ทําใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้ตอนอายุเท่าไร

ก้มดูบัตรประชาชน จะทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ ต้องอายุเท่าไหร่

6 มกราคม 2565


ทําใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้ตอนอายุเท่าไร

พออายุเพิ่มเข้าวัยรุ่น เลือดก็จะสูบฉีด ความแรงการต้านลมของการปั่นจักรยานเริ่มเอาเราไม่อยู่แล้ว อยากอัพเกรดเป็นมอเตอร์ไซค์ แต่ไม่ใช่แค่ว่ามีตังซื้อรถมาได้แล้วขี่ได้เลย ถ้าไม่อยากโดนจับปรับหนักๆ  สิ่งแรกที่ควรมีในการเข้าสู่วงการ Biker นั้นก็คือ ใบขับขี่ ซึ่งใบขับขี่มอเตอร์ไซค์มีหลากหลายประเภท และหลากหลายรูปแบบการใช้งานแบ่งเป็นประเภทรถ แบ่งเป็นวัตถุประสงค์การใช้รถเป็นต้น ทีนี้อายุอย่างเราทำใบขับขี่ประเภทไหนได้บ้างลองก้มดูปีเกิดแล้วมาดูหลักเกณฑ์กัน

อายุที่สามารถไปทำใบขับขี่ได้

  • ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

แต่ถ้าเป็นผู้ขอใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราว สำหรับรถจักรยานยนต์ที่มีกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 110 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์

  • ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์

สำหรับเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตขับขี่บิ๊กไบค์ จะแบ่งผู้ขับขี่ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 ผู้ที่มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ปกติอยู่ก่อนแล้ว และมีการครอบครองรถบิ๊กไบค์ ไม่น้อยกว่า 2 ปี สามารถมายื่นขอใบขับขี่ได้อัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องทดสอบการขับขี่ หรืออบรมภาคปฏิบัติ เนื่องจากมีประสบการณ์แล้ว โดยเจ้าของใบขับขี่จะต้องมีชื่อ และนามสกุลตรงกับชื่อผู้ครอบครองของรถบิ๊กไบค์

กลุ่มที่ 2 ผู้ที่มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ปกติอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีอายุไม่น้อยกว่า 2 ปี จะต้องเข้ารับการทดสอบขับขี่ และอบรมหลักสูตรการขับขี่บิ๊กไบค์ก่อน

กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ไม่เคยมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ประเภทใดมาก่อนเลย จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 24 ปีเต็ม จึงจะยื่นขอรับใบขับขี่บิ๊กไบค์ได้ และจะต้องเข้ารับการทดสอบขับขี่ และอบรมหลักสูตรการขับขี่บิ๊กไบค์ ก่อน สำหรับใบขับขี่บิ๊กไบค์นั้น เบื้องต้นจะแต่งต่างจากใบขับขี่รถจักรยายนต์ทั่วไป โดยจะมีรูปรถบิ๊กไบค์แสดงในใบขับขี่บริเวณด้านหลังบัตรด้วย

คุณสมบัติอื่น ๆ ของผู้ที่จะทำใบขับขี่ต้องมี

  • มีความรู้ความสามารถในการขับรถ
  • มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
  • ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
  • ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
  • ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
  • ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่

เอกสารประกอบการขอใบขับขี่ เมื่อเช็คคุณสมบัติครบถ้วนแล้วก็มาเตรียมเอกสารประกอบที่จะใช้ในการขอใบขับขี่กันครับ ซึ่งมีหลัก ๆ 2 อย่างดังนี้

1. บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง (Passport) ฉบับจริง และใบอนุญาตการทำงาน (Work Permit) สำหรับชาวต่างชาติ พร้อมด้วยสำเนาเอกสารดังกล่าว

2. ใบรับรองแพทย์ ที่แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งมีอายุใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนด ไม่เกิน 1 เดือน

3. ใบรับรองการอบรม (สำหรับกรณีผู้ทำการอบรมนอกกรมขนส่งทางบก)

ขั้นตอนการดำเนินการขอใบขับขี่

  • จองคิวในการอบรม สำหรับขั้นตอนในการดำเนินการนั้น ก่อนอื่นต้องจองคิวในการอบรม ซึ่งการอบรมจะใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง สามารถจองได้ผ่าน 3 ช่องทางดังนี้
  • จองคิวอบรมได้ที่กรมขนส่งทางบก ในพื้นที่ใกล้บ้าน ซึ่งเปิดให้ประชาชนสามารถจองคิวล่วงหน้าได้ด้วยตัวเองพร้อมหลักฐานประกอบคำขอตามที่แจ้งไว้เบื้องต้น
  • จองคิวอบรมผ่านทางโทรศัพท์ ที่หมายเลข 02-271-8888 หรือ 1584 โดยผู้ที่จองคิวอบรมผ่านทางโทรศัพท์ ต้องมาลงทะเบียนในวันที่อบรมก่อนเวลา 08.00 น.
  • จองคิวอบรมผ่านระบบออนไลน์ ได้ที่ ebooking.dlt.go.th/ebookin

สมรรถภาพสำคัญในการสอบใบขับขี่

  • ทดสอบสายตาทางกว้าง เพื่อทดสอบความสามารถในการมองเห็นของสายตาทั้งด้านซ้าย และด้านขวา ซึ่งเป็นมุมกว้างข้างละตั้งแต่ 75 องศา
  • ทดสอบการตอบสนองของเท้า เพื่อทดสอบความสามารถในการใช้เบรคเท้าเพื่อหยุดรถมอเตอร์ไซค์ให้เร็วที่สุด
  • ทดสอบสายตาทางลึก เพื่อการทดสอบการมองเห็นในระยะ 2.50 - 3.50 เมตร
  • ทดสอบตาบอดสี เป็นการทดสอบการมองเห็นสี จำเป็นต่อการขับรถเช่นการดูไฟและป้ายจราจรต่าง ๆ

สอบข้อเขียน 

ในการสอบข้อเขียนนั้น จะสอบเกี่ยวกับป้ายจราจรและกฎจราจร ซึ่งมีจำนวน 50 ข้อ เป็นข้อสอบแบบปรนัย มีให้เลือก ก-ง จะตัดสินว่าผ่านเกณฑ์การสอบที่ 45 คะแนน หรือคิดเป็น 90% ของข้อสอบทั้งหมด แต่หากสอบไม่ผ่านเกณฑ์ สามารถกลับมาสอบใหม่ ในกำหนดเวลาไว้ไม่เกิน 90 วัน

สอบภาคปฏิบัติ

ผู้ขับขี่จะต้องทำการสอบขับขี่รถจักรยานยนต์ สามารถใช้รถตัวเองหรือใช้บริการเช่ารถของกรมขนส่งก็ได้ ซึ่งค่าเช่าจะอยู่ที่คันละ 50 บาท โดยการสอบต้องขับขี่ตามท่าที่กำหนดไว้ทั้งหมด 5 ท่า ดังนี้

  • ท่าที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์โดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
  • ท่าที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ ทรงตัวบนทางแคบ ทรงตัวไว้โดยไม่ให้เท้าแตะพื้นประมาณ 10 วินาที
  • ท่าที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ผ่านโค้งแคบ รูปตัว Z
  • ท่าที่ 4 ขับรถจักรยานยนต์ผ่านโค้ง รูปตัว S
  • ท่าที่ 5 ขับรถจักรยานยนต์ซิกแซก ผ่านสิ่งกีดขวาง

ค่าใช้จ่ายในการออกใบขับขี่

  • ค่าใบรับรองแพทย์เริ่มต้นที่ 100 บาท
  • เมื่อผ่านการทดสอบทั้งข้อเขียนและภาคปฏิบัติแล้ว ให้มาชำระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดคือ 15.30 น. ซึ่งมีค่าใช้จ่ายดังนี้
  • ค่าคำขอ 5 บาท
  • ค่าใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลชั่วคราว 100 บาท

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมขนส่งทางบก

 https://www.thaihonda.co.th

สามารถติดตาม ข่าวสาร เทรนด์ และบทความอื่นๆ ได้ที่ เว็บไซต์ MOTOFIIX Thailand

การทําใบขับขี่รถจักรยานยนต์ อายุเท่าไร

1. ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ 2. ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

อายุ 15 ทํา ใบขับขี่ รถมอเตอร์ไซค์ ได้ไหม

เกณฑ์อายุในการทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ อายุระหว่าง 15 - 18 ปี สามารถทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลได้ แต่ต้องมีขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 110 ซี.ซี.

อายุเท่าไรถึงจะทําใบขับขี่ได้

ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล (อายุเท่าไหร่ทําใบขับขี่ได้ รถยนต์) เช่นเดียวกับของรถมอเตอร์ไซค์ โดยกฎหมายได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ (ยึดตามวัน เดือน ปี เกิดบัตรประชาชน) จะสามารถทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลได้ ซึ่งคุณก็สามารถจองคิวเพื่อทำใบขับขี่รถยนต์ได้เลย

อายุ 17 ทํา ใบขับขี่ มอ ไซ ได้ไหม

02 ธันวาคม 2560 เวลา 13:22:35 น. อายุ 15 แต่ไม่เกิน 18 ปี สามารถทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่มีขนาดตัวเครื่องไม่เกิน 110 cc. อายุ 18 ปี ขึ้นไป สามารถทำใบขับขี่ รถยนต์ หรือ รถที่มีขนาดเครื่องเกิน 110 cc ได้