เงินได้พึงประเมิน หักค่า ใช้ จ่าย

ผ่านปีเก่ากันไป เข้าสู่ช่วงปีใหม่เลยต้องกลับมาย้ำเตือนเรื่องการจ่ายภาษีอีกครั้ง ซึ่งการจ่ายภาษีน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับการนำ “เงินได้สุทธิ” คูณกับอัตราภาษี หากเงินได้สุทธิน้อย ก็จะทำให้ประหยัดภาษีลงไปได้นั่นเอง แต่การที่จะคำนวณเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินได้สุทธิ ต้องกลับไปย้อนดูที่สิทธิลดหย่อนภาษี รวมถึงค่าใช้จ่ายซึ่งคิดจากประเภทของเงินได้ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องรายได้ หรือเงินได้พึงประเมิน ว่าหากคุณทำอาชีพแบบนี้ จะคิดเป็นเงินได้พึงประเมินที่ประเภทไหน แล้วสามารถหักลบค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ ก่อนจะนำไปคำนวณภาษี ไปดูกันเลย

ทำไมต้องแบ่งประเภทเงินได้พึงประเมิน?

เหตุผลที่ต้องมีการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากการประกอบอาชีพและช่องทางในการหารายได้ของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนทำอาชีพเดียว บางคนมีอาชีพเสริม และแต่ละอาชีพ ก็มีการใช้ต้นทุน รวมถึงความยากง่ายแตกต่างกันออกไป เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในเรื่องการคำนวณภาษี จึงมีการแบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมิน และเกณฑ์หักลบค่าใช้จ่ายของแต่ละอาชีพแตกต่างกันออกไปนั่นเอง

เงินได้พึงประเมินมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

เงินได้พึงประเมินแบ่งออกเป็น 8 ประเภท แต่ละประเภทมีรายละเอียด และนำมาคิดเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อหักลบและนำไปคำนวณภาษีแตกต่างกัน

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 คือ เงินที่ได้จากการจ้างแรงงาน อย่างเงินเดือนของเหล่าพนักงานออฟฟิศ เงินโบนัส บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าที่พัก ค่าอาหาร หรือสวัสดิการอื่นๆ ที่ได้รับจากนายจ้าง  

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

เช่น เงินได้พึงประเมิน 450,000 บาท 50% คือ 225,000 บาท แต่หักค่าใช้จ่ายได้ตามเพดานสูงสุด 100,000 บาทเท่านั้น

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 คือ ค่าจ้างรับทำงานให้ ค่าทำงานที่ให้เป็นครั้งๆ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า บำเหน็จ บำนาญ โบนัส เบี้ยประชุม ค่ารับรีวิวสินค้า ค่าตอบแทนพิธีกร และค่าอื่นๆ ที่สามารถตีค่าเป็นเงินได้

เงินได้พึงประเมิน หักค่า ใช้ จ่าย

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

**หากคุณมีทั้งเงินได้ประเภทที่ 1 และเงินได้ประเภทที่ 2 ให้นำมาคิดรวมกัน และหักค่าใช้จ่ายได้ 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท เช่น นางสาวเอ ทำงานประจำ (1) มีเงินได้ 300,000 ต่อปี พร้อมกับรับงานรีวิวสินค้า (2) ได้เงินรวม 100,000 ต่อปี รวมแล้วมีเงินได้พึงประเมิน (1+2) 400,000 บาท ซึ่งหักค่าใช้จ่าย 50% เป็นเงิน 200,000 บาทแต่นางสาวเอ จะหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดที่ 100,000 บาทเท่านั้น

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 คือ ค่าแห่งกู๊ดวิล (ค่าความนิยม) ค่าลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา เช่นเงินได้จากงานเพลง งานเขียน ค่าสูตรลับอาหาร เครื่องหมายการค้า ค่าเฟรนไชส์ เป็นต้น

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

**นอกจากนี้เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 ยังรวมถึงเงินได้รายปี ที่ได้รับจากพินัยกรรม นิติกรรม หรือจากการพิพากษาของศาลด้วย แต่ไม่สามารถนำมาคิดรวมเพื่อหักค่าใช้จ่ายได้

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 คือ ดอกเบี้ย เช่น ดอกเบี้ยจากพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล เงินส่วนแบ่งผลกำไร ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เงินโบนัสที่ได้จากการเป็นผู้ถือหุ้น ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น เป็นต้น

**เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 คือ เงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 นำมาหักค่าใช้จ่ายได้ดังนี้

เงินได้พึงประเมิน หักค่า ใช้ จ่าย
  • เงินค่าเช่าบ้าน อาคาร สิ่งก่อสร้าง แพ หักค่าใช้จ่ายได้ 30% ของเงินได้หรือหักตามจริง
  • เงินค่าเช่ายานพาหนะ หักค่าใช้จ่ายได้ 30% ของเงินได้หรือหักตามจริง
  • เงินค่าเช่าที่ดินที่ใช้ในการทำการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 20% ของเงินได้หรือหักตามจริง
  • เงินค่าเช่าที่ดินที่ไม่ใช่เพื่อการทำการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 15% ของเงินได้หรือหักตามจริง
  • เงินค่าเช่าทรัพย์สินอื่นๆ หักค่าใช้จ่ายได้ 10% ของเงินได้หรือหักตามจริง
  • เงินจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ สัญญาซื้อขายเงินผ่อน หักค่าใช้จ่ายได้ 20% ของเงินได้หรือหักตามจริง

