การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงริเริ่มการเสด็จเยือนต่างประเทศทั้งในทวีปเอเชียและยุโรปทั้งอย่างเป็นทางการและเป็นการส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศด้วยพระราชประสงค์เช่นเดียวกับพระราชบิดา คือ เสด็จไปเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศกับการเสด็จไปรักษาพระวรกายของพระองค์ มิเพียงแต่เท่านั้นยังทรงขยายเส้นทางไปสู่อินโดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา และทุกครั้งยังมีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จเคียงคู่เสมอ

ในระยะเวลา 9 ปีแห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ได้เสด็จประพาสต่างประเทศรวม 4 ครั้ง ดังนี้

การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 1 ในปีที่ 5 ของการครองราชสมบัติ พ.ศ. 2472 ระหว่างวันที่ 31กรกฎาคม- 11 สิงหาคม พ.ศ.2472 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสิงคโปร์ ชวา และบาหลี ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของประเทศอังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้เพื่อเจริญทางพระราชไมตรีและทอดพระเนตรภูมิสถานบ้านเมืองและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศเหล่านั้น

การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 2 ในปีที่ 6 ของการครองราชสมบัติ ระหว่าง พ.ศ. 2473 ระหว่างวันที่ 6เมษายน –8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีน (เฉพาะส่วนที่เป็นประเทศเวียดนาม และกัมพูชาปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของประเทศฝรั่งเศส เพื่อเจริญพระราชไมตรีและก้าวข้ามจากความบาดหมางทั้งกับเจ้านายพื้นเมืองเดิมและสร้างสัมพันธภาพที่ดีเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูต

-การประพาสต่างประเทศครั้งที่ 3 ในปีที่ 7 ของการครองราชสมบัติ ระหว่างวันที่ 6 เมษายน – 28 กันยายน พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา การเสด็จฯครั้งนี้นอกจากเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศแล้วยังเพื่อรักษาพระเนตรที่สหรัฐอเมริกาด้วย เป็นเวลานานถึง 3 เดือนเต็ม และในพระราชวโรกาสที่เสด็จฯถึงกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่28 เมษายน พ.ศ. 2474 นั้นเอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์นิวยอร์ค ไทม์ แสดงพระราชประสงค์จะทรงจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์ และพระราชทานอำนาจนั้นแก่ราษฎรในการปกครองประเทศในรูปแบบเทศบาลขึ้นก่อนเพื่อเป็นฐานก้าวไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในโอกาสต่อไป

4 ในปีที่ 8-9 ของการครองราชสมบัติ และ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 แล้ว ทั้งสองพระองค์เสด็จประพาสยุโรป 9 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี (นครรัฐวาติกัน) อังกฤษ เดนมาร์ก เยอรมนี เบลเยี่ยม เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี และสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ และเพื่อทรงรักษาพระเนตรอีกครั้งในประเทศอังกฤษ จนกระทั่งถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477ซึ่งเป็นวันสละราชสมบัติ ณ ประเทศอังกฤษ

อาจกล่าวได้ว่าการเสด็จประพาสต่างประเทศ ทั้ง 4 ครั้งในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นไปเพื่อการเจริญสัมพันธไมตรี การทอดพระเนตรความเจริญของต่างประเทศเพื่อนำมาประยุกต์ในการพัฒนาประเทศสยามสืบต่อจากการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 อนึ่ง การเสด็จไปรักษาพระสุขภาพ โดยการผ่าตัดพระเนตรครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาในพ.ศ. 2474 และรักษาพระเนตรครั้งที่ 2 และรักษาพระทนต์ในประเทศอังกฤษ พ.ศ.2476

ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของทั้งสองพระองค์ในต่างประเทศสะท้อนให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเคียงข้างกันทั้งในยามสุขและยามทุกข์ ทั้งการเสด็จประพาสในประเทศ ภูมิภาคต่างๆทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ของในหลวงรัชกาลที่ 5 ในเบื้องต้นแม้ว่าจะมีความขลุกขลักอยู่บ้าง แต่ท้ายที่สุดทุกอย่างก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งการเสด็จประพาสในครั้งนั้นถือเป็นการนำเสนอภาพลักษณ์เชิงบวกของชาวสยามแก่ชนชาติตะวันตกด้วยการปรากฏพระองค์เอง ส่งผลให้เกิดการยอมรับทั้งจากราชสำนัก ประมุข และผู้นำของรัฐบาลต่างๆ และพระองค์ยังทรงได้รับความสนใจจากสื่อที่มีอิทธิพลทางความคิดเห็นของสาธารณชนอย่างหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ ในยุโรปอีกด้วย

