ในการเล่นแบดมินตัน

แบตมินตัน
          แบดมินตัน นับได้ว่าเป็นกีฬาอีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นกีฬาที่ใช้อุปกรณ์การเล่นน้อยชิ้น เพียงแค่มีไม้แร็คเกต และลูกขนไก่ รวมถึงผู้เล่นเพียง 2 คน ก็สามารถเล่นได้แล้ว อีกทั้ง ยังเป็นกีฬาสบาย ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไป ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เหตุใดผู้คนการเล่นแบดมินตันจึงแพร่หลายไปสู่คนทั่วโลก จนกระทั่งได้กลายเป็นกีฬาสากลที่ทั่วโลกยอมรับ และวันนี้เราก็มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกีฬาแบดมินตันมาฝากกัน ค่ะ

ประวัติแบดมินตัน
          แบดมินตัน (Badminton) เป็นกีฬาที่ได้รับการวิจารณ์เป็นอย่างมาก เพราะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดถึงที่มาของกีฬาประเภทนี้ คงมีแต่หลักฐานบางอย่างที่ทำให้ทราบว่า กีฬาแบดมินตันมีเล่นกันในยุโรป โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ ตอนปลายศตวรรษที่ 17 และจากภาพสีน้ำมันหลายภาพได้ยืนยันว่า กีฬาแบดมินตันเล่นกันอย่างแพร่หลายในพระราชวงศ์ของราชสำนักต่าง ๆ ในทวีปยุโรป แม้ว่าจะเรียกกันภายใต้ชื่ออื่นก็ตาม

          โดยกีฬาแบดมินตันได้รับการบันทึกแบบเป็นลายลักษณ์อักษรในปี พ.ศ. 2413 ซึ่งพบว่า มีการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมืองปูนา (Poona) ในประเทศอินเดีย เป็นเมืองเล็ก ๆ ห่างจากเมืองบอมเบย์ประมาณ 50 ไมล์ โดยได้รวมการเล่นสองอย่างเข้าด้วยกันคือ การเล่นปูนาของประเทศอินเดีย และการเล่่น ของยุโรป


  


         


          ในระยะแรก การเล่นแบดมินตันจะเล่นกันเพียงแต่ในหมู่นายทหารของกองทัพ และสมาชิกชนชั้นสูงของอินเดียเท่านั้น จนกระทั่งมีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่เมืองปูนา นำการเล่นตีลูกขนไก่นี้กลับไปอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้างขวาง ณ คฤหาสน์แบดมินตัน

(Badminton House) ของดยุคแห่งบิวฟอร์ด ที่กลอสเตอร์เชียร์ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2416 เกมกีฬาตีลูกขนไก่เลยถูกเรียกว่า แบดมินตัน ตามชื่อคฤหาสน์ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

          ทั้งนี้ กีฬาแบดมินตันก็เริ่มแพร่หลายในประเทศแถบภาคพื้นยุโรป เนื่องจากเป็นเกมที่คล้ายเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึก โดยไม่ต้องกังวลต่อลมหรือหิมะในฤดูหนาว นอกจากนี้ ชาวยุโรปที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา ยังได้นำกีฬาแบดมินตันไปเผยแพร่ รวมทั้งประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชียและออสเตรเลียที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ต่างนำเกมแบดมินตันไปเล่นยังประเทศของตนเองอย่างแพร่หลาย เกมกีฬาแบดมินตันจึงกระจายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย

          สำหรับการเล่นแบดมินตันในระยะแรกไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัว เพียงแต่เป็นการตีโต้ลูกกันไปมาไม่ให้ลูกตกพื้นเท่านั้น ส่วนเส้นแบ่งแดนก็ใช้ตาข่ายผูกโยงระหว่างต้นไม้สองต้นไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต่ำสูง เล่นกันข้างละไม่น้อยกว่า 4 คน ส่วนมาจะเล่นทีมละ 6 ถึง 9 คน ผู้เล่นสามารถแต่งตัวได้ตามสบาย

          จนกระทั่งปี พ.ศ.2436 ได้มีการจัดตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษขึ้น ซึ่งนับเป็นสมาคมแบดมินตันแห่งแรกของโลก หลังจากที่มีการจัดแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า ออลอิงแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432 ทางสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษจึงได้ตั้งกฎเกณฑ์ของสนามมาตรฐานขึ้นคือ ขนาดกว้าง 22 ฟุต ยาว 45 ฟุต (22 x 45) เป็นสนามขนาดมาตรฐานประเภทคู่ที่ใช้ในปัจจุบัน จากนั้นจึงมีการปรับปรุงดัดแปลงในเรื่องอุปกรณการเล่นให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก โดยประเทศในเอเชียอาคเนย์ที่มีการเล่นกีฬาแบดมินตันและได้รับความนิยมสูงสุดคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย

          ส่วนการแข่งขันระหว่างประเทศได้เริ่มจัดให้มีขึ้นในปี พ.ศ. 2445 และตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา จำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแบดมินตันระหว่างประเทศมีมากว่า 31 ประเทศ แบดมินตันได้กลายเป็นเกมกีฬาที่เล่นกันระหว่างชาติ โดยมีการยกทีมข้ามประเทศเพื่อแข่งขันระหว่างชาติในทวีปยุโรป ในปี พ.ศ.2468 กลุ่มนักกีฬาของประเทศอังกฤษได้แข่งขันกับกลุ่มนักกีฬาประเทศแคนาดา ห้าปีหลังจากนั้นพบว่าประเทศแคนาดามีสโมสรสำหรับฝึกแบดมินตันมาตรฐานแทบทุกเมือง

          ในปี พ.ศ.2477 สมาคมแบดมินตันของประเทศอังกฤษเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ โดยมีชาติต่าง ๆ อีก 8 ชาติคือ แคนาดา เดนมาร์ก อังกฤษ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สก๊อตแลนด์ และเวลล์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่ในเครือสมาชิกกว่า 60 ประเทศ ที่ขึ้นต่อสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ (I.B.F.) สหพันธ์มีบทบาทสำคัญในการกำหนด และควบคุมกติการะเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของการแข่งขันกีฬาแบดมินตันทั่วโลก

          ในปี พ.ศ.2482 เซอร์ จอร์จ โทมัส นักแบดมินตันอาวุโสชาวอังกฤษเป็นผู้มอบถ้วยทองราคา 5,000 ปอนด์ เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศประเภทชาย ในการแข่งขันแบดมินตันระหว่างประเทศ ซึ่งสหพันธ์แบดมินตันได้รับไว้และดำเนินการตามประสงค์นี้ แม้ว่าตามทางการจะเรียกว่า การแข่งขันชิงถ้วยชนะเลิศแบดมินตันระหว่างประเทศ แต่นิยมเรียกกันว่า โธมัสคัพ (Thomas Cup) การแข่งขันจะจัดขึ้นทุก ๆ 3 ปี โดยสหพันธ์ได้แบ่งเขตการแข่งขันของชาติสมาชิกออกเป็น 4 โซน คือ

1. โซนยุโรป
2. โซนอเมริกา
3. โซนเอเชีย
4. โซนออสเตรเลเซีย (เดิมเรียกว่าโซนออสเตรเลีย)

วิธีการแข่งขันจะแข่งขันชิงชนะเลิศภายในแต่ละโซนขึ้นก่อน แล้วให้ผู้ชนะเลิศแต่ละโซนไปแข่งขันรอบอินเตอร์โซนเพื่อให้ผู้ชนะเลิศทั้ง 4 โซน ไปแข่งขันชิงชนะเลิศกับทีมของชาติที่ครอบครองดถ้วยโธมัสคัพอยู่ ซึ่งได้รับเกียรติไม่ต้องแข่งขันในรอบแรกและรอบอินเตอร์โซน ชุดที่เข้าแข่งขันประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 4 คน การที่จะชนะเลิศนั้นจะตัดสินโดยการรวมผลการแข่งขันของประเภทชายเดี่ยว 5 คู่ และประเภทชายคู่ 4 คู่ รวม 9 คู่ และใช้เวลาการแข่งขัน 2 วัน การแข่งขันชิงถ้วยโธมัสคัพครั้งแรกจัดให้มีขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2491-2492

          ต่อมาในการแข่งขันแบดมินตันโธมัสคัพ ครั้งที่ 8 ปี พ.ศ. 2512-2513 สหพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการแข่งขันเล็กน้อย โดยให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นเข้าร่วมแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนด้วย โดยวิธีการจับสลากแล้วแบ่งออกเป็น 2 สาย ผู้ชนะเลิศแต่ละสายจะได้เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศโธมัสคัพรอบสุดท้ายต่อไป สาเหตุที่สหพันธ์เปลี่ยนแปลงการแข่งขันใหม่นี้ เนื่องจากมีบางประเทศที่ชนะเลิศได้ครอบครองถ้วยโธมัสคัพไม่รักษาเกียรติที่ได้รับจากสหพันธ์ไว้ โดยพยายามใช้ชั้นเชิงที่ไม่ขาวสะอาดรักษาถ้วยโธมัสคัพไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า สหพันธ์จึงต้องเปลี่ยนข้อบังคับให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นลงแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนดังกล่าวด้วย

การเล่นแบดมินตันได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในราวปี พ.ศ. 2456 โดยเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตันแบบมี ตาข่าย โดยพระยานิพัทยกุลพงษ์ ได้สร้างสนามขึ้นที่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสมเด็จเจ้าพระยาธนบุรี แล้วนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายออกไป ส่วนมากเล่นกันตามบ้านผู้ดีมีตระกูล วังเจ้านาย และในราชสำนัก การเล่นแบดมินตันครั้งนั้น นิยมเล่นข้างละ 3 คน ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2462 สโมสรกลาโหมได้เป็นผู้จัดแข่งขันแบดมินตันทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดการแข่งขัน 3 ประเภทได้แก่ ประเภทเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภทสามคน ปรากฏว่าทีมแบดมินตันบางขวางนนทบุรี (โรงเรียนราชวิทยาลัยบางขวางนนทบุรี) ชนะเลิศทุกประเภท นอกจากนี้ มีนักกีฬาแบดมินตันฝีมือดีเดินทางไปแข่งขันยังประเทศใกล้เคียงอยู่บ่อยๆ

          ในปี พ.ศ. 2494 พระยาจินดารักษ์ได้ก่อตั้งสมาคมชื่อว่า "สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย" เมื่อแรกตั้งมีอยู่ 7 สโมสร คือ สโมสรสมานมิตร สโมสรบางกอก สโมสรนิวบอย สโมสรยูนิตี้ สโมสร ส.ธรรมภักดี สโมสรสิงห์อุดม และสโมสรศิริบำเพ็ญบุญ ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเป็นสโมสรสมาชิกของสมาคมอยู่เพียง 2 สโมสร คือ สโมสรนิวบอย และสโมสรยูนิตี้เท่านั้น และในปีเดียวกัน สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยก็ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติด้วย สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยมีนักกีฬาแบดมินตันที่มีฝีมือดีอยู่มาก ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยจากการลงแข่งขันใน รายการต่าง ๆ ของโลกเป็นอย่างมาก ทั้งโธมัสคัพ อูเบอร์คัพ และการแข่งขันออลอิงแลนด์ โดยวงการแบดมินตันของไทยยกย่อง นายประวัติ ปัตตพงศ์ (หลวงธรรมนูญวุฒิกร) เป็นบิดาแห่งวงการแบดมินตันของประเทศไทย

กติกาของแบตมินตัน
1. สนามและอุปกรณ์
1.1 สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้นกว้างขนาด 40 มิลลิเมตร ตามภาพผัง ก.
1.2 เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสีเหลือง
1.3 เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้
1.4 เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตรจากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกา ข้อ 1.10 โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้ามาในสนาม (เฉพาะรายการที่รับรองโดย IBF จะต้องใช้ระเบียบนี้ จนกระทั่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ทุกรายการที่แข่งขันจะต้องยึดตามระเบียบนี้)
1.5 เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ ตามที่ได้แสดงไว้ในภาพผัง ก. โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นประเภทเดี่ยวหรือเล่นคู่
1.6 ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตร และไม่เกิน 20 มิลลิเมตร
1.7 ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มิลลิเมตร และความยาวอย่างน้อย 6.1 เมตร
1.8 ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสอง ขนาดกว้าง 75 มิลลิเมตร ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว
1.9 เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา
1.10 สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นที่ตรงกึ่งกลางสนาม 1.524 เมตร และ 1.55 เมตร เหนือเส้นเขตข้างของประเภทคู่
1.11 ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา ถ้าจำเป็นต้องผูกร้อยปลา

  

2. ลูกขนไก่
2.1 ลูกขนไก่อาจทำจากวัสดุธรรมชาติ  หรือวัสดุสังเคราะห์ ไม่ว่าลูกนั้นจะทำจากวัสดุชนิดใดก็ตาม ลักษณะวิถีวิ่งทั่วไป จะต้องเหมือนกับลูกซึ่งทำจากขนธรรมชาติ ฐานเป็นหัวไม้ก๊อก หุ้มด้วยหนังบาง
2.2 ลูกขนไก่ต้องมีขน 16 อัน ปักอยู่บนฐาน
2.3 วัดจากปลายขนถึงปลายสุดของฐาน โดยความยาวของขนในแต่ละลูกจะเท่ากันหมด ระหว่าง 62 มิลลิเมตร ถึง 70 มิลลิเมตร
2.4 ปลายขนแผ่เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 58 มิลลิเมตร ถึง 68 มิลลิเมตร
2.5 ขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้าย หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม
2.6 ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร ถึง 28 มิลลิเมตร และส่วนล่างมนกลม
2.7 ลูกขนไก่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 ถึง 5.50 กรัม

2.8 ลูกขนไก่ที่ไม่ใช้ขนธรรมชาติ
2.8.1 ใช้วัสดุสังเคราะห์แทนขนธรรมชาติ
2.8.2 ฐานลูก ดังที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.6
2.8.3 ขนาดและน้ำหนักของลูกต้องเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.3, 2.4 และ 2.7 อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของความถ่วงจำเพาะ และคุณสมบัติของวัสดุสังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับขนธรรมชาติ ยอมให้มีความแตกต่างได้ถึง 10%

2.9 เนื่องจากมิได้กำหนดความแตกต่างในเรื่องลักษณะทั่วไป ความเร็วและวิถีวิ่งของลูกอาจมีการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น ได้โดยการอนุมัติจากองค์กรแห่งชาติที่เกี่ยวข้องในที่ซึ่งสภาพความกดอากาศสูงหรือสภาพดินฟ้าอากาศ เป็นเหตุให้ลูกขนไก่ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม


3. การทดสอบความเร็วลูก

3.1 การทดสอบ ให้ยืนหลังเส้นเขตหลังแล้วตีลูกใต้มืออย่างสุดแรง โดยจุดสัมผัสลูกอยู่เหนือเส้นเขตหลัง ลูกจะพุ่งเป็นมุมสูง และอยู่ในแนวขนานกับเส้นเขตข้าง
3.2 ลูกที่มีความเร็วถูกต้อง จะตกห่างจากเส้นเขตหลังของอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า530 มิลิเมตรและไม่มากกว่า 990 มิลิเมตร

4. แร็กเกต
4.1 เฟรมของแร็กเกตยาวทั้งหมดไม่เกิน 680 มิลลิเมตร และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 230 มิลลิเมตร ส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ 4.1.1 ถึง 4.1.5
4.1.1 ด้านจับ เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้จับ
4.1.2 พื้นที่ขึงเอ็น เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก
4.1.3 หัว บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น
4.1.4 ก้าน ต่อจากด้ามจับถึงหัว (ขึ้นอยู่กับกติกาข้อ 4.1.5)
4.1.5 คอ (ถ้ามี) ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง

4.2 พื้นที่ขึงเอ็น
4.2.1 พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ ด้วยการร้อยเอ็นเส้นขวางขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นทั่วไป โดยพื้นที่ตอนกลาง ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น ๆ
4.2.2 พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน 280 มิลลิเมตร และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 220 มิลลิเมตร อย่างไรก็ตามอาจขึงไปถึงคอเฟรม หากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน 35 มิลลิเมตรและความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน 330 มิลลิเมตร

4.3 แร็กเกต
4.3.1 ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่ หรือยื่นออกมา ยกเว้นจากส่วนที่ทำเพื่อจำกัดและป้องกันการสึกหรอ ชำรุดเสียหาย การสั่นสะเทือน การกระจายน้ำหนัก หรือการพันด้ามจับให้กระชับมือผู้เล่น และมีความเหมาะสมทั้งขนาดและการติดตั้งสำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว
4.3.2 ต้องปราศจากสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้เล่นเปลี่่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนรูปทรงของเร็กเก็ต



5. การยอมรับอุปกรณ์
       สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ จะกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับปัญหาของแร็กเกต ลูกขนไก่ หรืออุปกรณ์ต้นแบบ ซึ่งใช้ในการเล่นแบดมินตันให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ กฏเกณฑ์ดังกล่าวอาจเป็นการริเริ่มของสหพันธ์เองหรือจากการยื่นความจำนงของคณะบุคคล ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับผู้เล่น ผู้ผลิต หรือองค์กรแห่งชาติหรือสมาชิกขององค์กรนั้น ๆ

  6. การเสี่ยง
6.1 ก่อนเริ่มเล่น จะต้องทำการเสียง ฝ่ายที่ชนะการเสียง มีสิทธิ์เลือกตามกติกาข้อ 6.1.1 หรือ 6.1.2
6.1.1 ส่งลูกหรือรับลูกก่อน
6.1.2 เริ่มเล่นจากสนามข้างใดข้างหนึ่ง
6.2 ฝ่ายที่แพ้การเสี่ยง มีสิทธิ์ที่เหลือจากการเลือก

 
7. ระบบการนับคะแนน
7.1 แมตช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
7.2 ในประเภทชายคู่และประเภทชายเดี่ยว ฝ่ายที่ได้ 15 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7.5
7.3 ในประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม ฝ่ายที่ได้ 11 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7.5
7.4 ฝ่ายส่งลูกเท่านั้น เป็นฝ่ายได้คะแนน (ดูกติกาข้อ 10.3 หรือ 11.5)
7.5 ถ้าได้ 14 คะแนนเท่ากัน (10 คะแนนเท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม) ฝ่ายที่ได้ 14 (10) คะแนนก่อน มีสิทธิ์เลือกในกติกาข้อ 7.5.1 หรือ 7.5.2:-
7.5.1 ต่อเกมนั้นถึง 15 (11) คะแนน กล่าวคือ ไม่เล่นต่อ ในเกมนั้น หรือ
7.5.2 เล่นต่อ เกมนั้นถึง 17 (13) คะแนน
7.6 ฝ่ายชนะ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมต่อไป

 8. การเปลี่ยนข้าง
8.1 ผู้เล่นจะเปลี่ยนข้าง
8.1.1 หลังจากจบเกมที่ 1
8.1.2 ก่อนเริ่มเล่นเกมที่ 3 (ถ้ามี) และ
8.1.3 ในเกมที่ 3 หรือในการแข่งขันเกมเดียว เมื่อคะแนนนำถึง 6 คะแนน สำหรับเกม 11 คะแนน / 8 คะแนน สำหรับเกม 15 คะแนน
8.2 ถ้าผู้เล่นลืมเปลี่ยนข้างตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 8.1 ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้ตัวและลูกไม่อยู่ในการเล่น และให้นับนับคะแนนต่อจากคะแนนที่ได้ในขณะนั้น

9. การส่งลูก
9.1 ในการส่งลูกที่ถูกต้อง
9.1.1 ทั้งสองฝ่ายต้องไม่ประวิงเวลาให้เกิดความล่าช้าในการส่งลูกทันทีที่ผู้ส่งลูก และผู้รับลูกอยู่ในท่าพร้อมแล้ว
9.1.2 ผู้ส่งลูกและผู้รับลูก ต้องยืนในสนามส่งลูกทแยงมุมตรงข้ามโดยเท้าไม่เหยียบเส้นเขตของสนามส่งลูก
9.1.3 บางส่วนของเท้าทั้งสองของผู้ส่งลูกและผู้รับลูก ต้องแตะพื้นสนามในท่านิ่งตั้งแต่เริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4) จนกระทั่งส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.5)
9.1.4 จุดสัมผัสแรกของแร็กเกตผู้ส่งต้องตีที่ฐานของลูก
9.1.5 ทุกส่วนของลูกจะต้องอยู่ต่ำกว่าเอวของผู้ส่ง ขณะที่แร็กเกตสัมผัสลูก
9.1.6 ก้านแร็กเกตของผู้ส่งลูกในขณะตีลูก ต้องชี้ลงต่ำจนเห็นได้ชัดว่า ส่วนหัวทั้งหมดของแร็กเกตอยู่ต่ำกว่าทุกส่วนของมือที่จับแร็กเกตของผู้ส่งลูก ตามภาพผัง ง.
9.1.7 การเคลื่อนแร็กเกตของผู้ส่งลูกไปข้างหน้า ต้องต่อเนื่องจากการเริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4) จนกระทั่งได้ส่งลูกแล้ว และ
9.1.8 วิถีลูกจะพุ่งขึ้นจากแร็กเกตของผู้ส่งลูกข้ามตาข่าย และถ้าปราศจากการสกัดกั้น ลูกจะตกลงบนพื้นสนามส่งลูกของผู้รับลูก (กล่าวคือ บนหรือภายในเส้นเขต)

9.2 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง ตามกติกาของข้อ 9.1.1 ถึง 9.1.8 ถือว่าฝ่ายทำผิด เสีย (กติกาข้อ 13)
9.3 ถือว่า เสีย ถ้าผู้ส่งลูกพยายามจะส่งลูก โดยตีไม่ถูกลูก
9.4 เมื่อผู้เล่นอยู่ในท่าพร้อมแล้ว การเคลื่อนแร็กเกตไปข้างหน้าของผู้ส่งลูกถือว่า เริ่มส่งลูก
9.5 ถือว่าได้ส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.4) ถ้าแร็กเกตของผู้ส่งสัมผัสลูกหรือพยายามจะส่งลูกแต่ตีไม่ถูกลูก
9.6 ผู้ส่งลูกจะส่งลูกไม่ได้ถ้าผู้รับลูกยังไม่พร้อม แต่ถือว่าผู้รับลูกพร้อมแล้วถ้าพยายามตีลูกที่ส่งมากลับไป
9.7 ในประเภทคู่ คู่ขาจะยืน ณ ที่ใดก็ได้ โดยไม่บังผู้ส่ง

10. ประเภทเดี่ยว
10.1 สนามส่งลูกและรับลูก
10.1.1 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้ส่งลูกทำคะแนนไม่ได้ หรือคะแนนที่ได้เป็นเลขคู่ในเกมนั้น
10.1.2 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนเป็นเลขคี่ในเกมนั้น
10.2 ผู้ส่งลูกและรับลูกจะตีโต้ลูกจนกว่าจะเกิด เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น
10.3 คะแนนและการส่งลูก
10.3.1 ถ้าผู้รับทำเสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้รับ ผู้ส่งลูกได้คะแนน ผู้ส่งจะได้ส่งลูกต่อไปในสนามส่งอีกด้านหนึ่ง
10.3.2 ถ้าผู้ส่งทำเสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้ส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์การส่งลูก และผู้รับก็จะได้เป็นผู้ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้ง

 

11.ประเภทคู่
11.1 เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่ง ต้องเริ่มส่งจากสนามส่งลูกด้านขวา
11.2 ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกถูกตัว หรือคู่ขาของผู้รับตีลูก ถือว่า เสีย ผู้ส่งลูกได้ 1 คะแนน

11.3 ลำดับการเล่นและตำแหน่งยืนในสนาม
11.3.1 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งคนหนึ่งคนใดตีลูกกลับไป และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายรับโต้ลูกกลับมา เป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่า ลูกไม่อยู่ในการเล่น
11.3.2 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจะตีโต้ลูกจากที่ใดก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น

11.4 สนามส่งลูกและรับลูก
11.4.1 ผู้เล่นมีสิทธิ์ส่งตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะส่งหรือรับลูกในสนามส่งด้านขวา เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกด้านซ้ายเมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
11.4.2 ผู้เล่นที่เป็นผู้รับตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะรับหรือส่งลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
11.4.3 ให้คู่ขาของผู้เล่นปฏิบัติในทางกลับกัน

11.5 คะแนนและการส่งลูก
11.5.1 ถ้าฝ่ายรับทำ เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายรับ ฝ่ายส่งได้ 1 คะแนน และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกต่ออีก
11.5.2 ถ้าฝ่ายส่งทำ เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน

11.6 การส่งลูกทุกครั้ง ต้องส่งจากสนามส่งลูก สลับกันไป ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 12 และ ข้อ 14
11.7 ในการเริ่มต้นเกมใดก็ตาม ผู้มีสิทธิ์ส่งลูกคนแรก ส่งลูกจากสนามด้านขวาไปยังผู้รับลูกคนแรกและจากนั้นไปยังคู่ขาของผู้รับตามลำดับไป จนกระทั่งเสียสิทธิ์และเปลี่ยนส่งไปให้ฝ่ายตรงข้ามที่จะต้องเริ่มส่งจากสนามด้านขวา (กติกาข้อ 11.4) จากนั้นจะให้คู่ขาส่ง จะเป็นเช่นนี้ตลอดไป
11.8 ห้ามผู้เล่นส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง หรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้รับ หรือรับลูกติดต่อกันสองครั้งในเกมเดียวกัน ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 12 และ 14
11.9 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายชนะ จะเป็นผู้ส่งลูกก่อนในเกมต่อไปก็ได้ และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับลูกก่อนก็ได้

12. ความผิดในสนามส่งลูก
12.1 ความผิดในสนามส่งลูกเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่น
12.1.1 ส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง
12.1.2 ส่งลูกจากสนามส่งลูกที่ผิด หรือ
12.1.3 ยืนผิดสนามและได้เตรียมพร้อมที่จะรับลูกที่ส่งมา

12.2 ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกก่อนส่งลูกครั้งต่อไป
12.2.1 หากฝ่ายหนึ่งทำผิดและชนะในการตีโต้ ให้ เอาใหม่
12.2.2 หากฝ่ายหนึ่งทำผิดและแพ้ในการตีโต้ ไม่มีการแก้ไขความผิด
12.2.3 หากทั้งสองฝ่ายทำความผิดด้วยกัน ให้ เอาใหม่

12.3 ถ้ามีการ เอาใหม่ เพราะความผิดในสนามส่งลูก ให้เล่นใหม่พร้อมกับแก้ไข
12.4 ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกหลังจากได้ส่งลูกครั้งต่อไปแล้ว จะไม่มีการแก้ไขความผิดนั้น ให้เล่นต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยนสนามส่งลูกใหม่ของผู้เล่น (หรือให้เปลี่ยนลำดับใหม่ของการส่งลูกในกรณีเดียวกัน)

 

13. การทำเสีย
13.1 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง (กติกาข้อ 9.1) หรือตามกติกาข้อ 9.3 หรือ 11.2

13.2 ถ้าในขณะเล่น ลูกขนไก
13.2.1 ตกลงบนพื้นนอกเส้นเขตสนาม (กล่าวคือ ไม่อยู่บนหรือภายในเส้นเขตสนาม)
13.2.2 ลอดผ่านหรือลอดใต้ตาข่าย
13.2.3 ไม่ข้ามตาข่าย
13.2.4 ถูกเพดาน หรือ ฝาผนัง
13.2.5 ถูกตัวผู้เล่น หรือเครื่องแต่งกายผู้เล่น
13.2.6 ถูกวัตถุหรือตัวบุคคลภายนอกที่อยู่ใกล้เคียงล้อมรอบสนาม (ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวอาคารผู้มีอำนาจเกี่ยวกับแบดมินตันท้องถิ่น อาจวางกฎเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้ ทั้งนี้ ย่อมแล้วแต่สิทธิความเห็นชอบของภาคีสมาชิก)

13.3 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นตีลูกก่อนที่ลูกข้ามตาข่ายมาในเขตสนามของตัวเอง (อย่างไรก็ดี ผู้ตีอาจใช้แร็กเกตตามลูกข้ามตาข่ายในระหว่างตีลูก)

13.4 ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น ผู้เล่น
13.4.1 ถูกตาข่ายหรืออุปกรณ์ที่ขึง ด้วยแร็กเกต ด้วยตัว หรือด้วยเครื่องแต่งกาย
13.4.2 ล้ำบนตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ ด้วยแร็กเกต ด้วยตัว ยกเว้นตามที่ได้รับอนุญาตไว้ในกติกาข้อ 13.3
13.4.3 ล้ำใต้ตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ด้วยแร็กเกต หรือด้วยตัว จนเป็นการกีดขวางหรือทำลายสมาธิคู่ต่อสู้
13.4.4 กีดขวางคู่ต่อสู้ กล่าวคือ กันไม่ให้คู่ต่อสู้ตีลูกที่ข้ามตาข่ายมาอย่างถูกต้องตามกติกา

13.5 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจงใจทำลายสมาธิคู่ต่อสู้ด้วยการกระทำต่าง ๆ เช่น ร้องตะโกนหรือแสดงท่าทาง

13.6 ถ้าระหว่างการเล่น ลูกขนไก่
13.6.1 ติดอยู่ในแร็กเกต แล้วถูกเหวี่ยงออกไปในระหว่างตีลูก
13.6.2 ถูกตีสองครั้งติดต่อกัน โดยผู้เล่นคนเดียวกัน
13.6.3 ถูกตีโดยผู้เล่นคนหนึ่ง และคู่ขาของผู้เล่นคนนั้นติดต่อกัน หรือ
13.6.4 ถูกแร็กเกตของผู้เล่นคนหนึ่ง แล้วลอยไปทางท้ายสนามด้านหลังของผู้เล่นคนนั้น

13.7 ถ้าผู้เล่นทำผิดอย่างโจ่งแจ้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือผิดพลาดอยู่ตลอด ตามกติกาข้อ 16
13.8 ถ้าหลังจากส่งลูกแล้วลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย

 

14. การ "เอาใหม่"
14.1 การ เอาใหม่ จะขานโดยกรรมการผู้ตัดสิน หรือ โดยผู้เล่น (ถ้าไม่มีกรรมการผู้ตัดสิน) ขานให้หยุดเล่น ในกรณีที่
14.1.1 ถ้าผู้ส่งลูก ส่งลูกโดยที่ผู้รับลูกยังไม่พร้อม (ดูกติกาข้อ 9.6)
14.1.2 ถ้าในระหว่างการส่งลูก ผู้รับและผู้ส่งลูกทำเสีย พร้อมกันทั้งสองฝ่ายในเวลาเดียวกัน
14.1.3 ถ้าลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย หรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่ายยกเว้นในการส่งลูก
14.1.4 ถ้าในระหว่างการเล่น ลูกขนไก่แตกแยกออกเป็นส่วน ๆ และฐานแยกออกจากส่วนที่เหลือของลูกโดยสิ้นเชิง
14.1.5 ถ้ากรรมการกำกับเส้นมองไม่เห็น และกรรมการผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้
14.1.6 สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดในสนามส่งลูก ตามที่ระบุในกติกาข้อ 12.2.1 หรือ 12.2.3 หรือ
14.1.7 สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน หรือโดยเหตุบังเอิญ

14.2 เมื่อมีการ เอาใหม่ การเล่นหลังจากการส่งลูกครั้งสุดท้ายถือเป็นโมฆะ และผู้เล่นที่ส่งลูกจะได้ส่งลูกอีกครั้งหนึ่ง ยกเว้นหากเป็นไปตามกติกาข้อ 12

  15. ลูกไม่อยู่ในการเล่น
ลูกไม่อยู่ในการเล่น เมื่อ
15.1 ลูกชนตาข่ายแล้วติดอยู่ที่ตาข่าย หรือค้างอยู่บนขอบตาข่าย
15.2 ลูกชนตาข่ายหรือเสาตาข่ายแล้วตกลงบนพื้นสนามในด้านของผู้ตีลูก
15.3 ลูกถูกพื้นสนาม หรือ
15.4 เกิดการ เสีย หรือการ "เอาใหม่"

 

16. การเล่นต่อเนื่อง, การทำผิด, การลงโทษ
16.1 การเล่นต้องต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มส่งลูกครั้งแรกจนสิ้นสุดการแข่งขัน ยกเว้นตามที่ได้อนุญาตไว้ในกติกาข้อ 16.2 และ 16.3

16.2 พักระหว่างการจบเกมที่ 1 และเริ่มเกมที่ 2 ได้ไม่เกิน 90 วินาที และไม่เกิน 5 นาที ระหว่างจบเกมที่ 2 และเริ่มเกมที่ 3 อนุญาตสำหรับทุกแมตช์ของการแข่งขัน (ในการแข่งขันที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจตัดสินใจก่อนเริ่มการแข่งขันว่า การพักตามกติกาข้อ 16.2 อยู่ในอาณัติและเวลากำหนด)

16.3 พักการเล่นเมื่อมีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะนำให้กรรมการผู้ตัดสินพักการเล่น
16.3.1 เมื่อมีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็น
16.3.2 ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะนำให้กรรมการผู้ตัดสินพักการเล่น
16.3.3 ถ้ามีการพักการเล่น คะแนนที่ได้จะอยู่คงเดิม และจะเริ่มใหม่จากคะแนนนั้น

16.4 การถ่วงเวลาการเล่น
16.4.1 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ห้ามถ่วงเวลาการเล่นเพื่อให้ผู้เล่นฟื้นคืนกำลัง หรือหายเหนื่อย
16.4.2 กรรมการผู้ตัดสินจะวินิจฉัยความล่าช้าแต่เพียงผู้เดียว

16.5 คำแนะนำและการออกนอกสนาม
16.5.1 ห้ามผู้เล่นรับคำแนะนำระหว่างการแข่งขัน ยกเว้นการพักตามกติกาข้อ 16.2 และ 16.3
16.5.2 ห้ามผู้เล่นเดินออกนอกสนามระหว่างการแข่งขันโดยมิได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน ยกเว้นระหว่างพัก 5 นาที ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 16.2

16.6 ผู้เล่นต้องไม่จงใจถ่วงเวลา หรือพักการเล่น, จงใจแปลงหรือทำลายลูกเพื่อเปลี่ยนความเร็วและวิถี, แสดงกิริยาก้าวร้าว หรือกระทำผิดนอกเหนือกติกา

16.7 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดำเนินการกับความผิดตามกติกาข้อ 16.4, 16.5 หรือ 16.6 โดย
16.7.1 เตือนผู้กระทำผิด
16.7.2 ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิดหลังจากได้เตือนก่อนแล้ว
16.7.3 ในกรณีผิดอย่างเห็นได้ชัด หรือผิดอยู่ตลอด ให้ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิด แล้วรายงานให้กรรมการผู้ชี้ขาดทราบทันที ซึ่งกรรมการผู้ชี้ขาดมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำผิดออกจากการแข่งขัน

17. กรรมการสนามและการอุทธรณ์
17.1 กรรมการผู้ชี้ขาดเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการแข่งขันทั้งหมด
17.2 หากมีการแต่งตั้ง กรรมการผู้ตัดสิน ให้มีหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน สนาม และบริเวณโดยรอบสนามแข่งขัน กรรมการผู้ตัดสินต้องรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาด
17.3 กรรมการกำกับการส่งลูกเป็นผู้ขาน เสีย สำหรับการส่งลูกที่ผู้ส่งลูกเป็นผู้กระทำผิด (กติกาข้อ 9)
17.4 กรรมการกำกับเส้นเป็นผู้ให้สัญญาณ ดี หรือ ออก ในเส้นเขตที่ได้รับมอบหมาย
17.5 การตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั้งหมดของกรรมการสนามที่รับผิดชอบถือว่าสิ้นสุด

17.6 กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง
17.6.1 ควบคุมการแข่งขันให้ดำเนินไปภายใต้กฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาน เสีย หรือ เอาใหม่ เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น
17.6.2 ตัดสินคำอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้แย้ง ซึ่งมีขึ้นก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป
17.6.3 แน่ใจว่า ผู้เล่นและผู้ชมได้ทราบถึงความคืบหน้าของการแข่งขัน
17.6.4 แต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการกำกับเส้น หรือกรรมการกำกับการส่งลูก หลังจากได้ปรึกษากับกรรมการผู้ชี้ขาดแล้ว
17.6.5 หากไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสนามอื่น จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นให้เรียบร้อย
17.6.6 หากกรรมการสนามที่ได้รับการแต่งตั้งมองไม่เห็น ต้องดำเนินการในหน้าที่ของกรรมการนั้น หรือให้ “เอาใหม่”
17.6.7 บันทึกและรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาดทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกติกาข้อ 16 และ
17.6.8 เสนอคำอุทธรณ์ที่ไม่พึงพอใจในปัญหาเกี่ยวกับกติกาต่อกรรมการผู้ชี้ขาด (คำอุทธรณ์ดังกล่าว จะต้องเสนอก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป หรือเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงก่อนที่ฝ่ายอ

ประโยชน์ของกีฬาแบดมินตัน

ประโยชน์ในระยะสั้น

ทำให้ร่างกายแข็งแรงและอวัยวะทุกส่วนได้พัฒนาอยู่เสมอโดยเฉพาะข้อมือ แขน ขา และ สายตา

เป็นกีฬาที่ต้องใช้สมรรถภาพทางร่างกายที่ดี สมรรถภาพทางร่างกายดังกล่าว คือความแข็งแรง ความอดทน การทำงานสัมพันธ์กันของระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ พลังความยืดหยุ่นของอวัยวะต่าง ๆ ความคล่องตัว ความทนทานของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนเลือด ดังนั้น จึงทำให้ผู้เล่นมีร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

 ถ้าเล่นแบดมินตันเพื่อความอดทน จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น เพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารให้สูงขึ้น เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจให้ลึกและดีขึ้นด้วย

แบดมินตันมีวิธีการตีลูกหลายแบบ จึงมีเทคนิคเล่นมากมายที่ทำให้ได้ การฝึกฝนการใช้สติปัญญาอยู่ตลอดเวลา

เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความฉลาด ไหวพริบ และการส่อหลอกประกอบกัน จึงกล่าวได้ว่าการเล่นแบดมินตันเป็นการทำสงครามด้วยความฉลาด เพราะการเล่นมีการรุก – รับตลอดเวลา

ช่วยผ่อนคลายความตรึงเครียดและสร้างความพอใจให้ผู้เล่นเพราะคนทั่ว ๆ ไปต้องการเล่นให้สนุกสนานปล่อยอารมณ์ไปกับการเคลื่อนไหวตามชนิดต่าง ๆ ของกิจกรรม ตามหลักจิตวิทยาแล้วแบดมินตันยังช่วยเสริมสร้างและรักษาจิตใจได้อีกด้วย จิตแพทย์คาร์ล เมนนินเยอร์(Dr.Karl Menninger)หัวหน้าหน่วยงานTopekaซึ่งเป็นหน่วยงานระดับโลก ได้แนะนำให้ใช้กีฬาแบดมินตันเป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับคนไข้ที่ผิดปกติทางอารมณ์ และไม่ใช่แต่จะทำให้สุขภาพจิตของคนป่วยดีขึ้นเท่านั้นคนปกติก็ดีขึ้นด้วยเช่นกัน

 เป็นกีฬาที่สร้างเสริมมนุษย์สัมพันธ์ มิตรภาพ และการแสดงออกที่แสดงถึงความมีน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เพราะการเล่นต้องเล่นร่วมกับคนอื่น ๆ ได้มีการพบปะสังสรรค์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จะได้รับประโยชน์เท่า ๆ กัน

 เป็นกีฬาที่มีคนนิยมมาก มีรางวัลสูง มีการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ได้เห็นเกมส์แบดมินตันดี ๆ อยู่เสมอ

ประโยชน์ในระยะยาว

ผู้มีส่วนร่วมในกีฬาแบดมินตันจะได้รับประโยชน์ทั้งทางด้านสรีรวิทยา จิตวิทยา และสังคมวิทยา เป็นอย่างมาก

โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเพื่อเป็นการลดความกดดันลงบ้าง งานอดิเรกจึงจำเป็นและสำคัญสำหรับมนุษยชาติ กีฬาแบดมินตันจึงเป็นกีฬาที่ใช้เป็นงานอดิเรกได้ดียิ่ง มีทั้งความตื่นเต้น สนุกสนานในชีวิตประจำวัน และแม้ว่าจะอายุถึง 60-70 ปี ก็ยังสามารถเล่นได้อยู่

 เป็นกีฬาที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง สมบูรณ์ของร่างกาย โดยการเล่นเป็นประจำ

 เป็นกีฬาประเภทบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องใช้หรือรอคอยส่วนประกอบอื่น ๆ มากนักและไม่ต้อ

งใช้อุปกรณ์มากด้วย

ผู้มีส่วนร่วมในกีฬาแบดมินตันจะได้รับประโยชน์ทั้งทางด้านสรีรวิทยา จิตวิทยา และสังคมวิทยา เป็นอย่างมาก

โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเพื่อเป็นการลดความกดดันลงบ้าง งานอดิเรกจึงจำเป็นและสำคัญสำหรับมนุษยชาติ กีฬาแบดมินตันจึงเป็นกีฬาที่ใช้เป็นงานอดิเรกได้ดียิ่ง มีทั้งความตื่นเต้น สนุกสนานในชีวิตประจำวัน และแม้ว่าจะอายุถึง 60-70 ปี ก็ยังสามารถเล่นได้อยู่

 เป็นกีฬาที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง สมบูรณ์ของร่างกาย โดยการเล่นเป็นประจำ

เป้าหมายการลูกตบแบ่งออกได้เป็น
1.         ตบลูกให้ห่างตัวผู้รับ
2.         ตบลูกพุ่งเข้าหาตัวผู้รับ
ตบลูกห่างตัวผู้รับ
เป็นการตบลูกแบบเบสิคพื้นฐาน บีบบังคับให้คู่ต่อสู้ผละออกจากศูนย์กลางสนามเพื่อไปรับลูก ณ อีกจุดหนึ่ง ระหว่างที่ต้องเคลื่อนย้ายผละจากที่มั่นเดิม คู่แข่งอาจจะกระทำการผิดผลาดในจังหวะใดจังหวะหนึ่งยังผลให้การตีหรือการรับลูกกลับมาผิดพลาดสั้นไปหรือยาวเกินไป ทำให้เปิดโอกาสให้เราซ้ำเติมในลักษณะการรุกโจมตีซ้ำดาบสองได้ ในทำนองเดียวกัน การฉีกแยกคู่แข่งออกจากศูนย์กลาง ยอมทำให้อีกด้านหนึ่งของสนามเกิดช่องว่างมากขึ้น ทำให้เราสามารถตีโยกบีบให้อีกฝ่ายหนึ่งเกิดการเพลี่ยงพล้ำขึ้นได้โดยง่ายหรือบางครั้งอาจจะบีบให้ตีลูกเสียเองหรือเกิดUnforced Error อย่างคาดไม่ถึงก็ได้
ตบลูกพุ่งเข้าหาตัวผู้รับ
เป็นการตบลูกสวนทางกับหลักการเลือกเป้าหมายการตีลูกในเกมแบดมินตัน แต่อาศัยที่การตบลูกที่พุ่งเร็วและแรง การตบลูกพุ่งแรงเข้าหาตัวคู่ต่อสู้อาจจะทำให้เกิดความเพลี่ยงพล้ำอย่างง่าย ๆ ก็ได้ เพราะความเร็วกับความแรงของลูกทำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีเวลาสำหรับการเตรียมการตอบโต้ ยิ่งผู้เล่นที่อ่อนฟุตเวิร์คจัดจังหวะเท้าไม่ถูก จัดจังหวะเท้าไม่คล่องตัว ก็อาจจะเอี้ยวตัวหลบไม่ทัน เพื่อเปิดมุมสะวิงสำหรับเหวี่ยงตีลูกได้ถนัด หรือบางครั้งคาดไม่ถึงคิดว่าผู้ตบมีแนวโน้มที่จะกำหนดเป้าหมายการตบลูกไปอย่าง ส่วนว่างของสนามมากกว่า

