เบอร์โทรศัพท์เทศบาลบางบัวทอง

สถานีตำรวจภูธร เมืองนนทบุรี
สถานีตำรวจภูธรบางบัวทอง
สถานีตำรวจภูธรไทรน้อย
สถานีตำรวจภูธรบางกรวย
สถานีตำรวจภูธรปากเกร็ด
สถานีตำรวจภูธรบางใหญ่
สถานีดับเพลิงเทศบาลนครนนทบุรี
สถานีดับเพลิงเทศบาลบางบัวทอง
สถานีดับเพลิงเทศบาลไทรน้อย
สถานีดับเพลิงเทศบาลนครปากเกร็ด
สถานีดับเพลิงเทศบาลเมืองบางกรวย
สถานีดับเพลิงเทศบาลตำบลบางใหญ่
ที่ว่าการอำเภอเมืองนนทบุรี
ที่ว่าการอำเภอไทรน้อย
ที่ว่าการอำเภอบางกรวย
ที่ว่าการอำเภอปากเกร็ด
ที่ว่าการอำเภอบางใหญ่
ที่ว่าการอำเภอบางบัวทอง
สำนักงานไปรษณีย์อำเภอเมืองนนทบุรี
สำนักงานไปรษณีย์อำเภอไทรน้อย
สำนักงานไปรษณีย์อำเภอบางกรวย
สำนักงานไปรษณีย์อำเภอปากเกร็ด 

สำนักงานไปรษณีย์อำเภอบางบัวทอง
สำนักงานไปรษณีย์อำเภอบางใหญ่

สถานพยาบาล

โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
โรงพยาบาลบางกรวย
โรงพยาบาลบางใหญ่
โรงพยาบาลบางบัวทอง
โรงพยาบาลไทรน้อย
โรงพยาบาลปากเกร็ด

0-2527-0236-7
0-2571-0559
0-2923-8778
0-2459-4551-2
0-2582-0175
0-2595-0598
0-2589-0489
0-2571-7679
0-2597-1409
0-2583-7788
0-2447-0101
0-2595-0252-4
0-2950-1175
0-2597-1170
0-2447-5123
0-2583-8326
0-2595-0244-5
0-2571-7901-2
0-580-0507
0-2597-1152
0-2447-5722
0-2584-3116
0-571-7665
0-2920-0388

0-2528-4567
0-2447-5582-3
0-2903-8364-7
0-2571-7899-900
0-2597-1131-2
0-2960-9900

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทศบาลเมืองบางบัวทอง

เทศบาลเมือง

เบอร์โทรศัพท์เทศบาลบางบัวทอง

ถนนบางกรวย-ไทรน้อยในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง

เบอร์โทรศัพท์เทศบาลบางบัวทอง

เบอร์โทรศัพท์เทศบาลบางบัวทอง

เบอร์โทรศัพท์เทศบาลบางบัวทอง

ทม.บางบัวทอง

ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองบางบัวทอง

พิกัด: 13°54′36.1″N 100°25′33.8″E / 13.910028°N 100.426056°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°54′36.1″N 100°25′33.8″E / 13.910028°N 100.426056°E
ประเทศ
เบอร์โทรศัพท์เทศบาลบางบัวทอง
 
ไทย
จังหวัดนนทบุรี
อำเภอบางบัวทอง
จัดตั้ง14 มีนาคม 2480
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีกาญจนา เจริญนนทสิทธิ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด13.5 ตร.กม. (5.2 ตร.ไมล์)
ประชากร

 (2563)[1]

 • ทั้งหมด51,441 คน
 • ความหนาแน่น3,810.44 คน/ตร.กม. (9,869.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04120401
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 4 หมู่ที่ 2 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
เว็บไซต์www.buathongcity.go.th
เบอร์โทรศัพท์เทศบาลบางบัวทอง
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองบางบัวทอง เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาลเมือง ในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2480

ประวัติ[แก้]

เทศบาลเมืองบางบัวทองจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2480 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2480[2] กำหนดท้องที่บางส่วนของตำบลบางบัวทองและตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ให้มีฐานะเป็นเทศบาล มีอาณาเขต 1 ตารางกิโลเมตร โดยมีขุนพิทักษ์ปทุมมาศ ซึ่งเดิมเป็นกำนันตำบลบางบัวทอง เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก และนายเลี้ยง ทองไฮ้ กับ หม่อมหลวงแจ่ม อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นเทศมนตรีคณะแรก ต่อมาในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2538 มีการตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2538[3] โดยขยายเขตเทศบาลเมืองบางบัวทองจาก 1 ตารางกิโลเมตร เป็น 13.5 ตารางกิโลเมตร

นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายระดับชาติอันเกี่ยวแก่เทศบาลเมืองบางบัวทองอีกสองฉบับคือ พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 ในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2503[4] เนื่องจากมีการขยายตัวทั้งการก่อสร้างอาคารและการผังเมืองอย่างมากและอย่างรวดเร็วในท้องที่เทศบาลเมืองบางบัวทอง จึงกำหนดให้บังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479[5] ในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง เพื่อประโยชน์ในความมั่นคงแข็งแรง การอนามัย การสุขาภิบาล การป้องกันอัคคีภัย และการผังเมือง ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยต่อไป และพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารบางส่วนของเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2526[6] เนื่องจากเทศบาลเมืองบางบัวทองยื่นคำขอให้กระทรวงสาธารณสุขรับโอนสถานีอนามัยชั้น 1 ไปดำเนินการต่อ เนื่องจากเทศบาลเมืองบางบัวทองไม่สามารถดำเนินการให้บริการ รักษาพยาบาลแก่ประชาชน ให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้อีก

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลเมืองบางบัวทองมีระยะทางห่างจากตัวจังหวัดนนทบุรีประมาณ 15 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย ประมาณ 22 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง มีคลองสามวังฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองพิมลราชและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด (อำเภอปากเกร็ด) มีเส้นขนานระยะ 100 เมตรจากคลองลำโพฝั่งตะวันออก คลองส่งน้ำชลประทานฝั่งใต้ และคลองบางบัวทองฝั่งตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา เขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักใหญ่ และเขตเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา (อีกครั้งหนึ่ง) มีคลองบางรักใหญ่ฝั่งตะวันออก คลองบางพลูฝั่งตะวันออก เส้นขนานระยะ 300 เมตรจากกึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ และคลองบางไผ่ฝั่งตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา เขตเทศบาลเมืองพิมลราช (อีกครั้งหนึ่ง) และเขตเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง มีเส้นขนานระยะ 500 เมตรจากกึ่งกลางถนนกาญจนาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต

เทศบาลเมืองบางบัวทองครอบคลุมพื้นที่ตำบลโสนลอยทั้งตำบล ตำบลบางบัวทอง (เฉพาะหมู่ที่ 2 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3) ตำบลบางรักใหญ่ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 6, 7) ตำบลพิมลราช (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–3) และตำบลบางรักพัฒนา (เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 5, 6)

ประชากร[แก้]

เขตเทศบาลเมืองบางบัวทองมีประชากรในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 51,441 คน[1] อาชีพหลักของประชากรในถิ่นนี้คือ ทำสวน รับราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน ธุรกิจส่วนตัว รับจ้างทั่วไป และทำงานเอกชน ในท้องที่เทศบาลเมืองบางบัวทอง และบางส่วนเดินทางไปทำงานในกรุงเทพมหานคร

การขนส่ง[แก้]

ถนน[แก้]

  • ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ถนนตัดผ่านเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง
  • ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนเข้าสู่เขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง
  • ถนนกาญจนาภิเษก ถนนเข้าสู่เขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง
  • ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ถนนเชื่อมต่อระหว่างอำเภอไทรน้อยกับเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง
  • ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ถนนเชื่อมต่อระหว่างเขตเทศบาลเมืองพิมลราชกับเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง
  • ถนนบางไผ่-หนองเพรางาย (ถนนเต็มรักพัฒนา) ถนนเชื่อมต่อระหว่างท้องถิ่นอื่น ๆ กับเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง
  • ถนนจันทร์ทองเอี่ยม ถนนเชื่อมต่อระหว่างเขตเทศบาลเมืองบางรักพัฒนากับเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง

รถโดยสารประจำทางและรถไฟฟ้า[แก้]

  • 127 บางบัวทอง-สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า-ถนนข้าวสาร
  • 2-29 สถานีคลองบางไผ่-สะพานภูมิพล 2 2-28 ตลาดสดเทศบาลเมืองบางบัวทอง-แขวงรองเมือง
  • 134 เคหะบางบัวทอง-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (ไม่เข้าเมืองบางบัวทอง)
  • 364 บางบัวทอง-ลาดบัวหลวง
  • 370 บางบัวทอง-ปทุมธานี
  • 337 นนทบุรี-ปทุมธานี
  • 516 เคหะบางบัวทอง-เทเวศร์ (ไม่เข้าเมืองบางบัวทอง)
  • 2-36 ไทรน้อย-เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
  • 680 รังสิต-บางใหญ่
  • 1024 บางบัวทอง-นครอินทร์ (ข้ามสะพานพระนั่งเกล้า)
  • 1024ข บางบัวทอง-นนทบุรี (ข้ามสะพานพระราม 5)
  • 1003 บางบัวทอง-ท่าน้ำนนทบุรี-บางกรวย , บางบัวทอง-ไทรน้อย
  • มินิบัส(รถตู้)ปรับอากาศ บางบัวทอง-พระปิ่นเกล้า
  • มินิบัส(รถตู้)ปรับอากาศ บางบัวทอง-พงษ์เพชร (งามวงศ์วาน)
  • 110 (2-35) โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนนทบุรี-สะพานพระราม 7
  • 2-33 ตลาดบางบัวทอง-ถนนเยาวราช
  • 4-67 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา-ถนนพุทธมณฑล สาย 2-กระทรวงพาณิชย์
  • มินิบัส(รถตู้)ปรับอากาศ บางบัวทอง-ลาดพร้าว (จตุจักร)
  • รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง

สาธารณูปโภค[แก้]

  • ไฟฟ้า อยู่ในเขตการไฟฟ้านครหลวง เขตบางบัวทอง
  • ประปา อยู่ในเขตการประปานครหลวง สาขาบางบัวทอง
  • โทรศัพท์ อยู่ในเขตบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เขตบางบัวทอง
  • การแพทย์ มีโรงพยาบาลหลายแห่งทั้งของรัฐบาล เช่น โรงพยาบาลบางบัวทอง และโรงพยาบาลของเอกชน
  • ไปรษณีย์ ดำเนินการโดยที่ทำการไปรษณีย์บางบัวทอง

สถานที่สำคัญ[แก้]

เบอร์โทรศัพท์เทศบาลบางบัวทอง

  • วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ (วัดโพธิ์ทองหรือวัดเล่งเน่ยยี่ 2)
  • หอนาฬิกาเทศบาลเมืองบางบัวทอง ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าตลาดเทศบาลเมืองบางบัวทอง เชิงสะพานข้ามคลองพระพิมลราชา
  • สวนสาธารณะเทศบาลเมืองบางบัวทอง
  • วัดละหาร วัดประจำเทศบาลเมืองบางบัวทอง
  • วัดบางไผ่ พระอารามหลวง
  • วัดพระแม่สกลสงเคราะห์ โบสถ์ศาสนาคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก
  • มัสยิดนะฮ์ฏอตุลอิสลาห์ สุเหร่าศาสนาอิสลาม
  • ตลาดสดเทศบาลเมืองบางบัวทอง ตั้งอยู่ริมคลองพระพิมลราชา
  • โรงพยาบาลบางบัวทอง กระทรวงสาธารณสุข
  • ตลาดน้ำพิมลราช ตั้งอยู่ใกล้กับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองบางบัวทอง". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 54 ตอน 0 ก, 14 มีนาคม พ.ศ. 2480, หน้า 1859–1862. ลงวันที่ 11 มีนาคม ใช้บังคับวันที่ 14 มีนาคม
  3. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 112 ตอน 22 ก, 26 มิถุนายน พ.ศ. 2538, หน้า 1–4. ลงวันที่ 7 มิถุนายน ใช้บังคับวันที่ 27 มิถุนายน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 77 ตอน 77 ก, 20 กันยายน พ.ศ. 2503, หน้า 743–745. ลงวันที่ 6 กันยายน ใช้บังคับวันที่ 21 กันยายน
  5. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 53 ตอน 0 ก, 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479, หน้า 765–774.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 100 ตอน 55 ก ฉบับพิเศษ, 7 เมษายน พ.ศ. 2526, หน้า 43–45. ลงวันที่ 3 เมษายน ใช้บังคับวันที่ 8 เมษายน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์เทศบาลเมืองบางบัวทอง