แบบประเมินการอ่าน ออกเสียง ร้อยกรอง

การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

(๑๐ คะแนน)

(๙ คะแนน)

(๗ ๘ คะแนน)

(๕ ๖ คะแนน)

การอ่านออกเสียง

บทร้อยแก้ว

อ่านออกเสียง

ได้ถูกต้อง

ตามอักขรวิธี

เสียงดังชัดเจน

เว้นจังหวะเหมาะสม

และใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์

ได้ไพเราะ

อ่านออกเสียง

ได้ถูกต้อง

ตามอักขรวิธี

เสียงดังชัดเจน

เว้นจังหวะเหมาะสม

แสดงอารมณ์

ในบางจังหวะได้ดี

อ่านออกเสียง

ได้ถูกต้อง

ตามอักขรวิธี

เสียงดังชัดเจน

เว้นจังหวะเหมาะสม

และใช้น้ำเสียง

แสดงอารมณ์

ในบางจังหวะ

แต่ยังทำได้ไม่ดีนัก

อ่านออกเสียง

ได้ถูกต้อง

ตามอักขรวิธี

เสียงดังชัดเจน

แต่ยังต้องปรับปรุงเรื่องการเว้นจังหวะ

หน่วยการเรียนรู้   ภาษาไทยเลอค่าภาษาชาติ

รหัสวิชา ท 23101  รายวิชาภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 12 ชั่วโมง

1.  เป้าหมายการเรียนรู้

     มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

      1.1  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย

             มาตรฐานการเรียนรู้

             มาตรฐาน ท 1.1  ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาใน

การดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

             มาตรฐาน ท 2.1  ใช้กระบวนการเขียนสื่อสารเขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องในรูปแบบต่างๆเขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

             ตัวชี้วัด        1.  อ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรองถูกต้องเหมาะสมกับการอ่าน

                               2.  มีมารยาทในการอ่าน

                               3.  คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

                                4.  เขียนข้อความตามสถานการณ์ได้ถูกต้อง

                               5.  มีความรู้ความเข้าใจมารยาทในการเขียน

       1.2  สาระการเรียนรู้

4.1  การอ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรอง

              4.2  มารยาทในการอ่าน

              4.3  การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

              4.4  การเขียนข้อความตามสถานการณ์

              4.5  มารยาทในการเขียน

        1.3  สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด

               การระบุความแตกต่างของคำที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย ควรมีมารยาทใน        การอ่าน  คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด   มีความรู้ความเข้าใจการเขียนชีวประวัติหรืออัตชีวประวัติ

มีมารยาทในการเขียน

        1.4  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

                 1)  ความสามารถในการคิด

                    1.  ทักษะการสังเกต

                    2.  ทักษะการประเมิน

               2)  ความสามารถในการสื่อสาร

         1.5  คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                1)  มีวินัย

                2)  ใฝ่เรียนรู้

2.  การกำหนดหลักฐานผลการเรียนรู้

2.1    ชิ้นงาน / ภาระงาน

 1)  ชิ้นงาน

                   1.  คำขวัญ  คำคม  ตามหัวข้อที่กำหนด

                   2.  คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

          2)  ภาระงาน

                   1.  อ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรองตามกำหนด

    2.2  การวัดและประเมินผล

           1)  การประเมินผลระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                          -  การอ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรอง ( แบบประเมินอยู่ท้ายหน่วยการเรียนรู้)

                             -  การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ( แบบประเมินอยู่ท้ายหน่วยการเรียนรู้)

                     2)  การประเมินเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้

                          -  คำคม คำขวัญ ( แบบประเมินอยู่ท้ายหน่วยการเรียนรู้)

                   -  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ( แบบประเมินอยู่ท้ายหน่วยการเรียนรู้)

3.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ / สื่อการเรียนรู้

           3.1  กิจกรรมการเรียนรู้  

     ชั่วโมงที่ 1-4 การอ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรอง

                 ขั้นนำ

    ครูนำหนังสือชนิดต่าง มาให้นักเรียนดู  เช่น  สารคดี  นิทาน  วรรณกรรม  ประวัติศาสตร์  ฯลฯ  แล้วสนทนากับนักเรียนถึงเรื่องการอ่านออกเสียงหนังสือประเภทต่างเหล่านี้

   ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้

             1. ครูแจกใบความรู้เรื่อง  การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว  ให้แก่นักเรียนทุกคน  แล้วให้ทุกคนศึกษาตามที่ครูอธิบายประกอบ

             2. ครูให้นักเรียนฝึกอ่านคำ  และข้อความที่มีคำควบกล้ำจากใบความรู้ประกอบการอ่านที่แจกให้  เพื่อเป็นพื้นฐานในการอ่านออกเสียงต่อไป

             3. ครูให้นักเรียนดูวีดีทัศน์การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว 

             4. ให้นักเรียนเลือกอ่านออกเสียงข้อความจากบทอ่านออกเสียงร้อยแก้วคนละ  1  หัวข้อ  ฝึกอ่านให้คล่องเสียก่อน

          5. ครูให้นักเรียนแต่ละคนออกมาอ่านออกเสียงร้อยแก้วตามบทอ่านที่ได้เลือกไว้เพื่อนฟัง  ครูและเพื่อนช่วยกันวิจารณ์  เสนอแนะและชมเชยเพื่อเป็นกำลังใจ

6.   ครูสรุปผลการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว  พร้อมแจกใบประเมินผลการอ่านออกเสียงร้อย

แก้วคืนให้นักเรียน

          7.  ครูแจกใบความรู้   เรื่องอ่านออกเสียงนั้นสำคัญไฉน  ของ  ปรีชา  ช้างขวัญยืน  ให้นักเรียนทุกคนอ่านในใจ  เมื่ออ่านจบแล้วสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

          8.  ครูให้นักเรียนเลือกอ่านออกเสียงข้อความจากบทอ่านออกเสียงร้อยแก้วคนละ  1  หัวข้อ  แล้วฝึกอ่านคล่อง   เมื่อฝึกอ่านได้คล่องแล้วครูก็จับฉลากเรียกชื่อนักเรียนแต่ละคนออกมาอ่านออกเสียงร้อยแก้วตามบทอ่านที่เลือกไว้ให้เพื่อน    ฟัง  เพื่อนและครูช่วยกันวิจารณ์  เสนอแนะชมเชยและให้กำลังใจ

          9. ครูสรุปผลการอ่านออกเสียงร้อยแก้วของนักเรียนแต่ละคน  พร้อมแจกใบประเมินผลการอ่านออกเสียงร้อยแก้วคืนให้แก่นักเรียน

          10. ครูแจกตัวอย่างบทประพันธ์ร้อยแก้วที่ควรท่องจำไว้  ให้แก่นักเรียนทุกคน  แล้วให้นักเรียนเลือกท่องตำคำประพันธ์บทใดบทหนึ่งนำมาท่องให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน

          11. ครูนำแถบบันทึกเสียงการอ่านบทร้อยกรองมาเปิดให้นักเรียนฟัง  แล้วสนทนาเรื่อง  การอ่านออกเสียงบทร้อยกรองหรือการอ่านทำนองเสนาะ

          12. ครูแจกใบความรู้ประกอบเรื่อง  การอ่านออกเสียงบทร้อยกรองให้นักเรียนทุกคน  แล้วให้นักเรียนศึกษาเรื่องการอ่านบทร้อยกรองจากใบความรู้นั้น   โดยครูเป็นผู้อธิบายประกอบอย่างละเอียดโดยเริ่มตั้งแต่หัวข้อดังต่อไปนี้

                   - ความหมายของ  บทร้อยแก้ว

                   - ความหมายของ  การอ่านทำนองเสนาะ

                   - รสที่ใช้ในการอ่านทำนองเสนาะ

                   - หลักในการอ่านทำนองเสนาะ

                   - ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านทำนองเสนาะ

13. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาเรื่องการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง  หรือการอ่านทำนองเสนาะ  ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง  ต่อจากนั้นให้นักเรียนทำแบบทดสอบ  เรื่องการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง   เสร็จแล้วนำมาส่งครูตรวจ

           14. ครูเปิดเครื่องบันทึกเสียงการอ่ารนบทร้อยกรอง  กลอนสุภาพ  ให้นักเรียนฟัง  และครูสนทนากับนักเรียน  ในเรื่องการอ่าน  กลอนสุภาพ  ว่ามีวิธีการอ่านอย่างไร

           15. ครูแจกแบบฝึกการอ่าน  กลอนสุภาพให้นักเรียนทุกคน  แล้วให้นักเรียนช่วยกันแบ่งจังหวะการหยุด  หรือช่วยจังหวะในการอ่าน  บทร้อยกรอง  บทที่  1  บัดเดี่ยวดังหง่างแหง่งวังเวงแว่ว  (ครูแก้ไขให้ถูกต้องด้วย)

          16. ครูให้นักเรียนคนใดคนหนึ่ง  อ่านออกเสียงบทร้อยกรองกลอนสุภาพ  บทที่  1  ตามจังหวะการหยุดให้เพื่อนฟัง  โดยให้อ่านออกเสียงธรรมดาก่อน

          17. ให้นักเรียนทุกคนอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง   เป็นเสียงธรรมดาพร้อม    กัน  เพื่อดูว่าแบ่งช่วงจังหวะการหยุดในการอ่านได้ถูกต้องหรือไม่

          18. ครูอ่านหรือเปิดเครื่องบันทึกเสียงการอ่านบทร้อยกรองบทที่  1  ให้นักเรียนฟัง  แล้วให้นักเรียนฝึกอ่านพร้อมกันทั้งชั้นเรียนหรือจะให้อ่านเป็นกลุ่มก็ได้  (แล้วแต่ความเหมาะสม)

          19. ครูให้นักเรียนแต่ละคนหรือกลุ่ม  อ่านทำนองเสนาะบทร้อยกรองในบทที่  1  ให้เพื่อนฟัง  แล้วครูและเพื่อน ผู้ฟังช่วยกันวิจารณ์ติชม

          20. ครูให้นักเรียนช่วยกันอธิบายความหมายของบทร้อยกรอง  บทที่  1  ว่ามีความหมายอย่างไร  มีสาระอะไรเป็นที่น่าสนใจบ้าง

          21. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม    ให้แต่ละกลุ่มเลือกบทอ่านจากแบบฝึกหัดการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง  กลอนสุภาพ  กลุ่มละ1บท  หลังจากที่แต่ละกลุ่มฝึกอ่านกันพอสมควรแล้ว  ก็ให้อ่านให้เพื่อน ฟัง  จนครบทุกกลุ่ม  เมื่ออ่านจบครูและนักเรียนช่วยกันวิจารณ์  ติชม  พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการอ่าน

          22. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปผลการอ่านทำนองเสนาะของนักเรียนแต่ละกลุ่ม  จากนั้นครูให้นักเรียน  นำตัวอย่างบทร้อยกรองที่ควรท่องจำที่ครูแจกไปเมื่อคาบที่แล้วขึ้นมาท่องคนละ  1  บท  เพื่อท่องให้ครูและเพื่อนฟัง

ขั้นสรุป

            นักเรียนอภิปรายซักถามร่วมกันและสรุปประโยชน์ของการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

ร้อยกรองประเภทกลอนสี่สุภาพ

ชั่วโมงที่ 5-8  เรื่อง การคัดตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

ขั้นนำ

 สนทนากับนักเรียนถึงข้อความที่นักเรียนเคยได้พบเห็นว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรโดยเลือกถามนักเรียน  1-2  คน    ช่วยกันยกตัวอย่างข้อความและเขียนข้อความบนกระดานดำเพื่อนนักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่าข้อความที่เขียนแตกต่างกันอย่างไร

ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้

1. แจ้งจุดประสงค์ปลายทาง วิธีการเรียน  การวัดผลประเมินผลในจุดประสงค์นี้  พร้อมทั้งเกณฑ์การผ่านจุดประสงค์  เพื่อให้นักเรียนได้เตรียมตัวเรียนได้ถูกต้อง

2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน   หลังเรียน  เรื่อง  การ

เขียนคัดลายมือ   เพื่อจะได้ทราบพื้นฐานความรู้เดิมของนักเรียนในการทดสอบก่อนเรียน ซึ่งใช้แบบทดสอบปรนัย   ชนิดเลือกตอบ  4 ตัวเลือก  จำนวน  4  ข้อ

3.  เลือกนักเรียน  1  คน ออกไปเขียนคำว่า    รสนิยม      ที่กระดาษดำแล้วพิจารณาถึงความถูกต้องและเหมาะสมของข้อความโดยเปรียบเทียบกับบัตรคำ

4.   นักเรียนศึกษาเอกสารประกอบการค้นคว้า   เรื่อง   การเขียนคัดลายมือ    เมื่อนักเรียนอ่านจบแล้ว สรุปใจความสำคัญบันทึกลงสมุดจดงาน

5.  นักเรียนศึกษาหลักการคัดลายมือจากเอกสารประกอบการค้นคว้า  เรื่อง  การคัดลายมือแล้วให้นักเรียนดูตัวอย่างการคัดลายมือที่ถูกต้องสวยงาม   การเว้นวรรคตอน พร้อมทั้งให้นักเรียนสังเกตดูตัวระยะความห่างของตัวอักษรเพื่อความถูกต้อง

6.  นักเรียนทำกิจกรรมที่  1  และ กิจกรรมที่   2 ในใบงานที่ 1   เรื่อง  การเขียนคัดลายมือ

ประเภทร้อยแก้ว   ร้อยกรอง  ลงสมุดวิชาภาษาไทย 

7.  นักเรียนคัดลอกเสร็จตรวจทานดูความถูกต้องเรียบร้อยอีกครั้งแล้วส่งครู    ครูตรวจผลงานการคัดลายมือของนักเรียนทุกคนแล้ว        สรุปผลการคัดลายมือของนักเรียนทุกคนว่ามีข้อบกพร่องที่ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข    เพื่อเป็นแนวทางในการคัดลายมือในโอกาสต่อไป     จากนั้นนำผลงานนักเรียนที่ถูกต้องตามแบบ  สะอาด      เรียบร้อยและสวยงามมาติดที่ป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียน    เพื่อเป็นตัวอย่าง เป็นขวัญและกำลังใจให้นักเรียน

8.  นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน       โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน  หลังเรียน เรื่อง   การเขียน

คัดลายมือ  เพื่อจะได้ทราบถึงความรู้ที่นักเรียนได้เรียน    ซึ่งใช้แบบทดสอบแบบปรนัย   ชนิดเลือกตอบ  4 ตัวเลือก    จำนวน  5  ข้อ

         ขั้นสรุป

                 ครูให้นักเรียนฝึกการคัดตัวบรรจงครึ่งบรรทัดอย่างต่อเนื่องในการบันทึกข้อมูลต่างๆ

ชั่วโมงที่ 9-12  การเขียนคำขวัญ คำคม

ขั้นนำ

                ครูนำตัวอย่างคำขวัญและคำคมให้นักเรียนได้อ่าน  นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้ 

                1.  ครูให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 14 เรื่อง การเขียนคำขวัญและคำคม

                2.  นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

3.  ครูกำหนดให้นักเรียนเขียนคำขวัญ  1  คำขวัญและคำคม  1  คำคม  โดยให้นักเรียนเลือกเขียน  1  หัวข้อจากวันสำคัญต่อไปนี้

                3.1  วันภาษาไทย

                3.2  วันเยาวชนแห่งชาติ

                3.3  วันโรคเอดส์โลก

                3.3วันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

                3.5   วันครู

                3.6   วันลอยกระทง

                4.  นักเรียนนำเสนอคำขวัญและคำคมหน้าชั้นเรียน

                5.  ครูและนักเรียนร่วมกันติชมผลงาน

ขั้นสรุป

            นักเรียนสรุปคุณค่าที่ได้จากการเขียนคำขวัญและคำคม

แบบบันทึกการประเมินการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

คำชี้แจง ให้ผู้สังเกตพิจารณาคุณภาพของผู้เรียนแต่ละคน แล้วเขียนเครื่องหมาย ü ลงในช่องระดับคะแนน


ชื่อ-สกุล

พฤติกรรม/ระดับคะแนน

การจับหนังสือ/พลิกหนังสือ/ท่าทางในการอ่านถูกต้อง

3

อ่านถูกต้องตามอักขรวิธี

3

การเว้นวรรคตอน

ถูกต้อง

3

น้ำเสียงเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน

3

ไม่อ่านข้าม/อ่านเพิ่ม/ตู่คำ

3

อ่านเสียงดัง

เหมาะสม

3

รวม

18

1

2

3

4

7

.

.

.

.

.

.

.

ฯลฯ

ข้อเสนอแนะ

…………………………………………………………………………………………………………………………..

                                                                                                                                                            ลงชื่อ ......................................................................ผู้ประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินการอ่านออกเสียง


ประเด็นการประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน

3

2

1

การจับหนังสือ/พลิก

หนังสือ/ท่าทางใน

การอ่านถูกต้อง

ลักษณะท่าทาง การวาง

และการจับหนังสือถูกต้อง

ลักษณะท่าทาง การวางและการจับหนังสือไม่ถูกต้อง ๑ อย่าง

ลักษณะท่าทาง การวางตามอักขรวิธีออกเสียง

และการจับหนังสือไม่ถูกต้อง ๒ อย่าง ขึ้นไป

อ่านถูกต้องตาม

อักขรวิธี

อ่านถูกต้องตามอักขรวิธีออกเสียง ร และคำควบกล้ำ ร ล ว ชัดเจน

อ่านถูกต้องตามอักขรวิธีออกเสียง ร และคำควบ-กล้ำ ร ล ว ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง

อ่านไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ออกเสียง ร และ คำควบกล้ำ ร ล ว

ไม่ชัดเจนเลย

การเว้นวรรคตอน

ถูกต้อง

อ่านเว้นวรรคตอนได้ถูกต้องตลอดทั้งเรื่องตั้งแต่

ต้นจนจบเรื่อง

อ่านเว้นวรรคตอนผิดบ้างเป็นบางครั้ง

อ่านเว้นวรรคตอนผิดตลอดทั้งเรื่องตั้งแต่ต้น

จนจบเรื่อง

น้ำเสียงเหมาะสมกับ

เรื่องที่อ่าน

อ่านเสียงดัง ชัดเจน น้ำ-

เสียงเหมาะสมกับเรื่องที่

อ่าน

อ่านเสียงดัง ชัดเจน น้ำ-เสียงเหมาะสมบ้างเป็นบางครั้ง

อ่านเสียง ไม่ชัดเจน น้ำ-เสียงไม่เหมาะสมกับเรื่องที่อ่านตลอดทั้งเรื่อง

ไม่อ่านข้าม/อ่านเพิ่ม

/ตู่คำ

อ่านออกเสียงได้ถูกต้องชัดเจนทุกคำ ทุกข้อความทุกประโยค

อ่านออกเสียงได้ถูกต้องชัดเจนเป็นบางคำ มีการอ่านตู่คำ เพิ่มคำและตู่คำเป็นบางครั้ง

อ่านออกเสียงไม่ถูกต้องไม่ชัดเจน อ่านข้ามคำอ่านเพิ่มคำและตู่คำมาก

อ่านเสียงดัง

เหมาะสม

อ่านเสียงดัง ชัดเจน ได้ยินทั่วถึงกันทั้งห้องเสียงดังสม่ำเสมอ

อ่านเสียงดังบ้างเป็นบางครั้ง เสียงไม่สม่ำเสมอ

อ่านเสียงเบาได้ยิน

ไม่ทั่วถึง

แบบบันทึกการประเมินการอ่านออกเสียงร้อยกรอง

คำชี้แจง ให้ผู้สังเกตพิจารณาคุณภาพของผู้เรียนแต่ละคน แล้วเขียนเครื่องหมาย ü ลงในช่องระดับคะแนน


ชื่อ-สกุล

พฤติกรรม/ระดับคะแนน

การออกเสียง

4

การใช้ภาษา

4

การสอดแทรกอารมณ์

4

ความคิดสร้างสรรค์

4

รวม

16

1

2

3

4

7

.

.

.

.

.

.

.

ฯลฯ

ข้อเสนอแนะ

…………………………………………………………………………………………………………………………..

…………………………………………………………………………………………………………………………..

                                                                                                                                                            ลงชื่อ ......................................................................ผู้ประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินการอ่านออกเสียงร้อยกรอง


ประเด็นการประเมิน

พฤติกรรม/ระดับคะแนน

4

3

2

1

การออกเสียง

เสียงดังฟังชัดมีอักขรวิธีที่ถูกต้อง

เสียงดังฟังชัดมีอักขรวิธีที่ถูกต้องบ้าง

เสียงดังฟังชัดมีอักขรวิธีไม่ถูกต้อง

เสียงไม่ค่อยดังชัดเจนมีอักขรวิธีไม่ถูกต้อง

การใช้ภาษา

ใช้ภาษาถ้อยคำได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ใช้ภาษาถ้อยคำได้ถูกต้องแต่ไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ

ใช้ภาษาถ้อยคำได้บกพร่องอยู่บ้าง

ใช้ภาษาถ้อยคำบกพร่องอยู่มาก

การสอดแทรกอารมณ์ความรู้สึก

สอดแทรกอารมณ์เหมาะสมในการอ่านอย่างชัดเจน

ยิ่งขึ้น

สอดแทรกอารมณ์เหมาะสมในการอ่านอย่างเหมาะสม

สอดแทรกอารมณ์เหมาะสมในการอ่านเป็นบางครั้ง

ขาดอารมณ์ในการอ่าน

ความคิดสร้างสรรค์

มีความคิดสร้างสรรค์ในการอ่านที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร

มีความคิดสร้างสรรค์ในการอ่านแตกต่างจากคนทั่วไป

มีการปรับปรุงการอ่านจากการอ่านทั่วไป และสร้างสรรค์เพิ่มเติมให้ดีขึ้นเล็กน้อย

อ่านเหมือนกับการอ่านตามตัวอย่างที่พบเห็นโดยทั่วไป

แบบประเมินการคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด

คำชี้แจง  เขียนเครื่องหมายü ที่ 1,2,3 ตรงกับพฤติกรรมของนักเรียนตามรายการที่สังเกต


รายการประเมิน

รวมคะแนน

ชื่อ-สกุล

ลักษณะตัวอักษร

3

การวางสระวรรณยุกต์

3

ความถูกต้อง

3

การเว้นช่องไฟ

3

ความสะอาดเรียบร้อย

3

15

1

2

3

4

7

.

.

.

.

.

.

.

ฯลฯ



ประเด็นการประเมิน

พฤติกรรม/ระดับคะแนน

3

2

1

ลักษณะตัวอักษร

ตัวอักษรเป็นรูปแบบเดียวกัน หัวไม่บอด ตัวตรง   และมีขนาดสม่ำเสมอ

ตัวอักษรเป็นรูปแบบเดียวกัน หัวไม่บอด  ตัวเอนหลังเล็กน้อย มีขนาดไม่สม่ำเสมอ

ตัวอักษรเป็นรูปแบบเดียวกัน หัวไม่บอด ตัวตรง   และมีขนาดสม่ำเสมอ

การวางสระวรรณยุกต์

วางสระ วรรณยุกต์ถูกที่ตลอดข้อความ

วางสระ วรรณยุกต์ไม่ถูกที่ 1-5 แห่ง

วางสระ วรรณยุกต์ไม่ถูกที่ 6 แห่งขึ้นไป

ความถูกต้อง

คัดลอกข้อความถูกต้องตลอดข้อความ

คัดลอกข้อความผิด ตก หรือเพิ่ม 1-2 แห่ง

คัดลอกข้อความผิด ตก หรือเพิ่ม 3 แห่งขึ้นไป

การเว้นช่องไฟ

เว้นช่องไฟสม่ำเสมอ สวยงาม

เว้นช่องไฟไม่สม่ำเสมอ แต่สวยงาม

เว้นช่องไฟไม่สม่ำเสมอ แต่สวยงาม

ความสะอาดเรียบร้อย

สะอาดไม่มีรอยขูด         ขีด ฆ่า และรอบคอบ

สะอาดไม่มีรอยขีดฆ่า มีรอยลบ 1-2 แห่ง

สะอาดไม่มีรอยขีดฆ่า มีรอยมากกว่า

2 แห่ง

แบบประเมินการเขียนคำขวัญ คำคม

คำชี้แจง  เขียนเครื่องหมายü  ตรงกับพฤติกรรมของนักเรียนตามรายการที่สังเกต


รายการประเมิน

รวม

ชื่อ-สกุล

เนื้อหาสาระ

3

การใช้ภาษา

3

อักขรวิธี

3

ความคิดสร้างสรรค์

3

ความสะอาดเรียบร้อย

3

คะแนน

15

1

2

3

4

7

.

.

.

.

.

.

.

ฯลฯ



ประเด็นการประเมิน

พฤติกรรม/ระดับคะแนน

3

2

1

เนื้อหาสาระ

ถูกต้องชัดเจนน่าสนใจมาก

ถูกต้องชัดเจนน่าสนใจพอใช้

ไม่ชัดเจนและน่าสนใจ

การใช้ภาษา

ใช้ภาษาถ้อยคำได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ใช้ภาษาถ้อยคำได้ถูกต้องแต่ไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ

ใช้ภาษาถ้อยคำบกพร่องอยู่บ้าง

อักขรวิธี

ถูกต้องตามอักขรวิธี

ทุกคำ

ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี

1-2  คำ

ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี 3 คำขึ้นไป

ความคิดสร้างสรรค์

มีความคิดสร้างสรรค์ในการอ่านที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร

มีความคิดสร้างสรรค์ในการอ่านแตกต่างจากคนทั่วไป

มีการปรับปรุงการอ่านจากการอ่านทั่วไป และสร้างสรรค์เพิ่มเติมให้ดีขึ้นเล็กน้อย

ความสะอาดเรียบร้อย

สะอาดไม่มีรอยขูด         ขีด ฆ่า และรอบคอบ

สะอาดไม่มีรอยขีดฆ่า มีรอยลบ 1-2 แห่ง

สะอาดไม่มีรอยขีดฆ่า

มีรอยมากกว่า 2 แห่ง