สหกรณ์รูปแบบใดที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่สมาชิก

 
สหกรณ์รูปแบบใดที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่สมาชิก

สหกรณ์รูปแบบใดที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่สมาชิก
สหกรณ์นิคม         

          สหกรณ์ภาคการเกษตรในรูปแบบหนึ่งที่มีการดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎร การจัดสร้างปัจจัยพื้นที่ฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่อยู่อาศัยควบคู่ไปกับการเกษตร การส่งเสริมอาชีพ รวมทั้งกิจกรรมให้บริการสาธารณูปโภคแก่สมาชิก ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า สหกรณ์นิคม มีงานหลัก 2 งาน คือ
               (1)  งานจัดที่ดิน
               (2)  งานจัดสหกรณ์

สหกรณ์รูปแบบใดที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่สมาชิก
งานจัดที่ดิน 

        งานจัดที่ดินเป็นงานที่ดำเนินการโดยรัฐ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาที่ดินมาปรับปรุงสภาพ แล้วจัดสรรให้ราษฎรที่ประสบปัญหาขาด
แคลนที่ดินทำกินได้เข้าไปทำกินและอาศัย และจัดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ที่ดินและที่อยู่อาศัย เช่น ถนน แหล่งน้ำ โรงเรียน
สถานีอนามัยตลาด ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งแบ่งขั้นตอนการดำเนินการได้ดังนี้
          1. การจัดหาที่ดิน การจัดหาที่ดินมาจัดสรรให้ราษฎรทำการเกษตร โดยวิธีการสหกรณ์นั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ
               1.1 การจัดที่ดินในรูปของนิคมสหกรณ์
           กรมส่งเสริมสหกรณ์อาศัยพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 เป็นหลักในการปฏิบัติ กล่าวคือ กรมส่งเสริมสหกรณ์จะประสานงานกับคณะกรรมการจำแนกประเภทที่ดิน เพื่อขอรับพื้นที่ที่คณะกรรมการฯ ได้จำแนกไว้เป็นที่จัดสรรเพื่อการ
เกษตรนำมาจัดสรรให้ราษฎรเข้าทำกิน
               1.2 การจัดที่ดินในรูปสหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน
             รัฐจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นทุนจัดซื้อที่ดินเพื่อนำมาจัดสรรให้ราษฎร โดยคำนึงถึงความเดือดร้อนหรือความต้องการของราษฎร และราษฎรดังกล่าวไม่สามารถจัดซื้อที่ดินด้วยกำลังทรัพย์หรือความสามารถของ
ตนได้ กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงทำหน้าที่จัดหาที่ดินแปลงใหญ่หรือแปลงเล็กแปลงน้อยแต่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน เพื่อนำมาให้สหกรณ์ได้เช่าหรือเช่าซื้อตามกำลังความสามารถของสมาชิกผู้ได้รับจัดสรร
           การจัดที่ดินลักษณะนี้อาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในลักษณะของเช่าทรัพย์หรือเช่าซื้อเป็นหลักปฏิบัติ นอกจากกฎหมายดัง
กล่าวแล้ว นับแต่ปี 2518 เป็นต้นมา พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ยังครอบคลุมมาถึงสภาพที่ดินที่รัฐได้มาในลักษณะนี้ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุตามกฎหมายจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ด้วย
               1.3 การจัดที่ดินในรูปสหกรณ์เช่าที่ดิน
            สืบเนื่องมาจากที่สงวนหวงห้ามของรัฐที่เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมทั้งในสภาพที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าตามมติของคณะรัฐมนตรี (ป่าเตรียมการสงวน) ถูกราษฎรเข้าไปบุกรุกทำกินจนเต็มพื้นที่ และรัฐไม่สามารถฟื้นฟูสภาพป่าให้คงเดิมได้
            กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้จึงเสนอนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อมอบที่ที่มีสภาพดังกล่าวให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ใน
การจัดที่ดินให้แก่ราษฎร นำที่ดินไปจัดสรรให้แก่ราษฎร การจัดที่ดินลักษณะนี้ยังคงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
             อนึ่ง ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง เพื่อจัดสรรให้แก่ราษฎรทำการเกษตร โดยมีพระราชดำริว่าควรจัดสรรให้ราษฎรเช่าและตกทอดทางมรดกไปยังลูกหลานต่อไป เพื่อมิให้การโอนซื้อขายกันจนทำให้ที่ดินตกไปอยู่แก่
ผู้ที่มิได้ประกอบอาชีพทางการเกษตร ที่ดินจำนวนนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้นำมาจัดสรรให้ราษฎรในรูปสหกรณ์การเช่าที่ดินตามพระราช
ประสงค์ด้วย
          2. การวางผังและปรับปรุงที่ดิน
          ทางราชการจะดำเนินการสำรวจสภาพทั่ว ๆ ไปในพื้นที่โครงการที่จะจัดตั้งนิคมสหกรณ์ เพื่อที่ให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่
สภาพภูมิอากาศ แหล่งน้ำ การคมนาคม ตลอดจนลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับประกอบการพิจารณาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ และเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาสหกรณ์ต่อไปเมื่อเห็นว่ามีลู่ทางที่จะปรับปรุงที่ดินดังกล่าวได้
          กรมส่งเสริมสหกรณ์จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปทำการสำรวจรายละเอียดเกี่ยวกับภาระเศรษฐกิจและสังคมอีกครั้งหนึ่ง หากเห็นสมควรในการใช้ที่ดิน และการขนส่งสาธารณูปโภควรทำอย่างไรบ้าง บริเวณไหนควรจะปลูกอะไรจึงจะเหมาะสมกับลักษณะและสมรรถนะของดิน ควรจัดสรรที่ดินให้ครอบครัวละกี่ไร่ จึงจะมีรายได้พอแก่การครองชีพ งานต่างๆ ที่ต้องทำในขั้นนี้เป็นงานด้านวิชาการ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ที่ดินมากหรือน้อยเกินไปเหล่านี้
เป็นต้น
           เมื่อได้วางแผนผังการใช้ที่ดินแล้ว ทางการดำเนินการสร้างบริการสาธารณะตามผังที่กำหนดไว้ เช่น ถนน การชลประทาน โรงเรียน สถานีอนามัย และรวมถึงการสำรวจแบ่งแปลงที่ดินเพื่อเตรียมไว้จัดสรร
3. การคัดเลือกราษฎรเข้าเป็นสมาชิกเพื่อรับการจัดสรรที่ดิน
               3.1 การจัดที่ดินในรูปของนิคมสหกรณ์
           เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์แล้ว คณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
พ.ศ. 2511 มีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกนิคม โดยยึดหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้กำหนด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นด้วย
               คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์ มีดังนี้
                       (1) เป็นเกษตรกร บรรลุภาวะ และมีสัญชาติไทย
                       (2) เป็นผู้ซื่อสัตย์ สุจริต และมีความประพฤติดี
                       (3) ขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ
                       (4) ไม่เป็นบุคคลล้มลาย หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว
                       (5) มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือวิกลจริตจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
                       (6) ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือมีเพียงเล็กน้อยไม่พอแก่การครองชีพ
                       (7) ไม่เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์อื่น และสมัครใจเป็นสมาชิก
          เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกได้คัดเลือกผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์แล้วจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกตามลำดับคะแนนจากสูง
ไปหาต่ำ โดยถือลำดับก่อนหลังดังต่อไปนี้
                       (1) มีหลักฐานเกี่ยวกับสิทธิครอบครอง (ส.ค.1) อยู่ในเขตจัดนิคมสหกรณ์และยินยอมเวนคืนที่ดินให้แก่ทางราชการ โดยไม่ขอรับ
เงินค่าชดเชยแต่อย่างใด
                       (2) บุคคลที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่อาศัยทำกินอยู่ในที่ดินเขตจัดนิคมสหกรณ์ก่อนวันประกาศรับสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์
                       (3) บุคคลที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่อาศัยทำกินในท้องที่จัดนิคมสหกรณ์
                       (4) บุคคลซึ่งส่วนราชการต่างๆ ส่งมา
                       (5) บุคคลซึ่งเป็นทหารผ่านศึกหรืออาสาสมัคร
                       (6) บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ในข้อ (1) - (5)

         การจัดสมาชิกนิคมสหกรณ์เข้ามาทำกินในที่ดินจัดสรร กรมส่งเสริมสหกรณ์จะเรียกสมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้ผ่านการคัดเลือกตามลำดับจากสูงไปหาต่ำ ตามจำนวนแปลงที่ดินที่สามารถจัดสรรให้สมาชิกนิคมสหกรณ์ได้ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์จะออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์จากที่ดินตามที่พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อครองชีพ พ.ศ. 2511 บัญญัติไว้

               3.2 งานที่ดินในส่วนที่รัฐจัดซื้อ
           ในทางปฏิบัติเมื่อกรมส่งเสริมสหกรณ์จัดซื้อที่ดินมาแล้ว จะมอบให้สหกรณ์ในพื้นที่นั้น ๆ ดำเนินการตามกำลังความสามสารถของ
สมาชิก ซึ่งอาจจัดให้สหกรณ์เช่าหรือซื้อที่ดินราชการหากพื้นที่ที่ดินตั้งอยู่ยังไม่มีการจัดตั้งสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์จะรวบรวมบรรดาผู้ที่ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นๆ ซึ่งอยู่ในฐานะผู้เช่าที่ดินจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น ฉะนั้นการคัดเลือกราษฎรเข้าเป็นสมาชิกเพื่อรับการจัดสรรที่ดินในลักษณะนี้จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับหรือเงื่อนไขของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่
กำหนดให้เป็นราย ๆ ไป เพราะถือว่างานจัดที่ดินลักษณะนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดที่ดินให้แก่สมาชิกสหกรณ์เท่านั้น
               3.3 งานจัดที่ดินในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
          การคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกเพื่อรับการจัดสรรที่ดินในลักษณะนี้ กระทำโดยคณะกรรมการคัดเลือกที่กรมส่งเสริมสหกรณ์แต่งตั้งไว้  โดยสภาพความเป็นจริงพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมส่วนใหญ่ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์รับมาดำเนินการปรากฏว่ามีราษฎรบุกรุกเข้าไปครอบครองทำ
ประโยชน์อยู่ก่อนแล้ว ในทางปฏิบัติกรมส่งเสริมสหกรณ์จะรวบรวมรายชื่อและรายเอียดของที่ดินที่ราษฎรเข้าทำมาหากิน กรมส่งเสริมสหกรณ์จะพิจารณาคัดเลือกโดยอาศัยแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดเลือกสมาชิสหกรณ์โดยอนุโลม
               อนึ่ง เกี่ยวกับการจัดที่ดินในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมนับแต่ปี 2522 เป็นต้นมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีหลักเกณฑ์การจัดที่ดิน
เพื่อผ่อนคลายปัญหาของราษฎรผู้บุกรุก  รวมทั้งเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการรักษาสภาพป่าให้คงไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ปัจจุบันแนวทางการจัดที่ดินในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมดังกล่าวต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติและนโยบายของรัฐ กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงมีนโยบายที่จะปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ โดยเป็นผู้ยื่นขออนุญาตแทนสมาชิกที่ถือครองอยู่เป็นการนำที่ดินทั้งแปลงมาจัดสรรตามนโยบายของกรมส่งเสริมสหกรณ์ต่อไป
          4. การได้สิทธิในที่ดินของสหกรณ์
               4.1 งานจัดที่ดินในรูปของนิคมสหกรณ์
               การจัดที่ดินลักษณะนี้กฎหมายมุ่งที่จะให้สมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดิน  (โฉนดที่ดินหรือตราจอง
ที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว) หรือสิทธิครอบครอง (น.ส.3) เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์นั้นๆ ปฏิบัติครบตามกฎหมายไว้ คือ
                       (1) เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์ได้ทำประโยชน์ที่ดินแล้ว
                       (2) เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
                       (3) ชำระเงินค่าช่วยทุนรัฐบาลเรียบร้อย
                       (4) ชำระหนี้เกี่ยวกับกิจกรรมของนิคมให้แก่ทางราชการเรียบร้อยแล้ว

          สมาชิกนิคมสหกรณ์ที่ปฏิบัติครบตาม (1) - (4) กรมส่งเสริมสหกรณ์จะออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมสหกรณ์นั้นๆ  เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว สมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้นั้นก็สามารถนำหลักฐาน
ดังกล่าวไปขอออกโฉนดที่ดิน หรือ น.ส. 3 ได้ต่อไป อย่างไรก็ตามกฎหมายยังบัญญัติไว้ว่าภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือ
น.ส. 3 ผู้ได้มาซึ่งที่ดินจะโอนที่ดินไปให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ดินที่ตนเป็นสมาชิกอยู่และภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ที่ดินนั้นไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดีด้วย
               4.2 งานจัดที่ดินในส่วนที่รัฐจัดซื้อ
           งานจัดที่ดินลักษณะนี้สมาชิกผู้ได้รับจัดสรรจะได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ อยู่ที่นโยบายของกรมส่งเสริมสหกรณ์และสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ว่าจะจัดในลักษณะของสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ว่าจะจัดในลักษณะ
ของสหกรณ์ผู้เช่าหรือสหกรณ์ผู้เช่าซื้อที่ดิน
               4.3 งานจัดที่ดินในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
            งานจัดที่ดินลักษณะนี้สมาชิกผู้ได้เพียงสิทธิทำกินตลอดไปเท่านั้น ทางราชการไม่ให้กรรมสิทธิ์อย่างใด

สหกรณ์รูปแบบใดที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่สมาชิก
งานจัดสหกรณ์ 

การจัดตั้งและการดำเนินงาน
               เมื่อทางการได้อนุญาตให้ราษฎรที่ได้รับคัดเลือกเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินแล้ว ก็จะมีการรวบรวมราษฎรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินในโครงการจัดตั้งเป็นสหกรณ์และจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 เป็นประ
เภทสหกรณ์นิคม
               สหกรณ์นิคมเป็นสหกรณ์ประเภทหนึ่ง มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับสหกรณ์การเกษตร คือ มีการดำเนินธุรกิจที่ให้บริการแก่สมาชิกคล้ายคลึงกัน เช่น ด้านสินเชื่อจัดหาปัจจัยการผลิตและสิ่งของที่จำเป็น แปรรูปและส่งเสริมการเกษตร แต่มีส่วนที่แตกต่างกัน คือ เรื่องที่ดิน เพราะสหกรณ์การเกษตรมักจัดตั้งในพื้นที่ที่เกษตรมี่ที่ดินเป็นของตนเองอยู่แล้ว จะมีเกษตรกรที่เช่าที่ดินผู้อื่นทำกินบ้างเป็นส่วนน้อย  ส่วนในสหกรณ์นิคม รัฐเป็นเจ้าของที่ดินในครั้งแรกแล้วจึงนำไปจัดสรรให้แก่เกษตรกรในภายหลัง
               เหตุที่รัฐสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นในนิคม เนื่องจากรัฐมีความประสงค์จะส่งเสริมราษฎรที่เข้ามาอยู่ในนิคม ให้มีอาชีพทางการเกษตรที่มั่นคงและมีรายได้สูงขึ้น สามารถดำรงชีพครอบครัวอยู่ได้ตามอัตภาพ และมีสถาบันของตนเองในการเป็นสื่อกลางที่จะให้บริการด้านความสะดวกต่าง ๆ แก่สมาชิก ซึ่งทางราชการมีนโยบายที่จะจัดสหกรณ์นิคมให้เป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ ดำเนินธุรกิจในรูปอเนกประสงค์ โดยมีรัฐเป็นพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้สหกรณ์นั้นดำเนินธุรกิจตามแผนงานและระเบียบข้อบังคับ เพื่อจะได้บังเกิดผลดีแก่สมาชิกหากจำเป็นต้องมีการตรวจสอบควบคุม ก็มีเจตนาเพียงให้การแนะนำและแก้ไขข้อบกพร่องเท่านั้น
               สหกรณ์นิคมจะอำนวยประโยชน์ให้แก่สมาชิก ดังนี้
               1. เป็นสื่อกลางในการขอรับหรือบริการต่าง ๆ จากรัฐบาล
               2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับสมาชิกสหกรณ์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น เรียกเก็บเงินเพื่อช่วยทุนของรัฐ
               3. เพื่อให้เกษตรในนิคมมีสถาบันของตนเอง ที่จะจัดทำและอำนวยบริการในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดหาสินเชื่อ
              4. การรวมกันซื้อ-ขาย การส่งเสริมการเกษตรและการฝึกอบรมซึ่งเป็นการเสริมสร้างให้เกิดระบบที่ดีในการจัดหา การผลิต การตลาด โดยสมาชิกของสหกรณ์นิคมเป็นเจ้าของ เป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้ประโยชน์ ซึ่งจะทำให้สหกรณ์นิคม สามารถผนึกกำลังประกอบอาชีพอย่างมั่นคง มีรายได้และมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

สหกรณ์รูปแบบใดที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่สมาชิก

ที่มาของภาพ : http://www.coopthai.com/nikomsd/news1.html

สหกรณ์รูปแบบใดที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่สมาชิก

 
สหกรณ์รูปแบบใดที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่สมาชิก