บริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยจะต้องได้รับอนุญาตจากใคร

บริษัท

บริษัทประกันวินาศภัยของประเทศไทย

  • การเปิดสาขา/สำนักงานสาขา                                                       ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
  • ย้ายสำนักงานใหญ่/สาขา                                                               ต้องขอนุญาตนายทะเบียน

บริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ

  • ตั้งสาขาประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
  • และจะเปิดสาขา ณ ที่ใดๆเพิ่มไม่ได้

บริษัทที่จะประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยได้ จะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี

การควบรวมบริษัท

ทำได้ในกรณี ที่เป็นบริษัทประกันวินาศภัยเหมือนกัน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่ถ้าเป็นประกันชีวิตกับประกันวินาศภัยควบรวมกันไม่ได้

ตัวแทนประกันวินาศภัย

หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท

นายหน้าประกันวินาศภัย

หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการนั้น

กฎหมายการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551

นายทะเบียน หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขา คปภ.)

คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ขึ้นตรงกับ กระทรวงการคลัง

วินาศภัย

ตาม พรบ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมายความว่า ความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาที่ถึงประมาณเป็นเงินได้และหมายความรวมถึงความสูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย

บริษัท

หมายความว่า บริษัทมหาชนจำกัด ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามพระราชบัญญัตินี้ และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตตัวแทน

  1. บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีบริบูรณ์)
  2. มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
  3. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  4. ไม่เคยต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงทีสุดในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาต
  5. ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
  6. ไม่เป็นนายหน้าประกันวินาศภัย
  7. ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทน หรือเป็นนายหน้าในระยะเวลา 5 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาต
  8. ได้รับการศึกษาวิชาประกันวินาศภัยจากสถาบันที่นายทะเบียนประกาศกำหนด หรือสอบความรู้เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยได้ตามหลักสูตร และวิธีการที่นายทะเบียนประกาศกำหนด

คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตนายหน้า

  1. ไม่เป็นตัวแทนประกันวินาศภัย
  2. ไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทประกันวินาศภัยใด
  3. นอกนั้นให้ใช้คุณสมบัติของตัวแทนโดยอนุโลม

หน้าที่ของนายหน้าประกันวินาศภัย

  1. มีสำนักงานตามที่ระบุไว้ในใบคำขอรับอนุญาติ (ระวางโทษปรับตั้งแต่ 1 หมื่นบาทถึง 5 หมื่นบาท)
  2. กรณีย้ายสำนักงานต้องแจ้งนายทะเบียนเป็นหนังสือ ภายใน 5 วันนับแต่วันที่ย้าย (ระวางโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท)
  3. จัดทำสมุดทะเบียน สมุดบัญชี และเอกสารเกียวกับธุรกิจของตนตามแบบรายการที่นายทะเบียนกำหนด (ระวางโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาทและปรับอีกไม่เกินวันละ 2 พันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่)
  4. เก็บรักษาเอกสารข้อ 3ไว้ที่สำนักงานไม่น้อยกว่า 5 ปี (ระวางโทษปรับไม่เกิน 5หมื่นบาท)

ข้อกำหนดการขอต่อใบอนุญาต

ใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้า ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ถ้าประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาติ ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนตามแบบที่กำหนด ภายในกำหนด 2 เดือน ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ

เงื่อนไขสำหรับตัวแทน/นายหน้า

  • ถ้าผู้ได้รับอนุญาตได้ต่ออายุใบอนุญาตครบสองคราวติดต่อกัน ให้ใบอนุญาตที่ออกให้ในคราวต่อไปนั้นมีอายุ 5 ปี

ใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันวินาศภัยจะสิ้นสุดลงเมื่อ 

  • ขาดต่ออายุใบอนุญาต
  • ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
  • ผู้ได้รับใบอนุญาตเสียชีวิต

กรณีถูกเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้า

  1. ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกันวินาศภัยฉบับนี้
  2. ขาดคุณสมบัติ
  3. ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนประกาศกำหนด
  4. อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย หรือประชาชน

ตัวแทน/นายหน้าที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ภายใน15 วันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง

คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ(คปภ.)ถือเป็นที่สุดและไม่สามารถฎีกาต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

สรุปบทกำหนดลงโทษ

บริษัท

  • ไม่ใช้กรมธรรม์ประกันภัยหรือเอกสารประกอบหรือเอกสารแนบท้ายตามที่กำหนด ปรับไม่เกิน 3 แสนบาท
  • บริษัทใช้อัตราค่าเบี้ยประกันภัยโดยไม่ได้รับความเห็นชอบ ปรับไม่เกิน 3 แสนบาท

ตัวแทน

  • เป็นหนใดเป็นตัวแทนโดยไม่ได้รับอนุญาตถูกต้องจากนายทะเบียน #จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ตัวแทนสัญญาประกันวินาศภัยโดยไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท #จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นายหน้า

  • ผู้ใดเป็นนายหน้าโดยไม่ได้รับอนุญาตถูกต้องจากนายทะเบียน #จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • นายหน้าประกันวินาศภัยซึ่งไม่ลงรายการในสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีตามที่คณะกรรมการกำหนด #ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 2 พันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
  • นายหน้ารับเบี้ยประกันในนามบริษัทโดยไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือบริษัท # จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • นายหน้าไม่แสดงหนังสือมอบอำนาจรับเงินของบริษัท #ปรับไม่เกิน 3หมื่นบาท
  • นายหน้าไม่ออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัท #ปรับไม่เกิน 3หมื่นบาท

ความรู้พื้นฐานการขายประกันวินาศภัย โดย นายกฤศ ชวนพิบุลพรรณ Tel.081-7109645