ข้อ ใด ไม่ใช่ ผล งาน ของ ผู้ ประพันธ์ กาพย์ เรื่อง พระ ไชย สุริยา

กาพย์พระไชยสุริยา

              กาพย์พระไชยสุริยา เป็นผลงานการประพันธ์ของสุนทรภู่ กวีที่มีชื่อเสียงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สุนทรภู่แต่งกาพย์พระไชยสุริยาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อไว้ใช้เป็นแบบเรียนเทียบคำอ่านและเขียนเกี่ยวกับมาตราตัวสะกดในแม่ ก กา จนถึงแม่เกย โดยใช้กาพย์ 3 ชนิด  กาพย์พระไชยสุริยามีเนื้อเรื่องเป็นนิทานที่น่าสนใจ ประกอบกับการแต่งที่มีสัมผัสคล้องจองที่ทำให้จดจำได้ง่าย มีถ้อยคำภาษาที่ไพเราะ ตลอดจนให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิตแฝงไว้ในเรื่องด้วย 

ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา

                กาพย์พระไชยสุริยาเป็นงานประพันธ์ของสุนทรภู่ ประพันธ์ขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2382-2385 ในรัชสมัย  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่สุนทรภู่บวชอยู่ที่วัดเทพธิดาราม (แต่บ้างก็ว่าน่าจะแต่งขณะเป็นฆราวาสและไปเป็นครูอยู่ที่เพชรบุรีในภายหลัง) ด้วยเหตุที่สุนทรภู่เคยเป็นครูของเจ้าฟ้าสามพระองค์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้แก่ เจ้าฟ้าอาภรณ์ เจ้าฟ้ากลาง  เจ้าฟ้าปิ๋ว สุนทรภู่จึงได้แต่งแบบเรียนขึ้นเพื่อถวายเจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋วโดยนำเรื่องพระไชยสุริยา มาเป็นเนื้อเรื่องให้สอดคล้องกับการสอนหนังสือไทย  เมื่อผู้เรียนอ่านตัวอักษรได้แล้วจึงให้เรียนการประสมอักษร

จุดมุ่งหมายในการแต่ง       

            กาพย์พระไชยสุริยาแต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นแบบสอนอ่านคำเทียบ หลังจากที่เรียนการผันอักษรแล้ว จึงให้อ่านประสมคำในมาตราแม่ต่าง ๆ 

ลักษณะคำประพันธ์

                   สุนทรภู่นำนิทานเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา มาแต่งโดยใช้กาพย์ 3 ชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี 11                 กาพย์ฉบัง 16 และสุรางคนางค์ 28

เนื้อเรื่องย่อ

       

   พระไชยสุริยาเป็นกษัตริย์ครองเมืองสาวะถี (สาวัตถี) มีมเหสีชื่อสุมาลี บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์และเป็นสุขมาช้านาน 

               จนกระทั่งเมื่อข้าราชการบริพารและผู้มีอำนาจพากันลุ่มหลงในอุบายมุขและเที่ยวข่มเหงราษฎรจนเดือดร้อนไปทั่ว 

        ในที่สุดน้ำป่าก็ไหลบ่าท่วมเมืองจนผู้คนล้มตาย ผู้ที่รอดก็หนีออกจากเมืองไป ทิ้งให้เมืองสาวัตถีกลายเป็นเมืองร้าง

            พระไชยสุริยาพามเหสีข้าทาสบริวารหนีลงเรือสำเภาออกจากเมือง แต่ถูกพายุใหญ่พัดเรือแตก  

 
 

 

                พระไชยสุริยากับนางสุมาลีว่ายน้ำไปขึ้นฝั่งแล้วรอนแรมไปในป่าใหญ่พระฤๅษีรูปหนึ่งเข้าฌานเห็น             พระไชยสุริยากับนางสุมาลีต้องทนทุกข์ทรมานก็เวทนา เพราะเห็นว่าพระไชยสุริยาทรงเป็นกษัตริย์ที่ดี                   แต่ประสบเคราะห์กรรมเพราะหลงเชื่อเสนาอำมาตย์ จึงเวทนาโปรดจนทั้งสององค์ศรัทธาและบำเพ็ญธรรม            จนได้ไปเกิดในสวรรค์ 

คุณค่าจากเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา

                  1.  ด้านวรรณศิลป์ สุนทรภู่มีการใช้พรรณนาโวหารแทรกเป็นช่วงๆ เช่น บทพรรณนาธรรมชาติในป่า ซึ่งใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบและคำเลียนเสียงธรรมชาติที่ทำให้เกิดจินตภาพได้อย่างชัดเจน ดังตัวอย่าง

                                        ยูงทองร้องกะโต้งโห่งดัง           เพียงฆ้องกลองระฆัง

                              แตรสังข์กังสดาลขานสียง

                                        กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง    พญาลอคลอเคียง

                              แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง

                                        ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง         เพลินฟังวังเวง

                              อีเก้งเริงร้องลองเชิง

                  2.  ด้านคติธรรม กาพย์พระไชยสุริยามีคุณค่าในด้านคติสอนธรรม ดังเห็นได้จากคำสอนที่แทรกไว้หลายตอน ดังนี้

                        2.1  สอนให้รู้จักกาลกิณี 4 ประการ ซึ่งทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนและผู้คนไม่เป็นสุข กาลกิณีเหล่านั้นได้แก่ การเห็นผิดเป็นชอบ การไม่รู้คุณ การเบียดเบียนทำร้ายกันและความโลภ ดังในคำประพันธ์ต่อไปนี้

                              1.  ประกอบชอบเป็นผิด           กลับจริตผิดโบราณ

                              สามัญอันธพาล                     ผลาญคนซื่อถือสัตย์ธรรม์

                              2.  ลูกศิษย์คิดล้างครู               ลูกไม่รู้คุณพ่อมัน

                              3.  ส่อเสียดเบียดเบียนกัน        ลอบฆ่าฟันคือตัณหา

                              4.  โลภลาภบาปบคิด              โจทก์จับผิดริษยา

                              อุระพสุธา                            ป่วนเป็นบ้าฟ้าบดบัง

                      2.สอนเรื่องผลบาปจากการเบียดเบียนและหลอกลวงผู้อื่นว่า จะทำให้ต้องทนทุกข์ไปนาน ส่วนผลบุญจากการมีเมตตากรุณาก็จะทำให้มีความสุขตลอดไป ดังคำประพันธ์ต่อไปนี้

                                        เบียดเบียนเสียดส่อฉ้อฉล         บาปกรรมนำตน

                               ไปทนทุกข์นับกัปกัลป์

                                        เมตากรุณาสามัญ                  จะได้สวรรค์

                               เป็นสุขทุกวันหรรษา

             กาพย์พระไชยสุริยาเป็นวรรณคดีที่มีคุณค่านานัปการ เมื่ออ่านอย่างหนังสือหัดอ่านเขียน ก็ได้เรียนรู้เรื่อง         คำประพันธ์และมาตราตัวสะกด เมื่ออ่านอย่างนิทานก็ยังได้รับความเพลิดเพลินจากเรื่องเล่า เรื่องพรรณไม้และสัตว์ป่า ความไพเราะจากคำประพันธ์ และคติธรรมคำสอนอีกด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก