ภาคใดของประเทศไทย

2. ภูมิประเทศและการแบ่งภาคทางอุตุนิยมวิทยาประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ลักษณะภูมิประเทศ และลมฟ้าอากาศส่วนใหญ่คล้ายคลึงกันมีแตกต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย การแบ่งภาคของประเทศไทยในทางอุตุนิยมวิทยา จึงพิจารณารูปแบบภูมิอากาศและแบ่งประเทศไทยออกได้เป็น 5 ภาค ดังนี้

      1. ลักษณะทั่วไปเกี่ยวกับประเทศไทย

                    

ภาคใดของประเทศไทย

ภาพภูมิประเทศของทำเลที่ตั้งของไทย

     ประเทศไทยตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบไปด้วยแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย กับส่วนที่เป็นหมู่เกาะ เช่น หมู่เกาะอินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ บางส่วนของมาเลเซีย สิงคโปร์ และติมอร์ตะวันออก

ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองติจูดที่ 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออกถึง 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก

     ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 321 ล้านไร่ ถ้าเทียบขนาดกับประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันแล้วจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของภูมิภาค รองจากอินโดนิเซียและพม่า

ความยาวสุดของประเทศ วัดจากเหนือสุดที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายถึงอำเภอเบตง จึงหวัดยะลา ประมาณ 1,620 กิโลเมตร

     ความกว้างที่สุดวัดจากด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี ถึงอำเภอสิรินธร จังกวัดอุบลราชธานี ประมาณ 780 กิโลเมตร

     ส่วนที่แคบที่สุดของประเทศไทยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วัดจากพรมแดนพม่าถึงฝั่งทะเลด้านตะวันออก (อ่าวไทย)มีระยะทางประมาณ 10.6 กิโลเมตร

1) พรมแดนด้านเหนือ ติดต่อกับประเทศพม่า ได้แก่ ดินแดนเหนือสุดในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายไปทางตะวันตกจนถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามแนวทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัย และแม่น้ำเมย เป็นพรมแดนธรรมชาติ ส่วนด้านตะวันออกของภาคเหนือติดต่อกับประเทศลาว ในเขตอำเภอเชียงแสนจังกวัดเชียงราย เข้าสู่จังหวัดพะเยา น่าน อุตรดิตถ์ มีทิวเขาหลวงพระบาง เป็นพรมแดนธรรมชาติ

2) พรมแดนด้านตะวันออก ติดต่อกับประเทศลาวกัมพูชา พรมแดนที่ติดกับประเทศลาวเริ่มจากจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ พรมแดนที่ติดกับประเทศกัมพูชา ได้แก่ พื้นที่บางส่วนขิงภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ (อีสานตอนล่าง) จากอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ แล้วไปภาคตะวันออกที่จังหวัดสระแก้ว จันทรบุรี และตราด โดยมีทิวเขาพนมดงรัก และทิวเขาบรรทัดเป็นพรมแดนธรรมชาติ

3) พรมแดนด้านตะวันตก ติดต่อกับประเทศพม่า เริ่มที่จังหวัดตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง มีทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรี แม่น้ำเมย แม่น้ำกระบุรี เป็นพรมแดนธรรมชาติ

4) พรมแดนด้านใต้ ติดกับประเทศมาเลเซียมีพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี และแม่น้ำโก-ลก เป็นพรมแดนธรรมชาติ

               2. ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย

     2.1 ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้ 6 ลักษณะ คือ

          1) ที่ราบภาคกลาง ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำกลอง ฯลฯ เป็นเขตที่ราบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เหมาะแก่การเพาะปลูก ทั้งนี้เพราะดินเป็นดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามาทับถม ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์

          2) ที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ พื้นที่บริเวณที่ราบสูง ตั้งแต่ทิวเขาเพชรบูรณ์ ทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาพนมดงรัก ถึงแม่น้ำโขง และที่ราบต่ำของกัมพูชาในทิศใต้

          3) เขตภูเขาและที่ราบระหว่างเขาภาคเหนือ เป็นที่ราบแคบ ๆ สลับกับภูเขาในภาคเหนือ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ลุ่มแม่น้ำวัง ลุ่มแม่น้ำยม ลุ่มแม่น้ำน่าน เป็นต้น

          4) เขตภูเขาสูงภาคตะวันตก มีลักษณะเป็นทิวเขายาวต่อเนื่องเรียงซื้อกันในแนวเหนือใต้ ทิวเขาสำคัญ ได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาตะนาวศรี โดยมีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำแควใหญ่(ศีสวัสดิ์) แม่น้ำแควน้อย (ไทรโยค) และแม่น้ำแม่กลอง

          5) เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งภาคตะวันออก มีทิวเขาจันทรบุรี วางตัวในแนวตะวันออกและตะวันตก ทำให้ภาคภาคตะวันออกตอนบนมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง และตอนล่างเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล

          6) เขตภูเขา และที่ราบชายฝั่งคว บสมุทรภาคใต้ ลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสุมทรยาวไปทางใต้มี ทะเลขนาบทั้งสองด้าน คือ ด้านอ่าวไทย(ตะวันออก)และทะเลอันดามัน(ตะวันตก)

                2.2 โครงสร้างและอายุหินในประเทศไทย

     กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม ได้สำรวจและศึกษาถึงอายุของหินประเภทต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทย พบหมู่หินต่าง ๆ ดังนี้

1) หมู่หินตะรูเตา เป็นหินทราย มีอายุประมาณ 700 ล้านปี มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

2) หมู่หินทุ่งสง เป็นหินปูน สีเทาเข้ม พบที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

3) หมู่หินตะนาวศรี เป็นหินดินดาน และหินทราย พบที่จังหวัดกาญจนบุรี

4) หมู่หินราชบุรี เป็นหินปูนสีเทาอ่อน มีชั้นหนา สลับกับหินชนิดอื่น ๆ 

5) หมู่หินลำปาง เป็นหินทราย หินปูน หินดินดาน และหินภูเขาไฟแทรกอยู่ พบที่จังหวัดลำปาง และบุรีรัมย์ (หินภูเขาไฟ)

6) หมู่หินโคราช เป็นหินทราย หินกรวด และหินดินดาน บางแห่งมีชั้นหินเกลือแทรกอยู่

7) หมู่หินกระบี่ เป็นหินยุคใหม่ กึ่งแข็งกึ่งร่วน พบในจังหวัดกระบี่ และลำปาง เช่น หินไนต์ หินน้ำมัน

ลักษณะของหินในประเทศไทยมี 3 ประเภท คือ

1. หินอัคนี เป็นหินที่เกิดจากหินหนืดใต้เปลือกโลก ได้แก่ หินบะซอลด์ หินแกรนิต ฯลฯ ซึ่งจะพบในเขตภูเขาภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2. หินตะกอน หรือหินชั้น เกิดจากการทับถมของตะกอน เศษดิน หินทราย และหินที่เกิดจากการสะสมตัวของซากดึกดำบรรพ์ต่าง ๆ มีการวางตัวเป็นชั้น ๆ ได้แก่ หินกรวดมน หินทราย หินปูน หินที่มีอายุมากจะอยู่ชั้นล่าง

3. หินแปร เกิดจากการแปรสภาพของหินชั้นหรือหินอัคนีต่าง ๆ เช่น หินไนต์ ประสภาพมาจากหินแกรนิต หินอ่อน แปรสภาพมาจากหินปูน และหินชนวน แปรสภาพมาจากหินดินดาน เป็นต้น

                     3. ลักษณะภูมิอากาศประเทศไทย

    ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย

     3.1 ที่ตั้งหรือละติจูด ประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร โดยอยู่ที่ละติจูดที่ 5 37 เหนือ ถึง 20 27 เหนือ ทำให้ได้รับแสงตรงจากดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปี จึงมีอุณหภูมิเฉลี่ยถึง 33-38 องศาเซลเซียส

     3.2 ความสูงต่ำของพื้นที่ บริเวณที่มีพื้นที่สูงความกดอากาศก็จะสูง (อุณหภูมิต่ำ) ส่วนพื้นที่ที่มีความต่ำ (ที่ราบ) ความกดอากาศก็จะต่ำ (อุณหภูมิสูง) ทุก ๆ ความสูง 180 เมตร อุณหภูมิจะลดลง 1 องศาเซลเซียส

     3.3 ระยะทางห่างจากทะเล และมหาสมุทร ภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศไทย จะได้รับอิทธิพลจากทะเล และ มหาสมุทร มากกว่าภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ได้รับความชุ่มชื้นและปริมาณน้ำฝนสูง

     3.4 การกีดขวางตัวของภูเขา การที่ประเทศไทยมีทิวเขาตะนาวศรี และทิวเขาถนนธงชัยทำให้ภาคตะวันตกและภาคกลางตอนบนได้รับประมาณน้ำฝนน้อยลง เช่นเดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวทิวเขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น และสันกำแพง ขวางทิศทางลม ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่อับฝน

     3.5 ทิศทางลมประจำ ลมประจำที่พัดผ่านประเทศไทย ได้แก่ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดจากมกาสมุทรอินเดีย เข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งทำให้บริเวณที่พัดผ่านมีความชุ่มชื้นและมีปริมาณน้ำฝนมาก ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดมาจากประเทศจีนในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยบริเวณที่พัดผ่านจะมีความหนาวเย็นและแห้งแล้งยกเว้นภาคใต้ด้านตะวันออก เนื่องจากลมได้พัดผ่านอ่าวไทย จึงนำเอาความชุ่มชื้นจากทะเลเข้าสู่ด้านตะวันออกของภาคใต้

     3.6 พายุ ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น ซึ่งพัดมาจากทะเลจีนใต้ ทำให้บางช่วงเกิดฝนตกหนักในบางพื้นที่ในประเทศ

     ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 37 เหนือ ถึง 20 27 เหนือ จึงจัดอยู่ในประเทศโซนร้อน แต่เนื่องจากความแตกต่างด้านภูมิประเทศ และความกว้างของพื้นที่ ทำให้ประเทศไทยมีภูมิอากาศถึง 3 ลักษณะดังนี้

          1) ลักษณะภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (สะวันนา) ฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศจะแห้งแล้ง มีฤดูฝนสั้น ๆ พืชพรรณธรรมชาติจะเป็นทุ่งหญ้า บริเวณที่มีลักษณะภูมิอากาศประเภทนี้ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และตอนบนของภาคตะวันออก นับเป็นเขตภูมิอากาศที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ

          2) ลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน เป็นภูมิอากาศที่มีฝนตกชุดเกือบตลอดทั้งปี แต่มีฤดูแล้งสั้น ๆ คั่นสลับภูมิอากาศประเภทนี้ อยู่บริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออก และบริเวณภาคใต้ของประเทศ

          3) ลักษณะภูมิอากาศแบบป่าชื้นเขตร้อน เป็นภูมิอากาศที่มีฝนตกชุกตลอดปี ได้แก่ บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้ง 2 ด้าน

     ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิต ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ และการพักผ่อนหย่อนใจ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมี 4 ชนิด คือ

1. ทรัพยากรดิน คือ วัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เป็นชั้นบาง ๆ ซึ่งประกอบด้วยอนินทรีย์วัตถุ 45 % อากาศ 25 % และอินทรียวัตถุ 5 % 

ประเภทของดินในประเทศไทยสามารถจำแนกได้ ดังนี้

     1) ดินที่ราบน้ำท่วมถึง เป็นดินตะกอน อัลลูเวียน ซึ่งเป็นดินเหนียว อายุน้อย มีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะแก่การทำไร่

     2) ดินลานตระพักลำน้ำ (ที่ดอน) จะพบบริเวณขอบขอภาคกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง เหมาะแก่การทำไร่

     3) ดินที่เกิดจากหินประเภทต่าง ๆ เช่นดินที่เกิดจากหินปูนในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี และดินที่เกิดจากหินบะซอลต์ ในจังหวัดจันทรบุรี และตราด จะมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกข้าวโพด และผลไม้ ทั้งนี้เพราะดินมีความเป็นด่าง ส่วนดินที่เกิดจากหินทราย และหินแกรนิตจะมีความอุดมสมบูรณ์น้อยกว่า

     4) ดินภูเขา เป็นดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีอินทรียวัตถุมาก เป็นดินที่มีป่าไม้ปกคลุมตามธรรมชาติ แต่ถ้าหากนำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะลดความอุดมสมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็วมากเพราะมีการชะล้างและการพังทลายสูง เมื่อไม่มีพืชปกคลุมดิน

     5) ดินที่ราบลุ่มต่ำ (พรุ) เป็นดินที่มีน้ำท่วมขัง และมีซากของพืชที่ทับถมกันเป็นชั้นหนา เป็นดินที่มีอินทรียวัตถุปะปนในอัตราสูงมาก ตากปกติเป็นดินที่นำมาใช้ประโยชน์ได้น้อย เนื่องจากมีน้ำท่วมขัง และดินเป็นกรด ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก เช่น ดินบริเวณที่ลุ่มพรุชายฝั่งจังหวัดนราธิวาสและลุ่มของบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น

     6) ดินชายฝั่งทะเล ซึ่งมีเนินทรายหรือหาดทราย ดินจิมีความเป็นทรายจัด ดินชนิดนี้จะมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก ใช้เพาะปลูกเกือบไม่ได้ เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดสงขลา เป็นต้น

2. ทรัพยากรน้ำ ประเทศไทยมีทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์พอสมควร ปริมาณน้ำฝนอยู่ในระดับปานกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และซีกตะวันตกของภาคตะวันออก มีฝนตกทั้งปี ประมาณ 1,000-1,600 มิลลิเมตรต่อปี

ภาคกลางมีแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ซึ่งมีปริมาณน้ำมากตลอดทั้งปี เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง เป็นต้น ทำให้ภาคกลางมีน้ำอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่น ๆ ของประเทศ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงจะมีแม่น้ำสายใหญ่ คือ แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล แต่ปริมาณการไหลของแม่น้ำทั้งสองน้อยกว่าแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบกับแม่น้ำส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายเล็ก ๆ จึงทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำมนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีน้อย

สำหรับแหล่งน้ำใต้ดิน ภาคกลางเป็นภาคที่มีน้ำใต้ดินอุดมสมบูรณ์ที่สุด สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือแม้จะมีน้ำใต้ดินเก็บกักไว้ได้มากในชั้นของหินทรายใต้ดิน แต่เนื่องจากมีปัญหาแร่เกลือแทรกอยู่ในชั้นหิน ทำให้แหล่งน้ำบาดาลมีรสเค็ม ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากเท่าที่ควร

3. ทรัพยากรแร่ธาตุ ประเทศไทยมีทรัพยากรแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลาง มีแร่บางชนิดที่ขุดนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศ ตลอดจนสามารถส่งเป็นสินค้าออกได้

บริเวณทิวเขาในภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันตก ซึ่งมีหินแกรนิต แทรกตัวในชั้นหินจะมีแร่ดีบุกจำนวนมาก และยังมีแร่โลหะ และอโลหะบางชนิดที่มีกำเนิดจาหินอัคนี เช่น พลวง ทังสเตน สังกะสี ตะกั่ว ฟลูออไรต์ และรัตนชาติ ซึ่งจะพบอยู่ตามที่ต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงกับภูเขาหินแกรนิต หรือหินบะซอลด์ แร่เหล่านี้มีการขุดนำมาใช้ประโยชน์เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ไม่ค่อยมีหินอัคนีปรากฏอยู่

ส่วนแร่ธาตุที่กำเนิดอยู่ในชั้นหินมีบางชนิดสามารถขุดนำมาใช้ประโยชน์ได้พอสมควร เช่น ถ่านลิกไนต์ ซึ่งขุดได้ในภาคเหนือ และภาคใต้ ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันปิโตเลียมซึ่งขุดได้จากภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน (อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร) และในอ่าวไทย ส่วนเกลือหินและโพแทซ มีอยู่มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการวางแนวท่อก๊าซจากอ่าวไทยขึ้นบกที่จังหวัดระยอง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี

4. ทรัพยากรป่าไม้ ประเทศไทยมีฝนตกมากเพียงพอที่จะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทยจึงมีความอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะตามบริเวณภูเขาในปัจจุบันป่าไม้ในประเทศไทยได้ค่อย ๆ ร่อยหรอลง มีการบุกรุกทำลายป่าไม้ มีการลักลอบตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย หรือเพื่อเข้าไปทำการเพาะปลูกในที่ดินนั้น ๆ

การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทย

การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ประเทศไทย

     การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ มีความมุ่งหมายเพื่อให้สามารถกำหนดขอบเขตของพื้นที่ขนาดต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเฉพาะของตนเอง มีความแตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ สามารถเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่นั้น ๆ ได้ชัดเจน และสะดวกขึ้น

     ประเทศไทยมีการแบ่งภาคภูมิศาสตร์เมื่อ พ.ศ.2520 โดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติได้พิจารณาตกลงให้มีการแบ่งภาคภูมิศาสตร์ของประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค โดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังนี้

     1. การเรียกชื่อภาคให้ใช้ทิศเป็นสำคัญ เช่น ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันตก

     2. การกำหนดขอบเขตอาณาบริเวณของแต่ละภาค พิจารณาองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศท้องถิ่น เชื้อชาติ และวัฒนธรรมของท้องถิ่น รวมทั้งการประกอบอาชีพ

     3. ขอบเขตของแต่ละภาค ใช้แนวการแบ่งเขตจังหวัดเป็นสำคัญ

     ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทิวเขา และที่ราบหุบเขา สลับกันเป็นแนวยาวขนานกัน ทิวเขาจะทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาผีปันน้ำ และทิวเขาหลวงพระบาง ซึ่งมีความสูงมากกว่าภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ดอยอินทนนท์ สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในประเทศไทย อยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และอันดับสอง คือ ดอยหลวงเชียงดาว สูงจากระดับน้ำทะเล 2,185 เมตร อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เช่นกัน

     ทิวเขาในภาคเหนือเกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก โดยเกิดขึ้นหลายครั้งด้วยกันทำให้หินเปลือกโลกที่พบในภาคเหนือมีอายุแตกต่างกัน ตั้งแต่มหายุคพีแคมเบรียน ซึ่งเก่าที่สุด จนถึงมหายุคซีโนโซอิก ซึ่งเป็นมหายุคที่ใหม่ที่สุด

     ทิวเขาในภาคเหนือจะมีหินอัคนีจำพวกหินแกรนิต และหินแปรจำพวกหินไนต์ และหินซีสต์อันเป็นหินที่แข็งแกร่งทนทานต่อการสึกกร่อน มักจะเป็นภูเขาที่คงรูปร่างสูง ตั้งเด่นกว่าพื้นที่รอบ ๆ ยอดเขาเป็รรูปมน ๆ ตัวอย่างภูเขาหินแกรนิตในภาคเหนือ ได้แก่ ดอยอินทนนท์ และดอยสุเทพ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนทิวเขาหินปูนมักจะมียอดเขาหยักแหลมและขรุขระไม่มนเหมือนภูเขาหินแกรนิต ภายในภูเขามักมีถ้ำซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาของหินปูนกับน้ำฝน และมีหินงอกหินย้อยในถ้ำ ถ้ำบางแห่งอาจเกิดการยุบตัวลงเพราะทานน้ำหนักของหลังคาถ้ำไม่ไหว กลายเป็นแอ่งบนพื้นดินเรียกว่า แอ่งยุบ ซึ่งตนในภาคเหนือเรียกว่า อ่างสลุง

     ภาคเหนือมีพื้นที่เป็นภูเขามากกว่าที่ราบประมาณ 4 : 1 (ภูเขาประมาณร้อยละ 78 ของพื้นที่ทั้งหมด) ซึ่งมีผลต่อการตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพของประชากร ดังจะเห็นได้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสายต่าง ๆ และมีอาชีพเพาะปลูกเป็นอาชีพสำคัญ

     1) ทิวเขาในภาคเหนือ วางตัวสลับซับซ้อน แบ่งออกได้ 4 ทิวเขาด้วยกัน คือ ทิวเขาแดนลาว อยู่ทางเหนือสุดของภาค ติดกับประเทศพม่า ทิวเขาถนนธงชัย อยู่ทางตะวันตกของภาค ทิวเขาผีปันน้ำ อยู่ทางตอนกลางของภาค และทิวเขาหลวงพระบาง อยู่ทางตะวันออกของภาคติดกับประเทศลาว

          1. ทิวเขาแดนลาว เป็นทิวเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาสูงทางตอนใต้ของจีน เป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่าในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ตอนปลายทิวเขาเชื่อมต่อกับทิวเขาถนนธงชัยมีความยาว 120 กิโลเมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ดอยผ้าห่มปก สูง 2,253 เมตร อยู่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

          2. ทิวเขาถนนธงชัย อยู่ทางตะวันตกของภาคเหนือ แบ่งออกเป็น 3 แนวเรียงซ้อนกันจากตะวันตกไปตะวันออก เรียกชื่อตามทิศที่ตั้ง คือ ทิวเขาถนนธงชัยตะวันตก ทิวเขาถนนธงชัยกลาง และทิวเขาถนนธงชัยตะวันออก มีความยาว 880 กิโลเมตร

          ก. ทิวเขาถนนธงชัยตะวันตก ตั้งต้นจากจุดที่บรรจบกับทิวเขาแดนลาวไปตามเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า อยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก

          ข. ทิวเขาถนนธงชัยกลาง ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำยม กับแม่น้ำแจ่ม อยู่ระหว่างทิวเขาแดนลาว และทิวเขาตะนาวศรี

          ค. ทิวเขาถนนธงชัยตะวันออก อยู่ระหว่างแม่น้ำแจ่ม และแม่น้ำตื๋นกับแม่น้ำปิง เป็นแนวยาวที่สุด มีดอยสูงและมีชื่ออยู่มาก ได้แก่ ดอยอินทนนท์ (สูง 2,565 เมตร) ดอยหลวงเชียงดาว (สูง 2,185 เมตร) ดอยสุเทพ (สูง 1,676 เมตร)

          3. ทิวเขาผีปันน้ำ เป็นสันปันน้ำที่แบ่งแยกน้ำไหลเป็น 2 ทาง ทางหนึ่งไหลไปลงระบบแม่น้ำเจ้าพระยา (คือ ปิง วัง ยม น่าน) อีกทางไหนไปลงระบบน้ำแม่น้ำโขง (แม่น้ำกก และแม่น้ำอิง) ทิวเขาผีปันน้ำประกอบด้วยทิวเขา 3 แนว คือ ผีปันน้ำตะวันตก ผีปันน้ำกลาง และผีปันน้ำตะวันออก รวมความยาว 412 กิโลเมตร

          ก. ผีปันน้ำตะวันตก ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงกับแม่น้ำวัง กั้นเขตแดนจังหวัดเชียงใหม่กับจังหวัดเชียงรายและลำปาง

          ข. ผีปันน้ำกลาง ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำวังกับแม่น้ำยม เป็นเขตแดนระหว่างจังหวัดลำปางกับจังหวัดพะเยาตอนล่าง เป็นเขตแดนระหว่างจังหวัดลำปางกับจังหวัดแพร่ และสุโขทัย

          ค. ผีปันน้ำตะวันออก ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำยมกับแม่น้ำน่าน เป็นเขตแดนระหว่างจังหวัดพะเยากับจังหวัดน่าน ยอดเขาสูงเด่นมีน้อย

          4. ทิวเขาหลวงพระบาง เป็นพรมแดนระหว่างไทยกับลาว ในเขตจังหวัดน่าน มีความยาว 590 กิโลเมตร เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำน่าน และแม่น้ำโขง

     2) แม่น้ำในภาคเหนือ แบ่งได้เป็น 3 ระบบ ดังนี้

          1. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน รวมทั้งแควต่าง ๆ รอบแม่น้ำเหล่านี้

          ก. แม่น้ำปิง ต้นกำเนิดจากภูเขาในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลงสู่ด้านใต้ผ่านเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ ก่อนจะถึงนครสวรรค์มีแม่น้ำวัง ไหลมาบรรจบที่ตำบลปากวัง อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก และไหลบรรจบกับแม่น้ำที่ตำบลปากน้ำโพ กับตำบลแควใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงมีความยาว 715 กิโลเมตร

          ข. แม่น้ำวัง มีต้นกำเนิดจากอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ไหลทางใต้ ผ่านจังหวัดลำปาง และจังหวัดตาก ไปบรรจบกับแม่น้ำปิงที่บ้านปากวัง อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก มีความยาว 400 กิโลเมตร

          ค. แม่น้ำยม ต้นกำเนิดจากภูเขาในอำเภอปง จังหวัดพะเยา ไหลผ่านจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มีความยาว 700 กิโลเมตร

          ง. แม่น้ำน่าน ต้นกำเนิดจากทิวเขาหลวงพระบางในเขตอำเภอทิว จังหวัดน่าน ไหลผ่านจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และนครสวรรค์ บรรจบกับแม่น้ำปิงที่ตำบลปากน้ำโพ และตำบลแควใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของระบบแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ยาว 740 กิโลเมตร มีแควเล็ก ๆ ที่ไหลลงแม่น้ำ คือ แม่น้ำว้า และแม่น้ำปาด

          2. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ได้แก่ แม่น้ำรวก แม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำอิง

          ก. แม่น้ำรวก เกิดจากดอยผาเลง ทางทิศใต้ของเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า และไหลเข้าเขตประเทศไทยที่แม่สาย ไหลมารวมในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จากนั้นไหลผ่านอำเภอแม่สายไปลงแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ตรงที่บรรจบเรียกว่า สบรวก แม่น้ำรวกเป็นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า มีความยาว 40 กิโลเมตร (ตั้งแต่จุดที่แม่น้ำสายไหลมาบรรจบกับแม่น้ำรวก) ตรงสบรวกเป็นจุดที่ดินแดน 3 ประเทศ คือ พม่า – ไทย – ลาว มาบรรจบกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สามเหลี่ยมทองคำ” เพราะมีการผลิตและค้าฝิ่นมากในบริเวณนี้

          ข. แม่น้ำสาย ต้นกำเนิดจากภูเขาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองทุมในประเทศพม่า แล้วไหลลงมาทางใต้ จนถึงสะพานข้ามแม่น้ำซึ่งเรียกว่า “ท่าขี้เหล็ก”(อยู่ตรงข้ามกับอำเภอแม่สาย) ประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า จนถึงจุดบรรจบกับแม่น้ำรวกความยาวของเส้นกั้นเขตแดนโดยอาศัยลำน้ำแม่สายมีประมาณ 15 กิโลเมตร

          ค. แม่น้ำกก ต้นกำเนิดจากเทือกเขาด้านทิศใต้ของเมืองเชียงตุง ประเทศพม่าไหลไปทางทิศใต้ผ่านเมืองกก เมืองสาด และไหลเข้าเขตประเทศไทยทางทิศตะวันตกของดอยสามเส้าในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นไหลเข้าเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ผ่านอำเภอแม่จันไหลลงแม่น้ำโขงในเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แม่น้ำกกมีแควอยู่ 2 สาย คือ แม่น้ำฝาง และแม่น้ำลาว โดยมีต้นกำเนิดจากด้านเหนือของทิวเขาผีปันน้ำ

          ง. แม่น้ำอิง ต้นกำเนิดจากภูเขาจังหวัดพะเยาไหลผ่านกว๊านพะเยาในเขตอำเภอพะเยา จากนั้นไหลสู่อำเภอพาน และไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

          3. กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ได้แก่ แม่น้ำปาย แม่น้ำยวม แม่น้ำเมย

          ก. แม่น้ำปาย ต้นกำเนิดจากทิวเขาถนนธงชัย และแดนลาว ในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนไหลออกนอกเขตประเทศที่ตำบลผาบ่อง อำเภอผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้วไหลรวมกับแม่น้ำสาละวินในประเทศพม่า

          ข. แม่น้ำยวม ต้นกำเนิดจากอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไหลลงทางทิศใต้ผ่านอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง ไปลงแม่น้ำเมยที่ตำบลคะตวน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

          ค. แม่น้ำเมย ต้นน้ำกำเนิดจากเขาโคกโพโชในประเทศพม่า แล้วไหลเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างประเทศไทยกับพม่า ในเขตอำเภอแม่สอด อำเภอท่าสว่าง จังหวัดตาก จากนั้นไหลลงแม่น้ำสาละวินที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

     ภูมิอากาศในภาคเหนือ เป็นแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน (ทุ่งหญ้าสะวันนา,Aw) ทั้งนี้เนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของภาคเหนืออยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ห่างจากทะเล และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่าภาคอื่น ๆ อากาศในภาคเหนือจึงค่อนข้างหนาวเย็นในฤดูหนาว และร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวมีมากกว่าภาคอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ทะเล

     1) ฤดูกาล มีอยู่ 3 ฤดู คือ

          ก. ฤดูฝน จะเริ่มปลายเดือนพฤษภาคม และสิ้นสุดปลายเดือนตุลาคม 

นอกจากนั้นยังมีฝนที่เกิดจากพายุดีเปรสชั่นจากทะเลจีนใต้พัดผ่านเวียดนามและลาวแล้วมาถึงภาคเหนือระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน

          ข. ฤดูหนาว จะเริ่มเดือนตุลาคมไปสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูหนาวของภาคเหนือจะมีอากาศหนาวเย็นกว่าภาคกลาง ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

          ค. ฤดูร้อน จะเริ่มกลางเดือนกุมภาพันธ์ ไปสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคมและจะเกิดฝนฟ้าคะนองเป็นครั้งคราว เนื่องจากเกิดการปะทะกันระหว่างลมตะวันออกหรือตะวันออกเฉียงใต้พัดจากทะเลจีนใต้ และลมฝ่ายเหนือที่พัดจากประเทศจีน

     2) อุณหภูมิ ภาคเหนือมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 24.6 ถึง 27.7 องศาเซลเซียส จังหวัดที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด คือ จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนจังหวัดที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด คือ จังหวัดเชียงราย

     3) ปริมาณน้ำฝน ภาคเหนือมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200 มิลลิเมตรต่อปี จังหวัดเชียงรายมีฝนตกเฉลี่ยประจำปีมากที่สุด คือ 1,801 มิลลิเมตร ส่วนน้อยสุด คือจังหวัดลำปาง 1,079 มิลลิเมตร

     1) ดิน ดินที่พบในภาคเหนือ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ ดินบริเวณที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ และที่เนิน ดินบริเวณที่ราบลุ่มและราบต่ำ ดินบริเวณที่ราบลอนลาด และภูเขาเตี้ย ๆ ดินบริเวณลาดเขาหรือที่สูง

     ก. ดินบริเวณที่ราบริมฝั่งแม่น้ำและที่เนิน เกิดจากการทับถมของตะกอนของลำน้ำพัดพามาทับถมกันยังไม่นานนัก พบตลอดริมฝั่งแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ และผลไม้ เช่น ลำไย มะปราง เป็นต้น บางแห่งเป็นดินเหนียวระบายน้ำเลว เหมาะแก่การทำนา

     ข. ดินบริเวณที่ราบลุ่มและที่ราบต่ำ พบบริเวณที่ราบเรียบ เกิดจากตะกอยที่น้ำพัดพามานาน เนื้อดินละเอียด ประเภทโคลนเลน และดินเหนียว มีคุณสมบัติเป็นกรดหรือเป็นด่างเล็กน้อย หากใส่ปุ๋ยสามารถปลูกพืชไร่บางชนิดได้ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย และสามารถปลูกพืชไร่จำพวกข้าวโพด ถั่วเหลือง ในฤดูแล้งได้

     2) น้ำ ภาคเหนือมีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในรูปของน้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน

     ก. น้ำบนผิวดิน ส่วนใหญ่เป็นน้ำในแม่น้ำลำคลอง หนอง และบึง ปริมาณน้ำบนผิวดินของภาคเหนือถูกจำกัดโดยปัจจัยดังนี้

          1. ปริมาณน้ำฝนทั้งปีไม่มากนัก

          2. แม่น้ำส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายเล็ก ๆ เพราะเป็นต้นน้ำ

     นอกจากแม่น้ำลำธารสายต่าง ๆ ในภาคเหนือยังมีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญ คือ กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ 92,500 ไร่ เขี่อนในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นเขื่อนขนาดเล็ก เขื่อนทีใหญ่ที่สุด คือ เขื่อนสิริกิติ์ ตั้งอยู่บนลำน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ สามารถกักเก็บน้ำได้ 10,500 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังมีเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

     ข. น้ำใต้ดิน น้ำใต้ดินในลักษณะของน้ำบ่อ และบ่อบาดาลในภาคเหนือ มีอยู่กระจายทั่วไป เช่น อำเภอแม่ริม สันทราย สันกำแพง และสารภีในจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองและป่าซาง จังหวัดลำพูน

     3) ทรัพยากรแร่ ภาคเหนือมีทรัพยากรแร่หลายชนิด เพราะมีโครงสร้างหินอัคนี และหินแปร และหินชั้นที่ให้กำเนิดแร่ต่าง ๆ โดยแร่ที่ผลิตได้มาก ได้แก่ แร่ดีบุก ทังสเตน พลวง แมงกานีส ฟลูออไรต์ แบไรต์ ดินขาว ถานหินลิกไนต์ และน้ำมัน 

     4) ทรัพยากรป่าไม้ ภาคเหนือเป็นภาคที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่น ๆ จากการสำรวจใน

พ.ศ. 2541 มีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เป็นอัตราส่วน 78.9 หรือ 73,886 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ผลัดใบประเภทป่าเบญจพรรณ และป่าแดง นอกจากนี้ยังมีป่าไม้ผลัดใบจำพวกป่าดิบเขาและป่าสนเขาซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในภาคเหนือ

     ภาคเหนือเป็นภาคที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่สวยงามของประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของภาคเหนือ มีดังนี้

     1. แหล่งท่องเที่ยวบนภูเขา ภูเขาสูงในภาคเหนือเป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นที่อยู่ของชาวไทยภูเขา ซึ่งมีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ และอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล เป็นต้น

     2. แหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำ ในภาคเหนือมีถ้ำขนาดใหญ่ซึ่งเกิดอยู่ในบริเวณภูเขาหินปูน ซึ่งได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ ถ้ำเชียงดาว และถ้ำตับเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ถ้ำผาไทย จังหวัดลำปาง ถ้ำผานาง และถ้ำอลงกรณ์ จังหวัดแพร่

     3. แหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตก ภาคเหนือมีน้ำตกขนาดใหญ่มากมาย และสวยงามโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่มีน้ำตกห้วยแก้ว น้ำตกแม่สา น้ำตกแม่กลาง น้ำตกแม่ยะ (ใหญ่และสวยงามที่สุดในภาคเหนือ อยู่ที่อำเภอจอมทอง) น้ำตกแม่ริม

     4. แหล่งท่องเที่ยวประเภทบ่อน้ำร้อน หรือน้ำพุร้อน ภาคเหนือมีบ่อน้ำร้อนและน้ำพุมากกว่าภาคใด ๆ เกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก ทำให้ความร้อนจากใต้พิภพแทรกตัวขึ้นมาในชั้นหิน ทำให้น้ำใต้ดินมีอุณหภูมิสูงมาก เกิดการอัดดันตัวขึ้นมาบนพื้นดิน บ่อน้ำร้อนที่มีชื่อเสียงในภาคเหนือ ได้แก่ บ่อน้ำร้อนฝาง บ่อน้ำร้อนแม่แจ่ม โป่งเดือดป่าแป๋ พุน้ำร้อนสันกำแพง น้ำพุร้อนบ้านเมืองงาม จังหวัดเชียงใหม่ พุน้ำร้อนโป่งปูเพือง และพุน้ำร้อนโป่งเจดีย์ จังหวัดเชียงราย

     5. แหล่งท่องเที่ยวประเภททิวทัศน์ แปลกตาพิเศษ มีลักษณะเสาดินสูง-ต่ำ ตั้งเรียงราย ทั้งนี้เกิดจากการกัดเซาะของแม่น้ำในอดีต ลักษณะภูมิประเทศแบบนี้มีอยู่ 2 แห่ง คือ 

“ฮ่อมจ๊อม” ในจังหวัดน่าน และ “แพะเมืองผี” จังหวัดแพร่

     6. แหล่งท่องเที่ยวประเภททะเลสาบ และอ่างเก็บน้ำ ได้แก่ กว๊านพะเยา ในจังหวัดพะเยา และอ่างเก็บน้ำดอยเต่า ในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งสองแห่งมีทิวทัศน์งดงามมาก

     5) ประชากรและการเพิ่มประชากร

          ก. จำนวนประชากร ภาคเหนือมีประชากรรวมทั้งสิ้น 6.28 ล้านคน (ตามทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. 2541 ) จังหวัดที่มีมากที่สุด คือ จังหวัดเชียงใหม่ 1.58 ล้านคน ส่วนน้อยที่สุด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 232,988 คน

          ข. ความหนาแน่น ความหนาแน่นเฉลี่ย 67 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร จัดได้ว่าไม่หนาแน่นมากนัก (ประเทศไทย ประชากรหนาแน่นเฉลี่ย 119 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร) ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ที่เป็นภูเขาโดยประชากรส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน

          ค. ชาวไทยภูเขา เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยถาวรในพื้นที่สูง และทุรกันดาร มีภาษา ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง ชาวไทยภูเขาที่มีมากที่สุด คือ กะเหรี่ยง ม้ง มูเซอ เย้า ลีซอ อีก้อ จังหวัดที่มีมากที่สุด คือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย

          ง. การประกอบอาชีพ อาชีพสำคัญของประชากรในภาคเหนือ คือ เกษตรกรรม มีการทำนา และทำไร่ เป็นหลัก

     6) ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือและแนวทางการแก้ไข

ปัญหาสิ่งแวดล้อมมี 4 ปัญหาสำคัญ คือ

1. ปัญหาดินชะล้างพังทลาย เกิดจากการตัดไม้ผิดกฎหมายของนายทุน และการทำไร่เลื่อนลอยของชาวไทยภูเขา เพื่อขยายเนื้อที่ในการเพาะปลูก ซึ่งมีวิธีแก้ไขดังนี้

     1.1 มีมาตรการควบคุมการาตัดไม้ทำลายป่าที่ผิดกฎหมายอย่างได้ผล

     1.2 ควบคุมการทำไร่เลื่อนลอยของชาวไทยภูเขา มิให้ขยายวงกว้างออกไป สนับสนุนการให้ความรู้ในการเพาะปลูก

     1.3 ปรับปรุงพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับพื้นที่

     1.4 ส่งเสริมให้เพาะปลูกควบคู่กับการอนุรักษ์ เช่น การปรับพื้นที่แบบขั้นบันได การปลูกพืชสลับแถว การปลูกต้นไม้ยืนต้น และการปลูกพืชคลุมดิน เป็นต้น

2. ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน ภาคเหนือมีปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินมากกว่าภาคอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะมีที่ราบจำกัด ในปัจจุบันได้พยายามแก้ปัญหาโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง

3. ปัญหาการสูญเสียป่าไม้ การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ในภาคเหนือ เกิดจากการทำไร่เลื่อนลอยของชาวไทยภูเขา และการลักลอบตัดไม้โดยผิดกฎหมายของนายทุน และชาวบ้าน เนื่องจากไม้ในภาคเหนือเป็นไม้ที่มีราคา โดยเฉพาะไม้สัก วิธีการแก้ปัญหาต้องใช้มาตรการที่สำคัญดังนี้

     3.1 ชักจูงให้ชาวไทยภูเขาลดการทำไร่เลื่อนลอยให้น้อยลง

     3.2 ลงโทษผู้กระทำผิดในการลักลอบตัดไม้โดยผิดกฎหมายอย่างจริงจัง

4. การแพร่กระจายของวัชพืช ปัญหาการแพร่กระจายของวัชพืชที่สำคัญของภาคเหนือ คือ การแพร่กระจายของต้นไมยราบยักษ์ โดยมีผู้นำเข้าจากต่างประเทศด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว โดยเมล็ดสามารถลอยไปตามลำน้ำสายต่าง ๆ โดยเฉพาะลุ่มแม่น้ำปิง

     7) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับประชากรในภาคเหนือ

          1. ภาคเหนือเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ปริมาณน้ำมากในฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งน้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตร

          2. ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบแคบ ๆสลับภูเขา ทำให้เมืองต่าง ๆ มักตั้งอยู่บริเวณที่ราบแคบ ๆ มีอาชีพค้าขายและบริการ ส่วนบนภูเขาเป็นที่อยู่ของชาวไทยภูเขา และเกษตรกรทั่วไปซึ่งมีอาชีพปลูกพืชสวนและพืชไร่

          3. ป่าไม้ เป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของภาคเหนือ มีการทำป่าไม้และอุตสาหกรรมจากไม้ และยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว และยังทำรายได้ให้กับท้องถิ่นโดยการผลิตสินค้าหัตถกรรม เพื่อเป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว

          4. ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาที่ลาดเอียง ทำให้เกิดการสึกร่อนและการพังทลายชองหน้าดิน เมื่อประชากรต้องการเพาะปลูกจะมีการทำลายป่าไม้ในลักษณะการทำไร่เลื่อนลอยและการปลูกพืชบนที่ลาดเอียงเป็นแนวจากที่สูงลงสู่เชิงเขาหรือการเปิดพื้นที่เหมืองทิ้งไว้ ทำให้เกิดปัญหาการพังทลายเร็วขึ้น

          5. ภาคเหนือมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ราบแคบ ๆ ประมาณร้อยละ 20 ของภาคเกษตรกรมีที่ทำกินเฉลี่ยครอบครัวละ 10 ไร่ ทำให้ประชากรอพยพออกไปอยู่ภาคกลางตอนบน

ภาคกลางมีจำนวนจังหวัดและประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดของประเทศไทย ภาคกลางได้สมญานามว่า “อู่ข้าวอู่น้ำของไทย” เพราะมีทรัพยากรดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ เป็นศูนย์กลางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศไทย มีบ่อน้ำมันที่กำแพงเพชร และมีเขื่อนขุนด่านปราการชลเป็นเขื่อนคอนกรีต ที่ยาวที่สุดในโลก ตลอดจนมีกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางความเจริญในทุก ๆ ด้าน

ที่ตั้งและขนาด ภาคกลางมีพื้น ที่ประมาณ 92,795 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 22 จังหวัด แบ่งออกเป็น

--ภาคกลางตอนบน มี 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี 

--ภาคกลางตอนล่าง มี 15 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ โดยมีอาณาเขตติตต่อกับพื้นที่ต่างๆดังนี้ 

-ทิศเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ จังหวัดสุโขทัย 

-ทิศตะวันออก ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดของภาค คือ จังหวัดเพชรบูรณ์ 

-ทิศตะวันตก ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาคคือ จังหวัดกำแพงเพชร 

-ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาค คือ จังหวัดสมุทรสงคราม 

2.ลักษณะภูมิประเทศภาคกลาง 

- เขตที่ราบภาคกลางตอนบน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (เนินเขาสลับกับที่ราบ)

- เขตที่ราบภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบกว้างที่เกิดจากการทับถมของตะกอน และเกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา 

- เขตที่ราบทางตะวันออกและตะวันตก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสลับกับลูกฟูก มีภูเขาที่ไม่สูงกระจายอยู่ทั่วไป 

http://www.pcd.go.th/info_serv/water_flood50_big01.html

แม่นำเจ้าพระยา เริ่มจากจังหวัดนครสวรรค์ไหลลงสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ และมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่เป็นสาขาคือ แม่น้ำมะขามเฒ่า(แม่น้ำลพบุรี) แม่น้ำน้อย(สุพรรณบุรี) และแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน)

แม่น้ำป่าสัก เริ่มจากจังหวัดเลย ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แม่น้ำสะแกกรัง เริ่มต้นจากนครสวรรค์และกำแพงเพชร ไหลมาบรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดอุทัยธานี

***ภาคกลางมีแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของภาค คือ บึงบอระเพ็ด อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์

คลองรังสิต เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก

คลองบางบัวทอง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครชัยศรี

คลองภาษีเจริญ เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับคลองบางกอกน้อย

คลองแสนแสบ , คลองพระโขนงและคลองสำโรง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงคลองดำเนินสะดวก เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง

3.ลักษณะภูมิอากาศของภาคกลาง

ภาคกลางมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) คือมีฝนตกปานกลาง และสลับกับฤดูแล้ง บริเวณภาคกลางตอนล่างจะมีอากาศชุ่มชื้นมากว่าเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลมากกว่าภาคกลางตอนบน 

ปัจจัยที่ควบคุมอุณหภูมิของภาคกลาง 

1. ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่นำความชุ่มชื้นมาสู่ภาคกลาง 

2. มีการวางตัวของแนวภูเขาตะนาวศรี และภูเขาถนนธงชัยในลักษณะเหนือ-ใต้ ทำให้ส่วนที่เป็นหลังเขามีฝนตกน้อย 

3. ความใกล้ไกลทะเลทำให้อุณหภูมิของอากาศแตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว 

-ภาคกลางมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27-28 องศาเซลเซียส ซึ่งอากาศค่อนข้างร้อน 

-ปริมาณน้ำฝนของภาคเฉลี่ยประมาณ 1,375 มิลลิเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอับฝน 

-ฝนตกมากสุดในเดือนกันยายน จังหวัดที่มีปริมาณฝนมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ และจังหวัดที่มีปริมาณฝนน้อยที่สุดคือ นครสวรรค์

ทรัพยากรธรรมชาติในภาคกลาง

ภาคกลางตอนบนเป็นดินตะกอนเก่าไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกเนื่องจากเกิดการจับตัวแข็งในช่วงฤดูแล้ง 

ดินที่เหมาะในการเพาะปลูกควรเป็นดินเหนียวท่าจีน ดินเหนียวลพบุรี ดินเหนียวองครักษ์ ดินร่วนกำแพงแสน และดินเหนียวดำกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่น้ำพัดพามารวมกันเป็นที่ราบขนาดใหญ่ของภาคกลาง 

ส่วนดินบริเวณที่ราบเนินภูเขาจะ เกิดจากการสลายตัวของหินปูนและหินอัคนี เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มะม่วง ขนุน เป็นต้น 

ประกอบแม่น้ำและลำคลองมากมากจึงเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และมีการสร้างเขื่อนต่าง ๆ เช่น เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี เขื่อนป่าสัก จังหวัดลพบุรี 

ภาคกลางมีพื้นที่ของป่าไม้น้อยมาก ส่วนใหญ่พบในภาคกลางตอนบนเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ

จังหวัดอุทัยธานีจะมีป่าไม้เหลืออยู่มากที่สุด ประมาณ 2,620 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง

ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ไม่มีพื้นที่ป่าไม่เหลืออยู่เลย

ภาคกลางมีแร่ธาตุไม่มากนัก เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ แร่ที่สำคัญคือ แร่โลหะ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว ทองคำ แร่อโลหะ ได้แก่ ยิปซัม หินอ่อน ดินมาร์ล หินปูน แร่เชื่อเพลิง พบ**น้ำมันดิบที่ลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร 

5ลักษณะทางวัฒธรรม : ประชากรในภาคกลาง

ภาคกลางเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านกสิกรรมและ เกษตรกรรม การแสดงจะเกิดขึ้นในลักษณะสนุกสนามหรือเป็นการร้องเกี้ยวพาราสีกันเช่น เพลงเกี่ยวข้าวหรือรำกลองยาวเป็นต้น

ภาคกลางมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

*กรุงเทพฯเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดและหนาแน่นมากที่สุด

*จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดอุทัยธานีจะมีความหนาแน่นของประชากรเบาบางที่สุด

6.กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคกลาง

6.1การเพาะปลูก ประชากรในภาคกลางมีการปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก เพราะอยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์และเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำส่วนการปลูกพืชไร่จะปลูกบริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม 

6.2การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เช่น สุกร เป็ด ไก่

6.3การประมง มีการทำประมงน้ำจืดมากที่สุด ส่วนประมงน้ำเค็มและน้ำกร่อยจะอยู่บริเวณจังหวัดที่อยู่ติดชายฝั่งทะเล

6.4 อุตสาหกรรม เป็นภาคที่มีการทำอุตสาหกรรมมากที่สุด เช่น อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ประกอบรถยนต์ โรงงานปูนซิเมนต์ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล 

6.5 การค้าและบริการ เป็นอาชีพที่มีมากที่สุด มีทั้งการค้าภายในและต่างประเทศ รวมทั้งการบริการด้านต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยว การธนาคาร การแพทย์ เป็นต้น

                                           ภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [North-East] หรือ ภาคอีสาน [Isan] เป็นเขตพื้นที่ราบสูงลักษณะกว้างใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทยทั้งหมด ในพื้นที่ของภาคอีสานนี้ มีสิ่งที่น่าสนใจและน่าศึกษามากมาย ไม่ว่าจะเป็น หินและแร่ที่มีอายุนับหลายร้อยปี รวมไปถึงวัตถุที่มนุษย์ในยุคหินประดิษฐ์ขึ้นมา อีกทั้งยังมีวัดและปราสาทสำคัญต่างๆ มากมายในยุคอาณาจักรขอมโบราณ ที่ถือเป็นมรดกอันล้ำค่า นอกจากนี้ ภาคอีสานมีอุทยานแห่งชาติที่เป็นที่รู้จักกันดี ติด 3 อันดับในประเทศไทย นั่นก็คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง และ อุทยานแห่งชาติภูเรือ ใน ปีที่ผ่านๆ มา ดินแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางท่องเที่ยวผจญภัยสำหรับนักท่องเที่ยวที่ ต้องการหาประสบการณ์แปลกใหม่ สำหรับการเดินทางมายังจังหวัดในภาคอีสาน สายการบินภายในประเทศได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเที่ยวบินไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสานมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ความสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน ในด้านสถานที่พัก มีโรงแรมหรูหรามากมายให้ได้เลือกใช้บริการ โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ๆ อาทิเช่น ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา และ อุบลราชธานี

1. ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็น  

ที่ราบสูง  รูปร่างคล้ายกระทะหงาย มีขอบทางด้านตะวันตกและด้านใต้ลาดลงทางด้านตะวันออก  เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาภูพาน บริเวณตอนกลางของภาคเป็นแอ่ง เรียกว่าแอ่งโคราช

1.1 เขตทิวเขาด้านทิศตะวันตก เป็นบริเวณที่มีภูเขายกตัวขึ้นแยกจากที่ราบภาคกลาง โดยธรณีสัณฐานหลักเป็นภูเขาหินทรายที่มียอดราบ เช่น ภูกระดึง พื้นที่บริเวณนี้ใช้ประโยชน์ด้านการปลูกพืชไร่จำพวกอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่ว และปลูกข้าวในบริเวณที่ลุ่ม อีกทั้งในฤดูหนาวภูมิทัศน์ของพื้นที่จะมีความสวยงาม อากาศเย็นและมีไม้ดอกมาก จึงเป็นจุดเด่นสำหรับการท่องเที่ยว

1.2 ทิวเขาด้านทิศใต้ เป็นแนวทิวเขาหินทรายที่มีด้านลาดอยู่ในประเทศไทยและมีด้านชันไปในกัมพูชา

ทางทิศใต้ ภูมิสัณฐานหลักเป็น “เขารูปอีโต้หรือเกวสตา”คล้ายกับ”เขาอีโต้” ที่จังหวัดปราจีนบุรี สภาพของเขา ที่ทอดแนวตลอดจะมีช่องแคบที่สามารถเดินทางระหว่างประเทศได้ดังนั้น พื้นที่บริเวณนี้ผู้คนของทั้งสองประเทศจะมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจำพวกอาหาร ของป่า และไม้ซุงซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยัง ปรากฏหินภูเขาไฟเกือบตลอดแนวจึงทำให้ 

บริเวณดังกล่าวมีสภาพดินที่เหมาะต่อกรปลูกพืชและผลไม้ต่างๆ เช่น ที่อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอขุนหาญ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีที่เริ่มมีการปลูกยางพารา เงาะ ทุเรียน ซึ่งได้ผลผลิตดีไม่ต่างจากจังหวัดในภาคตะวันออก

         1.3 แอ่งโคราช ประกอบด้วยที่ราบลุ่มน้ำชี-มูล บริเวณที่ราบลุ่มน้ำเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดของไทย และเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานที่มีประชากรเกิน 1 ล้านคนในเกือบทุกจังหวัด โดยสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม ในช่วงฤดูฝนที่มีพายุจึงเกิดน้ำท่วมขึ้นเสมอ แต่เมื่อสิ้นฤดูฝนไปสภาพการขาดแคลนน้ำจะปรากฏเป็นระยะเวลายาวนาน ทั้งนี้เนื่องจากสภาพพ้นที่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ และไม่มีพื้นที่สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ และบางพื้นที่เป็นดินเค็มมีคราบเกลือสินเธาว์ขึ้นมาตกผลึก

         1.4 แอ่งสกลนคร ประกอบด้วยที่ราบลุ่มน้ำสงคราม หนองหาน และลุ่มน้ำโขงอีสานสกลนคร โดยพื้นที่บริเวณหนองหานสกลนครเป็นแอ่งต่ำที่เกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดิน เนื่องจากโครงสร้างของเกลือและหินละลาย ด้านทิศใต้ของแอ่งสกลนครมีทิวเขาภูพานทอดแนวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณพื้นที่เนินและภูเขาที่กระจายอยู่ทั่วไปเป็นส่วนที่เหลืออยู่จากการกร่อน เช่น ภูผาเทิบ ที่อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นต้น

2.  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบ 20 จังหวัด ดังนี้ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู และบึงกาฬ มีเนื้อที่มากเป็น

แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

   1. แม่น้ำมูล มีความยาวประมาณ 641 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอีสานตอนล่าง ต้นน้ำอยู่ที่ทิวเขาสันกำแพง แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี 

   2. แม่น้ำชี มีความยาวประมาณ 765 กิโลเมตร ***เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย **มีต้นกำเนิดที่ทิวเขาเพชรบูรณ์ และไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี

ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

      ลักษณะภูมิอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือ  มีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกปานกลาง 

- ฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด ได้แก่จังหวัดเลย 

- ฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจากพายุดีเปรสชัน จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดคือ นครพนม และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ นครราชสีมา

- ฤดูร้อน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม อากาศจะร้อนและแห้งแล้งมาก เพราะอยู่ไกลจากทะเล จังหวัดที่ มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุดรธานี

ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

1. ทรัพยากรดิน ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายและขาดธาตุอาหาร ใต้ดินมีเกลือหินทำให้ดินเค็มและแห้ง 

ไม่เหมาะในการเพาะปลูกพืช และทำนา 

2. ทรัพยากรน้ำ เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงทำให้ขาดแคลนน้ำเป็นสำคัญ จึงต้องอาศัยการชลประทานเข้ามาช่วยมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำ

เขื่อนสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ 

- เขื่อนสิรินธร อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี 

- เขื่อนจุฬาภรณ์ อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ 

- เขื่อนอุบลรัตน์ อยู่ในจังหวัดขอนแก่น 

- เขื่อนลำปาว อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ 

- เขื่อนลำตะคอง อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา 

- เขื่อนลำพระเพลิง อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา

                           ภาคตะวันออกมีพื้นที่น้อยที่สุดของประเทศไทย แต่ได้ชื่อว่า “อีสเทิร์นซีบอร์ด” เพราะตั้งอยู่ชายฝั่งทะเล มีท่าเรือน้ำลึก สะดวกในการขนส่งสินค้า เป็นเขตแปรรูปสินค้าเกษตรแบบครบวงจร มีก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร จึงทำให้เศรษฐกิจของ ภาคตะวันออกเจริญมาก

ภาคตะวันออกมีเนื้อที่ประมาณ 34,380 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด

ที่ตั้งและขอบเขตภาคตะวันออก

ทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี 

ทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชา ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดคือ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด 

ทิศตะวันตก ติดต่อกับกรุงเทพฯ สมุทรปราการ อ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดคือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 

ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนใต้สุดคือ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

2.ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออก

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปจะเป็นทิวเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบชายฝั่งทะเล 

- เขตภูเขา ได้แก่ ทิวเขาจันทบุรี ตั้งอยู่ตอนกลางของภาค วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาสอยดาวใต้ และทิวเขาบรรทัด วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มียอดเขาสูงสุดคือ เขาตะแบงใหญ่ เป็นภูเขาที่กั้นพรมแดนไทยกับกัมพูชา 

- เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอยู่ทางตอนเหนือของภาค อยู่ระหว่างเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี 

- เขตที่ราบชายฝั่งทะเล ตั้งแต่เทือกเขาจันทบุรีไปจนถึงอ่าวไทยเป็นที่ราบชายฝั่งแคบ ๆ ที่มีภูมิประเทศสวยงาม และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน

ภาคตะวันออกมีพรมแดนติดต่อกับกัมพูชาที่จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด มีสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดที่จังหวัดจันทบุรี และตราดเป็นพรมแดนธรรมชาติ และมีพรมแดนเรขาคณิต คือ พรมแดนที่กำหนดขึ้นเป็นเส้นตรงลากเชื่อมจุดต่าง ๆ เรียกพื้นที่นี้ว่าฉนวนไทย 

คือ พรมแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีต่อกับที่ราบต่ำเขมร มักจะมีปัญหาเรื่องการล่วงล้ำดินแดนอยู่เสมอ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน

แม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออก

1. แม่น้ำบางปะกง หรือแม่น้ำปราจีนบุรี เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในภาคตะวันออก มีต้นกำเนิดอยู่ที่เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี และไหลลงทะเลที่อำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา 

2. แม่น้ำระยอง มีต้นกำเนิดที่จังหวัดชลบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดระยอง 

3. แม่น้ำเวฬุ มีต้นกำเนิดที่เทือกเขาจันทบุรี และไหลลงทะเลที่จังหวัดจันทบุร ี 

3.ทรัพยากรธรรมชาติของภาคตะวันออก 

3.1 ทรัพยากรดิน ดินส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเป็นดินปนทราย ระบายน้ำได้ดี ไม่อุดมสมบูรณ์ บริเวณที่มีน้ำทะเลท่วมถึงจะเป็นดินโคลนหรือดินเหนียว ส่วนดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินบะซอลต์ หินปูนในบริเวณที่สูงเหมาะแก่การปลูกพืชสวน เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด เป็นต้น ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมีดินอัลลูเวียนที่เหมาะใช้ทำนา 

ภาคตะวันออกมีฝนตกชุกยาวนานและมีแม่น้ำสายสั้น ๆ หลายสายค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ แต่ยังมีการขาดแคลนน้ำจืดในเขตอุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยว เช่น จังหวัดชลบุรี

3.3 ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกจะเป็นป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าชายเลน และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดคือ จังหวัดปราจีนบุรี ส่วนจังหวัดที่มีป่าไม้น้อยที่สุดคือ จังหวัดชลบุรี 

ภาคตะวันออกมีแร่หลายชนิด ได้แก่ 

- เหล็ก พบที่จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา 

- พลวง พบที่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี 

- แร่รัตนชาติ เช่น คอรันตัม(พลอยสีน้ำเงิน,ไพลิน) บุษราคัม พบมากที่จังหวัดจันทบุรี และตราด ,ทับทิม พบที่จังหวัดตราด 

- แร่เชื้อเพลิง พบที่บริเวณอ่าวไทย บริเวณมาบตาพุดจังหวัดระยอง 

4. ลักษณะทางวัฒนธรรม : ประชากรในภาคตะวันออก

ประชากรในภาคตะวันออกมีจำนวนประชากรน้อยรองจากภาคตะวันตก จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดคือ จังหวัดชลบุรี จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ ตราด และจังหวัดที่มีความหนาแน่นประชากรเบาบางที่สุดคือ จังหวัดสระแก้ว 

1. ปัญหาการอพยพของชาวกัมพูชา

2. ปัญหาการล่วงล้ำอธิปไตยและความปลอดภัยของประชากรตามแนวชายแดน

5.กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 

5.1 การเพาะปลูก ที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ จะทำนาส่วนใหญ่พืชผลที่สำคัญได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน เป็นต้น 

5.2 การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ได้แก่ ไก่ เป็ด 

5.3การประมง มีการทำประมงน้ำเค็มบริเวณชายฝั่งที่ติดทะเล เช่น ชลบุรี ระยอง ส่วนประมงน้ำจืดที่จังหวัดปราจีนบุรี 

5.4 การทำเหมืองแร่ แร่รัตนชาติที่จังหวัดจันทบุรี และตราด 

5.5 อุตสาหกรรม มีการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล จัดเป็นนิคมอุตสาหกรรม เช่น 

- **แหลมฉบัง เป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมหนัก 

-** สัตหีบ เป็นอุตสาหกรรมการต่อเรือ ขนถ่ายสินค้าทางเรือ

ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 

1. ปัญหาการพังทลายของดิน และดินเสื่อมคุณภาพ รวมถึงกรรมสิทธิในที่ดิน 

2. ปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม การขาดแคลนน้ำจืด และน้ำเค็มรุกเข้าสวนผลไม้ 

3. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้ในการเกษตร

ภาคตะวันตกมีจำนวนจังหวัดและประชากรน้อยที่สุดของประเทศไทย แต่เป็นแหล่งเกษตรกรรมแบบครบวงจรและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีศักยภาพมาก เพราะมีท่าเรือขนส่งพาณิชย์ที่อำเภอชะอำเชื่อมต่อกับท่าเรือสัตหีบ และมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสานทหารสัมพันธมิตร พระรามราชนิเวศน์ และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เป็นต้น

ภาคตะวันตกของประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 53,679 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 

ทิศเหนือ มีดินแดนเหนือสุดของภาคอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก 

ทิศตะวันออก มีดินแดนติดต่อกับสุพรรณบุรี อุทัยธานี กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม อ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคืออำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 

ทิศตะวันตก มีดินแดนติดกับประเทศพม่า มีเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนธรรมชาติ 

ทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาคอยู่ที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

2.ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันตก 

ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับกับหุบเขาที่ค่อนข้างชันและแคบกว่าหุบเขาของภาคเหนือ เนื่องจากการกัดเซาะของแม่น้ำลำธาร มีภูมิประเทศคล้ายภาคเหนือ แบ่งได้ดังนี้

- เทือกเขาถนนธงชัย เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างไทยกับพม่า จากจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึงตาก 

- เทือกเขาตะนาวศรี เป็นแนวแบ่งเขตไทยกับพม่า มีช่องทางติดต่อที่ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และด่านบ้องตี้ จังหวัดกาญจนบุรี 

- เทือกเขาหินปูน อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำหินงอกหินย้อย

2. 2 เขตที่ราบ อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบต่ำภาคกลางจนถึงอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำแม่กลอง ที่ราบแม่น้ำเพชรบุรี และที่ราบชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายสวยงาม เช่น หาดชะอำ หาดหังหินและอ่าวมะนาว 

แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันตก

- แม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อย ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม 

- แม่น้ำแควใหญ่ หรือแม่น้ำศรีสวัสดิ์ มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควน้อย 

- แม่น้ำแควน้อย หรือแม่น้ำไทรโยค มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควใหญ่ 

- แม่น้ำเมย เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทย-พม่า ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศพม่า ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ที่แม่ฮ่องสอน

- แม่น้ำเพชรบุรี เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านจังหวัดเพชรบุรี

- แม่น้ำปราณบุรี ต้นน้ำเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

3.ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันตก 

ภาคตะวันตกมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือมีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น เนื่องจากมีภูเขาสูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน และอุณหภูมิในฤดูร้อนจะร้อนจัด ถ้าฤดูหนาวจะหนาวจัด กลางวันอุณหภูมิสูงและกลางคืนอุณหภูมิจะต่ำมาก ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากเนื่องจากอยู่ในหุบเขา จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ จังหวัดตาก และจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิภาคตะวันตก 

1. ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกและอากาศหนาวเย็น 

2. การวางตัวของเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศของภาคตะวันตก คือ อากาศร้อนอบอ้าว และจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรีเป็นเขตที่อับลมฝน 

3. ได้รับอิทธิพลจากลมพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี 

4. ลมพายุดีเปรสชันจากอ่าวเบงกอล ที่พัดผ่านเข้าสู่ประเทศพม่าและภาคตะวันตกของไทย เมื่อปะทะกับแนวเทือกเขาแต่ไม่มีบ่อยครั้ง 

4.ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันตก 

ภาคตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาสูงและมีความลาดชัน ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะในการเพาะปลูก หรือมีสภาพเป็นดินทราย หรือดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด 

ภาคตะวันตกมีน้ำน้อย เพราะอยู่ในเขตอับฝน แม่น้ำเป็นสายสั้น ๆ และมีเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก , เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี , เขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี 

ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคเหนือ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ กาญจนบุรีและตาก

ภาคตะวันตกมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ฟลูออไรด์ ฟอสเฟต หินอ่อน แร่รัตนชาติมีพลอย ไพลินที่กาญจนบุรี หินน้ำมัน อยู่บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

5.ลักษณะทางวัฒนธรรม : ประชากรในภาคตะวันตก

ภาคตะวันตกเป็นภาคที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด และเบาบางที่สุด มีชนกลุ่มน้อยพวกมอญ กะเหรี่ยง พม่าอาศัยอยู่ทุกพื้นที่เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นมากที่สุดคือ ราชบุรี ส่วนจังหวัดที่มีประชากรต่ำที่สุดและมีความหนาแน่นเบาบางที่สุดคือ จังหวัดตาก 

1. ปัญหาเกี่ยวกับความยากจนของประชาชน 

2. ปัญหาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยขาดแคลนที่อยู่อาศัยและขาดพื้นที่การเพาะปลูก 

6.กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

6.1การเพาะปลูก การปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย สับปะรด มันสำปะหลัง ปลูกมากที่จังหวัดกาญจนบุรี 

6.2การเลี้ยงสัตว์ เป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นการค้าและอาหาร 

6.3การทำป่าไม้ เคยมีป่าไม้มาก ปัจจุบันทำการค้าโดยสั่งซื้อจากประเทศพม่า 

6.4การประมง มีการทำประมงน้ำเค็มและน้ำกร่อย 

6.5 การทำเหมืองแร่ ได้แก่ แร่ดีบุก วุลแฟรม ทังสเตน 

6.6อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง ผลิตน้ำตาล การปั้นโอ่งที่ราชบุรี และการท่องเที่ยว 

ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

1. ปัญหาการพังทลายของดิน และดินเสื่อมคุณภาพ 

2. ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และน้ำเน่าเสียในแม่น้ำแม่กลอง 

3. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำการค้า และธุรกิจ

ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทร เป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว และกาแฟ เป็นต้น และมีแร่ดีบุกมากที่สุดในประเทศไทย ภาคใต้มีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ตได้ชื่อว่า “ไข่มุกอันดามัน” อุทยานแห่งชาติตะรุเตาได้ชื่อว่า “มรดกเอเชีย” และมีสะพานที่ยาวที่สุดของประเทศไทย คือ สะพานติณสูลานนท์

1.ลักษณะทางกายภาพ ภาคใต้มีพื้นที่ประมาณ 70,715 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 14 จังหวัด แบ่งออกเป็น

- ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส 

- ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล 

ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของภาคคือ อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร 

ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดของภาคคือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 

ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดของภาคคือ อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

ทิศใต้ มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซียที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 

2.ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้ 

ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล ลักษณะภูมิประเทศแบ่งได้ 2 เขต คือ 

2.1 เขตเทือกเขา มีลักษณะการวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เช่น 

- เทือกเขาตะนาวศรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับพม่า 

- เทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทยกับมาเลเซีย 

- เทือกเขาภูเก็ต อยู่ทางตะวันตกของภาค 

- เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นแกนกลางของภาค 

2.2 เขตที่ราบ ที่ราบในภาคใต้มีลักษณะยาวขนานระหว่างภูเขาและชายฝั่งทะเลแคบ ๆ ซึ่งทางตะวันออกเป็นชายฝั่งแบบยกตัว ส่วนชายฝั่งตะวันตกเป็นแบบยุบตัว 

แม่น้ำของภาคใต้เป็นสายสั้น ๆ เนื่องจากมีพื้นที่น้อย และไหลลงสู่อ่าวไทย เช่น แม่น้ำชุมพร แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปี แม่น้ำสายบุรี ส่วนแม่น้ำโกลก เป็นพรมแดนธรรมชาติที่กั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ส่วนแม่น้ำปากจั่น กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่า และแม่น้ำตรังไหลลงสู่ทะเลอันดามัน 

ลักษณะของชายฝั่งทะเลภาคใต้ 

ภาคใต้มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 1,825 กิโลเมตร แบ่งเป็นชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกตั้งแต่ชุมพรถึงนราธิวาส ยาว 960 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกยาว 865 กิโลเมตร ซึ่งมีลักษณะดังนี้ 

- ชายฝั่งด้านตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) เป็นหาดทรายกว้าง เป็นฝั่งทะเลที่มีการยกตัวของพื้นที่ มีสันทรายจงอย มี ลากูน ที่เกิดจากสันดอนที่ปิดกั้นทะเลสาบสงขลาจากทะเลภายนอก มีอ่าวขนาดใหญ่ เช่น อ่าวบ้านดอน อ่าวชุมพร อ่าวสวี เป็นต้น

- ชายฝั่งด้านตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน) เป็นฝั่งทะเลจมตัว มีชายหาดเว้าแหว่งและเป็นหาดน้ำลึกมีป่าชายเลนขึ้นตามชายฝั่ง 

และมี ชวากทะเล คือ การยุบจมบริเวณปากแม่น้ำขนาดกว้าง อ่าวที่สำคัญของฝั่งทะเลตะวันตก ได้แก่ อ่าวระนอง อ่าวพังงา อ่าวกระบี่ อ่าวกันตัง เป็นต้น 

3.ลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้

ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม (Am) คือมีฝนตกชุกสลับกับฤดูแล้งสั้น ๆ ภาคใต้ไม่มีฤดูหนาว เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ฝนตกชุกตลอดทั้งปี จังหวัดที่มีฝนตกชุกที่สุดคือ ระนอง และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยคือ สุราษฎร์ธานี

ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิของภาคใต้ 

1. ลม เป็นปัจจัยสำคัญที่ควบคุมลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้มากที่สุด เนื่องจากภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทร ทำให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเต็มที่ 

เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ฝั่งทะเลด้านตะวันตกทำให้ปะทะกับเทือกเขาตะนาวศรี ทำให้มีฝนตกหนักโดยเฉพาะจังหวัดระนอง ส่วนด้านหลังเขาเป็นเขตอับฝนจะอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

สาเหตุของการเกิดฝนตกชุกในภาคใต้ 

1. เกิดจากร่องลมมรสุมที่เคลื่อนจากทางเหนือเข้าสู่เส้นศูนย์สูตร ทำให้ฝนตกชุก 

2. เกิดจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ นำฝนมาตกทางทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ 

3. เกิดจากพายุดีเปรสชันที่ก่อตัวอยู่ในทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วม 

4.ทรัพยากรธรรมชาติของภาคใต้

ภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มต่ำ (พรุ) มีน้ำท่วมขังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ส่วนที่ราบลุ่มแม่น้ำใช้ปลูกข้าว และสวนผลไม้ ส่วนดินบริเวณที่สูงเป็นดินเหนียวหรือดินลูกรัง เหมาะในการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน 

ภาคใต้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี แต่มีปัญหาในการขาดแคลนน้ำเนื่องจากมีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากการขุดเจาะบ่อบาดาลและได้จากเขื่อนต่าง ๆ ได้แก่ เขื่อนคลองหลา จังหวัดสงขลา เขื่อนปัตตานี จังหวัดปัตตานี เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่ในภาคใต้เป็นป่าดิบชื้นตามเทือกเขา และป่าชายเลน จังหวัดที่ป่าไม้มากสุดคือ สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นป่าแพะ ป่าโคก ขึ้นปะปนกับทุ่งหญ้าสะวันนา ไม้ที่สำคัญของภาคใต้ คือ ไม้เบญจพรรณและไม้จากป่าชายเลน

ภาคใต้มีแร่ธาตุหลายชนิด ดังนี้ 

- แร่ดีบุก พบมากที่สุดในภาคใต้และของประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นแร่ที่ทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด 

- แร่พลวง พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี , นครศรีธรรมราช 

- แร่ทังสเตน พบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 

- ทองคำ พบที่อำเภอโม๊ะโต๊ะ จังหวัดนราธิวาสและที่ชุมพร 

- แร่ฟลูออไรด์ , ยิปซัม , ดินขาว พบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

- ถ่านหิน พบที่กระบี่และสุราษฎร์ธานี 

- น้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ พบที่อ่าวไทย 

5.ลักษณะทางวัฒธรรม : ประชากรในภาคใต้ 

ประชากรส่วนใหญ่ของภาคใต้มีลักษณะทางวัฒนธรรมและสังคมเช่นเดียวกับประชากรส่วนใหญ่ของประ เทศไทย แต่บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีประชากรที่มีเชื้อชาติ ศาสนาและภาษาแตกต่างไปบ้าง 

5.1เชื้อชาติ ในดินแดนภาคใต้ของไทยนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทย ซึ่งจำแนกตามลักษณะเด่นได้ดังนี้

- ชาวไทยพุทธ คนไทยในภาคใต้ตอนบนเป็นคนไทยพุทธ ซึ่งมีขนบธรรมเนียมประเพณีทางพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ ประเพณีที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ประเพณีชิงเปรตและประเพณีชักพระ ของ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้น

ส่วนคนไทยเชื้อสายจีนมีประเพณีบางอย่างที่แตกต่างออกไป เช่น มีเทศกาลถือศีลกินเจ ที่ จ.ภูเก็ต เป็นต้น

- ชาวไทยมุสลิม ในประเทศไทยมีจำนวนประมาณแสนคน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดชาย แดนภาคใต้ ชาวไทยมุสลิมใช้ภาษาพื้นเมืองเรียกว่าภาษายาวี แต่สามารถพูดไทยได้ เพราะปัจจุบันมีโรงเรียนของเอกชน และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเปิดสอนวิชาสามัญและวิชาศาสนา ซึ่งแต่เดิมผู้ปกครองนักเรียนไทยมุสลิม ต้องส่งเด็ก ไปเรียนหาความรู้ทางศาสนากับโต๊ะครูในปอเนาะ ปัจจุบันชาวไทยมุสลิมได้ดำรงตำแหน่งทางราชการที่สำคัญหลายตำแหน่ง เช่น พัฒนากร นายอำเภอ ครูใหญ่ เป็นต้น โดยทั่วไปชาวไทยมุสลิมมีนิสัยรักสงบ เคารพผู้ปกครองบ้านเมือง รักประเทศ ชาติและมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เหมือนกับคนไทยทั่วไป

- ไทยใหม่หรือชาวเล บริเวณชายฝั่งและเกาะบางเกาะของภาคใต้ทางด้านทะเลอันดามันมีชาวพื้นเมืองที่เรียก ว่า ชาวเล หรือชาวน้ำ จำนวนเป็นหมื่นคน กลุ่มชาวเลมีสังคมภาษาพูดและขนบธรรมเนียมที่เป็นลักษณะของกลุ่มโดยเฉพาะ สันนิษฐานว่าชาวเลเหล่านี้เป็นเผ่าพันธุ์เมลาเซียนที่เร่ร่อนทางทะเลมาจากหมู่เกาะเมลาเซียน ซึ่งความจริงแล้วชาวเลน่าจะ อาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้เพราะอยู่ใกล้หมู่เกาะเมลาเซียนมากกว่า แต่ชาวเลกลับไปอาศัยอยู่มากทางชายฝั่ง ด้านตะวันตก ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของภาคใต้มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ จังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดคือ นครศรีธรรมราช จังหวัดที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดและมีความหนาแน่นเบาบางที่สุดคือ ระนอง ส่วนจังหวัดที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดคือ ภูเก็ต

การเลือกถิ่นฐานดังกล่าว ชุมชนชาวเลที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่เกาะหลีเป๊ะ ใน หมู่เกาะอาดัง หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ปัจจุบันชาวเลที่ตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวรมีหลายแห่ง จึงต้องมี การทำสำมะโนครัวและมีการตั้งนามสกุลให้ เช่น ทะเลลึก ช้างน้ำ หาญทะเล เป็นต้น และได้เปลี่ยนชื่อเรียกชาวเลเสียใหม่ ว่า ชาวไทยใหม่

- เงาะหรือชนเผ่าซาไก ชนเผ่านี้เป็นชนกลุ่มน้อย มีรูปร่างเตี้ยแคระ ผมหยิกหยอง ยังมีอยู่บ้างใน อ.บัน นังสตา อ.ธารโต จ.ยะลาและในป่า จ.ตรัง ยึดถือประเพณีของชาวป่า เช่น เมื่อมีคนตายจะย้ายที่ละทิ้งหมู่บ้านไปอยู่ที่ ใหม่ทั้งหมด เป็นต้น

5.2ศาสนา ประชากรในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนคนไทย โดยทั่วไป นอกจากนี้มีพิธีการปลีกย่อยบางอย่างที่แตกต่างกันบ้าง นอกจากไทยพุทธแล้ว บริเวณทางตอนใต้ของภาค โดยเฉพาะในเขตจังหวัดชายแดน ประชาชนในจังหวัดเหล่านี้เกือบร้อยละ ๖๐ นับถือศาสนาอิสลาม เมื่อมีประชากรนับ ถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมากรองไปจากพระพุทธศาสนา ทางราชการจึงออกกฎหมายรับรอง และได้วางระเบียบ ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามด้วย เช่น มีกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนมัสยิด และได้มีการตั้งคณะ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก เพื่อให้คำปรึกษาแก่ทางราชการเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของศาสนาอิสลาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางเป็นศาสนาปถัมภกของศาสนาอิสลามด้วย นอกจากนี้รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการประกอบพิธีการทางศาสนาของชาวไทย มุสลิมอย่างมาก จึงได้สร้างมัสยิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยให้แก่ชาวไทยมุสลิมตั้งอยู่ที่ จ.ปัตตานี 

5.3ภาษา ชาวไทยในภาคใต้ได้อพยพย้ายถิ่นมาตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เป็นเวลานาน รวมทั้งได้ ผสมกับชนพื้นเมือง จึงทำให้มีผิวพรรณต่างไปจากคนภาคอื่นบ้าง รวมทั้งภาษาพูด และมีทะเลที่ตั้งห่างไกลจากเมือง หลวง การคมนาคมไม่สะดวก แยกกันมาหลายร้อยปี ภาษาจึงเปลี่ยนแปลงไปจากภาษาเดิม ซึ่งความจริงเพี้ยนไปตาม ท้องถิ่นแต่ยังเป็นภาษาไทยอยู่ มีสำเนียง เสียงห้วน และพูดเร็วกว่าภาษาทางภาคเหนือ แต่จังหวัดที่มีประชากรพูดต่าง กันไปคนละภาษาเลยก็คือในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมนิยมใช้ภาษามลายู เมื่อพูดกัน นานเข้าก็ไม่สารมารถพูดและฟังภาษาไทยให้เข้าใจได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในชนบทห่างไกลและไม่ได้เข้าโรงเรียนสอนภาษา ไทย ในการติดต่อกับทางราชการจึงต้องใช้ล่ามแปล

6.กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ 

6.1 การเพาะปลูก พืชสำคัญที่ทำรายได้ให้กับประชากรในภาคใต้คือ การทำสวนยางพารา ปลูกมากที่จังหวัดสงขลา รองลงมาคือ ปาล์มน้ำมัน ปลูกมาที่จังหวัดกระบี่ มะพร้าวปลูกที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี กาแฟ ปลูกที่จังหวัดตรัง ส่วนผลไม้ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ปลูกได้แทบทุกจังหวัดของภาค