ขอเงินคืน ประกันสังคม อายุ 55

อายุเท่าไหร่ ถึงขอเงินสมทบชราภาพคืนได้

กองทุนประกันสังคม ถือเป็นหลักประกันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเหล่าลูกจ้าง หรือพนักงานบริษัทที่มีรายได้ประจำ โดยทุก ๆ เดือนนายจ้างและพนักงานได้จ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เพื่อรับสิทธิประโยชน์ตามที่สำนักงานประกันสังคมระบุไว้ ทั้งเข้ารับการรักษาอาการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุจากโรงพยาบาลที่เราได้เลือกไว้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังสามารถเบิกค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อาทิ เบิกค่าทันตกรรม ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร เงินชราภาพ เงินชดเชยกรณีว่างงาน กรณีทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตได้อีกด้วย 

หลายคนอาจสงสัยว่า เมื่ออายุมากขึ้นจนใกล้ถึงวัยเกษียณอายุ เราได้สิทธิประโยชน์อะไรจากกองทุนประกันสังคมบ้าง หลังส่งเงินประกันสังคมมาตลอดหลายปี โดยเฉพาะเงินสมทบชราภาพหากอายุยังไม่ถึง 55 ปี สามารถยื่นเรื่องขอได้หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ และสาระน่ารู้มาฝาก

เงินชราภาพประกันสังคม คือ

เป็นหลักประกันชีวิตส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกันตนอุ่นใจว่าเมื่อถึงวันต้องออกจากงาน ยังมีเงินออมก้อนหนึ่งไว้ให้ใช้จ่ายยามเกษียณได้อย่างสุขสบาย โดยเงินชราภาพประกันสังคมถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เงินบำเหน็จ และเงินบำนาญ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ทำการจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนแต่ละคน มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ดังนี้ 

การเกิดสิทธิในกรณีบำนาญชราภาพ (จ่ายเงินทุกเดือน)

  • เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือผู้ประกันตน มาตรา 39 
  • ต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน โดยไม่จำเป็นว่าระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบใน 180 เดือนจะต่อเนื่องหรือไม่ก็ได้ (กรณีย้ายงาน มีช่วงเวลาที่ไม่ได้จ่ายเงินประกันสังคมแต่รวมกันต้องถึง 180 เดือน)
  • เป็นผู้ที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ 
  • ความเป็นผู้ประกันตนมีความสิ้นสุดลง 

ผลประโยชน์ที่จะได้รับกรณีบำนาญชราภาพ 

-ในกรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมมาแล้ว 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินชราภาพเป็นรายเดือน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยใช้ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และจะได้รับเงินในจำนวนนั้น 

-ในกรณีที่มีการจ่ายเงินสบทบกองทุนประกันสังคมเกิน 180 เดือน มีการปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพ จากร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย เพิ่มขึ้นมาอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาในการจ่ายเงินประกันสังคมทุก 12 เดือน (นับส่วนที่เกินจาก 180 เดือน)

การเกิดสิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ (จ่ายก้อนเดียวจบ)

  • เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือผู้ประกันตน มาตรา 39 
  • เป็นผู้ที่มีการจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน 
  • มีความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 
  • เป็นผู้ที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย 

ผลประโยชน์ที่จะได้รับในกรณีบำเหน็จชราภาพ 

-กรณีที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับวงเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 

-กรณีที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคม 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม พร้อมรับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด 

-กรณีผู้รับเงินบำเหน็จชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน โดยนับตั้งแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินชราภาพ ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน

หลักฐานที่ใช้ในการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

แบบคำรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01) สามารถดาวน์โหลดได้ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม

กรณีบำนาญชราภาพ สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้

  • ธนาคารกรุงไทย 
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 
  • ธนาคารกรุงเทพ 
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ 
  • ธนาคารกสิกรไทย 
  • ธนาคารทหารไทย 
  • ธนาคารธนชาต 
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย 
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรห์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ต้องเตรียมเอกสารดังนี้ 

  • สำเนามรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ
  • สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร
  • สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดา-มารดา (ถ้ามี)
  • หนังสือระบบให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)

มองหาเงินสดฉุกเฉินไม่ต้องรออายุ 55 กับบัตรกดเงินสด…กรอกข้อมูลที่นี่

อายุไม่ถึง 55 ปี ขอเงินสมทบชราภาพ คืนก่อนได้ไหม ?

