สถานประกอบการที่มีลูกจ้างหรือพนักงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป จัดอยู่ในสถานประกอบการขนาดใด

สถานประกอบกิจการใดบ้างที่ต้องมี จป. และ มี จป. ระดับใดบ้าง

สถานประกอบการที่มีลูกจ้างหรือพนักงานตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป จัดอยู่ในสถานประกอบการขนาดใด

ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานฯ พ.ศ. 2549 มีการกำหนดสถานประกอบกิจการต้องมี จป. ดังนี้
1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
6) โรงแรม
7) ห้างสรรพสินค้า
8) สถานพยาบาล
9) สถาบันทางการเงิน
10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม ข้อ 1) ถึง 12)
14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
ในสถานประกอบกิจการตามข้อ 1) ถึง 5) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามข้อ 6) ถึง 14) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไป ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารของสถานประกอบกิจการ
ในสถานประกอบกิจการตามข้อ 2) ถึง 5) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไปแต่ไม่ถึงห้าสิบคนต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคประจำสถานประกอบกิจการ
ในสถานประกอบกิจการตามข้อ 2) ถึง 5) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนื่งร้อยคนต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงประจำสถานประกอบกิจการ
ในสถานประกอบกิจการตามข้อ 1) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามข้อ 2) ถึง 5) ข้างต้นที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพประจำสถานประกอบกิจการ

โดยสรุปสถานประกอบกิจการใด ๆ จำเป็นต้องมี จป. และเป็น จป.ระดับใด ขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของการประกอบกิจการ และจำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ นอกจากนี้ ตามกฎหมายในสถานประกอบกิจการเดียวไม่มีสถานประกอบกิจการใดที่ต้องมี จป.ครบทั้ง 5 ระดับ จะมีเพียงบางสถานประกอบกิจการ ที่มี จป.2 ระดับ คือ จป.ระดับบริหาร และ จป.ระดับหัวหน้างาน และบางสถานประกอบกิจการที่มี จป.3 ระดับ คือ จป.ระดับบริหาร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับเทคนิค หรือ จป.ระดับบริหาร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือ จป.ระดับบริหาร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับวิชาชีพ

สาระสำคัญ 

- ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

คำจำกัดความ
- กรรมการความปลอดภัย หมายความว่า กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- คณะกรรมการความปลอดภัย หมายความว่า คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บริหารที่มีหน้าที่และอำนาจทำการแทนนายจ้างในการจ้าง การเลิกจ้าง การให้บำเหน็จ การลงโทษ หรือการวินิจฉัยข้อรองทุกข์ และได้รับมอบหมายเป็นหนังสือให้เป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับนี้
- หน่วยงานความปลอดภัย หมายความว่า หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หมวด 1 : เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
- นายจ้างของสถานประกอบกิจการ (ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง) ที่มีจำนวนลูกจ้างตามเกณฑ์กำหนด ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน มี  2 ประเภท ดังนี้
   1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง (จป.โดยตำแหน่ง : ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร)
   2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ (จป.โดยหน้าที่เฉพาะ : ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ)

ส่วนที่ 1  :  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง

สถานประกอบกิจการ

จป.โดยตำแหน่ง

หัวหน้างาน

ผุ้บริหาร

บัญชี 1 ที่มีลูกจ้าง 2 คนขึ้นไป

ทุกคน

ทุกคน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 2 คนขึ้นไป

ทุกคน

ทุกคน

บัญชี 3 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป

ทุกคน

ทุกคน

หมายเหตุ สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1,2 และ 3 ท้ายประกาศฯ ต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับบริหารภายใน 120 วันตั้งแต่วันที่รับการแต่งตั้ง

คุณสมบัติของ จป.โดยตำแหน่ง โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากกฎหมายฉบับเต็ม

หน้าที่ความรับผิดชอบของ จป.โดยตำแหน่ง มีดังนี้
1. จป.ระดับหัวหน้างาน มีหน้าที่ดังนี้ 
(1) กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(2) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นจากการทำงาน โดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ
(3) จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพเพื่อเสนอคปอ.หรือนายจ้างแล้วแต่กรณี และทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุก 6 เดือน
(4) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
(5) ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
(6) กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
(7) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยฯ ให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยฯ ทันที่ที่เกิดเหตุ
(8) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตรายการเจ็บป่วยหรือการเกิดหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผลกาารตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(9) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
(10) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้าง หรือจป.ระดับบริหารมอบหมาย

