สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์อเมริกัน aspa มีชื่อเต็มว่าอะไร

บทความนำเสนอ แนวคิด การจัดโครงสร้าง แบบ VIRTUAL เพื่อสร้างระบบ และช่องทาง การสื่อสาร และประสานงาน ในห้วงเหตุการณ์ สาธารณภัย ขนาดใหญ่ ซึ่งได้เคยลงตีพิมพ์ ในวารสารการประชุม 2014 International Conference on Public Administration ครั้งที่ 10 ปี พ.ศ.2557 โดย นายสิงหนาท ราชภัณฑารักษ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ , กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ประวัติความเป็นมาของคณะรัฐประศาสนศาสตร์

การก่อตั้งคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     กลางปี พ.ศ. 2498 รัฐบาลสหรัฐ โดย FAO (Foreign Operations Administration) ได้นำเสนอความช่วยเหลือในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพขั้นพื้นฐานของประเทศกำลังพัฒนา โดย ให้ความช่วยเหลือในการก่อตั้งสถาบันการศึกษาทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก (อ้างถึงใน Laohavinchien,1985)

     ในระหว่างการให้ความร่วมมือกับวิทยาลัยประสานมิตรนั้น มหาวิทยาลัยอินเดียนา ได้เริ่มเจรจาต่อรองกับรัฐบาลไทยในการนำเสนอหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งเป็นผลจากการมาเยือนก่อนหน้านี้ของ Mr. Walter Laves ในปี พ.ศ. 2496 ทางมหาวิทยาลัยอินเดียนา ได้ให้การแนะนำเป็นการเฉพาะและอบรมบุคลากรสำหรับสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์แห่งใหม่ ทั้งยังได้ให้แนวปฏิบัติในการจัดองค์การ วิธีการสอน การพัฒนาห้องสมุด การวิจัย การให้คำปรึกษา การประชาสัมพันธ์หลักสูตร และหลักสูตรฝึกอบรม

     วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ได้มีการลงนามมูลค่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการจัดตั้งคณะ รัฐประศาสนศาสตร์ (Institute of Public Administration-IPA) ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในสัญญาดังกล่าว AID (Agency for Internal Development) ได้ให้การสนับสนุนและความช่วยเหลือทางการเงินผ่าน FOA และรัฐบาลไทย เป็นระยะเวลา 3 ปี แห่งความร่วมมือระหว่างสองมหาวิทยาลัยเพื่อบรมมหาบัณฑิตของหลักสูตรปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวได้มีการลงนามที่กรุง Washington D.C. โดย นาย Wells นายกสภามหาวิทยาลัยอินเดียนา นายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ระหว่างการเยือนสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของประธานาธิบดี ไอเซนอาวร์ วัตถุประสงค์ของสัญญา (อ้างถึงใน IU 1955:1)

  • สร้างความเข้มแข็งในหลักสูตรการศึกษา สาขารัฐประศาสนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เผยแพร่และส่งเสริมวิจัยตลอดจนสนับสนุนโคงการฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย
  • พัฒนาโครงการฝึกอบรมและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการดังกล่าวของมหาวิทยาลัยสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐบาล
  • จัดการศึกษาต่อสำหรับนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา

 

     คณะรัฐประศาสนศาสตร์จึงได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การจัดการศึกษาเริ่มสอนรัฐประศาสนศาสตร์ใน ปี พ.ศ. 2499 ถึง 2503 รัฐบาลสหรัฐได้ส่งคณาจารย์จากมหาวิยาลัยอินเดียนามาร่วมวางหลักสูตร และสอน จนกระทั่งดำเนินการสอนเป็นจำนวนถึง 15 รุ่น โดย รุ่นแรกทำการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งช่วงเวลาเดียวกันนั้น นักเรียนไทยจำนวน 41 คน ได้ผ่านการคัดเลือกได้รับการส่งตัวไปศึกษาต่อในวิชาการระดับสูงด้านรัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาใกล้เคียง ในจำนวน 35 คน ได้รับการส่งตัวไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (IPA) มีคณะทำงานทั้งหมด 71 คน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ 17 คน จาก ทั้งหมด 19 คน ที่เป็นคนไทย และในขณะนั้น มีอาจารย์ชาวไทยจำนวน 13 คน ที่สำเร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา (อ้างถึงใน Kanjanaprakorn, 1974:3) และต่อมา IPA มีการสอนโดยคณาจารย์ฝ่ายไทยทั้งหมด

การก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 

     ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 60 AID ได้ลดความช่วยเหลือลงตามนโยบายการตอบสนองบทบาทของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย ดังนั้น มูลนิธิ Ford ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือพร้อมกับโครงการก่อตั้งสถาบันแห่งใหม่ ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาชาติ ตัวแทนภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ของมูลนิธิ Ford เป็นผู้ร้องขอให้การจัดตั้งทีมงานผู้บุกเบิกในการให้ความรร่วมมือกับภาครัฐบาล ในการวางแผนการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มูลนิธิดังกล่าวให้การตอบสนองนโยการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นในปี พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ได้ปรารภกับ Mr. David Rockfeller แห่งมูลนิธิ Rockfeller ในเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศไทย รวมทั้งการก่อตั้งสถาบันสการศึกษาในระดับสูง เพื่อสร้างบุคลากรที่สามารถรับใช้ประเทศชาติในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศ

     ในช่วงเวลาสองปีภายหลังการวางแผนและเจรจาต่อรอง มูลนิธิฟอร์ด และ Midwest University Countium for Interantional Activiteis-MUCIA เพื่อก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยอินเดียนาเป็นหนึ่งในห้ามหาวิทยาลัยสมาชิกผู้ก่อตั้ง MUCIA มีการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทย จึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถาบันที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งครั้งนี้ ศาสตราจารย์ Woodworth Thrombley ศาสตราจารย์ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอินเดียนา และที่ปรึกษาคนแรกของ MUCIA ได้เดินทางมาถึงประเทศไทยในปลายปี พ.ศ. 2508 เพื่อช่วยเหลือในการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2509

การสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

     สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2509 และพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2509 (ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2509) โดย พระราชบัญญัติการจัดตั้งสถาบันดังกล่าว ทำให้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์มีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย และเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี อันประกอบด้วยหน่วยงานระดับคณะ 4 คณะ คือ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ และคณะสถิติประยุกต์ โดยมีเนื้อหาหลักของหลักสูตรเป็นลักษณะสหวิทยาการ ภายใต้การสนับสนุนด้านทุนดำเนินการจากมูลนิธิฟอร์ด และความร่วมมือทางวิชการกับ MUCIA แต่วันสถาปนาอย่างเป็นทางการคือวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 ซึ่ง ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี และนายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เป็นผู้ประกอบพิธีเปิด (อ้างถึงใน Karnjanapakorn et. Al., 1974:5) และมีการสรรหาอธิการบดีเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2509 และรองอธิการบดี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2509 (อ้างถึงใน Karnjanaprakorn et.al.,1974:5) ซึ่ง ดร. บุญชนะ อัตถากร ได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และดร.ชุบ กาญจะประกร ดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิการบดีคนแรก และช่วงการก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ องค์การบริหารวิเทศกิจสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (USOM) ได้ให้ความช่วยเหลือด้วยการอนุมัติให้ฝ่ายไทยใช้เงินทุนสมทบ 20 ล้านบาทสำหรับใช้ในโครงการวิจัย



สารคดีเทิดพระเกียรติ ชุด ในหลวงกับการศึกษาไทย ตอนที่ 3
ให้สัมภาษณ์ โดย รศ.ดร.ประดิษฐ์ วรรณรัตน์
อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วัตถุประสงค์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

     วัตุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ตามพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2509 มี 3 ข้อ ดังนี้

          1. ให้การศึกษาวิชาการบริหารและการพัฒนา

          2. ทำการวิจัย

          3. ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง

(ที่มา: ปรับปรุงจาก หนังสือ 50 ปี (2549-2548) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)

คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ. 2509-ปัจจุบัน)

  • ศูนย์การศึกษาในสถานที่ตั้ง

ภายหลังจากการโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาเป็นคณะภายใต้สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ซึ่งเป็นหนึ่งใน 4 คณะ ประกอบด้วย คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสถิติประยุกต์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ และคณะบริหารธุรกิจ ซึ่งเป็นคณะของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในช่วงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ในระยะแรก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรระดัปริญญาโท ทำการสอนในเวลาราชการ และต่อมาคณะรัฐประศาสนศาสตร์ได้มีการเปิดหลักสูตรใหม่ และการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศและการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ตามลำดับ ดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2527 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาเอกด้านการบริหารการพัฒนาจัดการเรียนการสอนเป็นภาคภาษาไทย จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ดำเนินการสอนได้ 8 ปี (4 รุ่น)
  • ปี พ.ศ. 2530 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท ทำการเรียนการสอนนอกเวลาราชการใน กรุงเทพ ฯ เป็นรุ่นแรก โดย มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริหารภาครัฐและภาคเอกชนในภูมิภาคซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ได้มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูงกว่าระดับปริญญาตรีได้เรียนนอกเวลาทำงาน
  • ปี พ.ศ. 2536 คณะมีการปรับปรุงหลักสูตรจากการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกด้านการบริหารการพัฒนาเป็นภาคภาษาอังกฤษ โดย มีวัตถประสงค์เพื่อให้สถาบันได้พัฒนาเป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอนด้านการบริหารการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ปี พ.ศ. 2538 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชมหาบัณฑิต รุ่นแรกใน กรุงเทพ ฯ
  • ปี พ.ศ. 2544 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดหลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ
  • ปี พ.ศ. 2547 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
  • ปี พ.ศ. 2561 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต โดยเปิดสอนภาคภาษาอังกฤษ (สาขาวิชาเอก Public Policy and Strategic management)
  • ปี พ.ศ. 2560 (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มีการปรับปรุงหลักสูตรในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก และได้ปรับชื่อหลักสูตรในระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร ได้แก่- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการการบริหารการพัฒนา (หลักสูตรนานาชาติ) -((Ph.D. (Development Administration)) (International Program) เป็นชื่อหลักสูตร เป็น หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนา) หลักสูตรนานาชาติ (Ph.D. in Governance and Development) (International Program) และ
    – หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Public Administation; DPA) เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต Ph.D. in Public Administation
  • ปี พ.ศ. 2562 คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต โดย

เปิดสอนภาคภาษาอังกฤษ

  • ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้ง

     การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งเกิดจากแนวคิดของคณาจารย์ของคณะรัฐประศาสนศาสตร์พิจารณาเห็นว่า ผู้บริหารทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทุกภูมิภาคของประเทศไทยต่างเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดย เฉพาะข้าราชการ และผู้บริหารองค์กร ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้เสียสละไปทำงานห่างไกลแล้ว ยังเสียเปรียบผู้ที่ทำงานในส่วนกลาง และหรือกรุงเทพมหานครซึ่งมีความพร้อมด้านคมนาคม มีโอกาสทางสังคม และมีวิถีชีวิตที่สะดวกสบาย ดังนั้น การพัฒนาข้าราชการและผู้บริหารองค์การจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญใน การพัฒนาประเทศต่อไป คณะจึงมีแนวคิดในเรื่องการขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย คณะจึงทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในภูมิภาค เพื่อจัดตั้งสำนักงานโครงการปริญญาโท ภาคพิเศษ (เรียนนอกเวลาราชการ) ในหลาย ๆ จังหวัด ส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการของ ผู้ประสงค์ที่จะเรียนในพื้นที่ และความต้องการของสังคมและชุมชน คณะจึงได้มีการเปิดการเรียนการสอนในจังหวัดต่าง ๆ และมีการย้ายสำนักงานไปยังศูนย์การศึกษาจังหวัดต่าง ๆ ด้วยเหตุผลของระยะเวลาการทำความร่วมมือของสถาบันการศึกษา ความต้องการของผู้เรียน ผู้สนใจเรียน ความต้องการของชุมชน และเหตุผลและความจำเป็นอื่น ๆ ตามบริบทของพื้นที่จัดการศึกษาและสถานการณ์ในยุคนั้น ๆ หลักการพิจารณาสถานที่ตั้งของสำนักงานคณะเน้นสถานที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวก สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ผู้เรียนที่สามารถเดินทางมาเรียนนอกเวลาราชการได้ รวมถึงความร่วมมือของสถาบันการศึกษาและชุมชนแวดล้อมด้วย ลำดับการจัดการศึกษานอสถานที่ตั้งในระดับปริญญาโท ในภูมิภาคของประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์การศึกษานอกสถานที่ตั้งของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มีดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2533 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์ (สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์) ต่อมาย้ายไป จังหวัด ลำปาง (สำนักงาน ณ วิทยาลัยโยนก) และจังหวัดลำพูน (อาคารเรียนก่อสร้างใหม่ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่)
  • ปี พ.ศ. 2533 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษา จังหวัดนครราชสีมา (สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยครูนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา) จัดการเรียนการสอนจนถึงปี 2537 (รุ่นที่ 5-6) (ต่อมาได้ย้ายสำนักงานซึ่งเป็นอาคารก่อตั้งใหม่ ณ ศูนย์การศึกษาสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน)
  • ปี พ.ศ. 2534 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ โรงเรียนสุราษฎร์เทคโนโลยี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ปี พ.ศ. 2535 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (สำนักงานที่ตั้ง ณ โรงเรียนวัดคลองเรียน) ต่อมามีการย้ายไปสำนักงาน ณ วิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนี สงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เมื่อ ปี พ.ศ. 2556
  • ปี พ.ศ. 2538 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัด ภูเก็ต (สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยอาชีวะ จังหวัดภูเก็ต) ดำเนินการจัดการเรียนการสอน 6 รุ่น
  • ปี พ.ศ. 2538 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี (โรงเรียนอุดรวิทยา จังหวัดอุดรธานี)
  • ปี พ.ศ. 2538 เปิดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมาหบัณฑิต ศูนย์การศึกษา จังหวัดนครราชสีมา

(อาคารเรียนก่อนสร้างใหม่ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่) และในปี พ.ศ. 2540 เปิดสอนหลักสูตรการจัดภารภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษาสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา (อาคารเรียนก่อสร้างใหม่ภายใต้ความร่วมมือของชุมชน) และต่อมา พ.ศ. 2550 มีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จังหวัดนครราชสีมา

  • ปี พ.ศ. 2541 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัดพิษณุโลก (สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจพิษณุโลก)
  • ปี พ.ศ. 2541 เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษา จังหวัดชลบุรี

(สำนักงานที่ตั้ง ณ โรงเรียนโพธิ์สัมพันธ์ จังหวัดชลบุรี) จำนวน 2 รุ่น ต่อมา ปี พ.ศ. 2543 ได้ย้ายสำนักงาน ณ สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยมหาดไทย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

  • ปี พ.ศ. 2553 เปิดสอนหลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต

ณ ศูนย์การศึกษา จังหวัดชลบุรี (สำนักงานที่ตั้ง ณ วิทยาลัยมหาดไทย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี)

     ปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2562) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ณ ศูนย์การศึกษานอกสถานที่ต้ง 4 แห่ง ได้แก่ 1) ศูนย์การศึกษา จังหวัด สุราษฎร์ธานี 2) ศูนย์การศึกษาสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 3) ศูนย์การศึกษา จังหวัดอุดรธานี และ 4) ศูนย์การศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (ปัจจุบันย้ายสำนักงานทำการ ณ วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) และศูนย์การศึกษา จังหวัดชลบุรี ณ โรงเรียนโพธิสัมพันธ์ และปัจจุบันย้ายสำนักงานไปยัง วิทยาลัยมหาดไทย)และเปิดสอนหลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต 1 แห่ง คือ ศูนย์การศึกษา จังหวัดชลบุรี

การบริการวิชาการ

นอกจากภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอนแล้ว คณะรัฐประศาสนศาสตร์ยังมีการให้บริการ

วิชาการทั้งหลักสูตรฝึกอบรมและวิจัย โดย คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้ริเริ่มจัดหลักสูตรอบรม “ หลักสูตรพัฒนาผู้จัดการระดับสูง (Mini Master of Management-MMM)” เปิดอบรมครั้งแรกให้กับบุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2534 และดำเนินการพัฒนาหลักสูตรเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และมีการให้อบรมประเภท In-house Training อย่างต่อเนื่อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก