แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

สวัสดีครับ ขอนำบทความจาก สยามเซฟตี้ มาเผยแพร่ต่อให้เกิดประโยชน์มายิ่งขึ้น

พนักงานตั้งแต่ 50 แต่ไม่ถึง 100 มีคปอ.ไม่น้อยกว่า 5 คนพนักงานตั้งแต่ 100 แต่ไม่ถึง500 มีคปอ. ไม่น้อยกว่า 7 คนพนักงานตั้งแต่ 500 ขึ้นไปมีคปอ.ไม่น้อยกว่า 11 คนหรือจะจัดให้มี คปอ.มากกว่าที่กฎหมายกำหนดก็ได้ ตาม กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2549

 
แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

ขอความรู้เรื่องการจัดตั้ง คปอ. หน่อยค่ะ

จะทำการจัดตั้งคปอ. แต่ไม่รู้จะเริ่มอะไรก่อนบริษัทมีพนักงาน 250 คนค่ะ เริ่มจากอะไรดีค่ะรบกวนพี่ๆด้วยนะค่ะขอบคุณล่วงหน้าค่ะโดยคุณ: จป.ออย email: [ 17 July 2010 12:20:05 ]

ข้อความที่ 1เริ่มจากภาคทฤษฎีก่อน นั่นคือไปดูกฎหมายว่า คปอ.ได้มาจากไหนบ้าง ต้องมีจำนวนเท่าไหร่ แล้วมีวิธีการในการสรรหาทำอย่างไร จากนั้นภาคปฏิบัติ เราทำได้ตามวิธีการหรือรายละเอียดของกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่ได้แล้วเราจะทำอย่างไร มีปัญหาอะไรก็มาถามอีกทีของผมถ้าใช้กฎหมายแล้วไม่ได้ก็ใช้กฎหมู่แทนครับ บอกเป็นแนวทางนะครับ ลองคิดวิธีการเองดูก่อนโดยคุณ: นักข่าว email: [ 17 July 2010 13:02:16 ]

ข้อความที่ 2เอาแค่คร่าว ๆ เป็นแนวทางนะครับพนักงาน 250 จำนวน คปอ.ก้อ 7 คนก่อนอื่นคุณ ออย ต้องเขียนโครงการให้เจ้านายรับทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งคปอ.ในองค์กรก่อนว่ามีข้อดีอย่างไร(แนะนำอ้างข้อบังคับของกฎหมาย นะ) ส่วน Detail ย่อย ๆ อื่น คุณออย ต้องไปดู"ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเรื่อง คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน"....หลังจากนั้นคัดเลือกพนักงานตามข้อกำหนดมา 6 คน ส่วนจป.เองทำหน้าที่ เลขาฯ คปอ.โดยตำแหน่งอยู่แล้ว และต้องรู้ตัวเองด้วยว่า เลขา ทำงานยังไง ห้ามขาดตกบกพร่องโดยเด็ดขาด..จำไว้ แล้วดำเนินการจัดส่งบุคลากรทั้ง 7 คนเข้าอบรมกับสถาบันฝึกในหลักสูตร คปอ. จนได้ใบ Cer มา..แล้วทำหนังสือแต่งตั้งทั้ง 7 ซึ่งลงนามโดย MD นำเอกสารนี้ปิดป้ายประกาศให้องค์กรทราบอย่างน้อย 15 วัน ส่วนวิธีการดำเนินงานของ คปอ. เค้าจะบอกตอนฝึกอบรมว่าต้องทำงานกันอย่างไรบ้าง.....เอกสารแต่งตั้งและใบ CER ต้องนำส่งแรงงานตอนทำรายงาน จป.ว. ด้วยอย่าลืมโดยคุณ: ก่อสร้างขนานแท้ email: [ 17 July 2010 16:14:40 ]

Show

1. พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง

2. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ

3. ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการ

4. พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง

5. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง

6. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง

7. วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ

8. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง

9. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง

10. ประเมิณผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

11.ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

คปอ. คือ กลุ่มบุคคลสำคัญเป็นผู้พลักดันการขับเคลื่อนนโยบายด้านความปลอดภัยในการทำงานใน กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับการเลือกตั้งแต่งตั้งโดยมีตัวแทนของแต่ละฝ่ายทั้งตามสัดส่วนลูกจ้าง และ ฝ่ายนายแจ้งครบ นี่จึงเป็นเหตุผลและที่มาของความสำคัญที่วันนี้เราจะพามารู้จักกับให้มาก คปอ. มากยิ่งขั้น ซึ่งหากสถานประกอบกิจการใดมี คปอ. เราจะเห็นกิจกรรมส่งเสริมด้านความปลอดภัยที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับผู้ที่อยู่ในสถานประกอบกิจการทุกคน

นิยาม และ ความหมายของ คปอ.“คณะกรรมการความปลอดภัย” หมายความว่า คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

ซึ่งสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวน ซึ่งคณะกรรมการความปลอดภัย เป็นคณะบุคคล ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับทุกคนที่เข้ามาในสถานประกอบกิจการ

แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

คปอ. กี่คน มีสัดส่วนอย่างไรถึงจะถูกตามที่กฎหมายกำหนด

จำนวนคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้น ซึ่งกฎหมายได้กำหนดจำนวน คปอ. ขั้นต่ำเอาไว้ ซึ่งหากต้องการมีจำนวน คปอ. มากกว่าที่กฎหมายกำหนดก็สามารถทำได้ เพียงแต่ว่า ต้องเพิ่มสัดส่วนของผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา และผู้แทนลูกจ้าง ในสัดส่วนที่เท่ากัน ดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงจำนวนขั้นต่ำของ คปอ. ในสถานประกอบกิจการ

แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

ต้องมีจำนวนคณะกรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาและกรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนลูกจ้างในสัดส่วนที่เท่ากัน และกรรมการความปลอดภัยต้องได้รับการฝึกอบรม คปอภายใน 60 วัน ที่ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับเลือก และมีวาระคราวละ 2 ปี

ซึ่งจำนวน คปอ. ดังกล่าว เป็นจำนวนขั้นต่ำที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่ได้หมายความว่าพอดีหรือเพียงพอ เราสามารถปรับเพิ่มจำนวนให้เพียงพอต่อสถานประกอบกิจการของเราได้ตามความเหมาะสม

แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

คปอ. มีหน้าที่อะไรบ้าง

หน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ ตามกฎหมาย กำหนดไว้ 12 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
  2. จัดทำแนวทางการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างหรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
  3. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้างเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมาและบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  5. พิจารณาคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
  6. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงานและรายงานผลการสำรวจดังกล่าว รวมทั้งสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น ในการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทุกครั้ง
  7. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้างและบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
  8. จัดวางระบบให้ลูกจ้างทุกคนทุกระดับมีหน้าที่ต้องรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่อนายจ้าง
  9. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอต่อนายจ้าง
  10. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีรวมทั้งระบุปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปีเสนอต่อนายจ้าง
  11. ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  12. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน

 นอกจากหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว คปอ.ยังมีหน้าที่ประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีคณะกรรมการกึ่งหนึ่งร้องขอ หรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานเกิดขึ้น เพื่อร่วมกันพิจารณามาตรการการแก้ไขและป้องกันการเกิดอุบัตเหตุเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก  

หน้าที่อื่นๆ ของ คปอ.ในด้านความปลอดภัย ยกตัวอย่าง เช่น

  • สอดส่องดูแล ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน เนื่องจาก คปอ. มีผู้แทนลูกจ้าง ซึ่งทำงานอยู่หน้างาน จะเห็นสภาพการทำงานตามความเป็นจริง
  • แจ้งจุดที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เพื่อป้องกันก่อนเกิดเหตุ
  • ตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงาน หากพบสิ่งที่ผิดปกติ ให้แจ้งต่อผู้รับผิดชอบ เพื่อดำเนินการแก้ไข
  • สังเกตุพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น

สรุป:

คปอ. เป็นคณะบุคคลที่ทำหน้าที่ดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยในการทำงานเพราะมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการเพื่อให้ทุกคนในบริษัทมีสภาพความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยปราศจากอันตราย  ซึ่งหากไม่มี คปอ.ในสถานประกอบกิจการแล้ว การดำเนินการด้านความปลอดภัยก็จะหยุดชะงัก และไม่มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น

เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ :
* ทุกเนื้อหา และ ภาพประกอบของ Jorportoday ไม่มีการสงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด สามารถนำไปเผยแพร่ได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เชิงพาณิชย์

** กรณีมีการคัดลอกบทความของเราไปส่วนใดส่วนหนึ่ง โปรดติดลิงค์กลับมาที่หน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา