การทําสังคายนาครั้งที่ 1 นั้นเนื่องมาจากสาเหตุใด * 1 คะแนน

สาเหตุของการสังคายนาครั้งที่ 1 และผลจาการสังคายนา โดยสรุป //dmc.tv/a16976

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พระพุทธศาสนา
[ 10 พ.ย. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18295 ]

การสังคายนาครั้งที่ 1 และผลพวงของการสังคายนาครั้งที่ 1

สาเหตุของการสังคายนาที่ปรากฎในปัญจกสติกขันธกะ สังคีตินิทาน (วิ.จู. 7/437/375)  ว่า พระมหากัสสปะได้ปรารภที่ประชุมสงฆ์ว่ามีพระเฒ่ารูปหนึ่งชื่อสุภัททะ กล่าวถ้อยคำจาบจ้วงพระธรรมวินัยทำนองว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วก็ดี พวกเราจะได้พ้นจากการปกครอง ไม่ต้องมีผู้ใดมาคอยตักเตือนบัญญัตินั่นนี่ว่า ข้อนี้ไม่ควรทำข้อนี้ควรทำ

ส่วนสาเหตุอื่นๆ คือ เพราะพระมหากัสสปะได้ปรารภพุทธดำรัสที่รับสั่งแก่พระอานนท์ว่าพระธรรมวินัยจักเป็นศาสดาแทนพระองค์ในกาลที่พระองค์ล่วงไป(เสถียร  โพธินันทะ, 2543 : 56) เพื่อต้องการเรียบเรียงพระธรรมวินัยให้สมบูรณ์ 

และอีกสาเหตุหนึ่งคือ พระมหากัสสปะมีเหตุผลส่วนตัวที่ท่านต้องพิทักษ์ศาสนธรรม ท่านได้รับยกย่องว่ามีคุณธรรมเครื่องอยู่เสมอด้วยพระองค์ และทรงเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิของพระพุทธองค์กับท่าน(ระแบบ ฐิตญาโณ, 2542 : 124)  ในฐานที่ทรงยกย่องพระมหากัสสปะนี้จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ท่านทำสังคายนาครั้งนี้ด้วย 

โดยการสังคายนาครั้งนี้ มีรายละเอียดดังนี้ ทำเมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว 3 เดือน สถานที่ ถ้ำสัตบรรณคูหา ระยะเวลา 7 เดือนจึงสำเร็จ มีพระอรหันต์ขีณาสพ 500 รูปเป็นผู้ทำสังคายนา ประธานสงฆ์คือพระมหากัสสปะ ผู้ตอบแก้พระวินัยคือพระอุบาลี ผู้ตอบแก้พระธรรมคือพระอานนท์ ผู้อุปถัมภ์คือพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งกรุงราชคฤห์ 

ผลจากการทำสังคายนาคือ มีการเรียบเรียงพระวินัยและพระธรรมเป็นหมวดหมู่ มีการปรับอาบัติพระอานนท์ มีการลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ มีการยอมรับมติของพระมหากัสสปะให้คงสิกขาบทเดิมไว้ทั้งหมด และเพราะความเห็นไม่สอดคล้องกันในเรื่องสิกขาบทเล็กน้อย พระเถระบางพวกว่าเว้นจากปาราชิก 4 เสียนอกนั้นเล็กน้อย เป็นต้น สงฆ์จึงมีมติเห็นชอบกับพระมหากัสสปะว่า จะไม่เพิกถอนสิกขาบท และไม่บัญญัติในสิ่งที่ไม่ได้ทรงบัญญัติ

ในภายหลังจากทำสังคายนา พระปุราณะมาพร้อมกับพระภิกษุบริวาร 500 รูปจากทักขิณาคีรีชนบท พวกภิกษุที่ประชุมพระธรรมวินัยได้บอกพระปุราณะว่า "พระธรรมวินัยอันภิกษุเถระสังคายนาเสร็จแล้ว ท่านจงเข้าถึงพระธรรมวินัยที่สังคายนานั้น" พระปุราณะตอบว่า "พระเถระทั้งหลาย สังคายนาพระธรรมและพระวินัยเรียบร้อยแล้วหรือ แต่ว่า ข้าพเจ้าได้ฟัง  ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคด้วยประการใด จักทรงไว้ด้วยประการนั้น" (วิ.จู. 7 / 444 / 385-386) พระปุราณะมีความเห็นส่วนใหญ่ตรงกับการสังคายนาครั้งนี้ แต่มีเพียงเรื่องกถาวัตถุ 8 ที่เป็นพุทธานุญาตพิเศษเมื่อคราวเกิดทุพพภิขภัย (แต่ในภายหลังทุพพภิกขภัยสงบลงพระพุทธองค์ทรงตรัสห้ามกถาวัตถุ 8) และจะยังคงถือปฏิบัติตามที่ได้สดับมาจากพระพุทธองค์ นั่นคือ มีฝ่ายพระปุราณะรวมทั้งบริวารอีกอย่างน้อย 500 ที่ไม่ยอมรับในการสังคายนาครั้งนี้ และมีฝ่ายพระมหากัสสปะที่เห็นว่าให้คงพระวินัยไว้ทุกข้อโดยไม่มีการเพิกถอน 

การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นจากพระภิกษุเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น และมีพระภิกษุอีกจำนวนมากไม่ได้เข้าในการสังคายนาด้วย ทำให้สงฆ์มีความเห็นเป็นสองฝ่ายคือ บางพวกเห็นด้วยกับพระปุราณ บางพวกเห็นด้วยกับพระมหากัสสปะ

การสังคายนาครั้งที่ 2 และเหตุการณ์ที่นำไปสู่สังคายนาครั้งที่ 2 >>> 


//goo.gl/e6H95Y

การสังคายนาพระไตรปิฎก

นับจากการสังคายนาพระไตรปิฎกที่มีขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ต่อเนื่องมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ นอกจากจะประกาศถึงความมั่นคงของพุทธศาสนาของกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ยังประกาศถึงความเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาให้นานาอาณาจักรรายรอบได้รับรู้

ล่วงมาในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับตราความเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อมีพระบรมราชโองการให้มีการสังคายนาตรวจชำระพระไตรปิฎกขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๘ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารกรุงเทพฯ และเสร็จสิ้นในพุทธศักราช ๒๕๓๐ อันเป็นศุภวารดิถีมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ซึ่งในโอกาสนี้ได้จัดให้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ออกเป็นฉบับภาษาบาลีและฉบับแปลเป็นภาษาไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนให้จัดตั้ง "มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ" ขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ เพื่อสนับสนุนการจัดสร้างพระคัมภีร์อัฏฐสาลินี ภาคภาษาไทยซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อน รวมทั้งการปริวรรตอักษรโบราณ ท้องถิ่น ชำระและแปลพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาไทย แล้วจัดพิมพ์เผยแพร่ไปตามวัด สถาบันการศึกษา และหอสมุดทั้งในและต่างประเทศ รวมหนังสือที่จัดพิมพ์แล้ว ๘๖,๔๐๐ เล่ม

และเพื่อให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการอันก้าวไกลทางด้านเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ อันเป็นยุคของการสื่อสารไร้พรมแดน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๔ เพื่อสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาให้ดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ที่ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้ริเริ่มไว้ ทั้งยังทรงออกแบบโปรแกรมสำหรับใช้สืบค้นข้อมูลด้วยพระองค์เอง

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบโปรแกรมสำหรับใช้สืบค้นข้อมูลพระไตรปิฎกและอรรถกถาด้วยพระองค์เอง จนกระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๔ และใช้ชื่อว่า BUDSIR IV ซึ่งสามารถค้นหาคำศัพท์ทุกคำ ทุกวลี ทุกพุทธวจนะที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกจำนวน ๔๕ เล่ม ซึ่งคิดเป็นข้อมูลมากกว่า ๒๔.๓ ล้านตัวอักษร ที่ได้รับการบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และครบถ้วนสมบูรณ์

การสังคายนาครั้งที่ 1 เกิดจากสาเหตุใด

ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช แล้วแสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ จึงได้ขอรับอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชสังคายนาพระธรรมวินัยเพื่อกำจัดความเห็นของพวกเดียรถีย์ออกไป

การสังคายนาครั้งที่ 1 คืออะไร

การสังคายนาครั้งที่ ๑ ทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้ว ๓ เดือน ปรารภเรื่องสุภัททภิกษุผู้บวชเมื่อแก่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัยและปรารภที่จะให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่สืบไป พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์มีพระมหากัสสปเถระเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนา (ตอบ) พระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ประชุมที่ถ้ำ ...

ข้อใดคือผลกระทบจากการสังคายนา ครั้งที่ 1

ผลที่เกิดจากการทำสังคายนาครั้งที่ 1 1.ได้ร้อยกรองพระธรรมวินัยเข้าเป็นหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย 2.การปฏิบัติของพระอานนท์และการลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะเป็นตัวอย่างที่ดีชี้ถึงหลักประชาธิปไตยและธรรมาธิปไตยอย่างแจ้งชัด 3. ทำให้คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ดำรงมั่นและได้ตกทอดมาถึงพวกเราทุกวันนี้

เพราะเหตุใดจึงมีการสังคายนาพระไตรปิฎก

1. ก าจัดและป้องกันพวกอลัชชีไม่ให้ปลอม เข้ามาบวชและแสวงหาผลประโยชน์กับ พระพุทธศาสนาของไทย 2. สร้างความเข้าใจในพระธรรมวินัยให้ถูกต้อง 3. ทาให้พระพุทธศาสนาเจริญมั่นคงและ แพร่หลาย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก