ผู้บริหารของกรุงเทพมหานครคือ

นายชัชชาติเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลาว่าการ กทม. (ดินแดง) โดยระบุว่า วันธรรมดาจะลุยทำงานภายในศาลาว่าการฯ ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ จะลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับประชาชน ดูหน้างาน และติดตามการก่อสร้างต่าง ๆ ที่เป็นปัญหา

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) คนที่ 17 เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการวันนี้ (1 มิ.ย.) โดยขอข้าราชการงดขึ้นป้ายที่มีรูปและชื่อของเขาเวลาลงพื้นที่ และงดเรียกว่า "นาย" พร้อมเปิดตัวทีมงานชุดแรก 18 คน

ในวันแรกของการเดินทางเข้าไปยังศาลาว่าการ กทม. นายชัชชาติเข้าสักการะพระพุทธนวราชบพิตร และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) ท่ามกลางการต้อนรับอย่างอบอุ่นของบรรดาข้าราชการ ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ กทม. ที่มายืนรอดูผู้ว่าฯ ตัวจริงเสียงจริงอย่างใจจดใจจ่อ และส่งเสียงโห่ร้องกรี๊ดกร๊าดเป็นระยะ ๆ ขณะที่บางส่วนก็รอไหว้สวัสดี ปรี่มาขอถ่ายภาพด้วย หรือขอชนกำปั้น ซึ่งเป็นคล้ายท่าประจำตัวของนายชัชชาติตั้งแต่ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง

แม้แต่ข้าราชการระดับสูงของ กทม. นำโดยนายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัด กทม. ก็ยังต้องหลบฉากให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาที่แสดงตัวเป็น "แฟนคลับ" ของนายชัชชาติ

"เจ้าหน้าที่ให้ปลัดฯ ถ่ายให้เลยเว้ย... ไม่รู้จักท่านหรือ โอ้โห อนาคตก้าวไกลแน่" นายชัชชาติกล่าวทีเล่นทีจริงขณะถ่ายภาพคู่กับเจ้าหน้าที่หญิงรายหนึ่ง หลังเธอส่งสมาร์ตโฟนให้ปลัด กทม. ช่วยถ่ายภาพให้

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

จากนั้นนายชัชชาติได้ร่วมพิธีมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าฯ กทม. พร้อมประกาศต่อหน้าข้าราชการ กทม. ว่า เดินทางมา 2 ปีกว่า วันนี้จะเริ่มเดินต่อไปอีก 4 ปี ก็ดีใจที่มีเพื่อนร่วมเดินทางต่อไป และขอให้ทุกคนช่วยกันอ่านนโยบาย 214 ข้อ ว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร ควรปรับปรุงอย่างไร

"อย่าเรียกผมว่า 'นาย' เรียกผมว่า 'อาจารย์' ผมไม่ได้มาเป็นนาย แต่เป็นเพื่อนร่วมงาน" นายชัชชาติกล่าว

กฎ 5 ข้อของผู้ว่าฯ ชัชชาติ ถึงข้าราชการ กทม.

ผู้ว่าฯ คนที่ 17 ยังตั้งกฎในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาเอาไว้ 5 ข้อ ดังนี้

หนึ่ง มีอะไรขอให้พูดคุยกัน หากผู้ว่าฯ ทำอะไรไม่เหมาะ บอกได้ เป็นการสื่อสาร 2 ทาง "ทุกคนมีอะไรอย่าเก็บไว้ในใจ เรื่องงานพูดกันเลย เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หาข้อยุติ แล้วก็เดินหน้าทำงานให้ประชาชน"

สอง ความโปร่งใสสุจริตมาเป็นอันดับหนึ่ง "ผมจะไม่ทนกับการทุจริตคอร์รัปชัน ตอนนี้ก็เริ่มมีการแอบอ้างชื่อผมแล้ว ไม่มีนะครับ ถ้าใครแอบอ้างให้แจ้งทีมงาน"

สาม ส่วนตัวเป็นคนตื่นเช้า แต่ข้าราชการไม่ต้องตื่นเช้าแทน ทุกคนมีภารกิจต้องไปทำ มีลูกต้องไปส่ง มีภรรยาต้องไปรับ ก็ทำไปตามเดิม บางทีผู้ว่าฯ มา 6 โมงเช้า ก็ไม่ต้องกังวล

สี่ เวลาไปลงพื้นที่ ไม่ต้องมาเยอะ เอาเฉพาะคนที่จำเป็น "ถ้ามาเยอะ ผมจะถามว่ามาทำไม ต้องตอบให้ได้ หรือเวลาไปไหนไม่ได้บอกพวกเรา ไม่ใช่ไปจับผิดอะไร แต่เกรงใจ อยากไปคุยกับประชาชนจริง ๆ" และ "เวลาไปไหนขอให้เรียบง่าย จำนวนน้อย ๆ เวลาลงพื้นที่ อย่าทำความเดือดร้อนให้ประชาชน"

ห้า ห้ามทำป้ายมีชื่อชัชชาติ หรือขึ้นรูปผู้ว่าฯ เพราะไม่ต้องการประชาสัมพันธ์ตัวเอง เนื่องจากมาทำงานในฐานะผู้มารับใช้ประชาชน ในนามของ กทม.