และหนึ่งในประเทศที่ให้การต้อนรับพระองค์เป็นอย่างดีคือ รัสเซีย หลังจากที่ขบวนเสด็จฯ ได้เดินทางถึงประเทศรัสเซีย ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับการต้อนรับและได้รับมิตรไมตรีอย่างดียิ่งจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 และมีการเผยแพร่พระรูปร่วมกันของสองพระองค์ในหนังสือพิมพ์ต่างๆ ทั่วยุโรป

การต้อนรับและมิตรไมตรีที่พระมหากษัตริย์สยามได้รับจากพระมหากษัตริย์รัสเซียนี้ มาจากความสัมพันธ์อันดีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นมกุฏราชกุมารแห่งรัสเซีย พระองค์ได้เสด็จเยือนเมืองไทยในปี พ.ศ. 2433 และทรงได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ จึงทำให้พระองค์มีมิตรไมตรีจิตและความคุ้นเคยดียิ่งกับในหลวงรัชกาลที่ 5

ซึ่งการต้อนรับของประเทศรัสเซียนั้น ทำให้สยามเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากราชสำนักและประชาคมยุโรปอื่นๆ ในเวลานั้น โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน รวมถึงประเทศอื่นๆ ในยุโรปและแถบสแกนดิเนเวีย

การเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรปด้วยพระองค์เองในครั้งนั้น เปรียบเสมือนท่านทรงใช้ตนเองเป็นสื่อบุคคล อีกทางหนึ่ง เป็นการประชาสัมพันธ์ประเทศ ให้ต่างประเทศจดจำและยอมรับสยามในฐานะชาติที่มีความศิวิไลซ์ มากกว่าที่เขาได้พบได้อ่านจากบันทึกของคนที่เดินทางเข้ามาในสยามหรือภาพเขียนในยุคนั้น ส่งผลให้ไม่เพียงแต่เฉพาะคนในระดับสูงของยุโรปเท่านั้นที่รู้จักในหลวงรัชกาลที่ 5 หากแต่ประชาชนทุกระดับที่ได้มีโอกาสสัมผัส King of Siam ด้วยตนเองหรือผ่านสื่อต่างๆ ก็รู้จักสยามผ่านทางพระองค์ท่านได้ดีขึ้น

ดังนั้น ผลระยะยาวจากการเสด็จประพาสยุโรปในครั้งนั้น น่าจะเป็นภาพลักษณ์เชิงบวกของชาวสยามจากการปรากฏพระองค์ให้ชาวตะวันตกได้เห็นกับตาตนเองถึงพระจริยวัตรอันงามสง่า และความมีอารยะของพระมหากษัตริย์แห่งสยาม สิ่งเหล่านี้ได้ลบล้างภาพจำเดิมๆ ของชาวยุโรปจากข่าวชวนเชื่อในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับความเป็นคนป่าคนเถื่อนของสยามลงจนหมดสิ้น ดังที่พบว่า จากการเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 พระองค์ได้รับการยกย่องว่า ทรงเป็น “The Civilizer of the East” และ “The most educated of the Asian rulers”

การเสด็จประพาสซึ่งถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์สยามประเทศนั้น ในหลวงรัชกาลที่ 5 และคณะที่ปรึกษาได้มีการจัดเตรียมการเดินทางล่วงหน้า อีกทั้งยังศึกษาข้อมูลการเดินทางของพระเจ้าแผ่นดินของชาติอื่น ที่ได้เดินทางไปยุโรปมาก่อนหน้านั้น นั่นคือ ขบวนเสด็จพระมหากษัตริย์จากตะวันออก ได้แก่ พระเจ้ากรุงตุรกีกับพระเจ้ากรุงเปอร์เซียที่เสด็จด้วยขบวนใหญ่โต ที่มีผู้โจษจันถึงขบวนและพิธีการที่ปฏิบัติตามขนบประเพณีอย่างตะวันออกแท้ๆ จนสร้างความระอาให้กับเจ้าบ้าน อีกทั้งบางพระองค์ยังให้รัฐบาลของประเทศบางประเทศ (เช่น อังกฤษ) ต้องเสียเงินทองรับรองเป็นจำนวนมาก

ดังที่มีหนังสือกราบบังคมทูลของพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 115 กรณีการเสด็จประพาสยุโรปโดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ของกษัตริย์และเจ้านายจากตะวันออกเหล่านั้น โดยเรียบเรียงความตอนหนึ่งได้ว่า …

“พระมหากษัตริย์แต่ประเทศตะวันออกซึ่งได้เสด็จมาประพาสยุโรปนั้น มีพระเจ้ากรุงตุรกีกับพระเจ้ากรุงเปอร์เซียองค์ก่อน ท่านทั้งสองเสด็จมาด้วยกระบวนมากมายใหญ่โตเป็นอย่าง Oriental แท้ๆ เสด็จแห่งใดก็เป็นที่เมืองนั้นระอาในที่รับเสด็จ ทำอะไรดูเหมือนไม่รู้สึกเกรงใจเจ้าของบ้าน … ครั้นเมื่อครั้งเจ้าบุตรเมืองอำฟะคานมาเมืองอังกฤษเมื่อปีก่อนนี้ มาอยู่จนให้เคาเวอนเมนต์ต้องรับรองเสียเงินทองเป็นนักหนา ให้ hint เท่าไรๆ ก็ไม่ไป จนคนระอาหมด

การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานให้เป็นอิสระแก่พระองค์จริงๆ คือ หมายความว่า ไม่ต้องอาศัยเจ้าใดเมืองใด ไม่ได้มาอยู่รับเลี้ยงของใคร … มีพาหะนะและเป็นอิสระแก่พระองค์พอแก่ที่จะทำเองได้ทุกอย่าง เสด็จพระราชดำเนินอย่างที่ฝรั่งทั้งหลายย่อมกลัวเกรงและให้เคารพมาก เพราะว่าเราเป็น Independent จริง ชอบพระราชหฤทัยจะทรงอย่างใดก็ได้ ไม่มีใครเอื้อมเอียมาล่วงเกินได้ และข้าพระพุทธเจ้าเชื่อเป็นแน่ว่า Independent attitude นี้ จะชักมาซึ่งความต้อนรับอันดีตลอดทั่วยุโรป”

การเตรียมพระองค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของในหลวงรัชกาลที่ 5 คือ การอ่านหนังสือบันทึกของชาห์แห่งเปอร์เซีย คือ พระเจ้านัสเซอร์ อัล-ติน เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป เป็นการหาความรู้และเพื่อเตรียมพระองค์สำหรับการเสด็จประพาส

ชาห์แห่งเปอร์เซียพระองค์นี้เป็นพระองค์เดียวกันกับที่ได้รับการอ้างถึงในพระหัตถเลขาของพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณข้างต้นนั่นเอง หนังสือบันทึกของชาห์แห่งเปอร์เซียเล่มนี้ เป็นหนังสือที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงอ่านและศึกษาอย่างจริงจังก่อนพระบรรทม ตลอดระยะเวลาที่ประทับบนเรือพระที่นั่งมหาจักรีจากสิงคโปร์ถึงทะเลแดง

กล่าวได้ว่า การจัดเตรียมองค์ประกอบของการเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 หรือ ร.ศ. 116 นั้นมีทั้งที่มาจากการเรียนรู้บทเรียนจากผลการกระทำของผู้อื่นผ่านการบอกเล่าและการอ่าน อีกทั้งมาจากประสบการณ์ส่วนพระองค์ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก การมีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับชาวตะวันตกและติดตามข่าวสารความเป็นไปของการเมืองระดับโลก รวมไปถึงการที่พระองค์ได้เคยเสด็จประพาสประเทศต่างๆ ที่เป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตกก่อนหน้านี้ด้วย

ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงเห็นความสำคัญของการสร้าง “อิมเปรชชัน” (Impression) หรือความประทับใจ จากการที่พระองค์ทรงชื่นชมชาวญี่ปุ่น ที่เขียนหนังสือที่เคานต์โอกุมาเป็นผู้เรียบเรียง ว่าเป็นการแต่งหนังสือตาม “ปอลิซี” (Policy) ของรัฐบาลด้วยวัตถุประสงค์ “เพื่อหวังผลจะให้เกิดอิมเปรชชันดีสำเร็จประโยชน์” ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ชาวญี่ปุ่นรู้จักการสร้างภาพลักษณ์ให้กับประเทศของตน ดังในพระราชหัตถเลขาที่ทรงตอบเจ้าพระยายมราช ที่นำหนังสือมาถวายในปี พ.ศ. 2453 ความว่า …

“ข้อความที่เรียบเรียงลงนั้น ไม่ได้เขียนลงตามพงศาวดารตามเรื่อง แต่แต่งตามรูปปอลิซีของรัฐบาลในปัจจุบันนี้ ด้วยหวังผลจะให้เกิดอิมเปรสชันดีสำเร็จประโยชน์ …”

เหตุที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงชื่นชมความเก่งในการสร้างอิมเปรสชันของชาวญี่ปุ่น เนื่องจาก การแต่งหนังสือเช่นนี้ มีความสอดคล้องกับพระบรมราโชบายของพระองค์ ที่ได้ทรงปฏิบัติมาแล้วก่อนหน้านี้ ในเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ของชาวสยามเกี่ยวกับเรื่องการนุ่งห่มหรือการแต่งกายของราษฎร เมื่อคราวที่นักท่องเที่ยวหรือพระราชอาคันตุกะจากต่างแดนมาเยี่ยมเยือน ดังเช่น ในปี พ.ศ. 2442 ที่เจ้าชายเฮนรี่ ลิขเข่นสไตน์ เสด็จมาเยือนกรุงสยาม พระองค์ทรงมีประกาศให้ราษฎรชายใส่ผ้านุ่งหรือโสร่งคลุมเข่า เมื่อเดินออกนอกถนน ยกเว้นเมื่อลงอาบน้ำในคลอง ส่วนผู้หญิงจะต้องห่มผ้าเมื่อปรากฏตัวในที่สาธารณะโดยไม่มีข้อยกเว้น ส่วนเด็กต้องใส่เสื้อผ้าทุกคน ยกเว้นที่อาบน้ำอยู่ มิเช่นนั้นจะต้องโดนปรับ

เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่า ในหลวงรัชกาลที่ 5 ท่านทรงตระหนักดีว่า ชาวตะวันตกให้ความสำคัญกับการแต่งกายในฐานะที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการแสดงออกซึ่งความศิวิไลซ์ ตามบรรทัดฐานหรือมาตรวัดของชาติตะวันตก ดังนั้น การให้ชาวตะวันตกที่เป็นผู้มีอิทธิพลสูงของประเทศนั้นๆ เห็นภาพราษฎรชาวสยามเดินตัวเปล่า ไม่สวมเสื้อ หรือไม่ใส่กางเกง ซึ่งแตกต่างไปจากการแต่งกายในวัฒนธรรมตะวันตก ย่อมไม่สร้างความประทับใจในด้านบวกเป็นแน่ ซึ่งการตระหนักเรื่องความสำคัญของการแต่งกายตามวัฒนธรรมตะวันตกนี้ ก็ปรากฏชัดในการเตรียมพระองค์และขบวนเสด็จในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ด้วยเช่นกัน

จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบแห่งความสำเร็จในการเสด็จประพาสยุโรปของในหลวงรัชกาลที่ 5 นอกจากความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในวัฒนธรรมตะวันตกของพระองค์แล้ว การเตรียมการมาอย่างดีโดยเฉพาะการอ่านบันทึกที่จำเป็นต่างๆ ในการเสด็จประพาส และการวางแผนเตรียมการระหว่างผู้ร่วมคณะ ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พระราชกรณียกิจของพระองค์ดำเนินไปอย่างราบรื่น เมื่อบวกรวมเข้ากับการตั้งพระราชหฤทัยที่มุ่งมั่น ทำให้การเดินทางกว่าครึ่งโลก เพื่อให้ชาวตะวันตกรับรู้ถึงความมีอารยะของชาวสยามจึงสำเร็จลุล่วงด้วยดี และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศรักษาเอกราชจากการล่าอาณานิคมมาได้จนถึงทุกวันนี้

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เป็นที่มาของพระราชนิพนธ์เรื่องอะไร

ไกลบ้าน เป็นพระราชนิพนธ์ลายพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2450 พระราชทานแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ผู้ซึ่งสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถในตำแหน่งราชเลขานุการิณีรวมจำนวน 43 ฉบับ เสด็จประพาส ...

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ของรัชกาลที่ 5 มีจุดประสงค์อะไร

เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เป็นการเสด็จประพาสแบบส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2450 เพื่อรักษาพระวรกายแบบสปาบำบัดตามคำแนะนำของแพทย์ส่วนพระองค์ชาวต่างชาติที่เมืองบาเดิน-บาเดินและบาทฮ็อมบวร์ค ประเทศเยอรมนี

ข้อใดคือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 ซึ่งทำให้ทรงสามารถสร้างพันธมิตรทางการทูตกับมหาอำนาจตะวันตกและเสริมสร้างความสัมพันธ์กับพระราชวงศ์ในยุโรป นอกจากนี้ ทรงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศตะวันตกเนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์จากเอเชียพระองค์แรกที่ ...

การเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 แตกต่างกันอย่างไร

การเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกของรัชกาลที่ 5 ในพ.ศ. 2440 เป็นส่วนหนึ่งของพระราชวิเทโศบายเพื่อรักษาเอกราชของชาติท่ามกลางการรุกคืบของจักรวรรดินิยมตะวันตก ขณะที่วัตถุประสงค์สำคัญสำหรับการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2450 เป็นที่ทราบกันดีว่าเพื่อพักผ่อนพระวรกาย ฟื้นฟูพระพลานามัยและรักษาพระอาการประชวรซึ่งเป็นผลมาจาก ...