การวิเคราะห์ตัวอย่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เฉลย

วิดีโอ YouTube


ความสําคัญของการวิเคราะห์เรื่องราว เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

    การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
คือการวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง 

ความสำคัญนั้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด

1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
   1.1 หลักฐานชั้นต้น
   1.2 หลักฐานชั้นรอง
2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
   2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
   2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
   3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
   3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง
1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources
   หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ                                                                                      
1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources                       
    หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources
   หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
   หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ
3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface
หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง
วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเล่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้ว คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดลออ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชิ้นด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้ จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้อมอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้

คนเราจะเดินหน้าต่อไปได้ยังไงครับ ถ้าไม่รู้อดีตของตัวเอง ของบรรพบุรุษ ของประเทศ อย่างเช่น การเสียกรุง ครั้งที่ หนึ่ง กับสอง เพราะคนไทยเเตกเเยกกันเองนะครับ ผู้นำก็ไม่เข้มเเข็ง  การศึกษาปประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เเค่ช่วยการศึกษานะครับ เเต่ยังช่วยให้มองเห็นการผิดพลาด ของบรรพพบุรุษในอดีต เเละ การที่บรรพบุรุษรักกษาเอกราชด้วยการเสียชีวิตตัวเองนั้น ก็เพื่อให้พวกเราเรียกตัวเองไเด้ ว่าเราเป็นคนไทย 

ปประวัติศาสตร์ไม่ได้มีคุณค่าเเค่การศึกษานะครับ มีคุณค่า ต่อการที่เราจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร เเละมีคุณค่าต่อความเป็นคนไทยครับ มีค่าต่อการศึกษาในเเง่เราได้ศึกษา การเมืองในสมัยนั้น การค้าขาย การพฒนาสังคม วิถีชุมชนในอดีต การวิเคราะห์เหตการณ์ต่างๆๆ เเล้วนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันเพพื่อวางเเผนป้องกันไม่ให้เกิดผิดพลาดอีก 

หลายๆคนอาจพูดว่า อย่าไปสนใจอดีตเลย ผ่านไปปเเล้ว เเต่เค้าเหล่านั้นคิดเเบบไร้สติครับ คนเราต้องเรียนรู้จากอดีต เพื่อหาหนทาง ปป้องกันวางเเผน ในปัจจุบันเเละอนาคต