2. จป.ระดับบริหาร มีหน้าที่ดังนี้
(1) กำกับดูแลจป.ทุกระดับที่อยู่ในบังคับบัญชา
(2) เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
(3) ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยบกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการ เพื่อให้มีการจัดการความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
(4) กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานตามข้อเสนอแนะของจป. คปอ. หรือหน่วยงานความปลอดภัย

ส่วนที่ 2 :  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ

สถานประกอบกิจการ

จป.โดยหน้าที่เฉพาะ

ระดับเทคนิค

ระดับเทคนิคขั้นสูง

ระดับวิชาชีพ

บัญชี 1 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่  2  คนขึ้นไป


อย่างน้อย 1 คน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป


อย่างน้อย 1 คน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 50 คน (20-49 คน)

อย่างน้อย 1 คน



บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 100 คน (50-99 คน)

อย่างน้อย 1 คน


หมายเหตุ สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1,2 ท้ายประกาศฯ ต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตร จป.ระดับเทคนิค และจป.ระดับเทคนิคขั้นสูง ภายใน 180 วันตั้งแต่วันที่รับการแต่งตั้ง

คุณสมบัติของ จป.โดยหน้าที่เฉพาะ โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากกฎหมายฉบับเต็ม

หน้าที่ความรับผิดชอบของ จป.โดยหน้าที่เฉพาะ มีดังนี้
1. จป.ระดับเทคนิค มีหน้าที่ดังนี้ 
(1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย เสนอต่อนายจ้าง
(3) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(4) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(5) รวบรวมสถิติและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
(6) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย


2. จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง มีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย เสนอต่อนายจ้าง
(3) วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆและเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(4) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(5) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(6) แนะนำ ฝึกสอน และอบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดภัยจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
(7) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(8) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
(9) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย


3. จป.ระดับวิชาชีพ มีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
(3) ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(4) วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(5) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
(6) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(7) แนะนำ ฝึกสอน และอบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
(8) ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือ นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(9) เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
(10) ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(11) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือ การเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อลูกจ้าง
(12) ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงานและระหว่างทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(13) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

ทั้งนี้ ต้องจัดให้ จป.ระดับเทคนิค จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง และจป.ระดับวิชาชีพ ได้รับการฝีกอบรมและพัฒนาความรู้ฯ เพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี และกรณีที่ จป.ระดับเทคนิค จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง และจป.ระดับวิชาชีพ พ้นจากการเป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องจัดให้มี จป.ดังกล่าวแทน ภายใน 90 วันนับจากวันที่พ้นตำแหน่ง

หมวด 2 : คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ
สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องมี คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร เป็น ประธานกรรมการความปลอดภัย ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา และผู้แทนลูกจ้างเป็นกรรมการความปลอดภัย

สถานประกอบกิจการ

จำนวน คปอ.
 (คน)

ประธานกรรมการ

(ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร) (คน)

กรรมการความปลอดภัย
 (ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 
= ระดับหัวหน้างาน)
 (คน)

กรรมการความปลอดภัย
 (ผู้แทนลูกจ้าง)
 (คน)

กรรมการและเลขานุการ
(บัญชี 1 หรือบัญชี 2)
 (คน)

จำนวนลูกจ้างตั้งแต่  50  คนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 100 คน
 (50-99 คน)

ไม่น้อยกว่า 5 คน

1

1

2

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)

จำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 100 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 500 คน
 (100-499 คน)

ไม่น้อยกว่า 7 คน

1

2

3

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)

จำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป

ไม่น้อยกว่า 11 คน

1

4

5

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)

หมายเหตุ กรณีสถานประะกอบกิจการตามบัญชี 3 ให้แต่งตั้งผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาเพิ่ม 1 คน เป็นกรรมการความปลอดภัยและเลขานุการ  ทั้งนี้ คปอ.ต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตรคณะกรรมการปลอดภัย ภายใน 60 วันตั้งแต่วันที่รับการแต่งตั้งหรือได้รับเลือก

คปอ. มีหนัาที่ดังนี้
1. จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน นำเสนอต่อนายจ้าง
2. จัดทำแนวทางการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงาน เสนอต่อนายจ้าง
3. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
4. ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
5. พิจารณาคู่มือว่าวด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
6. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และรายงานผลการสำรวจดังกล่าว รวมทั้งสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้นในการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทุกครั้ง
7. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงโครงการหรือแผนงานการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร และบุคลากรทุกระดับ เพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
8. จัดวางระบบให้ลูกจ้างทุกคนทุกระดับมีหน้าที่ต้องรายงานสภาพการทำงานไม่ปลอดภัย และนำเสนอต่อนายจ้าง
9. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อนายจ้าง
10. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนี่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
11. ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
12. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

หมวด 3 : หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 ต้องจัดให้มี หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใน 30 วัน
- สถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 ที่มีลูกจ้างจำนวน 200 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มี หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใน 60 วัน
หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีหน้าที่ดังนี้
(1) วางแผนการบริหารความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการและดูแลให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
(2) จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุและอุบัติภัย และการควบคุมความเสี่ยงภายในสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
(3) จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(4) จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ซึ่งต้องสอดคล้องกับการทำงานแต่ละประเภทตามที่กฎหมายกำหนดเสนอต่อนายจ้าง เพื่อให้ลุกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องใช้ในขณะปฏิบัติงาน
(5) ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการและการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ  เพื่อป้องกันอันตรายในการทำงานหรือการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานในสถานประกอบกิจการ
(6) จัดอบรมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ก่อนให้ปฏิบัติงาน รวมทั้งลูกจ้างซึ่งต้องทำงานที่มีความแตกต่างไปจากงานเดิมที่เคยปฏิบัติอยู่และอาจเกิดอันตรายด้วย
(7) ประสานการดำนินงานความปลอดภัยในการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ  ทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบกิจการ รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
(8) ตรวจประเมินระบบความปลอดภัยในการทำงานในภาพรวมของสถานประกอบกิจการ
(9) รวบรวมผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับและติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานของสถานประกอบกิจการ พร้อมทั้งรายงานให้นายจ้างและคณะกรรมการปลอดภัยทราบทุก 3 เดือน
(10) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย
ทั้งนี้ ผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยประจำสถานประกอบกิจการ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย และไม่เป็น จป.วิชาชีพ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะด้านบริหาร บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของหน่วยงานความปลอดภัย

หมวด 4 : การขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย
- ต้องนำรายชื่อ จป.ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย ขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ภายใน 30 วันนับจากวันที่แต่งตั้ง
- ต้องจัดอบรมให้ จป. และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย ให้มีคุณสมบัติตามที่กำหนด

หมวด 5 : การแจ้งและการส่งเอกสาร
- ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้ง คปอ. ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีคำสั่งแต่งตั้ง
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานของจป.ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน (30 กรกฎาคม) และครั้งที่ 2 ภายใน 30 วันนับจากวันที่ 31 ธันวาคม (31 มกราคม) ของทุกปี

ศึกษารายละเอียด แสดงตามไฟล์แนบ กฎหมายฉบับเต็ม ด้านล่างนี้

สถานที่ทํางานที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ต้องมีพยาบาลอยู่ประจําจํานวนกี่คน

4. สถานประกอบการที่มีลูกจ้างทํางานในขณะเดียวกันตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีห้องพยาบาลพร้อม เตียงคนไข้อย่างน้อย 1 เตียง มีพยาบาลอย่างน้อย 1 คน ประจําตลอดเวลาทํางาน และมีแพทย์อย่างน้อย 1 คน ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง

สถานประกอบการขนาดใหญ่จะมีลูกจ้างหรือพนักงานตั้งแต่กี่คนขึ้นไป

0. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ย้ำ สถานประกอบกิจการมีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการฯ ในสถานประกอบกิจการ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท

สถานประกอบการขนาดเล็กต้องมีพนักงานกี่คนขึ้นไป

กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดเกณฑ์ในการจัดอุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลาง หรือ เล็กนั้นมีหลายวิธี แต่โดยทั่วไปจะใช้ จำนวนพนักงานงาน (ขนาดการจ้างงาน) จำนวนเงินลงทุน มูลค่าทรัพย์สิน จำนวนยอดขาย หรือรายได้เป็นเกณฑ์ ธุรกิจขนาดเล็ก ไม่เกิน 50 คน ไม่เกิน 20 ล้าน ธุรกิจขนาดกลาง ระหว่าง 50 – 200 คน ระหว่าง 20 – 200 ล้าน

สถานประกอบการมีจำนวนลูกจ้างกี่คน ต้องจัดให้มีหน่วยงานความปลอดภัย

สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องมี คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร เป็น ประธานกรรมการความปลอดภัย ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา และผู้แทนลูกจ้างเป็นกรรมการความปลอดภัย สถานประกอบกิจการ จำนวน คปอ.