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายๆ  แหล่ง ตลอดจนข้อเท็จจริงต่างๆ  ให้กระจ่างชัด ก่อนที่จะดำเนินการหรือตัดสินใจใดๆ

Website อ้างอิงที่น่าอ่าน
http://www.healthy-communications.com/slsmostdangerousirritant.html

http://www.youtube.com/watch?v=VQggSIxU8lw

http://www.admin.khaokhiris.org/?page_id=34

http://www.natural-health-information-centre.com/sodium-lauryl-sulfate.html

โดย:  กมล มงคล  [12 ต.ค. 2552 06:55]