แนวทาง การ ที่ ใช้ แก้ ปัญหา เกี่ยว กับ การ ประมง ของ ประเทศไทย

ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ปัญหาประมงไทย ผิดกฎหมาย IUU เตรียมชงข้อเสนอ ผลกระทบผ่านเวทีผู้ตรวจการแผ่นดินโลก

สารบัญ

  • การประชุม เร่งแก้ไขปัญหาประมงไทย ภายใต้กฎหมายประมง
  • ประเด็นปัญหาหลัก
  • กฎข้อบังคับที่เกี่ยวเนื่องมาจากระเบียบ IUU แล้วส่งผลกระทบ
  • การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลให้กลับมาอุดมสมบูรณ์
  • สรุป

การประชุม เร่งแก้ไขปัญหาประมงไทย ภายใต้กฎหมายประมง

เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธานในการประชุมเพื่อหาแนวทาง เร่งแก้ปัญหาประมงไทย ผิดกฎหมาย โดย พล.อ.วิทวัส กล่าวว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับทราบปัญหาเกี่ยวกับการทำประมงอย่างต่อเนื่อง จนได้หยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาศึกษาถึงปัญหา และผลกระทบของการทำประมงภายใต้กฎหมายประมงในภาพรวมของประเทศ ซึ่งหลายประเด็นสืบเนื่องจากการออกกฎหมายหรือข้อบังคับกับระเบียบ IUU (Illegal, Unreported and Unregulated fishing) ที่กดดันประเทศไทยในช่วงปี 2558 แต่อาจไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์อย่างแท้จริง

รวมทั้งได้ลงพื้นที่แสวงหาข้อเท็จจริงในโซนประมงภาคใต้ ทั้งจังหวัดสงขลาและปัตตานีมาแล้ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประมงในจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งประมงสำคัญและมีชื่อเสียงของประเทศไทยนั้นซบเซาลงมาก จากข้อมูลของสมาคมการประมงจังหวัดปัตตานีพบว่า เดิมในปี 2558 มีเรือกว่า 1,100 ลำ เข้าออกในน่านน้ำปัตตานี แต่ในระหว่างเดือน ตุลาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 เหลือเพียง 437 ลำ มีผู้ประกอบการได้รับความเสียหายต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่อาชีพบนเรือจนถึงอาชีพบนฝั่ง เช่น พ่อค้าแม่ค้าตลาดปลา โรงน้ำแข็ง ห้องเย็น อู่ซ่อมเรือ และโรงกลึง

แนวทาง การ ที่ ใช้ แก้ ปัญหา เกี่ยว กับ การ ประมง ของ ประเทศไทย

ประเด็นปัญหาหลัก

1.ปัญหาจำกัดวันทำการประมง 

โดยกรมประมง กำหนดวันทำประมงไว้เฉลี่ย 240 วันต่อปี ในขณะที่ชาวประมงต้องรับภาระจ่ายค่าแรงคนงานเป็นรายเดือน นับเป็นจำนวน 365 วัน ซึ่งขณะนี้ กรมประมงอยู่ระหว่างแก้ไขประกาศที่จะกำหนดวันทำการประมงเพิ่มขึ้น อีกทั้งลูกจ้างส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว ซึ่งไม่สะดวกในการเดินทางและไม่สะดวกในการทำธุรกรรม จึงต้องการรับเงินค่าจ้างแรงงานเป็นเงินสดมากกว่าผ่านบัญชีธนาคาร 

2.ปัญหาแรงงานประมงขาดแคลน 

การจ้างแรงงานต่างด้าว มีขั้นตอนกระบวนการและระยะเวลาในการทำบัตรแรงงานค่อนข้างนาน ประมาณ 100 วันทำการ และมีค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่างๆ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ค่อนข้างสูงกว่า 19,000 บาท รวมถึงค่าใช้จ่ายในการทำพาสปอร์ต 5,000-10,000 บาท อันเป็นภาระและค่าใช้จ่ายของนายจ้าง สมาคมการประมงจังหวัดปัตตานีจึงขอให้มีการเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวตลอดปี ซึ่งกรมประมงอยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณาแก้ไขและที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อผ่อนคลายแนวทางการปฏิบัติแล้ว

3.ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม 

ชาวประมงที่กระทำความผิด ทั้งเจตนา และไม่เจตนา หรือแม้แต่การลงเอกสารผิดพลาด ความผิดเล็กน้อย ควรพิจารณาบทลงโทษตามความเหมาะสม เพื่อเป็นการผ่อนคลายและยังทำให้ชาวประมงยังคงประกอบอาชีพต่อไปได้ 

4.ประเด็นการขุดลอกร่องน้ำ 

ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังของจังหวัดปัตตานี โดยการขุดร่องน้ำจะก่อให้เกิดการเพิ่มปริมาณตะกอนและสารแขวนลอยในน้ำ เพิ่มความขุ่นของน้ำ และเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นท้องน้ำ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้น จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมประเด็นหลัก ได้แก่ ผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ ระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตในน้ำ การประมง การท่องเที่ยว เป็นต้น

5.ปัญหาการซื้อเรือออกนอกระบบ

เพื่อให้ชาวประมงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการทางกฎหมายของรัฐในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ได้แจ้งความประสงค์เพื่อนำเรือประมงออกนอกระบบ

6.ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเล

เนื่องจากทรัพยากรทางทะเลมีความเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วจนเห็นได้ชัด ซึ่งหากปล่อยไว้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมได้

ซึ่งการประชุมในวันนี้ มีการหารือ เร่งแก้ปัญหาประมงไทย เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่อาจสร้างภาระแก่ประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงในประเทศไทย ให้สามารถสอดรับกับวิถีปฏิบัติจริง รวมถึงสามารถบริหารจัดการภาคอุตสาหกรรมประมงไทย ได้อย่างยั่งยืน

แนวทาง การ ที่ ใช้ แก้ ปัญหา เกี่ยว กับ การ ประมง ของ ประเทศไทย

กฎข้อบังคับที่เกี่ยวเนื่องมาจากระเบียบ IUU แล้วส่งผลกระทบ

สำหรับกฎข้อบังคับบางประการที่อาจเกี่ยวเนื่องมาจากระเบียบ IUU แล้วส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพประมงไทย รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ในอาเซียนที่มักจะมีรูปแบบการทำประมงคล้ายคลึงกัน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม เนื่องด้วยมีวิถีวัฒนธรรมใกล้เคียงกันและสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน ผู้ตรวจการแผ่นดินไทยจะนำข้อเท็จจริงและข้อเสนอแนะจากกรณีนี้ เข้าหารือระหว่างองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินระหว่างประเทศเสนอแนะการแก้ไขปัญหา IUU ไปยังคณะกรรมาธิการประมง ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ เป็นการสะท้อนถึงการรักษาและอนุรักษ์ไว้ซึ่งวิถีชีวิต ผลประโยชน์ และสิทธิเสรีภาพของประชาชนในภูมิภาคนี้

แนวทาง การ ที่ ใช้ แก้ ปัญหา เกี่ยว กับ การ ประมง ของ ประเทศไทย

การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลให้กลับมาอุดมสมบูรณ์

พล.อ.วิทวัส กล่าวด้วยว่า อีกสิ่งที่สำคัญคือ การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ยั่งยืน ทั้งภาคประชาสังคมและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องบูรณาการร่วมกัน ดังนี้ส่งเสริมองค์ความรู้และงบประมาณด้านประมงท้องถิ่น ในการสร้างศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจประจำถิ่น ส่งเสริมชุมชนชาวประมงในการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำให้เหมาะสมกับถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำแต่ละชนิด ถือหลักการที่ว่าจับมาและต้องปล่อยไป เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำให้มีโอกาสเติบโตและขยายพันธุ์ต่อไป ทำให้ธรรมชาติและการประมงไทยอยู่คู่เคียงกันอย่างสมดุลยั่งยืน

สรุป

ในการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาประมงไทยผิดกฎหมาย IUU ผู้ตรวจการแผ่นดินจะนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการทำประมงต่างๆ ดังกล่าว และข้อเสนอแนะจากการประชุม เข้าหารือระหว่างองค์กร เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ของไทย

ทั้งนี้ การดำเนินกิจการตามกฎหมายและปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ถือเป็นความรับผิดชอบต่อหน้าที่ประมงที่ดี โดยอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับเรือประมงหรือเรือบรรทุกสินค้า ที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสส์ขึ้นไปนั้น จะต้องดำเนินการติดตั้ง ระบบติดตามเรือ VMS และดูแลรักษาระบบดังกล่าวให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา เพื่อประโยชน์ในการติดตามเรือ การเฝ้าระวัง ช่วยลดต้นทุน และเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