มีเงินไว้ใช้ในยามเกษียณอายุ

สำหรับหลายคนที่มีข้อสงสัยว่าหากอายุไม่ถึง 55 ปี สามารถขอเงินสมทบชราภาพ คืนก่อนได้ไหม? คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะผู้ที่สามารถรับเงินชราภาพจากประกันสังคมได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ นอกจากนี้ยังต้องเป็นอยู่ในฐานะผู้ประกันตนสิ้นสุดลงด้วย กล่าวคือลาออกจากงาน หรือออกจากประกันสังคมนั้นเอง แต่ถ้ายังมีการจ่ายเงินสบทบอยู่แม้อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ยังไม่มีสิทธิได้รับเงินชราภาพ จนกว่าคุณจะทำตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนดไว้คือสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนนั่นเอง 

ส่วนคำถามคาใจอย่างผลประโยชน์ทดแทนเงินชราภาพประกันสังคม อาทิ เงินสมทบชราภาพ เบิกได้ไหม, เงินชราภาพประกันสังคม กี่วันได้, เช็คเงินชราภาพประกันสังคม เราก็ได้รวบรวมข้อมูลมาตอบคุณแบบครบจบในที่เดียว 

1.เงินสมทบชราภาพเบิกได้ไหม? 

คำตอบคือได้ หลังจากมีการอนุมัติสั่งจ่าย เงินจะถูกจ่ายเป็นเงินสด เช็ค ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน หรือ โอนเข้าบัญชี ตามที่ผู้ประกันตนแจ้งมาในใบยื่นคำขอผลประโยชน์ทดแทน 

2.เงินชราภาพประกันสังคม กี่วันได้? 

การพิจารณาและการสั่งจ่ายเงินกรณีชราภาพ ต้องดูองค์ประกอบต่าง ๆ ควบคู่กันไปด้วย ทำให้ใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่เท่ากัน เพราะบางคนลาออกจากงานนานแล้วค่อยมายื่นเรื่อง ก็อาจใช้เวลาดำเนินการที่รวดเร็วคือ 7-14 วันทำการ หรือคนที่พึ่งลาออกจากงานและมายื่นเรื่องเลยทันที อาจต้องรอระยะเวลาที่นายจ้างแจ้งลาออกให้แก่ประกันสังคมก่อน ทางประกันสังคมจึงสามารถดำเนินการต่อได้ และเมื่อผ่านการพิจารณาแล้วสำหรับผู้ได้รับเงินบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินทุกวันที่ 25 ของเดือน 

3.วิธีเช็คเงินชราภาพประกันสังคม

เช็คเงินชราภาพประกันสังคม คุณสามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน SSO Connect โดยมีขั้นตอนดังนี้ 

หน้าข้อมูลเช็คยอดเงินสมทบชราภาพ SSO Connect

เมื่อเข้าแอปพลิเคชัน SSO Connect ระบบจะขึ้นรายละเอียดทั้งหมด อาทิ 

  • ชื่อ-นามสกุล ของผู้ประกันตน 
  • โรงพยาบาลที่เลือกใช้ประกันสังคม 
  • ยอดเงินสมทบชราภาพ 
  • สิทธิทันตกรรม 
  • หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ 

โดยคุณสามารถเช็คยอดเงินจากด้านหน้าได้เลย หรือถ้าอยากดูรายละเอียดยอดเงินให้กดเข้าไปที่คำว่า “ยอดเงินสมทบชราภาพ” จากนั้นแอปพลิเคชันจะขึ้นรายละเอียดทั้งหมด

การเช็คสิทธิรับผลประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

สำหรับใครที่อยากวางแผนการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉินก่อนถึงวัยเกษียณอายุ แต่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่สามารถรับเงินชราภาพประกันสังคมได้ ก็สามารถเลือกสมัครบัตรกดเงินสดเพื่อเป็นการสำรองวงเงินเผื่อการใช้จ่ายฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยสามารถใช้งานได้ง่ายด้วยการกดเงินผ่านตู้ ATM และอัตราดอกเบี้ยราคาประหยัดให้คุณเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินก่อนอายุถึง 55 ปีเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทดแทนชราภาพประกันสังค

อ้างอิง สำนักงานประกันสังคม

สมัครบัตรกดเงินสด...วงเงินฉุกเฉินไม่ต้องรออายุถึง 55 ก็สมัครได้
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา