การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ppt

อะไรคือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (What is Action Research)
เขียนโดย วรพงศ์ ผูกภู่ (บริษัท อาร์แอนด์ดี ครีเอชั่น จำกัด)

     การวิจัย คือ กระบวนการในการค้นหาความรู้ ความจริง โดยการศึกษาค้นคว้า ทดลอง ประเมินผล จนเชื่อได้ว่าเป็นคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ กระบวนการเหล่านี้ เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Science) ที่เป็นที่ยอมรับในการค้นหาความจริงและความรู้ ที่นำไปสู่การต่อยอดในด้านการพัฒนาหรือใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เป็นสากล ซึ่งแท้จริงแล้วกระบวนการวิจัยเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษยชาติที่ได้ลองผิด ลองถูก จดจำ บันทึก รวบรวมและส่งต่อองค์ความรู้เหล่านั้นจากรุ่นสู่รุ่น เพียงแต่เขาเหล่านั้นไม่ได้เรียกสิ่งที่ได้ลงมือทำว่า งานวิจัย
    งานวิจัยรูปแบบหนึ่งที่เป็นการวิจัยเพื่อมุ่งหวังการใช้ประโยชน์ มีความเป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ (Apply Research) หรือมีลักษณะเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ที่นิยมใช้ในการพัฒนาชุมชนหรือกลุ่มต่าง ๆ  ในสังคม นั่นก็คือ รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งมีนิยามความหมายดังนี้

อุทัย ดุลยเกษม (2543) กล่าวว่า
    การวิจัย หมายถึง กระบวนการในการแสวงหาความรู้ใหม่ หรือ เป็นการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ปฏิบัติการ หมายถึง เป็นการลงมือดำเนินการ เพื่อให้บรรลุตามต้องการ

ในส่วนของผู้เขียนนั้น ขอสรุปจากประสบการณ์และจากการศึกษาค้นคว้าจากหลากหลายแหล่งข้อมูล โดยให้คำนิยามของงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  ว่า

     งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  มาจากฐานคิดที่เชื่อว่า ความรู้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการพัฒนา นำไปสู่การแก้ปัญหาและการใช้ประโยชน์  ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ระหว่างการวิจัยเป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)

เป้าหมายของงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในการวิจัยในพื้นที่ชุมชน ผู้เขียนสรุปออกมาเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 งานวิจัย ก่อให้เกิดกระบวนการทางสังคม เช่น การเวทีพูดคุย เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดการวิเคราะห์และตระหนักรู้ ถึงข้อมูล สถานการณ์ต่าง ๆ ของชุมชน

ระดับที่ 2 ได้องค์ความรู้ใหม่ หรือเป็นการเพิ่มเติมความรู้เดิมที่มีอยู่ อาจหมายถึงการอธิบายความรู้หรือภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้สมัยใหม่ วิเคราะห์ให้เห็นถึงพัฒนาการและปัจจัยการเปลี่ยนแปลงได้

ระดับที่ 3 นำไปสู่การแก้ปัญหา การพัฒนา สร้างการเปลี่ยนแปลง

 

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ppt

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ใหม่ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการอธิบาย ทำนายและควบคุมปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงปฎิบัติการ มุ่งนำผลที่ได้จากการวิจัยไปใช้ ในการพัฒนาและปรับปรุงผลการปฏิบัติงานขององค์กร ให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างสูงสุด เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ เทคโนโลยีที่ได้ศึกษา จากที่ได้จากการศึกษาวิจัยมากกว่า การมุ่งสร้างและพัฒนาองค์ความรู้

จุดมุ่งหมายของการวิจัยปฏิบัติการ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของการปฎิบัติงานให้ดีมากยิ่งขึ้น สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหา อันเป็นสาเหตุที่ทำให้งานนั้น ไม่ประสบความสำเร็จ ลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงปฏิบัติการสามารถที่จะสรุป ได้ดังต่อไปนี้

  1. เป็นวิธีการที่จะปรับปรุงการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  2. เป็นการวิจัยที่นำตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วม ในกิจกรรมที่บุคคลดำเนินการอยู่ เพื่อที่จะปรับปรุงงานที่ปฏิบัติงานอยู่ให้ดีมากยิ่งขึ้น
  3. ดำเนินการผ่านขั้นตอน การวางแผนการ ดำเนินงาน การสังเกต การสะท้อนข้อมูล และหลังจากนั้นก็ย้อนกลับไปเป็นวัฎจักร

ลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการ

  1. เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม และมีการร่วมมือดังนั้นผู้วิจัย ทุกคนจึงมีส่วนสำคัญและมีบทบาทเท่าเทียมกัน ในทุกกระบวนการการวิจัย
  2. เน้นการปฏิบัติการและการศึกษาผลการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการพัฒนา
  3. ใช้ในการวิเคราะห์สามารถวิเคราะห์ได้อย่างลึกซึ้ง และนำไปสู่การตัดสินใจที่สมเหตุสมผล และสามารถนำไปปรับใช้ในการปฎิบัติการได้ เป็นอย่างดี
  4. สามารถนำไปพัฒนารูปแบบของการปฎิบัติงานจริง จนเป็นที่พึงพอใจ

กระบวนการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการ

  1. การวางแผนคือ การกำหนดแนวทางปฏิบัติการไว้ล่วงหน้า โดยอาศัยการคาดคะเนแนวโน้มของผลลัพธ์ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปฎิบัติตามแผนที่วางไว้ ประกอบกับเหตุการณ์หรือเรื่องราวในอดีต ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่จะศึกษา โดยการวางแผนจะต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่น และสามารถนำมาปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต
  2. การปฎิบัติการ เป็นการลงมือการดำเนินงาน ตามแผนที่กำหนดไว้อย่างระมัดระวัง และควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ ซึ่งแผนที่กำหนดมีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไข และข้อจำกัดของสภาวการณ์นั้นๆ
  3. การสังเกตการณ์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นจากการปฎิบัติงาน รวมทั้งการสังเกตการณ์ปัจจัยสนับสนุน และอุปสรรคในการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ตลอดจนปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ระหว่างการปฎิบัติตามแผนว่า มีลักษณะอย่างไรซึ่งการสังเกตที่ดี จะต้องมีการวางแผนการเอาไว้ล่วงหน้า โดยไม่มีขอบเขตที่จำกัดมากจนเกินไป เพื่อจะได้เป็นแนวทาง สำหรับการสะท้อนกลับกระบวนการ และผลการปฏิบัติงาน
  4. การสะท้อนกลับ เป็นการให้ข้อมูลถึงการกระทำ ตามที่บันทึกข้อมูลไว้จากการสังเกตในเชิงวิพากษ์ กระบวนการและผลการปฏิบัติงานตามที่วางแผนไว้ ตลอดจนการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุน และปัจจัยและอุปสรรคในการพัฒนา รวมทั้งประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นว่า เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่

ประเภทของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

  1. 1. การวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ยึดเทคนิค
    ดำเนินการโดยบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีประสบการณ์สูง หรือมีคุณสมบัติเป็นผู้เชี่ยวชาญการวิจัยเชิงปฎิบัติการ ทำให้งานที่ปฏิบัติมีทั้งประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น มุ่งเน้นโดยตรงไปที่ผลของการวิจัย แต่ในขณะเดียวกันผู้ปฎิบัติการวิจัยเอง เป็นผู้ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม ในกระบวนการปรับปรุงการวิจัย สามารถตรวจสอบความเที่ยงตรง และการกระทำให้ มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น สามารถพิจารณาจากทฤษฎี นำไปสู่เรื่องเฉพาะของการปฎิบัติงานหรือเรียกง่าๆว่านำทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
  2. การวิจัยเชิงปฎิบัติการที่เกิดจากประสบการณ์การปฎิบัติ
    การดำเนินการโดยผู้วิจัยในฐานะผู้ปฏิบัติงาน กับผู้เกี่ยวข้องช่วยกันกำหนดปัญหาเป็นเหตุ ให้เกิดการลองใช้วิธีการต่างๆ เข้าไปเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงการกำหนดปัญหาเกิดขึ้น หลังจากการสนทนาระหว่างผู้วิจัยกับผู้ปฏิบัติงาน การปฏิบัติการวิจัยเชิงปฏิบัติประเภทนี้ แสวงหาหนทางเลือกเกิดการปรับปรุง การปฏิบัติงานโดยใช้สติปัญญาของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายสำคัญของวิจัยคือ เข้าใจการปฎิบัติงานและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ช่วยพัฒนาการทางด้านวิชาชีพ ทำให้เกิดสิ่งดีดีกับผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง
  3. การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีส่วนร่วม
    การวิจัยประเภทนี้ส่งเสริมให้เกิดการ มีส่วนร่วมระหว่างผู้ปฏิบัติ โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนต่างมีความสามารถ มีจิตสำนึกผลักดันให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการคือ
  • ทำให้เกิดความใกล้เคียงกันมากที่สุดระหว่างปัญหาที่เกิดขึ้น กับทฤษฎีที่ใช้อธิบายและใช้แก้ไขปัญหา
  • ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถกำหนด และดึงฐานข้อมูลเบื้องลึกของปัญหาออกมา โดยใช้ความสามารถที่มีอยู่ในตัวของผู้ปฏิบัติงานเอง

ขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

  1. การจำแนกปัญหาที่จะศึกษา โดยศึกษารายละเอียดของปัญหาอย่างแท้จริงและชัดเจน โดยแสวงหาหลักการและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง
  2. การเลือกปัญหาสำคัญที่เหมาะแก่การศึกษาและวิจัย โดยอาศัยพื้นฐานจากหลักการและทฤษฎี มาใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะของปัญหา สร้างวัตถุประสงค์และสมมุติฐานของการวิจัย ในรูปแบบของความข้อความ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหา และหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
  3. การเลือกเครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ที่สามารถให้คำตอบของปัญหา ตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โดยเครื่องมือมีด้วยกัน 2 ลักษณะคือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
  4. การบันทึกเหตุการณ์อย่างละเอียด โดยเก็บบันทึกเป็นข้อๆ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงวงจร ในการปฏิบัติในรอบถัดไป และเพื่อสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์คำตอบของสมมุติฐานได้
  5. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ในด้านต่างๆของข้อมูลที่รวบรวมเอาไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ สามารถตรวจสอบรายละเอียดของข้อมูลได้อย่างถูกต้อง และมั่นใจในความแม่นยำ
  6. ตรวจสอบข้อมูลที่กลุ่มวิจัย ได้ร่วมกันพิจารณาเพื่อสรุปหาคำตอบ ที่เป็นสาเหตุวิธีการแก้ปัญหา

ดังนั้นใครก็ตามที่กำลังมองหาทีมงานมืออาชีพ ที่พร้อมให้คำปรึกษา คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือ พร้อมรับทำวิจัยวิจัยปฏิบัติการ (Action Research)ที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานของราคาที่ยุติธรรม

บริการวิจัยปฏิบัติการ, ผลงานวิจัยปฏิบัติการ, รับทำ is วิจัยปฏิบัติการ, รับทำ thesis วิจัยปฏิบัติการ, รับทำวิจัยปฏิบัติการ, รับทำวิจัยภาคสนาม, รับทำวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เกิดจากประสบการณ์การปฏิบัติ, รับทำวิจัยเชิงปฏิบัติการมีส่วนร่วม, รับทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบยึดเทคนิค, รับทำวิจัยเชิงปริมาณ, รับทำวิทยานิพนธ์วิจัยแบบปฏิบัติการ, รับปรึกษาวิจัยปฏิบัติการ, รับวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยปฏิบัติการ, วิจัยปฏิบัติการ (Action Research)