หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประหยัด6ข้อ

หลักเกณท์ในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า

หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประหยัด6ข้อ


การประหยัดไฟฟ้า ต้องเริ่มจากการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีหลักเกณฑ์ ซึ่งข้อแนะนำต่อไปนี้จะเป็นเครื่องช่วยประเมินคุณค่าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อ ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาดังนี้
1. ควรทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบเห็นนั้น กินไฟมากน้อยเพียงไร
2. มีความเหมาะสมในการใช้งานหรือไม่
3. สะดวกในการใช้สอย คงทน ปลอดภัยหรือไม่
4. ภาระการติดตั้ง และค่าบำรุงรักษา
5. พิจารณาคุณภาพ ค่าใช้จ่าย อายุใช้งาน มาประเมินออกมาเป็นตัวเงินด้วย
ปริมาณการกินไฟ (กำลังไฟฟ้า) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ

เครื่องใช้ไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า (วัตต์)

พัดลมตั้งพื้น 20 - 75
พัดลมเพดาน 70 - 100
โทรทัศน์ขาว-ดำ 28 - 150
โทรทัศน์สี 80 - 180
เครื่องเล่นวิดีโอ 25 - 50
ตู้เย็น 7-10 คิว 70 - 145
หม้อหุงข้าว 450 - 1,500
เตาหุงต้มไฟฟ้า 200 - 1,500
หม้อชงกาแฟ 200 -600
เตาไมโครเวฟ 100 - 1,000
เครื่องปิ้งขนมปัง 800 - 1,000
เครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อน 2,500 - 12,000
เครื่องเป่าผม 400 - 1,000
เตารีดไฟฟ้า 750 - 2,000
เครื่องซักผ้าแบบมีเครื่องอบผ้า 3,000
เครื่องปรับอากาศ 1,200 - 3,300
เครื่องดูดฝุ่น 750 - 1,200
มอเตอร์จักรเย็บผ้า 40 - 90

การคิดค่ากระแสไฟฟ้า
ตัวอย่าง การคิดค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 สมมุติในเดือนมกราคม 2546 ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้า 500 หน่วย
1. ค่าไฟฟ้าฐาน
1.1 ค่าพลังงานไฟฟ้า


150 หน่วยแรก 150 x 1.8047 เป็นเงิน 270.705 บาท

250 หน่วยต่อไป 250 x 2.7781 เป็นเงิน 694.525 บาท

เกิน 400 หน่วยต่อไป (500 – 400) 2.9780 เป็นเงิน 297.80 บาท

รวมค่าไฟฟ้าฐาน เป็นเงิน 1,303.93 บาท

Ft ที่เรียกเก็บเพิ่มจากค่าไฟฟ้าฐานประจำเดือนมกราคม 2546 = 21.95 สตางค์ต่อหน่วย
2. ค่าไฟฟ้าผันแปร = 500 x (21.95/100) เป็นเงิน 109.75 บาท

รวมค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปร เป็นเงิน 1,413.68 บาท
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 เป็นเงิน 98.95 บาท

รวมค่าไฟฟ้าทั้งสิ้น เป็นเงิน 1,512.63 บาท

เขียนโดย menmen

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

คงไม่ได้ต้องอธิบายมากกับการปวดหัวของเหล่าพ่อบ้านแม่บ้านมือใหม่ในการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านซักชิ้นเข้าบ้าน วันนี้เรามีข้อแนะนำข้อมูลเบื้องต้นให้ทราบให้การเลือกชื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เอาเป็นว่าตามมาดูกันเลย


หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประหยัด6ข้อ
 

หลักการในการเลือกชื้อ

  1. ความเหมาะสมในการใช้งาน อาทิเช่น การเลือก BTU แอร์ให้พอดีกับขนาดห้อง หรือการเลือกตู้เย็นที่เหมาะสมกับการใช้งานของคนภายในบ้าน
  2. ความสะดวกในการใช้งาน ประหยัดไฟ คงทน และปลอดภัย
  3. การบำรุงรักษา บริการหลังการขาย ร่วมถึงภาระการติดตั้งความถามพนักงานขายให้ชัดเจน อาทิเช่น ติดตั้งแอร์ความยาวของท่อแอร์ให้เท่าไหร่
  4. การประเมินอายุการใช้งาน พิจารณาถึงความคุมค่าของตัวเครื่องใช้นั้นๆ


6 ข้อในการประหยัดไฟง่ายๆกับเครื่องใช้ไฟฟ้า

  1. เปลี่ยนมาใช้หลอดประหยัดไฟ ซึ่งสมัยนี้นวัตกรรมประหยัดไฟพัฒนาไปมาก 
  2. อย่าลืมถอดปลั๊กทุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จแล้ว
  3. ตั้งอุณหภูมิตู้เย็นให้พอเหมาะไม่เย็นจัดเกินไป
  4. การใช้งานเตารีด ควรรีดครั้งและมากๆ จะช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า
  5. เครื่องดูดฝุ่นควรเทฝุ่นออกทุกครั้ง ก่อนการใช้ครั้งใหม่ช่วยลดภาระแรงดูดฝุ่น
  6. ตั้งเวลาพักหน้าจอคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค  ไม่ให้เปิดค้างไว้


หลักการง่ายๆเบื้องต้นที่ช่วยให้คุณเลือกชื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและวิธีประหยัดพลังงานที่เราทุกคนสามารถทำได้ อีกทั้งยังช่วยโลกอีกด้วย อย่าลืมแชร์บทความดีๆให้เพื่อนของคุณอ่าน แล้วเจอกันครับผม!!


ขอบคุณข้อมูลจาก ชุมชนคนรักบ้าน.com

Skip to Content | 1129 PEA Contact Center

ขนาดตัวอักษร

หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประหยัด6ข้อ
หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประหยัด6ข้อ
หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประหยัด6ข้อ
ความตัดกันของสี
หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประหยัด6ข้อ
หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประหยัด6ข้อ
หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประหยัด6ข้อ
  TH | EN

ค้นหา  ค้นหา

หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประหยัด6ข้อ

ปุ่มเมนู

  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์-ภารกิจ-ค่านิยม
    • นโยบายองค์กร
    • โครงสร้างองค์กร
    • คณะกรรมการและผู้บริหาร
      • คณะกรรมการ
      • คณะผู้บริหาร
      • ทำเนียบอดีตผู้ว่าการ
    • ผลการดำเนินงาน
      • รายงานประจำปี
      • PEA Smart Grid Index (SGI)
      • งบการเงินและผลประกอบการ
      • รายงานผลการดำเนินงาน
      • การพัฒนาความยั่งยืน ของ กฟภ.
      • การใช้จ่ายงบประมาณ
      • การดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล
    • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
      • การกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ กฟภ. (Compliance)
    • แผนงานและโครงการ
    • การดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล
      • รายงานแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย
    • กองทุนการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม
    • การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ กฟภ.
    • พ.ร.บ. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
    • มาตรฐานการปฏิบัติงาน
    • ยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานขององค์กร

    <div class="container"> <div class="row"> <div class="col-md-3" style="padding-right: 40px;"><img alt="รูปเจ้าหน้าที่PEA" src="/Portals/0/Images/pea-about.jpg" style="width: 95%;" /></div> </div> </div>

  • ข่าวสารประกาศ
    • ประกาศดับไฟ
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ประกาศขายทอดตลาด
    • ข่าวรับสมัครงาน
    • ปฏิทิน Off Peak
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • Product List
    • PEA จิตอาสา
    • GRID by PEA
    • การรับรองผลิตภัณฑ์มิเตอร์
  • ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า
    • ไฟฟ้าน่ารู้
    • Infographic
    • เกี่ยวกับค่าไฟฟ้า
    • การขอใช้ไฟฟ้า
    • ค่า Ft
    • ค่า FiTv
    • ข้อมูลเกี่ยวกับการอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Info)
  • ดาวน์โหลดเอกสาร
  • ติดต่อเรา
  • บริการอื่น ๆ
    • บริการเสริมของ PEA
    • งานด้านพลังงาน
      • งานส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน
      • งานรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน
      • งานรับเชื่อมต่อเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า
      • ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (PPIM)
      • ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง
      • การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์
      • มาตรฐาน GSEE

หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อประหยัด6ข้อ

ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า

วิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด

  • 24 January 2020
  • Author: SuperUser Account
  • Number of views: 382165
  • 0 Comments

ไฟฟ้าแสงสว่าง

  • ควรปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่มีคนอยู่ในห้อง
  • เลือกใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์เหมาะสมกับการใช้งาน
  • สำหรับบริเวณที่ต้องการความสว่างมาก ภายในอาคารควรเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ ส่วนภายนอกอาคารควรเลือกใช้หลอดไอโซเดียม และหลอดไอปรอท
  • ควรใช้ฝาครอบดวงโคมแบบใสหากไม่มีปัญหาเรื่องแสงจ้า และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
  • พิจารณาใช้โคมไฟตั้งโต๊ะสำหรับงานที่ต้องการแสงสว่างจุดเดียว
  • ควรถอดปลั๊กอุปกรณ์ให้แสงสว่างเมื่อไม่ใช้เป็นเวลานาน
  • ควรเลือกใช้โคมไฟแบบสะท้อนแสงแทนแบบเดิมที่ใช้พลาสติกปิด 
    ควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ แทนหลอดไส้ ซึ่งมีคำแนะนำในการใช้ดังนี้
  • หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบผอม ขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ มีความสว่างเท่ากับ หลอด 20 วัตต์ และ 40 วัตต์แต่ประหยัดไฟกว่า และสามารถใช้แทนกันได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์
  • หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์มี 2 ชนิด คือ ชนิดมีบัลลาสต์ภายในสามารภใช้แทนหลอดกลมแบบเกลียวได้ ส่วนหลอดที่มีบัลลาสต์ภายนอก จะมีขาเสียบเพื่อต่อกับตัวบัลลาสต์ที่อยู่ภายนอก
  • หลอด LED ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และให้แสงสว่างเท่าหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ และหลอดใส้ 

เตารีด

  • เตารีดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน ซึ่งในการรีดแต่ละครั้งจะกินไฟมากดังนั้นจึงควรรู้จัดวิธีใช้อย่างประหยัดและปลอดภัย
  • ก่อนอื่นควรตรวจสอบดูว่าเตารีดอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ เช่น สาย ตัวเครื่อง เป็นต้น
  • ตั้งปุ่มปรับความร้อนให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า
  • อย่าพรมน้ำจนเปียกแฉะ
  • ดึงเต้าเสียบออกก่อนจะรีดเสร็จประมาณ 2-3 นาที แล้วรีดต่อไปจนเสร็จ
  • ควรพรมน้ำพอสมควร
  • ถอดปลั๊กออกเมื่อไม่ได้ใช้
  • ควรรีดผ้าคราวละมากๆ ติดต่อกันจนเสร็จ
  • ควรเริ่มรีดผ้าบาง ๆ ก่อน ขณะเตารีดยังไม่ร้อน
  • ควรดึงปลั๊กออกก่อนรีดเสร็จเพราะยังร้อนอีกนาน
  • ควรซักและตากผ้าโดยไม่ต้องบิด จะทำให้รีดง่ายขึ้น

พัดลม

  • เปิดความเร็วลมพอควร
  • เปิดเฉพาะเวลาใช้งาน
  • ควรเปิดหน้าต่างใช้ลมธรรมชาติแทนถ้าทำได้

เครื่องเป่าผม

  • เช็ดผมก่อนใช้เครื่อง
  • ควรขยี้และสางผมไปด้วยขณะเป่า

เครื่องดูดฝุ่น

  • ควรเอาฝุ่นในถุงทิ้งทุกครั้งที่ใช้แล้วจะได้มีแรงดูดดี ไม่เปลืองไฟ 

ตู้เย็น ตู้แช่

  • ตั้งอุณหภูมิพอสมควร
  • นำของที่ไม่ร้อนใส่ตู้เย็น
  • ปิดประตูตู้เย็นทันทีเมื่อนำของใส่หรือออก
  • ปิดประตูตู้เย็นให้สนิท
  • หากยางขอบประตูรั่วให้รีบแก้ไข
  • เลือกตู้เย็นหรือตู้แช่ชนิดมีประสิทธิภาพสูง
  • ควรใช้ตู้เย็นขนาดเหมาะกับครอบครัว
  • ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากแหล่งความร้อน ให้หลังตู้ห่างจากฝาเกิน 15 ซ.ม. เพื่อระบายความร้อนได้สะดวก ไม่เปลื่องไฟฟ้า
  • ควรหมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อน
  • ควรเก็บเฉพาะอาหารเท่าที่จำเป็น
  • ตู้เย็นแบบประตูเดียวกินไฟน้อยกว่าแบบ 2 ประตู
  • หมั่นละลายน้ำแข็งเมื่อเห็นว่าน้ำแข็งเกาะหนามาก

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

  • หากใช้อย่างถูกต้องสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มาก ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
  • ควรหุงข้าวให้พอดีกับจำนวนผู้รับประทาน
  • ควรถอดเต้าเสียบออกเมื่อข้าวสุกแล้ว
  • อย่าทำให้ก้นหม้อตัวในเกิดรอยบุบ จะทำให้ข้าวสุกช้า
  • หมั่นตรวจบริเวณแท่นความร้อนในหม้อ อย่าให้เม็ดข้าวเกาะติด จะทำให้ข่าวสุกช้าและเปลืองไฟ
  • ใช้ขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว
  • ควรดึงปลั๊กออกเมื่อข้าวสุกพอแล้ว 
  • ใส่น้ำให้มีปริมาณพอควร
  • ควรปิดฝาให้สนิทขณะหุงข้าว

เครื่องสูบน้ำ

เครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกอย่างยิ่งซึ่งใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการสูบน้ำไปยังถังเก็บหรือ
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีวิธีการใช้อย่างประหยัดดังนี้

  • ควรติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำในถังและหมั่นปรับตั้งให้ถูกต้องเสมอ
  • ติดตั้งท่อน้ำให้มีขนาดเหมาะสมกับขนาดปั้ม
  • ควรตรวจแก้ไขจุดรั่วในระบบน้ำ
  • ควรติดตั้งถังเก็บน้ำในตำแหน่งที่ไม่สูงเกินไป
  • ควรติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำในถังเก็บ และดูแลรักษาให้ทำงานได้อยู่เสมอ
  • หากตัวถังเก็บน้ำไม่มีอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำ ควรดูแลอย่าให้น้ำล้นถัง
  • เครื่องสูบน้ำแบบใช้สายพานต้องตรวจสอบไม่ให้หย่อนหรือตึงเกินไป

เครื่องซักผ้า

  • ควรใส่ผ้าแต่พอเหมาะ ไม่น้อยเกินไป และไม่มากจนเกินกำลังเครื่อง
  • ควรใช้น้ำเย็นซักผ้า ส่วนน้ำร้อนให้ใช้เฉพาะกรณีรอยเปื้อนไขมันมาก
  • ควรใส่ผ้าที่จะซักตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง
  • หากมีผ้าต้องซัก 1-2 ชิ้น ควรซักด้วยมือ
  • หากมีแสงแดดไม่ควรใช้เครื่องอบแห้ง ควรจะนำเสื้อผ้าที่ซักเสร็จมาตากแดด

มอเตอร์ไฟฟ้า

  • ควรตรวจสอบแก้ไข และอัดจารบีตามวาระ
  • ปรับปรุงสายพานมอเตอร์ เช่น ปรับความตึงสายพาน เปลี่ยนสายพานใหม่
  • พิจารณาเปลี่ยนระบบควบคุมความเร็วของมอเตอร์เป็นระบบอีเล็กทรอนิกส์

เตาอบ เตาไฟฟ้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ ใช้ความร้อนมาทำให้อาหารสุก หากให้ความร้อนสูญเสียไปโดยการใช้ไม่ถูกวิธี ทำให้อาหารสุกช้าลง กินกระแสไฟเพิ่มขึ้นจึงมีข้อแนะนำการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้อย่างประหยัดคือ

  • ควรเตรียมเครื่องปรุงในการประกอบอาหารให้พร้อมก่อนใช้เตา
  • ควรใช้ภาชนะก้นแบนและเป็นโลหะจะทำให้รับความร้อน จากเตาได้ดี
  • ในการหุ่งต้มอาหารควรใส่น้ำให้พอดีกับจำนวนอาหาร
  • ในระหว่างอบอาหารอย่าเปิดตู้อบบ่อย ๆ
  • ถอดเต้าเสียบทันทีเมื่อปรุงอาหารเสร็จเรียบร้อย
  • ควรหรี่ไฟและปิดฝาหม้อในกรณีที่ต้องเคี่ยว
  • ควรใช้พาหนะก้นแบนขนาดพื้นที่ก้นเหมาะกับพื้นที่หน้าเตาและใช้พาหนะที่มีเนื้อโลหะรับความร้อนได้ดี หากเป็นไปได้ให้ใช้กับเตาไฟฟ้าซึ่งมีขายทั่วไปอยู่แล้ว
  • ควรปิดฝาภาชนะให้สนิทขณะตั้งเตา

เครื่องทำน้ำอุ่น

  • ปรับปุ่มความร้อนให้เหมาะสมกับร่างกาย
  • ปิดวาล์วทันทีเมื่อไม่ใช้งาน
  • หากมีรอยรั่วควรรีบทำการแก้ไขทันที
  • ต่อสายลงดินในจุดที่จัดไว้ให้ของเครื่องทำน้ำอุ่น
  • ปิดสวิชต์ไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำอุ่นเมื่อไม่ใช้
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่อง
  • ใช้เครื่องขนาดพอสมควร
  • ปรับความร้อนไม่ให้ร้อนเกินความจำเป็น
  • ปิดก๊อกทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
  • ในฤดูร้อนไม่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน หรือน้ำอุ่น
  • ควรใช้น้ำอุ่นที่ได้ความร้อนจากแสงอาทิตย์  

เครื่องปรับอากาศ

การใช้เครื่องปรับอากาศให้มีความเย็นที่สบายต่อร่างกาย จะประหยัดค่าไฟฟ้าอย่างได้ผล ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้