ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการด้านจิตใจ6ข้อ

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย

พัฒนาการเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการทำหน้าที่ (function) และวุฒิภาวะ (maturity) ของอวัยวะระบบต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคลทำให้สิ่งที่ยากและซับซ้อนมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนการเพิ่มทักษะใหม่ และความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม หรือภาวะใหม่ในบริบทของครอบครัว และสังคม

พัฒนาการของเด็ก
หมายถึง พฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกให้สังเกตเห็นได้ ซึ่งสะท้อนถึงพัฒนาการของสมองและระบบประสาทที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ ตั้งแต่ช่วงที่อยู่ในครรภ์มารดาและในสภาพแวดล้อมภายหลังเกิด พัฒนาการเด็กเป็นรากฐานของการพัฒนามนุษย์ไปตลอดชีวิต ซึ่งพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยเกิดจากปัจจัยที่ต่างกัน โดยสุขภาวะของเด็กอายุ 0-1 ปี ทั้งทางด้าน กาย จิต และสังคม เป็นผลมาจากปัจจัยทางชีวภาพ สภาพแวดล้อม ทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี การมีและการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น ตลอดจนคุณภาพบริการ สุขภาวะของบิดาและมารดา โดยเฉพาะมารดามีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กขณะเป็นทารกในครรภ์ และมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของชีวิตภายหลังคลอด

ช่วงแรกเกิดถึง 2 ปีเป็นช่วงที่เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ และรับประสบการณ์ใหม่ เนื่องจากระบบประสาทและสมองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโต และพัฒนาการจะมีมากน้อยในปัจจุบันและส่งผลต่ออนาคตเด็ก ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู และสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพในทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กเป็นอย่างมาก เพื่อให้เด็กเหล่านั้นมีความสำเร็จในด้านการศึกษาและสามารถมีชีวิตที่ดี สามารถหาเลี้ยงตนเองได้โดยไม่ก่อปัญหาสังคม

การศึกษาระยะยาว ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นPerry Preschool และ Abecedarion Program ต่างแสดงถึงผลดีของการให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็ก นอกจากนี้ถ้าดูความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ จะพบว่า งานวิจัยของ Dr.James Hechman ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ได้นำเสนอให้เห็นว่าการจัดการอย่างมีคุณภาพในการพัฒนาศักยภาพของเด็กเล็กจะให้ผลตอบแทนประมาณ ร้อยละ 7-10 ต่อปี ต่อเงินที่ลงทุนไป

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีดังนี้

1.ปัจจัยจากมารดาด้านชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรม หรือชุดหน่วยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากบิดา มารดา ซึ่งพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง พันธุกรรม และระดับเชาวน์ปัญญาโดยรวม ประมาณร้อยละ50 โดยผู้เชี่ยวชาญมีข้อสรุปเบื้องต้น ร่วมกัน 2 ข้อ คือ พันธุกรรมอาจเป็นตัวกำหนดแนวทางที่ทำให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลตอบสนองต่อการเรียนรู้ หรือสติปัญญาของเด็กเอง อีกข้อสรุปหนึ่งคือพันธุกรรมที่ว่านี้น่าจะประกอบด้วยยีนอย่างน้อย 2-3 ยีนที่ทำงานร่วมกัน
ส่วนปัจจัยด้านบิดา มารดา พบว่ามารดาที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปีและยังไม่เคยมีบุตรมีความเสี่ยงต่อการคลอดเด็กน้ำหนักตัวน้อยผู้หญิงที่มีการเตรียมความพร้อมที่จะเป็นแม่ ควรเป็นผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 20 – 35 ปี มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ซึ่งมีผลต่อการตั้งครรภ์ การคลอด และความปลอดภัยทั้งแม่และลูก ผู้หญิงที่มีการเตรียมความพร้อม เมื่อตั้งครรภ์ก็จะมีความตั้งใจและเต็มใจในการดูแลสุขภาพของตนและทารกในครรภ์ ซึ่งมีผลทำให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดีเมื่ออยู่ในครรภ์ ในขณะเดียวกันผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี หรืออายุมากกว่า 35 ปี ตั้งครรภ์ มีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการต่ำ

ด้านการศึกษาของบิดา และมารดา พบว่าจะมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะด้านการศึกษาของมารดาจะมีผลมากกว่าการศึกษาของบิดา และช่วงระหว่างตั้งครรภ์ของมารดาซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากมารดามีโรคประจำตัว หรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ อาทิ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น สิ่งดังกล่าวจะทำให้เกิดผลกระทบต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ไม่ว่าจะเป็น การคลอดก่อนกำหนด หรือภาวะน้ำหนักตัวเด็กมาก หรือน้อยกว่าปกติ ภาวะการขาดออกซิเจนในเด็กแรกเกิด เป็นต้น 

การติดเชื้อในช่วงปริกำเนิด โดยเฉพาะโรคที่สำคัญ ได้แก่  เอชไอวี หัดเยอรมัน เชื้อสุกใส cytomegalovirus (CMV) toxoplasmosis เป็นต้น เชื้อบางชนิดจะทำให้เกิดผลเสียโดยเฉพาะในส่วนของสมองและก่อให้เกิดความพิการได้

ด้านภาวะโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์โดย พบว่า ในขณะตั้งครรภ์สารที่จะมีผลต่อพัฒนาการ ของเด็กเป็นอย่างมาก คือ สารไอโอดีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสมอง ในพื้นที่ที่ขาดไอโอดีนจะมีผลกระทบต่อระบบประสาท ไม่ว่าการที่จะเป็นสติปัญญาลดลง อาจก่อให้เกิดภาวะสมองพิการ หูหนวก

จากการรายงานผลการศึกษาต่าง ๆ (Meta - analysis) 2 งานวิจัย พบว่า ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ขาดสารไอโอดีนจะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กที่ไม่ขาดสารไอโอดีน 6.9 – 10.2 จุด และอีกงานวิจัย พบว่า การขาดสารไอโอดีนทำให้ระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กและวัยรุ่นลดลง โดยเฉลี่ยประมาณ 13.5 จุด นอกจากนี้การขาดธาตุไอโอดีนยังเป็นหนึ่งในสี่ของความเสี่ยงหลักของประเทศกำลังพัฒนาที่ได้มีรายงานของ Walker และคณะ ที่จำเป็นต้องรีบดำเนินการแก้ไข ซึ่งในประเทศไทยการขาดธาตุไอโอดีนในเด็กยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน แต่มีข้อมูลการสำรวจสถานการณ์ไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ในปี 2552 พบว่า ระดับไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 142.1 ไมโครกรัมต่อลิตร และ ร้อยละ 52.5 มีการขาดสารไอโอดีนด้านพฤติกรรมเสี่ยงจากการดื่มสุราของมารดาขณะตั้งครรภ์พบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะก่อให้เกิดผลเสียต่อเด็กไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติบริเวณใบหน้า และแขน ขา การเจริญเติบโต ปัญหาทางด้านพฤติกรรม รวมทั้งความสามารถของสติปัญญา โดยในต่างประเทศ พบว่าความชุกของการเกิดเด็กทารกที่มีความผิดปกติจากการดื่มแอลกอฮอล์ในหญิงตั้งครรภ์ พบได้ประมาณร้อยละ 1

2.  ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมนอกจากในด้านการศึกษาของบิดา มารดา ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็ก โดยเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อยจะส่งผลพัฒนาการและสติปัญญาของเด็ก รวมถึงปัญหาด้านพฤติกรรมในด้านความรุนแรง และความวิตกกังวลในครอบครัวที่มีปัญหาการหย่าร้าง หรือแตกแยกในครอบครัว ก็จะส่งผลกระทบต่อการศึกษาและปัญหาพฤติกรรมในเด็ก ในส่วนของการเลี้ยงดูซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ปัญหาพัฒนาการล่าช้าส่วนสำคัญคือปัญหาจากการขาดการเลี้ยงดู และกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม ซึ่งการเลี้ยงดูเด็กโดยครอบครัวมีแนวโน้มลดลงแม้ว่าในเด็กอายุ 1-3 ปี ส่วนใหญ่ยังถูกเลี้ยงดูโดยมารดา แต่พบว่าในกรุงเทพมหานคร มีเด็กถูกนำไปฝากเลี้ยงในเวลากลางวัน เนื่องจาก บิดา มารดา ต้องไปทำงานนอกบ้าน และจากการสำรวจเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2545 โดยสำนักสถิติแห่งชาติ พบว่า เมื่อเด็กมีอายุระหว่าง 3-5 ปี ได้รับการดูแลจากสถานเลี้ยงเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน มากเกินครึ่ง คือร้อยละ 53.3 ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการกระตุ้นพัฒนาการเด็กคือ ผู้ปกครองมีกิจกรรมร่วมกับเด็ก

จากการศึกษาพบว่า การอ่านหนังสือร่วมกับเด็กจะส่งผลบวกด้านสติปัญญามากกว่า 6 จุด และเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการกระตุ้นพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็ก ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทยโดยสนับสนุน ให้ บิดา มารดา และผู้ปกครองเด็ก มีการจัดกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่าร่วมกับเด็ก และมีโครงการหนังสือเล่มแรก (Book start) แจกให้แก่เด็กเพื่อให้ผู้ปกครองนำไปอ่านกับบุตรหลาน

ด้านปัจจัยการเลี้ยงดูที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก คือ การปล่อยให้เด็กใช้เวลาไปกับการดูโทรทัศน์ เล่นเกม เล่นอินเตอร์เน็ต ส่งผลต่อปัญหาด้านสมาธิ การเรียน การนอน การกินในเด็ก จึงมีข้อแนะนำไม่ให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ได้ดูโทรทัศน์ หรือใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อความบันเทิง อื่น ๆ

3. ปัจจัยด้านเด็กสิ่งที่สำคัญมาก คือ การดูแลเอาใจใส่ของมารดาและภาวะแทรกซ้อน ในช่วง ตั้งครรภ์ที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเด็ก ทำให้เกิดภาวะทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย การคลอดก่อนกำหนด ภาวะขาดออกซิเจน ภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด สิ่งดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อพัฒนาการเด็กเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มที่คลอดก่อนกำหนดมากหรือมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย

ภาวะโภชนาการของเด็ก พบว่า ในเด็กที่มีภาวะเตี้ย แคระแกรน และการขาดธาตุเหล็กจะส่งผลต่อพัฒนาการในเด็ก และเด็ก 1-5 ปีร้อยละ 6.3 เตี้ยกว่าเกณฑ์และเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ภาวะเตี้ยแคระรุนแรงร้อยละ 2.4 และร้อยละ 4.8 มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ซึ่งจะเป็นเด็กเตี้ยหรือน้ำหนักน้อยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเชาว์ปัญญาต่ำ ในขณะที่ร้อยละ 8.5 มีน้ำหนักเกินและอ้วน

นอกจากนี้ยังมีรายงานที่พบว่าในเด็กที่มีภาวะซีดมากจากการขาดธาตุเหล็กถึงแม้จะได้รับการรักษาแต่ก็ไม่สามารถช่วยให้ความสามารถทางสติปัญญากลับมาดีได้ดังเดิม

การได้กินนมแม่ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางด้านบวกกับเด็ก โดยการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก(World Health Assembly) ครั้งที่ 54 เมื่อ พ.ศ.2546 กำหนดให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว (Exclusive breast feeding) เป็นเวลา 6 เดือน และให้อาหารเสริมร่วมกับนมแม่ต่อไปจนเข้าขวบปีที่ 2 ตามผลการทบทวนงานวิจัยจากทั่วโลกมากกว่า 3,000 เรื่อง ที่สนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว โดยรายงานสรุปของ WHO ในปี คศ. 2013 พบว่า การกินนมแม่จะส่งผลต่อความสามารถทางสติปัญญาของเด็ก 2.19-3.45 จุด นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาระยะยาว ที่พบว่า เด็กที่กินนมแม่เป็นหลัก ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จะส่งผลดีต่อความสามารถทางสติปัญญา พัฒนาการความสามารถ ด้านการศึกษาและสุขภาพจิต แต่จากผลรายงานผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจสุขภาพครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 สุขภาพเด็ก พบว่าเด็กกินนมแม่อย่างน้อย 3 เดือนมีร้อยละ 31.1 และอย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 7.1

จากการสำรวจของสำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัยร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจสภาวะสุขภาพพัฒนาการและการเจริญเติบโตเด็กปฐมวัยของประเทศไทยปี พ.ศ.2542 ในเด็กอายุ 1 ปีและ 4 ปีจำนวน 3,096 คน ใน 4 ภาค 9 จังหวัดโดยใช้แบบทดสอบพัฒนาการ Denver II พบว่าพัฒนาการรวมทุกด้านของเด็กปฐมวัยปกติ(Normal) ร้อยละ 71.69 สงสัยล่าช้า(Suspect) ร้อยละ 28.31 ปี 2550 มีพัฒนาการรวมปกติ 67.7และใน พ.ศ.2545 กรมสุขภาพจิตได้ดำเนินการสำรวจระดับความฉลาดทางอารมณ์เด็กวัย3-5ปีพบว่า พ.ศ.2545 เกณฑ์ปกติ 139-202 คะแนน ปี 2550 เกณฑ์ปกติลดลง 125–198 คะแนนด้านที่ลดลงเป็นด้านการปรับตัวต่อปัญหาและความกระตือรือร้น

จากข้อมูลสถานการณ์จากการสำรวจ พบว่าพัฒนาการของเด็กไทยที่สมวัยมี แนวโน้มลดลง ความฉลาดทางอารมณ์ก็มีค่าเกณฑ์ปกติลดลงด้วย ดังนั้นกรมสุขภาพจิตจึงได้ร่วมกับกรมอนามัยพัฒนาหลักสูตรการจัดกิจกรรมเสริมสร้างไอคิวอีคิวเด็ก 0–5 ปี (สำหรับพ่อแม่) ขึ้นโดยยึดหลัก 2ก 2ล

“กิน กอด เล่น เล่า” ในการดูแลเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พ่อแม่ตลอดจนผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลทั้งทางด้านสุขภาพ ด้านการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ด้านการสร้างนิสัยรักการอ่าน และการสร้างความผูกพัน โดยออกแบบเป็นหลักสูตรการจัดกิจกรรมสำหรับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูจำนวน 4 ครั้งติดต่อกัน

ที่มา

ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์. พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตบริการสุขภาพที่ 4. 2557

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการด้านจิตใจมีอะไรบ้าง

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย.
สภาพแวดล้อมขณะอยู่ในครรภ์มารดา.
การอบรมเลี้ยงดู.
เจตคติของพ่อแม่.
บุคลิกภาพของพ่อแม่.
ค่านิยมของพ่อแม่.
สภาพครอบครัว.
สภาพเพื่อนบ้าน.
สภาพสังคม.

ปัจจัยทางด้านจิตใจ มีอะไรบ้าง

1. ปัจจัยทางจิต หมายถึง ลักษณะจิตใจที่ผลักดันให้เกิดความสามารถในการแก้ปัญหาการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ ประกอบด้วย เจตคติต่อความสามารถในการแก้ปัญหาการ ปฏิบัติงาน แรงจูงใจตามทฤษฎีความคาดหวัง ความรู้ในการปฏิบัติงานเบื้องต้น

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการด้านร่างกายมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กที่ต้องปรับตัว เพื่อให้ชีวิตอยู่รอดและพัฒนาตนเอง การอบรมเลี้ยงดู สภาพสังคมและวัฒนธรรม สภาพครอบครัว ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านชีวภาพ ฮอร์โมน สีผิว สีผม เพศ

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆของวัยรุ่นมีอะไรบ้าง

วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา ในแต่ละบุคคลจะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการแตกต่างกัน ทั้งนี้ เนื่องมาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ประการแรก คือ พันธุกรรม การท างานของ ต่อมไร้ท่อ พื้นฐานทางอารมณ์และจิตใจ ปัจจัยด้านอายุ พฤติกรรมสุขภาพ สภาพแวดล้อมทางสังคม การอบรม ...