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กทม. แอบยืนดูนายชัชชาติจากห้องทำงานของตน ในระหว่างเปิดแถลงข่าวกับสื่อมวลชนที่ศาลากว่าการ กทม. (เสาชิงช้า)

นายชัชชาติยังแย้มด้วยว่า มีนโยบาย "ผู้ว่าฯ สัญจร" จะพื้นที่ทุกเขต อาจเป็นรายสัปดาห์ ครบ 1 ปีก็ได้ครบ 50 เขต นอกจากนี้จะไปเยี่ยมสำนักงานต่าง ๆ ของ กทม. ด้วย พร้อมฝากให้ ผอ.สำนักงานเขตต่าง ๆ ดูเรื่องการปลูกต้นไม้ล้านต้นซึ่งเป็นนโยบายสำคัญที่หาเสียงเอาไว้ เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวให้ กทม. หากปลูกต้นไม้เขตละ 20,000 ต้น 1 ปี ครบ 1 ล้านต้นพอดี

ส่วนภารกิจเร่งด่วนอื่น ๆ ที่ผู้ว่าฯ ของคนเมืองหลวงที่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ในฤดูฝน เน้นย้ำในวันนี้คือ การป้องกันน้ำท่วมซ้ำซาก การแก้ไขปัญหาหาบเร่แผงลอย และการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางถนนและทางม้าลาย

ภายหลังกล่าวเปิดใจกับผู้ใต้บังคับบัญชา นายชัชชาติเดินทักทายข้าราชการที่อยู่ในห้องประชุม พลางกล่าวว่า "ขอบคุณนะ" "ช่วยกันนะทุกคน" โดยมีเสียงขานรับอยู่เกือบตลอด อีกทั้งนายชัชชาติยังได้ขอจับมือข้าราชการรายหนึ่ง ก่อนกล่าวว่า "สัญญานะครับ จับมือหน่อย เป็นตัวแทนข้าราชการ"

ไม่กังวลงบ กทม. เหลือน้อย เพราะ 214 นโยบายไม่ใช้เงินมาก

จากนั้นนายชัชชาติได้เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ถึงกรณีที่ กทม. มีงบประมาณปี 2565 เหลือเพียง 94 ล้านบาท ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการผลักดันนโยบายที่หาเสียงไว้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

เขาชี้แจงว่า เหตุที่งบประมาณของ กทม. เหลือน้อย เพราะรัฐบาลได้ลดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปไปเกือบ 10% ทำให้เงินหายไปเกือบหมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามเชื่อว่ามีเงินยังไม่ได้จ่ายเหลืออยู่ หรือเงินค้างจ่ายในระบบก็เรียกคืนมาได้ และยังมีเงินสะสมของ กทม. เป็นหมื่นล้านบาท ซึ่งให้สภา กทม. อนุมัติได้

ผู้ว่าฯ ชัชชาติกล่าวด้วยว่า ตามนโยบาย 214 ข้อ ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานว่าใช้เงินเยอะ เพราะรู้ในข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ จึงให้เริ่มทำเรื่องที่ไม่ต้องใช้งบ เช่น แอปพลิเคชันแจ้งเหตุ/แจ้งปัญหาของคน กทม. ซึ่งไม่ได้ใช้เงินสักบาท แต่มีข้อร้องเรียนมากว่า 2 หมื่นเรื่อง เพราะเทคโนโลยีไม่ต้องใช้เงิน หลายเรื่องเดินได้โดยไม่ต้องใช้เงิน สรุปไม่ได้เป็นห่วงอะไร

ส่วนที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ระบุว่าผู้ว่าฯ คงมาหานายกฯ นั้น นายชัชชาติบอกว่า เรื่องนายกฯ คงไม่ใช่ตอนนี้ เพราะยังไม่รู้จะคุยอะไร ขอโฟกัสเรื่องงานท้องถิ่นก่อน เพราะได้รับเลือกตั้งให้เข้ามาทำงานท้องถิ่น หากจะพูดคุยก็คงไปเรียน พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ก่อนตามลำดับชั้น แต่คงมีกระบวนการติดต่อกัน

"ผมดูแลระดับท้องถิ่น ดูแล กทม. มวยคนละชั้น ท่านอยู่ระดับรัฐบาล ผมระดับท้องถิ่น" นายชัชชาติกล่าว หลังถูกถามถึงกรณีมีคนเปรียบเทียบทางการเมืองระหว่างนายกฯ กับผู้ว่าฯ กทม.

เปิดตัว "ทีมชัชชาติ" ในศาลาว่าการ กทม. ชุดแรก 18 คน

เขายังเปิดตัวทีมงานชุดแรก 18 คน แบ่งเป็น รองผู้ว่าฯ กทม. 4 คน, ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. 9 คน, เลขานุการผู้ว่าฯ กทม. 1 คน และผู้ช่วยเลขานุการ 4 คน นอกจากนี้ยังมีทีมเทคนิคอีก 30-40 คนที่ร่วมเป็นที่ปรึกษามา 2 ปีกว่า ซึ่งเขาบอกว่ารอสรุปรายชื่อและจะเปิดเผยต่อไป

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

ผู้ว่าฯ คนใหม่ขอบคุณทีมงานชุดแรก 18 คนที่เขานำมาเปิดตัวต่อสื่อมวลชนที่ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า)

  • รองผู้ว่าฯ กทม. ประกอบด้วย 1. รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล 2. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม 3. ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวช และ 4. นายศานนท์ หวังสร้างบุญ
  • คณะที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. ประกอบด้วย 1. นายต่อศักดิ์ โชติมงคล ประธานที่ปรึกษา 2. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ 3. พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก 4. พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ 5. พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี 6. ดร.วิลาวัลย์ ธรรมชาติ 7. นายอรรถเศรษฐ์ เพชรมีศรี 8. นายภาณุมาศ สุขอัมพร และ 9. นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์
  • เลขานุการผู้ว่าฯ กทม. คือ นายภิมุข สิมะโรจน์
  • ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าฯ กทม. ประกอบด้วย 1. นายเอกวรัญญู อัมระปาล 2. น.ส.ศนิ จิวจินดา 3. นายจิรัฏฐ์ ม้าไว และ 4. สิทธิชัย อรัณยกานนท์
  • โฆษกของ กทม. คือ นายเอกวรัญญู อัมระปาล (ปรากฏชื่อในเอกสารคำสั่งแต่งตั้ง แต่นายชัชชาติไม่ได้นำมาโชว์ตัวตอนแถลงข่าว)

เลขาธิการ กกต. แจงทำตามกฎหมาย ไม่ใช่ "ทำตามความต้องการของผู้ใด"

ก่อนหน้านี้ นายชัชชาติได้เดินทางเข้ารับมอบประกาศ กกต. เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และผู้ว่าฯ กทม. จากนายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. โดยมี ส.ก. ที่ผ่านการประกาศรับรองจาก กกต. แล้ว 45 คนร่วมด้วย

นายแสวงกล่าวต้อนรับผู้บริหาร กทม. ชุดใหม่ และอวยพรให้ทำหน้าที่ได้สำเร็จตามที่ประชาชนคาดหวัง พร้อมถือโอกาสชี้แจงบทบาทของสำนักงาน กกต. โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า กกต. ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทำหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อทำตามความต้องการของผู้ใด สิ่งที่เราทำทุกอย่าง เป็นเรื่องต้องถูกต้องตามกฎหมาย เราทราบความรู้สึกหรือกระแสของสังคม

"ทุกการเลือกตั้ง ความรู้สึกหรือกระแส ไม่ได้ทำให้เราต้องละเลยความถูกต้องตามกฎหมาย ความถูกต้อง ถูกต้องวันนี้ ถูกต้องเมื่อวานนี้ อนาคตก็ถูกต้อง ไม่ว่าผู้แพ้ผู้ชนะก็ต้องการความถูกต้อง เราทำงานโดยไม่ได้หวั่นไหว และไม่ได้น้อยใจ" เลขาธิการ กกต. กล่าว

นายชัชชาติชนะการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นของ กทม. เมื่อ 22 พ.ค. ด้วยคะแนนสูงสุดในประวัติศาสตร์รวม 1,386,215 คะแนน หรือคิดเป็น 51.85% ของผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และเป็นการชนะแบบม้วนเดียวจบครบทั้ง 50 เขตของ กทม.

วานนี้ (31 พ.ค.) กกต. เพิ่งประกาศรับรองผู้สมัครอิสระ หมายเลข 8 ให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ภายหลัง "ตรวจสอบเบื้องต้น" แล้วมีเหตุอันควรเชื่อว่าผลเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

กกต. ต้องเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์และกระแสกดดันจากประชาชนบางส่วนในสังคม หลังเลื่อนการประกาศผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จากวันที่ 30 พ.ค. ออกไปหนึ่งวัน โดยสื่อมวลชนหลายสำนัก อาทิ ไทยรัฐ มติชน กรุงเทพธุรกิจ รายงานตรงกันว่ามีประชาชนระดมโทรศัพท์ไปยังสายด่วน 1444 ของ กกต. จน "สายไหม้" เพื่อสอบถามว่าเมื่อไรจะรับรองนายชัชชาติเป็นผู้ว่าฯ กทม. หลังนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นคำร้องต่อ กกต. ให้ตรวจสอบนายชัชชาติใน 3 ประเด็นคือ สัญญาว่าจะให้ จากกรณีชวนประชาชนให้นำป้ายหาเสียงของไปรีไซเคิลเป็นกระเป๋า-ผ้ากันเปื้อน, หาเสียงด้อยค่าระบบราชการ และไม่เก็บป้ายหาเสียงภายใน 3 วัน

อย่างไรก็ตามนายชัชชาติได้กล่าวขอบคุณทุกคนที่ตรวจสอบ ทั้งนายศรีสุวรรณ และ กกต. เพราะ "ทำให้เรายิ่งสง่างามด้วยซ้ำ มีการตรวจสอบเต็มที่ ไม่มีซูเอี๋ย" และ "ยิ่งตรวจสอบ เราก็ยิ่งมีความชอบธรรมมากขึ้น ก็เป็นความสวยงาม ดีกว่าไม่มีการตรวจสอบ"

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

ผลการนับคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อ 22 พ.ค. ชี้ว่า นายชัชชาติกลายเป็นผู้ว่าฯ คนที่สามที่ทำคะแนนได้ "ทะลุล้าน" อีกทั้งยังมีคะแนนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วย

กกต. มีเวลา 30 วันในการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 มาตรา 17 ซึ่งกรณีของนายชัชชาติใช้เวลาไป 9 วัน

ตารางงานวันแรกของการเป็นผู้ว่าฯ อย่างเป็นทางการ

ตลอดทั้งวัน นายชัชชาติมีภารกิจแน่นขนัด

  • เช้าตรู่ ไปวิ่งออกกำลังกาย และได้รับคำอวยพรจากมารดาก่อนออกจากบ้านว่า "ไปดี ๆ ขอให้ทำสำเร็จ"
  • 11.00 น. ไปสำนักงาน กกต. ถ.แจ้งวัฒนะ เพื่อรับมอบหนังสือรับรองการเป็นผู้ว่าฯ
  • 13.19 น. ไปศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) โดยได้สักการะพระพุทธนวราชบพิตร และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาลาว่าการ กทม., ร่วมพิธีมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าฯ กทม. และเปิดตัวทีมงานและเปิดแถลงข่าวกับสื่อมวลชน
  • 14.45 น. ไปศาลาว่าการ กทม. (ดินแดง) โดยได้สักการะพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

ผู้ว่าฯ กทม. รดน้ำปลูกโพธิ์ ต้นไม้ต้นแรกที่เขาปลูกเพื่อคิกออฟนโยบาย "ต้นไม้ล้านต้น" วันที่ 1 มิ.ย.

  • 15.45 น. ไปสวนเบญจกิติ เขตคลองเตย เพื่อร่วมปลูกต้นไม้ 99 ต้น โดยถือเป็นการคิกออฟนโยบายปลูกต้นไม้ล้านต้นสร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วเมือง ทั้งนี้เขาได้ปลูกต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ต้นแรก
  • 18.00 น. ไปสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อร่วมงานเปิดเทศกาลไพรด์ (Pride Month) ซึ่งกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ร่วมกันแสดงออกถึงสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศตลอดเดือน มิ.ย.

ประวัติฉบับย่อของ 4 รองผู้ว่าฯ

ประสบการณ์การทำงาน: เป็น "ลูกหม้อ" ของคณะ "วิศวะจุฬาฯ" เพราะทั้งเรียน-ทั้งสอนที่นี่ อีกทั้งยังพ่วงประสบการณ์ฝ่ายบริหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไต่ระดับจากการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา ขึ้นเป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์, ผู้ช่วยอธิการบดีด้านบริหารระบบกายภาพ และด้านพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ประธานกรรมการสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาฯ, รองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สินและนวัตกรรม

นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งกรรมการ บริษัท ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจามจุรี จำกัด, กรรมการอิสระ บมจ.ท่าอากาศยานไทย, กรรมการอิสระ บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์, กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บมจ.หลักทรัพย์บีฟิท

ภารกิจใหม่: ดูแลด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบายน้ำ และการจราจร

ประสบการณ์การทำงาน: เป็น "ลูกหม้อ" ของ กทม. เริ่มรับราชการในตำแหน่งนักสถิติ 3 งานวิจัยทางผังเมือง ก่อนขยับชั้นเป็น หัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าฯ กทม., ผอ.เขตบางกอกใหญ่ จอมทอง จตุจักร และทวีวัฒนา, รอง ผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักเทศกิจ, รองหัวหน้าผู้ตรวจ กทม. ก่อนะเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองปลัด กทม.

ต่อมา พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 16 ที่มาจากการแต่งตั้งของหัวคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อปี 2559 ได้ทาบทามให้เขาเข้ารั้งเก้าอี้รองผู้ว่าฯ กำกับดูแล 6 หน่วยงาน ทว่านายจักกพันธุ์นั่งเก้าอี้ไม่ครบวาระ เพราะตัดสินใจยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเมื่อ 21 ก.ค. 2562 โดยคาดว่าเป็นผลจากแรงกดดันหลังไม่ยอมเซ็นอนุมัติโครงการเตาเผาขยะ 2 โรง ที่เขตหนองแขม และเขตอ่อนนุช มูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อกล่าวเรื่องเอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย แต่ในเวลานั้น พล.ต.อ. อัศวินระบุว่าการลาออกของรองผู้ว่าฯ เป็นเหตุผลส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับโครงการเตาเผาขยะ

ภารกิจใหม่: ดูแลด้านการเงิน

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

จักกพันธุ์, วิศณุ, ทวิดา, ศานนท์ (จากขวามาซ้าย) สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาลาว่าการ กทม. (ดินแดง)

ประสบการณ์การทำงาน: เป็น "สิงห์แดง" ขนานแท้ เพราะทั้งเรียน-ทั้งสอนที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นอาจารย์ประจำสาขาบริหารรัฐกิจ ขยับชั้นเป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการ และขึ้นเป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์ 2 สมัยซ้อน ทั้งนี้เธอมีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์และออกแบบนโยบายสาธารณะ และการบริหารสถานการณ์ภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน จนได้รับฉายาว่า "เลดี้ ดิแซสเตอร์" (Lady Disaster) โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ/อนุกรรมการ/ที่ปรึกษาด้านการจัดการความเสี่ยงและการจัดการภัยพิบัติทั้งองค์กรในไทยและต่างประเทศ อาทิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภ.ช.), กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการจัดการภัยพิบัติ มูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก สภากาชาดไทย, ที่ปรึกษาอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้านการจัดการสาธารณภัยและการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ กระทรวงมหาดไทย, ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติประเทศไทย

ภารกิจใหม่: ดูแลด้านภัยพิบัติและสาธารณสุข

ประสบการณ์การทำงาน: เคยเป็นวิศวกรประจำภายในโรงงานราว 5 ปี ก่อนผันตัวมาทำธุรกิจเพื่อสังคม โดยเป็นเจ้าของกิจการโฮสเทล Once Again Hostel และ Luk Hostel รวมถึงแพลตฟอร์มสั่งอาหาร Locall.bkk

นอกจากนี้ยังร่วมก่อตั้งเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานเรื่องการพัฒนาเมืองที่ที่ใช้ชื่อว่า "SATARANA" (สาธารณะ) และหนึ่งในทีม "เมย์เดย์" (Mayday) ผู้ออกแบบปรับปรุงป้ายหยุดรถเมล์รูปแบบใหม่

การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นอย่างไร

โครงสร้างการบริหารของกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ีสภากรุงเทพมหานครทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นฝ่ายบริหาร ซึ่งทั้งสองส่วนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีอำนาจหน้าที่แยกกันโดยเด็ดขาด และมีความสัมพันธ์กันในลักษณะของการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน คือ ต่างมีสิทธิที่จะเสนอ ...

กรุงเทพมหานครจัดเป็นรูปแบบการปกครองแบบใด

มาตรา ๖ ให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มี ระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้และมีอาณาเขตท้องที่ตามที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานครให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีใครบ้าง

รายชื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร.

กรุงเทพมหานครอยู่ในระบบบริหารราชการส่วนใด

กรุงเทพมหานคร (ย่อ: กทม.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528.