บริษัท บริหาร สินทรัพย์ ต ง ฮั้ว ทวงหนี้

บมจ.ตงฮั้ว โฮลดิ้ง (TH) เปิดเผยว่า บริษัทบริหารสินทรัพย์ ตงฮั้ว จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อม ได้รับใบอนุญาตจดทะเบียนประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์จากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอาหรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการโอนทรัพย์สินตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541

ดังนั้น บริษัทจะเริ่มเจรจากับพันธมิตรที่เป็นธนาคาร สถาบันการเงิน และผู้ประกอบการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเพิ่มเติมเพื่อบริการหนี้ด้อยคุณภาพให้เป็น-ไปตามแผนธุรกิจของบริษัท คาดว่าจะทำให้บริษัทมีรายได้และศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น


--อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์ โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]

สวัสดีคับ ผมขอสอบถามเรื่องการขายหนี้ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์คับ ของผมบริษัทบริหารสินทรัพยืโทรมาทวงคับ บอกธนาคารขายหนี้มา จะให้ผมจ่ายปิดในราคาที่เสนอ แต่ผมไม่มีเงินเลยครับ ไม่สามารถจ่ายปิดได้ ทางบริษัทบอกผมว่าจะฟ้อง ผมอยากทราบคับว่านานมั้ยกว่าเค้าจะฟ้อง พอดีมีหมายศาลที่ต้องไปขึ้นศาลอยุ่อีกตัว กลัวมาพร้อมกัน แล้วจ่ายไม่ไหวครับ

TH พุ่งกระฉูด 28% โดย ณ เวลา 15.20 น. อยู่ที่ระดับ 2.72 บาท บวก 0.60 บาท รับ “บริหารสินทรัพย์ตงฮั้ว” ซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ 3,045 ลบ.

30/08/2021


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(30 ส.ค.64) บริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)  หรือ TH ณ เวลา 15.20 น. อยู่ที่ระดับ 2.72 บาท บวก 0.60 บาท หรือ 28.30% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 307.38 ล้านบาท

บริษัท บริหาร สินทรัพย์ ต ง ฮั้ว ทวงหนี้

โดย TH เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 ส.ค.2564 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท บริหารสินทรัพย์ตงฮั้ว จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อม มีมติให้ทำสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องในหนี้ด้อยคุณภาพ (ชนิดไม่มีหลักประกัน) จำนวน 3,045 ล้านบาท กับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารแห่งหนึ่ง ในวันที่ 31 ส.ค.64 โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก TH

อนึ่งก่อนหน้า TH เปิดเผยว่า บริษัท ตงฮั้ว แกปปิตอล จำกัด (บริษัทย่อย) ถือหุ้น โดยบริษัท บริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 99.99) ลงทุนจัดตั้งบริษัทย่อยทางอ้อมแห่งใหม่ชื่อ บริษัท บริหารสินทรัพย์ ตงฮั้ว จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ตามหลักเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีทุนจดทะเบียน 100,000,000 บาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน)

โดยบริษัท ตงฮั้ว แคปปิตอล จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99 โดยมีเงินลงทุนเริ่มต้น 25,000,000 บาท ซึ่งแหล่งเงินทุนมาจากเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท ตงฮั้ว แดปปอตอล จำกัด ในการจัดตั้งบริษัทย่อยทางอ้อมแห่งใหม่ครั้งนี้ เพื่อเพิ่มช่องทางในการหารายได้ทั้งนี้บริษัทใหม่นี้จะดำเนินการขอขึ้นทะเบียนเป็นบริษัท บริหารสินทรัพย์คือยคุณภาพกับธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 64 ที่ผ่านมา บริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TH ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า คณะกรรมการ บริษัท บริหารสินทรัพย์ ตงฮั้ว จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้มีมติ ให้ทำสัญญาซื้อสิทธิเรียกร้องหนี้ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร จำนวน 3,045 ล้านบาท โดยจะทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินในวันที่ 31 ส.ค. 64 นี้ (อ่านหนังสือฉบับเต็ม ที่นี่)

ทั้งนี้ นายสมนึก กยาวัฒนกิจ ประธานกรรมการ บริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TH และบริษัท บริหารสินทรัพย์ ตงฮั้ว จำกัด หรือ THAM กล่าวว่า คณะกรรมการได้มีมติจัดตั้ง บริษัท สินทรัพย์ตงฮั้ว จำกัด เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 64 ที่ผ่านมา และเข้าร่วมประมูลสินทรัพย์ 3,045 ล้านบาทนี้ เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 64 และชนะการประมูล ดังนั้นหนี้ 3,045 ล้านบาทนี้ จึงถือเป็นหนี้ก้อนแรกของบริษัทฯ โดยบริษัท บริหารสินทรัพย์ ตงฮั้ว จำกัด มีแผนการซื้อหนี้ในปีต่อๆ ไป ไม่ต่ำกว่าปีละ 6,000 ล้านบาท

โดยจะทำให้ผลงานการดำเนินงานของ บริษัท บริหารสินทรัพย์ ตงฮั้ว จำกัด เติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้รายได้และกำไร เป็นรายได้หลักของ บริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ใน 1-3 ปีข้างหน้า ซึ่งอาจทำให้บริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ต้องย้ายหมวดหมู่จากสื่อและสิ่งพิมพ์

ปัจจุบันมีบริษัทฯ ในลักษณะนี้ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2 บริษัทคือ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด และ บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าว BTS จ่อทุ่มเงินกว่า 1.85 หมื่นล้านบาท เข้าถือหุ้น JMART ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ JMT โดยราคาหลักทรัพย์เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ส.ค. ราคาปิดตลาดของ JMT อยู่ที่หุ้นละ 43 บาท CHAIYO อยู่ที่หุ้นละ 12.90 บาท และ TH อยู่ที่ราคาหุ้นละ 2.12 บาท

อย่างไรก็ตาม บริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศแต่งตั้ง นายอาณกร กยาวัฒนกิจ เป็นประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและรีแบรนด์ บริษัท หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว จำกัด เป็น บริษัท ตงฮั้ว มีเดีย แลป จำกัด เมื่อวันที่ 14 ก.ค.64 ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมพร้อมการทรานฟอร์มสู่ Next Generation Media และเป็นการส่งสัญญาณสู่บริษัทเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นธุรกิจที่บริษัทตงฮั้ว โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญ

บริหารสินทรัพย์ ตงฮั้ว ทำสัญญาซื้อขายหนี้ด้อยคุณภาพ ประเดิมก้อนแรก 1,000.55 ล้านบาท ตั้งเป้าปีนี้ลุยซื้อหนี้ไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท เล็งระดมทุนเข้าตลาดฯ ปี 2567

นายสมนึก กยาวัฒนกิจ ประธานกรรมการ บมจ. ตงฮั้ว โฮลดิ้ง ( TH ) และบริษัท บริหารสินทรัพย์ ตงฮั้ว จำกัด (THAM) เปิดเผยว่า บริษัท บริหารสินทรัพย์ตงฮั้ว ได้ทำสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องหนี้ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร จำนวน 1,000.55 ล้านบาท และได้ชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ในวันนี้ (4 มีนาคม 2565)

บริษัท บริหาร สินทรัพย์ ต ง ฮั้ว ทวงหนี้

สำหรับหนี้จำนวน 1,000.55 ล้านบาท ถือเป็นการซื้อหนี้ก้อนแรกของปี 2565 โดยบริษัทฯ มีแผนซื้อหนี้ในปีนี้เป็นจำนวนทั้งหมด 6,000 ล้านบาท ซึ่งทำให้กำไรของบริษัทฯ จะเติบโตแบบก้าวกระโดด

ทั้งนี้ นับเป็นหนี้ก้อนที่สอง หลังจากที่บริษัทฯ ได้ซื้อสิทธิเรียกร้องหนี้ด้อยคุณภาพจำนวน 3,045 ล้านบาท ในวันที่ 31 สิงหาคม 2564 และเริ่มรับรู้รายได้ 54.5 ล้านบาท ในไตรมาส 4 ในปีที่ผ่านมา ทำให้ปี 2564 บริษัทฯ มีกำไรมากกว่าปี 2563 เกือบ 4 เท่า

ขณะเดียวกัน ยังได้ประกาศจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้นสามัญ (Warrant) ให้แก่ผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 4 หุ้นต่อ 1 วอแรนซ์ โดยราคาการแปลงสิทธิ์เป็นหุ้นสามัญที่ราคา 1 บาท เพื่อรองรับการซื้อหนี้ในปีต่อ ๆ ไป

บริษัท บริหาร สินทรัพย์ ต ง ฮั้ว ทวงหนี้
สมนึก กยาวัฒนกิจ

บริหารสินทรัพย์ ตงฮั้ว เล็งเข้าตลาดฯปี 67

นอกจากนี้ บริษัท บริหารสินทรัพย์ตงฮั้ว ยังมีแผนที่เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2567 และคาดว่าจากโครงสร้างรายได้ที่เปลี่ยนไปของ บมจ. ตงฮั้ว โฮลดิ้ง ( TH ) จำเป็นที่บริษัทต้องย้ายออกจากหมวดหมู่ สื่อ และสิ่งพิมพ์ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตการจดทะเบียนประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นที่เรียบร้อย ทำให้มีสิทธิประโยชน์ยกเว้นค่าธรรมเนียม และภาษีอากรต่าง ๆ จากการโอน และเข้าสวมสิทธิ์ในทรัพย์สินตาม พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541

ขณะที่การดำเนินงานนับจากนี้ จะเริ่มเจรจาหาพันธมิตรที่เป็นธนาคาร และสถาบันการเงิน เพื่อเข้าบริหารหนี้ด้อยคุณภาพที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยคาดว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรม ภายในไตรมาส 4 ของปี 2565 หรือไตรมาสแรกของปี 2566