**หากเลือกวิธีหักตามจริง (ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย)

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 คือ ค่าวิชาชีพอิสระ ประกอบไปด้วย 6 อาชีพ ที่กำหนดไว้ และหักค่าใช้จ่ายตามจริงหรือแบบเหมาในอัตราแตกต่างกัน ดังนี้

  • การประกอบโรคศิลปะ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของรายได้หรือหักตามจริง
  • กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 30% ของรายได้หรือหักตามจริง

**เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 จะมีลักษณะคล้ายกับเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 แต่ความแตกต่างคือ จะต้องเป็น 6 อาชีพที่ระบุไว้ รวมถึงเป็นการทำงานที่ได้เงินตามความมากน้อยของเคสงาน ความยากของงาน โดยไม่ได้ทำงานในฐานะลูกจ้าง หรือลูกน้อง

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 คือ เงินที่ได้จากการรับเหมา ซึ่งรวมทั้งเงินค่าแรงและเงินค่าอุปปกรณ์ สัมภาระด้วย อย่างเช่น ค่ารับเหมาก่อสร้าง ค่ารับเหมาทำสินค้าที่นอกเหนือจากที่ทำอยู่แล้วปกติ หรือทำตามแบบที่ลูกค้าต้องการเป็นพิเศษ

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของเงินได้ หรือหักตามค่าใช้จ่ายจริง ซึ่งต้องมีหลักฐานแนบ

**ทั้งนี้หากเป็นการรับเหมาทำงานเพียงอย่างเดียวโดยไม่รวมค่าของ อุปกรณ์ หรือสัมภาระ จะไม่นับเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 คือ เงินได้อื่นๆ ที่ไม่เข้าข่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1-7 ซึ่งก็คือเงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง เช่น กำไรจากการขายกองทุนรวม RMF, LTF การขายอสังหาริมทรัพย์ เงินได้จากการเป็นนักแสดงสาธารณะ เงินได้จากการเปิดร้านอาหาร เงินจากการทำงานในอุตสาหกรรมบางอย่างเช่น ฟอกหนัง ย่อยหิน การทำน้ำตาล เป็นต้น

**เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ 40%-60% ของเงินได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง อ่านเพิ่มเติม http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html

นอกจากเงินได้พึงประเมินทั้ง 8 ประเภทนี้ ยังมีเงินได้อีกหลากหลายประเภท ที่ได้รับการยกเว้นภาษี เช็กได้ที่นี่เลย www.rd.go.th

หมายเหตุ การหักค่าใช้จ่าย แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  • การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา : หักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ โดยไม่สนใจว่าคุณจะมีรายได้ หรือค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
  • การหักค่าใช้จ่ายตามจริง : หักค่าใช้จ่าย โดยคิดจากรายจ่ายจริงที่เสียไปกับการประกอบอาชีพ

ได้ความรู้ในส่วนของเงินได้พึงประเมิน 8 ประเภทกันไปแล้ว ยังไงฤดูเสียภาษีปีนี้ก็อย่าลืมไปเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายกันนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

อัพเดทล่าสุด! วิธีคํานวณภาษี พร้อมรายการลดหย่อนภาษี แบบโพสเดียวจบ!

รายการลดหย่อนภาษี กลุ่มที่1 : ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

รายการลดหย่อนภาษี กลุ่มที่2 : ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกัน

รายการลดหย่อนภาษี กลุ่มที่3 : ค่าลดหย่อนภาษีการลงทุน

รายการลดหย่อนภาษี กลุ่มที่4 : ลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

รายการลดหย่อนภาษี กลุ่มที่5 : ลดหย่อนภาษีจากการบริจาค

ที่มา: greedisgoods.com/ itax.in.th/ thaipublica.org/

เงินได้พึงประเมินประเภทใดที่ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 คือ ดอกเบี้ย เช่น ดอกเบี้ยจากพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล เงินส่วนแบ่งผลกำไร ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เงินโบนัสที่ได้จากการเป็นผู้ถือหุ้น ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น เป็นต้น **เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้

เงินได้พึงประเมินประเภทใด

ประเภทของเงินได้พึงประเมิน.
เงินเดือน (เงินได้ประเภทที่ 1).
ค่าจ้างทั่วไป (เงินได้ประเภทที่ 2).
ค่าลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา (เงินได้ประเภทที่ 3).
ดอกเบี้ย เงินปันผล และ Cryptocurrency (เงินได้ประเภทที่ 4).
ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5).
ค่าวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6).

เงินได้พึงประเมินมีความหมายว่าอย่างไร

ความหมายของเงินได้พึงประเมิน คือ 2.1 เงินที่ได้รับจริงตามเกณฑ์เงินสด 2.2 ทรัพย์สินซึ่งอาจคํานวณได้เป็นเงิน 2.3 ประโยชน์ซึ่งอาจคํานวณได้เป็นเงิน 2.4 เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ 2.5 เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกําหนด 3. แหล่งเงินได้ และที่อยู่ของผู้มีเงินได้

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 หักค่าใช้จ่ายอย่างไร

เงินได้ประเภทที่ 4 คือ เงินได้พึงประเมิน ในรูปของ ดอกเบี้ย และเงินปันผล รวมถึงรายได้ลักษณะเดียวกัน ที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(4) ทั้งนี้ เงินได้ประเภทที่ 4 ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เลย