ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี

เด็ก ซึ่งเป็นผู้เยาว์ หลายคนคงสงสัยว่าผู้เยาว์มีผลอย่างไรที่แตกต่างกับเด็กทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน  ตามกฎหมายแล้วเด็กที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ถือว่าเป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ยังต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย  หลายท่านอาจจะยังไม่เข้าใจว่า ผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายคืออะไร  ไม่น่าเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตประจำวัน  แต่แท้จริงแล้วหากเด็กที่โตหน่อยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ระดับวัยรุ่นแล้วจะมีการทำนิติกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีกฎหมายเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง  คงจะสงสัยอีกว่าลูกโตมาจนแต่งงานแล้วยังไม่เคยทำนิติกรรมใด ๆ เลย 

นิติกรรม คือ การกระทำที่มีผลทางกฎหมาย ทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างกัน เช่น การซื้ออาหาร ซื้อเสื้อผ้า  รองเท้า  ขนม ขึ้นรถแท๊กซี่ ต่าง ๆ  ล้วนแต่เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นมีโอกาสเกี่ยวข้องกับผู้เยาว์ทั้งสิ้น ซึ่งตามกฎหมายให้สิทธิผูเยาว์นั้นสามารถทำได้หากเป็นการกระทำสมแก่ฐานะของเด็กนั้น และเป็นการกระทำอันจำเป็นในการดำรงชีพ แต่หากการกระทำใดที่ไม่สมควรเกินแก่ฐานะของเด็กนั้นเองแล้วการกระทำนั้นจะเป็นโมฆียะ หมายความว่าจะสามารถถูกบอกเลิกสัญญาได้ เช่น  เด็กเป็นลูกคนรวยเป็นที่รู้จักในสังคมแต่ไม่มีเงินเป็นของตนเอง การซื้อของต้องเป็นของพ่อแม่ เมื่อคนขายรู้ว่าพ่อแม่เด็กมีความสามารถที่จะซื้อรถคันนั้นได้ จึงได้ขายรถหรูให้เด็กขับกลับบ้านเช่นนี้ สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆียะ พ่อแม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อบอกเลิกสัญญาก็ต้องนำของไปคืนผู้ขาย หากมีการสึกหรอก็ต้องชดใช้ความเสียหายในส่วนนั้นไป ค่ารถที่ต้องจ่ายก็เป็นหนี้ของเด็กไม่ใช่หนี้ของพ่อแม่ต้องรับภาระมาจ่ายเงินให้แทน

ในทางกลับกันเด็กผู้เยาว์อาจได้รับมรดกทรัพย์สิน หรือจากการให้ของบิดามารดาจนเป็นเศรษฐีได้  แล้วเด็กสามารถทำพินัยกรรมได้หรือไม่  ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น ทำพินัยกรรม การรับรองบุตรว่าเป็นบุตรของตนเอง เป็นต้น

กฎหมายยังกำหนดให้เด็กอายุมากกว่า 17 ปีสามารถบรรลุนิติภาวะ ทำนิติกรรมได้เองโดยการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองก่อน เด็กนั้นก็จะบรรลุนิติภาวะได้

ในกรณีที่เด็กได้ทรัพย์สินมาไม่ว่าจากมรดก หรือจากการให้ของพ่อแม่แล้วกลายเป็นทรัพย์สินของเด็กไปนั้น กรณีที่เด็กมีอสังหาริมทรัพย์ หรือพ่อแม่จะจำหน่าย บ้าน ที่ดิน ของผู้เยาว์นั้น จะกระทำการเองมิได้ต้องขออนุญาตจากศาล เพื่อศาลได้ให้ความเห็นชอบ เป็นการป้องกันทรัพย์สินของเด็กตามกฎหมาย

นอกจากการขายอสังหาริมทรัพย์แล้ว กฎหมายยังกำหนดอีกว่าการกระทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ พ่อแม่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตเสียก่อน

มาตรา 1574 นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มา ซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจาก ทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)
(7) ให้กู้ยืมเงิน
(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อ การกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่ รับการให้โดยเสน่หา
(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับ ชำระหนี้ หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3)
(12) ประนีประนอมยอมความ
(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

ดังนั้นกรณีพ่อแม่จะให้ทรัพย์สินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต้องขออนุญาตศาลตามข้างต้นแล้วควรวางแผนให้รอบขอบถึงอนาคตว่าจะมีการกระทำใด ๆ ที่จะต้องขออนุญาตศาลหรือไม่ หรือยังไม่โอนให้แก่เด็กจนกว่าเด็กจะบรรลุนิติภาวะเสียก่อนจะเป็นประโยชน์มากกว่า

username/password ไม่ถูกต้อง กรุณาทำการกรอกใหม่

session ของการเข้าสู่ระบบได้สิ้นสุดแล้ว กรุณา reload หน้าเว็บอีกครั้งและเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง

ท่านได้เข้าสู่ระบบอยู่แล้ว กรุณาออกจากระบบก่อนหากท่านต้องการเปลี่ยน user

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน , สมัครสมาชิก

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี

ฎีกาน่ารู้

  • แสดงบทความทั้งหมดในหมวดนี้

  • - คำพิพากษาฎีกา-แพ่ง

  • - คำพิพากษาฎีกา-อาญา

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี

กฎหมายน่ารูุ้

  • กฎหมายน่ารู้ (148)

  • ถาม-ตอบ ปรึกษาคดี (359)

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี
ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี
ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี
ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี
ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี
ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้อายุกี่ปี

คดียาเสพติด

  • แสดงบทความทั้งหมดในหมวดนี้

  • - สู้คดียาเสพติด ปรึกษาคดียาเสพติด 0971176877

กฎหมายน่ารูุ้ / สาระน่ารู้ / กฎหมายน่ารู้

การทำนิติกรรมของผู้เยาว์
ทนายกาญจน์
(Admin)เมื่อ » 2018-11-22 11:38:02 (IP : , ,1.47.101.209 ,, Admin)

กฎหมายแพ่งว่าด้วยบุคคล  การทำนิติกรรมของผู้เยาว์

 

ความสามารถในการทำนิติกรรม
ความสามารถในที่นี้เราหมายถึง ความสามารถในการทำนิติกรรมของบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดาสามารถมีสิทธิต่าง ๆ ซึ่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้มีได้ แต่การใช้สิทธิของบุคคลธรรมดาบางประเภทนั้นอาจจะใช้ได้ไม่เต็มตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การใช้สิทธิในการทำนิติกรรมต่างๆ หากเป็นบุคคลซึ่งด้อยสิทธิด้วยภาวะทางกฎหมายแห่งสภาพบุคคลของคนเหล่านั้นเขาก็ไม่อาจใช้สิทธิได้เต็มที่ เราเรียกคนเหล่านั้นว่าผู้หย่อนความสามารถ กล่าวคือความสามารถในการทำนิติกรรมนั้นหย่อนไปไม่เต็มที่นั่นเอง ซึ่งคนเราจะไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มที่เนื่องมาจาก
1. สภาพธรรมชาติ เช่น เด็กไร้เดียงสา
2. โดยกฎหมายจำกัดอำนาจ เช่น ผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ คน
เสมือนไร้ความสามารถ (เหล่านี้เรียกว่าผู้หย่อนความสามารถทั้งสิ้น)
เหตุที่กฎหมายต้องจำกัดอำนาจบุคคลเช่นนั้นเนื่องจากบุคคลผู้หย่อนความสามารถนั้นไม่อาจใช้สามัญสำนึกเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเองได้ตามมาตรฐานของบุคคลทั่วไป กฎหมายเกรงว่าบุคคลเหล่านั้นจะถูกผู้อื่นเอาเปรียบหรือทำการอย่างใดให้ตนเองเสียเปรียบบุคคลอื่นได้นั่นเอง
นิติกรรมคืออะไร
นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
คำว่า การใด อันที่จริงแล้วมีความหมายที่ลึกซึ้ง แต่ในเบื้องต้นนี้ขอให้นิสิตเข้าใจเพียงว่าการใดคือการกระทำใด ๆ นั่นเอง อย่างเช่น การเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อไปซื้อของ การหยิบเงินจ่ายค่าของที่เราซื้อชอบด้วยกฎหมาย หมายถึงการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นซื้อของกินของใช้ แต่ถ้าซื้อยาเสพติด ซึ่งผิดกฎหมายไม่ใช่นิติกรรม หนี้ซื้อขายยาเสพติดไม่ใช่หนี้ที่เกิดจากนิติกรรมบังคับไม่ได้ตามกฎหมาย
ใจสมัคร หมายถึงการกระทำด้วยความเต็มใจไม่ได้ถูกบังคับหรือกระทำโดยรู้ตัวไม่ว่าจะถูกหลอกให้เข้าใจผิดจึงกระทำก็ตามแต่ต้องไม่ใช่กระทำโดยไม่รู้เรื่องรู้ตัวหรือถูกบังคับให้กระทำ
ผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล หมายถึงการทำให้เกิดภาวะความสัมพันธ์ขึ้น เช่น ความเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ สามีภรรยา เป็นต้น
ก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ เมื่อมีการผูกนิติสัมพันธ์กันตามกฎหมายแล้วนิติสัมพันธ์นั้นเป็นไปเพื่อก่อสิทธิ เช่นเกิดสิทธิในการเรียกร้องให้ชำระหนี้ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ เช่นเปลี่ยนความเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ โอนสิทธิในทรัพย์สิน สงวนสิทธิเช่นการสงวนสิทธิในทรัพย์สินไม่ให้ผู้อื่นนำไปใช้ ระงับสิทธิ เช่นการชำระหนี้ทำให้สิทธิความเป็นเจ้าหนี้ระงับ ดังนั้นการชำระหนี้เป็นการทำนิติกรรม
ผู้เยาว์คือใคร
มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
ผู้เยาว์คือผู้ซึ่งมีสภาวะแห่งชีวิตสมบูรณ์เป็นบุคคลแล้วสภาวะบุคคลนั้นดำเนินมาจนครบ 20 ปีมาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสหากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448
เป็นอีกกรณีหนึ่งคือผู้เยาว์ซึ่งอายุไม่ครบ 20 ปี ได้ทำการสมรสและการสมรสนั้นเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายมาตรา1448 ด้วย
มาตรา 1448 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
การสมรสจะเริ่มกระทำได้โดยถือว่าชอบด้วยกฎหมายคืออายุ 17 ปี บริบูรณ์แล้วเท่านั้น โดยต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองก่อน ตามมาตรา 1454 ซึ่งให้นำความในมาตรา 1436 มาใช้โดยอนุโลม
หากผู้เยาว์ต้องการสมรสแต่อายุยังไม่ถึง 17 ปี แม้ผู้แทนฯ จะให้การอนุญาตก็ไม่อาจสมรสได้ ต้องร้องขอต่อศาลแต่เพียงประการเดียว โดยศาลจะพิจารณาถึงความจำเป็น เช่น ญ กำลังมีครรภ์ ศาลจึงจะอนุญาตให้สมรสได้
เมื่อมีการสมรสที่ชอบแล้ว ช และ ญ นั้นก็จะพ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์ทันทีสามารถทำนิติกรรมได้ตามปกติ เหตุที่กฎหมายต้องกำหนดเช่นนี้ เพราะว่า ช ญ ที่สมรสแล้วต้องดูแลครอบครัวตนต่อไป จึงต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ในทางกฎหมาย เช่น หากชายอายุ 16 ปี แต่มีบุตร เมื่อศาลอนุญาตให้สมรสเขาจะบรรลุนิติภาวะ สามารถทำนิติกรรมต่าง ๆ เช่น ต้องการจะยกที่ดินของตนเองให้แก่บุตรของตน หากกฎหมายไม่ให้เขาบรรลุนิติภาวะแล้วเขาไม่อาจกระทำได้ หรือการส่งลูกตนเข้าโรงเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินฐานานุรูปก็ไม่อาจกระทำได้ กฎหมายจึงต้องให้เขาบรรลุนิติภาวะเสีย
การทำนิติกรรมของผู้เยาว์
มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ผู้แทนฯ หมายถึงผู้ซึ่งอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ได้ เช่น บิดามารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หรือ บุคคลอื่นซึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพื่อปกครองผู้เยาว์
การใด (นิติกรรม) ที่ผู้เยาว์กระทำลงไปโดยลำพังไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้แทนฯ การนั้นจะเป็นโมฆียะ
คำว่า “โมฆียะ” หมายความว่า ไม่บริบูรณ์ อาจให้สัตยาบรรณหรืออาจบอกล้างได้ กล่าวคือสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้าง
ตัวอย่าง นิติกรรมที่โจทก์ทำกับจำเลยในขณะโจทก์เป็นผู้เยาว์แต่มิได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นเป็นโมฆียะ เมื่อนิติกรรมนั้นมิได้ถูกบอกล้างจึงมีผลผูกพันโจทก์อยู่
การให้ความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
ในเรื่องของการให้ความยินยอมนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบเฉพาะไว้ว่าต้องให้อย่างไร ดังนั้นจะให้ความยินยอมเป็นหนังสือหรือยินยอมด้วยวาจาหรือโดยปริยายก็ได้ ยินยอมโดยปริยายเช่น รู้ว่าผู้เยาว์จะลงทุนทำธุรกิจแล้วไม่ท้วงติงว่ากล่าว หรือการให้คำปรึกษาว่าต้องทำอย่างไรซื้อของที่ไหนควรจะซื้อได้ในราคาเท่าไหร่ หรือลงนามเป็นพยานในสัญญา ช่วยติดต่อภาระกิจการงานให้ เป็นต้น
นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำเองได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
มาตรา 22 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
ในเรื่องมาตรา 22 นี้ต้องเป็นนิติกรรมที่ผู้เยาว์มีแต่ทางได้ไม่มีเสีย หากผู้เยาว์จะมีเสียอยู่ด้วยย่อมทำไม่ได้ เช่น สัญญาซื้อขาย ผู้เยาว์มีเสียอยู่ด้วยคือเสียเงินหรือทรัพย์สินที่จะทำการซื้อขายจะทำไม่ได้ แต่ถ้าผู้เยาว์ได้อย่างเดียวเช่นได้รางวัลฉลากกินแบ่ง ได้รางวัลจากการส่งชิ้นส่วนเข้าชิงรางวัล ผู้เยาว์สามารถไปรับได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
เพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น ผู้เยาว์เป็นหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้จะปลดหนี้ให้ ผู้เยาว์สามารถรับการปลดหนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมแทนฯ
มาตรา 23 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว
การที่ต้องทำเองเฉพาะตัวผู้เยาว์ เช่น พินัยกรรม รับรองบุตร ระวัง! อย่าสับสนกับการชำระหนี้ซึ่งเป็นการเฉพาะตัวของลูกหนี้โดยแท้ เช่น เยาว์เป็นนักแสดง การแสดงหนังต้องแสดงเองการแสดงหนังเป็นการชำระหนี้ซึ่งต้องทำเองเฉพาะตัว แต่การจะรับแสดงหนังหรือไม่นั้นต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน
มาตรา 24 ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
สมแก่ฐานานุรูป เช่น การซื้อสินค้าอันจำเป็นตามปกติ การใช้จ่ายที่ไม่ฟุ้งเฟ้อตามปกติ การซื้อโทรศัพท์มือถือปัจจุบันอาจเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนได้ แต่การซื้อรถยนต์ ซื้อที่ดิน ยังคงเกินฐานานุรูป
มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
การทำพินัยกรรมนั้นผู้เยาว์จะทำได้เมื่ออายุครบ 15 ปี บริบูรณ์แล้วเท่านั้น แต่ถ้าผู้เยาว์ซึ่งสมรสแล้วถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้วแม้อายุเพียง 14 ปี ก็สามารถทำพินัยกรรมได้ อีกทั้งการทำพินัยกรรมเป็นการที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัวตามมาตรา 23 อีกด้วย
มาตรา 26 ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตามใจสมัคร อนึ่งถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดผู้เยาว์ก็จำหน่ายได้ตามใจสมัคร
ตามมาตรานี้เป็นเรื่องผู้เยาว์ต้องการจำหน่ายทรัพย์สินของตนเอง ซึ่งการจำหน่ายทรัพย์เป็นนิติกรรมเช่นกัน ดังนั้นผู้เยาว์จึงจำต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน โดยความยินยอมตามมาตรานี้แบ่งเป็น
1. ความยินยอมให้จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว้ เช่น ผู้แทนฯ ให้ผู้เยาว์นำเงิน 2000 บาทไปซื้อเสื้อผ้า ผู้เยาว์ต้องนำเงินไปซื้อเสื้อผ้าตามที่ระบุไว้ แต่ผู้เยาว์จะซื้อแบบใดร้านใดก็ได้แล้วแต่ผู้เยาว์เนื่องจากไม่ได้มีการระบุเงื่อนไขไว้
ระวัง! คำว่า “จำหน่าย” นักศึกษาหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นการขายอย่างเดียว เช่นการมีสิ่งเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หมายถึงการขายสิ่งเสพติด แต่จริง ๆ แล้วหมายถึงการซื้อได้ด้วย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า
จำหน่าย ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน โอน เอาออก เช่น จำหน่ายจากบัญชี
2. ความยินยอมให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใดเช่น ผู้แทนฯ ให้เงินผู้เยาว์ 2000 โดยไม่ได้ระบุว่าให้เอาไปจำหน่ายอย่างไร ผู้เยาว์สามารถนำเงินไปซื้ออะไรก็ได้ อย่างไรก็ได้
ผู้เยาว์ประกอบธุรกิจ
มาตรา 27 ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้
ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจ หรือการจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่งให้ผู้เยาว์
มีฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
ถ้าการประกอบธุรกิจ หรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอมที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสียได้
ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควรผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาล ให้เพิกถอนการบอกเลิกความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้
การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรม หรือการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล ย่อมทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลงแต่ไม่กระทบกระเทือนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอมหรือเพิกถอนการอนุญาต
เรื่องนี้เป็นเรื่องผู้เยาว์ต้องการจะทำธุรกิจหรือการงานตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งการทำธุรกิจหรือการงานก็เป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งเช่นกันผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมเสียก่อน ซึ่งในกรณีที่ผู้เยาว์สามารถประกอบธุรกิจหรือการงานได้แล้วแต่ผู้แทนฯ ไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้เยาว์สามารถร้องขอต่อศาลได้ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ไม่มีผลเสียและกรณีมีความจำเป็นศาลอาจจะอนุญาตได้ ซึ่งการอนุญาตหรือไม่เป็นดุลยพินิจศาล
เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ผู้เยาว์มีฐานนะเสมือนบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ดำต้องการทำธุรกิจค้าขายเสื้อผ้า ดำได้รับอนุญาตจากผู้แทนฯ แล้ว ดำสามารถดำเนินการซื้อเสื้อผ้ามาขายแม้ว่าจะมีราคาแพง หรือสามารถพิจารณาเรื่องราคาหากผู้ซื้อต่อรองได้โดยไม่ต้องไปขอความยินยอมอีก ดังนั้น หากปรากฎว่าดำซื้อเสื้อผ้ามาราคาแพงเกินไป ผู้แทนฯ จะไปบอกล้างนิติกรรมไม่ได้ เพราะกฎหมายให้ถือว่าดำบรรลุนิติภาวะแล้วในเรื่องที่ได้รับอนุญาตนั้น
แต่หากว่าดำซื้อเสื้อผ้ามาแพงตลอด แต่ขายถูกตลอด เวลาไปขายเสื้อผ้าที่ตรอกข้าวศาลดำนั่งแท็กซี่ตลอด ขายได้ก็นำเงินไปซื้อเหล้าร้านข้าง ๆ กินตลอดจนทุนหายกำไรหด เช่นนี้ ผู้แทนฯ สามารถบอกเลิกความยินยอมได้เพราะเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ประกอบธุรกิจเสียหายหรือเกิดความเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์อย่างมาก ในกรณีที่ความยินยอมได้รับอนุญาตจากศาล
ผู้แทนก็อาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนความยินยอมได้ กรณีนี้ผู้แทนฯจะเพิกถอนเองไม่ได้
เมื่อมีการบอกเลิกหรือเพิกถอนความยินยอมแล้ว ฐานะเสมือนบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์ก็จะสิ้นสุดลง ผู้เยาว์จะกลับมาเป็นผู้เยาว์อีก ดังนั้นหลังจากนี้ผู้เยาว์จะไปซื้อเสื้อผ้ามาขายไม่ได้แล้ว หากไปซื้อมาอีกผู้แทนฯ สามารถบอกล้างนิติกรรมนั้นได้ตามมาตรา 21 แต่หากเผอิญว่าดำยังมีหนี้เก่าที่ไม่ได้ชำระค่าเสื้อที่ซื้อมาขายก่อนหน้านี้ หนี้นั้นก็สมบูรณ์ทุกอย่าง ต้องชำระหนี้ไปจะอ้างว่าเมื่อบอกเลิกหรือเพิกถอนความยินยอมแล้วหนี้เป็นโมฆะไม่ได้เพราะการสิ้นสุดในเรื่องความบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์นั้นไม่กระทบกระเทือนถึงนั่นเอง




Please login for write message