ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้าง

2.4 ภัยจากพายุฝนฟ้าคะนอง พายุ ประเภทนี้พบบ่อยมากในพื้นที่ๆภูมิอากาศร้อน และอบอุ่น อาจกล่าวได้ว่าใน แต่ละวันจะมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นทั่วโลกมากถึง ประมาณ 45,000 ลูก ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดพายุแบบนี้ คือการลอยตัว ขึ้นสู่บรรยากาศระดับสูงของกระแสอากาศที่มีความชื้นมาก และอุณหภูมิสูง อย่างรุนแรง, เมื่ออากาศร้อนชื้นดังกล่าวลอยตัวสูงขึ้นอุณหภูมิจะลดลง และ จะคายความร้อนแอ่งออกมาขณะที่เกิดการลั่นตัวของเมฆฝนเป็นหยดน้ำ การคายความ ร้อนของมวลเมฆฝนดังกล่าวทำให้กระสกลมพัดขึ้นในแนวดิ่ง และเกิดพายุ ขณะ เดียวกันอากาศบริเวณโดยรอบก็จะพัดเข้าสู่บริเวณศูนย์กลางของพายุ การลั่น ตัวของความชื้นในกระแสอากาศก่อให้เกิดเมฆฝนขนาดใหญ่ (Cumulo Nimbus)ลอยขึ้นสู่ระดับสูงประมาณ 15,000 ฟุต (หรือประมาณ 4,600 เมตร) จากฐานถึงยอดของเมฆนั้น เมฆฝนนี้ก่อให้เกิดฝนและลูก เห็บ บางทีอาจมีฟ้าแลบ ฟ้าผ่าร่วมด้วย พายุฝนฟ้าคะนองครอบคลุมพื้นที่ไม่ กว้างขวางนำ และจะสลายตัวภายในระยะเวลาอันสั้นไม่เกิน 1 ถึง 2 ชั่วโมง

2.5 ภัยจากการระเบิดของภูเขาไฟ นับ เป็นมหันตภัยธรรมชาติที่รุนแรง น่าสพรึงกลัว และก่อให้เกิดความเสียหาย มากอย่างหนึ่ง แต่บังเอิญโชคดีที่ไม่เกดขึ้นกระจายทั่วไป เหมือนภัย ธรรมชาติอีก 4 ประเภท ดังได้กล่าวมาแล้ว
ภูเขาไฟมักจะเกิดขึ้นในสภาพของธรรมชาติดังต่อไปนี้คือ
ก. ตามรอยแยกขนาดใหญ่บนผิวโลก
ข. แนวสัน หรือความต่างระดับของพื้นให้มหาสมุทร และ
ค. การเคลื่อนตัวสัมพันธ์กันของ Tectonic Plates บนเปลือกโลก
วง รอบมหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งเชื่อมต่อกับทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และ ทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเป้นของของ Pacific Plate นั้นมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ ว่า Ring of Fire มีภูเขาไฟขนาดใหญ่ ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี และยังไม่ดับ สนิทอยู่อีกมากกว่า 300 ลูกกระจัดกระจายไปทั่ว นับตั้งแต่ Alaska, อเมริกาเหนือ, อเมริกา ใต้ ลงไปถึง Chile ข้าม New Zealand, Philippines จนถึงญี่ปุ่น
การ ระเบิดของภูเขาไฟจะพ่น เถ้าถ่าน หินละลายออกมาเป็นจำนวน มหาศาล เมือง Pompeii ประเทศอิตาลี ถูกฝังจากการระเบิดของภูเขา ไฟ Vesuvius เมื่อปี 79 ก่อนคริศตกาล ผู้คนเสียชีวิตหลายพันคน

2.6 ภัยจากการเกิดแผ่นดินไหว แผ่น ดินไหวที่เกิดขึ้น และสัมผัสได้บริเวณเปลือกโลกเป็นผลสืบเนื่องมาจากการ ปล่อยพลังงานออกมาเป็นจำนวนมาก และทันทีทันใดในรูปของคลื่อนแห่งความสั่น สะเทือน ซึ่งเกิดลึกลงไปใต้ดิน หรือใต้พื้นมหาสมุทรจากการเคลื่อนที่ของ เปลือกโลก(Earth Crust) ตามแนวแยก (Fauts) ซึ่งเป็นไปได้ในหลายลักษณะแผ่นดินไหวในแต่ละครั้งอาจมีความรุนแรง มากน้อยต่างกัน และยังผลให้เกิดผลเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สอน ตามไป ด้วยเป็นอย่างมาก แผ่นดินไหวอาจก่อให้เกิด ภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้ น้ำ (Tsunami) ซึ่งช่วยแผ่กระจายความเสียหายไปตามมวลน้ำในมหาสมุทรได้ อย่างมากมายมหาศาล

2.7 ภัยจากคลื่นใต้น้ำ คลื่น และกระแสน้ำ เป็นการเคลื่อนไหวของน้ำในทะเล 2 ลักษณะซึ่งไม่เหมือน กัน แต่มีความเกี่ยวเนื่องกันบาทีพลังงานจากคลื่น, กระแสน้ำ เสริมด้วย ลม และพายุที่มีความเร็วสูงจะก่อให้เกิดอุทกภัยที่มีความรุนแรง และอำนาจ ทำลายล้างสูงมาก
ดังจะเห็นได้จากปรากฏการณ์ เมื่อเดือนมกราคม ปีค.ศ.1753 ในทะเลเหนือ กล่าวคือ ระดังน้ำสูง (High Spring Tide) บวกกับคลื่นสูง (Storm Waves) และลม (Winds) ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 185 กิโลเมตร/ ชั่วโมง (หรือ 115 ไมล์/ชม.) ทำให้ระดับน้ำในทะเลเหนือสูงกว่าปกติถึง 3 เมตร (10 ฟุต) ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “SURGE” ในทะเล, ผลลัพธ์ก็คือ เกิดน้ำท่วม เป็นบริเวณกว้างขวางแถบชายทะเลภาคตะวันออกของอังกฤษ ในส่วนของเนเธอร์แลนด์ พื้นที่ประมาณ 4.3ของประเทศถูกน้ำท่วมขัง ทำให้บ้านเรือน ราว 30,000 หลังได้รับความเสียหาย และถูกทำลาย มีผู้คนเสียชีวิตกว่า 1,800 คน
คลื่นในทะเลและมหาสมุทรส่วนใหญ่เกิดจากแรง เสียดทานอันเนื่องมาจากความเร็วของลมพัดเหนือน้ำ การเคลื่อนที่ของคลื่น เคลื่อนตัวใน 2 ลักษณะประกอบกัน คือ 1 การหมุนตัว (Rotation) และ 2. การเคลื่อนตัวในแนวเส้นตรงไปข้างหน้า (Trancslation) คลื่นที่พัดเข้า สู่ชยฝั่งทะเลแล้วสลายตัวขึ้นไปตามชายหาด หรือกระทบกับผาหิน มักมีกำเนิด จากพายุในตอนกลางของมหาสมุทร หรือลมที่เกิดขึ้นในบางส่วนของมหาสมุทรนั้น
คลื่น ใต้น้ำ (ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Tidal Waves, หรือ Tsunami) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับกระแสน้ำ (Tides) ในมหาสมุทรเลยแม้แต่น้อย สาเหตุหลักเกิดมาจาก
ก. แผ่นดินไหว (Earthquakes)
ข. การระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic Eruptions) หรือ
ค. การถล่มทะลายของภูเขาไฟหรือมวลดินใต้น้ำ (Submarine Landslides)
แต่สาเหตุหลักของการเกิดคลื่นใต้น้ำส่วนใหญ่และขนาดใหญ่ที่มีความรุนแรงมากคือ “แผ่นดินไหว” ซึ่งเกิดขึ้นใต้ท้องมหาสมุทร
ใน ท้องทะเลคลื่นจากความสั้นสะเทือน (Shock Waves) ที่เกิดขึ้นจากบริเวณ ศูนย์กลางของแผ่นดินไหว แล้วกระจายออกไปทุกทิศทางโดยรอบนั้นมักมีความสูง น้อยมาก เพียง 60 ถึง 90 เซนติเมตร (2 ถึง 3 ฟุต ) แต่ความยาวของคลื่นอาจะเป็นหลายร้อยกิโลเมตร และความเร็วหลายร้อย กิโลเมตร/ชั่วโมงดังตัวอย่างของคลื่นใต้น้ำในร่องลึกใต้มหาสมุทรบริเวณที่ เรียกว่า Aleutian Trench ทางเหนือสุดของมหาสมุทรแปซิฟิค เมื่อ ปี 1946 ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายต่อหมู่เกาะฮอนโนลูลู ซึ่งอยู่ กลางมหาสมุทรแปซิฟิค Tsunami ที่เกิดขึ้นเดินทางจากแหล่งกำเนิด จนถึง หมู่เกาะฮอนโนลูลูใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง 34 นาที ต่อระยะทาง 3,220 กิโลเมตร (หรือ2,000ไมล์) ด้วยความเร็วเฉลี่ยราว 00 กิโลเมตร/ชั่วโมง (หรือ 438ไมล์/ชั่วโมง) ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงมาก เทียบได้กับความเร็วของเครื่องบินไอพ่น
คลื่น ที่มากระทบชายฝั่งของหมู่เกาะฮอนโนลูลูมีความสูงกว่า 38 เมตร (หรือ 1125 ฟุต) จากการเปลี่ยนรูปของพลังงานจลน์จากคลื่นสูง 15 เมตร (50 ฟุต) มาเป็น พลังงานศักย์ดังกล่าว
ส่วนมาก Tsunami มีความ รุนแรงมากที่สุดมักจะเกิดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิค แต่มีเพียงบางส่วนที่ เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติค

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก