การนวดหัวใจของผู้ป่วยควรกระทำด้วยอัตราเร็วเท่าใด

Volume: 

ฉบับที่ 44 เดือนเมษายน 2565

Writer Name: 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวิจิตรา เลี้ยงสว่างวงศ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

การนวดหัวใจของผู้ป่วยควรกระทำด้วยอัตราเร็วเท่าใด
    

    เนื่องจากอุบัติการณ์ของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นในที่เกิดเหตุในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพในที่เกิดเหตุด้วยความรวดเร็วและมีคุณภาพ จึงมีความสำคัญต่ออัตราการรอดชีวิต 
    ก่อนอื่นเลย ภาวะหัวใจหยุดเต้น หมายถึง ภาวะที่การไหลเวียนเลือดหยุดลง ทำให้การทำงานของอวัยวะผิดปกติ ในการทำงานของสมองหากไม่ได้รับการช่วยเหลือ สมองอาจขาดเลือดและเสียชีวิตได้ การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (basic life support) จะเป็นการช่วยฟื้นชีวิตเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญได้เร็วที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย การตระหนักถึงภาวะฉุกเฉินและแจ้งทีมช่วยชีวิตให้มาถึงอย่างรวดเร็วที่สุด เริ่มการกดหน้าอกในทันทีและมีคุณภาพ การเปิดทางเดินลมหายใจและช่วยหายใจ การใช้เครื่องช็อกหัวใจไฟฟ้าให้เร็วที่สุด 

การนวดหัวใจของผู้ป่วยควรกระทำด้วยอัตราเร็วเท่าใด

ขั้นตอนการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
    1) ประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยก่อน เพราะการเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วย ต้องตรวจสอบหรือประเมินสถานการณ์ก่อน เช่น ผู้เข้าไปช่วยเหลืออาจโดนลูกกระสุน หรือแก๊สน้ำตาหรือไม่ เป็นต้น

    2)  ประเมินความรู้สึกตัวผู้ป่วย โดยการ
• กระตุ้นผู้ป่วย ใช้มือตบหัวไหล่ 2 ข้าง พร้อมตะโกนเรียกชื่อ
• ประเมินการหายใจ โดยใช้หลักการตาดู-หูฟัง-แก้มสัมผัส สังเกตว่ามีทรวงอกขยับหรือไม่ ฟังเสียงหายใจของผู้ป่วย และใช้แก้มของผู้เข้าไปช่วยเหลือสัมผัสว่าผู้ป่วยมีไออุ่นจากลมหายใจหรือไม่ 
• คลำชีพจร โดยในแต่ละช่วงอายุจะมีตำแหน่งของชีพจรที่คลำได้ชัดเจนต่างกัน เช่น ในเด็กอายุมากกว่า 1 ปี จนถึงวัยผู้ใหญ่ ให้คลำชีพจรที่ตำแหน่งคอ ในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ให้คลำชีพจรที่ตำแหน่งขาหนีบหรือข้อพับแขน โดยคลำนาน 5-10 วินาที วิธีนี้อาจเกิดความผิดพลาดได้บ่อยหากไม่เชี่ยวชาญ 

3) โทร. 1669 เพื่อให้หน่วยกู้ชีพในพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่สุดออกปฏิบัติการ

การนวดหัวใจของผู้ป่วยควรกระทำด้วยอัตราเร็วเท่าใด

    4) ใช้เครื่อง AED (Automated External Defibrillator) หรือเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ  ที่สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้โดยอัตโนมัติ และ สามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจโดยใช้กระแสไฟฟ้า หยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้องเนื่องจากอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถหาได้ในที่สาธารณะ เช่น ตามสถานีรถไฟ ห้างสรรพสินค้า ถือเป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้ปฐมพยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่ช่วยเหลือไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการใช้งาน AED มาก่อน เพราะคนทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ง่าย 

5) กดหน้าอก 30 ครั้ง  การกดหน้าอกอย่างมีคุณภาพมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการรอดชีวิต ผู้ช่วยเหลือจึงต้องเรียนรู้การกดหน้าอกดังนี้ กด เร็ว-แรง-ลึก ซึ่งหลักการพื้นฐานคือ ก่อนกดหน้าอกให้จัดท่าผู้ป่วยในท่านอนราบอยู่บนพื้นแข็งเพื่อที่ให้แรงกดมีความแรงเพียงพอที่จะทำให้เลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ขณะกดหน้าอกผู้ที่กดควรยืดแขนตรงและตั้งฉากกับลำตัวผู้ป่วย และไม่ยกมือออกจากอกของผู้ป่วย และยังต้องรู้หลักการการกดหน้าอกในแต่ละช่วงอายุดังนี้

การนวดหัวใจของผู้ป่วยควรกระทำด้วยอัตราเร็วเท่าใด

    6) เปิดทางเดินหายใจ เพื่อแก้ไขภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกลั้น เช่น มีน้ำลาย เสมหะ เลือด เศษอาหารอุดกั้น หรือลิ้นตกไปทางด้านหลัง สามารถใช้ได้กับผู้หมดสติทั่วไปที่ไม่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะและคอ โดยการเอาฝ่ามือข้างหนึ่งดันหน้าผาก เอานิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งดึงคางขึ้น ใช้นิ้วมือดึงเฉพาะกระดูกขากรรไกรล่าง โดยไม่กดเนื้ออ่อนใต้คาง ให้หน้าผู้ป่วยเงยขึ้นจนฟันล่างถูกดึงขึ้นมาจนเกือบชนกับฟันบน อีกวิธีคือ วิธียกขากรรไกรล่าง (jaw trust) เป็นการเปิดทางเดินหายใจโดยการยกส่วนของมุมกรามล่างร่วมกับเคลื่อน mandible มาด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อให้ฟันล่างแยกออกมาด้านหน้าฟันบนเล็กน้อยโดยผู้ช่วยเหลืออยู่บนศีรษะผู้ป่วย ใช้ได้กับผู้ป่วยทุกประเภท โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สงสัยการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังส่วนต้นคอ
    7) การเป่าลมเข้าปอด เช่น วิธีเป่าปาก โดยให้ผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าลึก ๆ แล้วเป่าลมเข้าปากพร้อมกับเปิดทางเดินหายใจผู้ป่วยโดยไม่ลืมที่จะบีบจมูก 
    8) กดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง แบ่งการกดตามอายุดังนี้
        • ในผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กเล็กอายุมากกว่า 1 ปี ถึงวัยรุ่น เมื่อมีผู้ช่วยเหลือแค่คนเดียว ให้ทำการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจพร้อมเปิดทางเดินหายใจ 2 ครั้ง หากมีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ให้ทำการกดหน้าอก 15 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจพร้อมเปิดทางเดินหายใจ 2 ครั้ง 
        • ในผู้ป่วยวัยรุ่น ถึงวัยผู้ใหญ่ ให้ทำการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจพร้อมเปิดทางเดินหายใจ 2 ครั้งเสมอ 
    ทั้งสองกลุ่มอายุ ให้ทำการกดหน้าอกสลักกับการเป่าลมเข้าปอดไปเรื่อย ๆ จนครบ 2 นาที แล้วจึงให้พิจารณาดูการหายใจและคลำชีพจรภายในเวลาไม่เกิน 10 วินาทีเพื่อลดการขัดจังหวะการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด ว่าผู้ป่วยฟื้นคืนชีวิตหรือไม่ ทำจนกว่าทีมแพทย์จะไปถึง 
    หากผู้ช่วยเหลือเป็นบุคคลทั่วไปที่ยังไม่เคยได้รับการอบรมหรือผ่านหลักสูตรการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานมาก่อน เมื่อพบเจอผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจึงแนะนำให้ทำการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียวจนกว่าทีมแพทย์จะไปถึง เนื่องจากการช่วยหายใจแบบไม่ถูกต้องนอกจากจะขัดจังหวะการกดหน้าอกแล้ว ยังไม่มีลมเข้าปอดผู้ป่วยด้วย แต่หากได้รับการอบรมหรือผ่านหลักสูตรการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานมาแล้ว ให้ทำการกดหน้าอกแบบมีมาตรฐานกล่าวคือมีการช่วยหายใจร่วมด้วย (Standard CPR)
    การนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพขั้นพื้นฐานในช่วง COVID-19 ระบาด สิ่งสำคัญคือความพร้อมและยินยอมของผู้ช่วยเหลือ ซึ่งต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง (Full PPE) สวมใส่หน้ากาก N95 P100 หรือ PAPR เนื่องจากการกดหน้าอก การช่วยหายใจจะมีการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศสูง และจะสามารถลดการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยได้ โดยก่อนที่จะเริ่มการกดหน้าอกผู้ป่วย ควรให้ผู้ช่วยเหลือสวมใส่หน้ากากอนามัยแก่ผู้ป่วยตลอดการกดหน้าอกก็จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศได้
 

การนวดหัวใจ ควรใช้อัตราเร็วเท่าไร

- ต้องกดหน้าอกให้เร็วและแรง แต่อย่ากระแทก ด้วยอัตราความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที - กดลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร สำหรับผู้ใหญ่ - หลังการกดแต่ละครั้งต้องปล่อยให้อกคืนตัวจนสุด เพื่อให้หัวใจรับเลือดสำหรับสูบฉีดครั้งต่อไป หากไม่ปล่อยให้หน้าอกคืนตัวจนสุด จะทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง

การกดนวดหัวใจผู้ป่วยที่ถูกวิธีควรทำอย่างไร

เริ่มทำการกดหน้าอก โดยจับผู้ป่วยนอนหงาย นั่งคุกเข่าข้างผู้ป่วย วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก (ตำแหน่งตรงกลางระหว่างหน้าอก ระดับเดียวกับหัวนมพอดี) และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที สามารถปั๊มหัวใจตามจังหวะเพลง “สุขกันเถอะเรา” ...

อัตราส่วนในการนวดหัวใจต่อการช่วยหายใจคือข้อใด

การดูแลเบื้องต้น การช่วยหายใจหลังขึ้นจากน ้า (AHA Class I, LOE C) ให้ใช้วิธีดั้งเดิมคือ A-B-C. การช่วยหายใจในครั้งแรก แนะน าให้ช่วย 5 ครั้ง (ตาม European Resuscitation Council; ERC) ตามต่อด้วยการกดนวดหน้าอก 30 ครั้ง และเข้าวงรอบ 30:2.

การใช้ 2 นิ้วเชยชายคางเพื่ออะไร

การเปิดทางเดินหายใจด้วยวิธีแหงนหน้าเชยคาง ทำได้โดยวางมือข้างหนึ่งบนหน้าผากของทารก แล้วค่อย ๆ เงยศีรษะไปทางด้านหลัง ใช้นิ้วมือ 2 นิ้วยกคางให้เชิดขึ้น การทำแบบนี้จะช่วยทำให้ลิ้นไม่ไปกีดขวางทางเดินหายใจ การช่วยให้หายใจ