ลูกดาด (Drive)
คือลูกที่พุ่งเฉียดข้ามตาข่าย มีวิถีพุ่งข้ามขนานไปกับพื้นสนาม ผู้เล่นตีลูกดาดสูงในระดับอก ตีได้ทั้งหน้ามือโฟร์แฮนด์ และหลังมือแบ็คแฮนด์ทั้งจากด้านซ้าย ขวาของลำตัวลูกดาดที่ตีจากระดับต่ำ ลูกที่ข้ามไปจะลอยสูงไม่ขนานกับพื้นสนาม มีแนวโน้มที่จะข้ามตาข่ายไปในลักษณะของลูกงัดโด่ง ลูกดาดใช้สำหรับสร้างสถานการณ์เป็นฝ่ายรุกโจมตี ไม่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายหนึ่งตอบโต้กลับมาได้ด้วยลูกตบเป็นลูกที่พุ่งข้ามตาข่ายด้วยความเร็วในวิถีตรงโดยที่ผู้เล่นสามารถวางเป้าหมายให้ลูกพุ่งไปสู่ทุกจุดของสนามตรงข้าม อาจเป็นลูกดาดสุดสนาม(ดูรูปที่หมายเลข 9) ดาดครึ่งสนาม(หvggมายเลข 3.) หรืบา ๆ ให้กลายเป็นลูกแตะหยอด(หมายเลข 2.)
ลูกดาดใช้กันมากในประเภทคู่ เพราะลูกดาดรักษาความเป็นฝ่ายรุก หลีกเลี่ยงการส่งลูกโด่งเปิดโอกาสให้คู่แข่งใช้ตบได้อีกทั้งยังบีบบังคับให้คู่แข่งมีเวลาสำหรับการตีโต้กลับมาด้วยช่วงเวลาสั้นยิ่งถ้าคู่แข่งขันเสียหลักถลำไปอีกซีกหนึ่งของสนาม ลูกดาดที่พุ่งไปอีกด้านหนึ่งของสนาม จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถจะกลับตัวมาตีลูกได้ ในการเล่นประเภทคู่ ลูกดาดแทงครึ่งสนามยังใช้สำหรับหลบผ่านผู้เล่นที่อยู่ด้านหน้าของอีกฝ่ายหนึ่งในขณะเดียวกันวิถีดาดของลูกที่ข้ามไป ผู้เล่นมือหลังก็ไม่อาจตอบโต้กลับมาด้วยลูกตบได้ ถ้าใช้ลูกดาดพุ่งไปยังมุมที่สามของฝ่ายตรงข้ามในหลาย ๆ ครั้งจะพลิกสถานการณ์จากฝ่ายรับให้กลายเป็นฝ่ายรุกได้ทันที
ลูกดาดเป็นลูกที่แรงตีมาจากแรงเหวี่ยงของแขน ผสมผสานกับแรงตวัดของข้อมือ อาจจะมีแรงโถมของน้ำหนักตัว หรือไม่มีเลยก็ได้ การกำหนดแรงตี จะทำให้ลูกดาดข้ามไปยังเป้าหมายที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นลูกดาดครึ่งสนามก็ต้องลดความแรงลงบางส่วน แต่ก็ยังต้องใช้การดีดตวัดของข้อมือช่วยเพื่อให้ลูกดาดที่ข้ามตาข่ายไปนั้น มีวิถีวิ่งที่ฉวัดเฉวียนรวดเร็ว คู่ต่อสู้ไม่อาจจะมาดักตะปบลูกได้หรือบางครั้งจะใช้เป็นลูกหลอก แทนที่จะเป็นลูกพุ่งเร็ว อาจจะตีเป็นลูกแตะหยอดทิ้งไว้หน้าตาข่ายของอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ แต่ต้องเป็นการตีลูกวิถีที่เร็ว ไม่อ้อยอิ่งจนอีกฝ่ายหนึ่งเข้าไปแย๊ปได้ ลูกดาดที่สมบูรณ์ต้องข้ามตาข่ายไปในวิถีตรง ลูกพุ่งข้ามไปด้วยความเร็วในขณะเดียวกันต้องข้ามไปในวิถีวิ่งเลียดตาข่าย ลูกดาดที่พุ่งสู่เป้าหมายห่างตัวคู่ต่อสู้มากเท่าใด จะเป็นการวางลูกที่สร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ตี และบีบให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบเป็นฝ่ายรับ ในหลาย ๆกรณีต้องตอบโต้กลับมาเป็นลูกงัด หรือลูกโยนโด่ง ปิดโอกาสให้เราเป็นฝ่ายทำเป็นฝ่ายรุกโจมตีได้ลูกดาดที่ตีง่าย และถนัด ได้แก่ลูกที่พุ่งมาสองด้านของลำตัว เพราะมีมุมสำหรับเหวี่ยงตีลูก แต่ในบางกรณี ลูกที่พุ่งตรงเข้ามาหาลำตัวผู้เล่นจำเป็นที่จะต้องใช้จังเท้าฟุตเวิร์คดันตัวเองให้พ้นวิถีลูกเพื่อเปิดมุมสำหรับเหวี่ยงตีลูกได้ ควรกำหนดระยะการประชิดให้พอที่จะตีลูกได้อย่างสบาย ปล่อยลำแขนเหวี่ยงตีลูกและตวัดข้อมือได้อย่างมีเสรี ควรตีลูกในระดับสูง และเป็นฝ่ายวิ่งเข้าหาลูกเสมอ
การฝึกตีลูกดาด ให้ผู้เล่นสองคนอยู่คนละฝ่ายของสนาม ตีลูกดาดด้วยการยืนอยู่ประมาณครึ่งสนาม ตีซ้ายขวาไปมาช้า ๆ พยายามบังคับให้ลูกวิ่งเลียดข้ามโดยไม่ติดตาข่าย ในระยะแรก ๆ ให้เผื่อข้ามเลยตาข่ายไว้ก่อน เมื่อเกิดความชำนาญ เกิดทักษะ จึงค่อยทวีความแรง กับความเร็วมากขึ้น
ลูกโยนหน้ามือ
แรงที่ตีเกิดจากการประสานงานของแรงที่เหวี่ยง แรงตวัด การสะบัดของลำแขนข้อมือจังหวะฟุตเวิร์คที่ถูกต้อง บวกกับการเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า โดยที่แรงตีที่ผ่านแร็กเก็ตไปสัมผัสลูกในช่วงวินาทีที่ถูจังหวะจะโคน รวมแรงดีด ผลัก ดันให้ลูกพุ่งสูงโด่งไปยังสนามตรงข้าม ตามเป้าหมายที่ต้องการ
ลูกโยนหลังมือ
แรงตีเกิดจากการ ประสานงานเช่นเดียวกันกับ การตีลูกหน้ามือ แต่การวางฟุตเวิร์คสลับกันและไม่มีแรงที่โถมที่มาจากการเปลี่ยนน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า แรงตีลูกหลังมือเกือบทั้งหมดจึงมาจากแรงเหวี่ยง แรงตวัด และการสะบัดลำแขน กับข้อมือเท่านั้น โดยเหตุที่การตีลูกหลังมือ แหล่งที่มาของแรงตีลูกมีจำกัด แรงเหวี่ยง แรงตวัดของลำแขนที่มาจากหัวไหล่ กับแรงที่เกิดจากการสะบัดข้อมือ จึงจำเป็นต้องประสานงานสอดคล้องกันอย่างกลมกลืนเป็นจังหวะเดียวโดยทฤษฎีแล้ว ลูกหลังมือน่าจะเป็นลูกรับสำหรับแก้ไขสถานการณ์มากกว่าเป็นลูกบุกแต่ถ้าฝึกตีลูกให้แรงและมีความคล่องแคล่วชำนาญ จะกลายเป็นการตีลูกที่ผู้เล่นสามารถสร้างเขี้ยวเล็บให้แก่การตีลูกหลังมือของตนกลายเป็นการเล่นเชิงรุก ได้จังหวะของการดีด สะบัดข้อมือที่กระทำได้ในเสี้ยววินาทีกับแรงเหวี่ยงของแร็กเก็ตอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้เล่นสามารถพลิกโฉมจากการเกมรับเป็นเกมรุกได้ในบัดดล เพียงแต่บิดหน้าแร็กเก็ต เปลี่ยนจุดเป้าหมายการตี ลูกก็จะวิ่งไปอีกทางหนึ่ง ทำให้ผู้เล่นสามารถสร้างสัดส่วนของการเล่นลูกหลอก ได้อย่างแพรวพราวด้วยลูกหลังมือ ไม่ว่าจะเป็นลูกโยนหลังมือกระแทกไปมุมหนึ่งมุมใดของสองมุมหลัง หรือแตะหยอดด้วยหลังมือขนานเส้น หรือทแยงมุมก็สามารถจะทำได้
ลูกงัดโยน
คือการตีลูกโดยช้อนตวัดตีลูกจาก ล่างสะบัดขึ้นด้านบนเป็นการช้อนตีลูกจากต่ำไปสู่สูงเป็นที่ลูกที่ไม่ต้องใช้แรงเหวี่ยงตีมากเท่าไหร่ ใช้ข้อกระตุกหรือสะบัดลูกก็จะปลิวออกจากแร็กเก็ตอย่างง่ายดาย ส่วนมากจะเป็นลูกที่เข้าประชิดด้านหน้าของสนามเช่น การเข้ารับลูกแตะหยอดหรือลูกหยอดที่ฝ่ายตรงข้ามส่งข้ามมา หรือการรับลูกตบเป็นต้น
ลูกงัดใช้ตีได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ เป็นลูกที่ได้แรงตีมาจากการตวัด กระตุกหรือสะบัดของข้อมือมากกว่าแรงตีจากแหล่งอื่น การตีลูกงัดผู้เล่นต้องยืดแขนและตีลูกสุดช่วงแขน ลูกงัดบริเวณหน้าตาข่ายถ้าเข้าประชิดลูกได้เร็ว มีโอกาสตีลูกในระดับสูง จะใช้เป็นลูกหลอกล่อคู่ต่อสู้ด้วยการเล่นลูกสองจังหวะ เหยียดแขนยื่นแร็กเก็ตออกไป จะทิ้งเป็นลูกหยอดก็ได้ หรือจะกระแทกลูกไปด้านหลังของสนามตรงข้ามก็ได้ จะเป็นการเล่นลูกหลอกสองจังหวะท่ำคัญอีกลูกหนึ่งในเกมการเล่นแบดมินตันที่ผู้เล่นทุกคนจะมองข้ามไม่ได้
การงัดลูกแบ่งเป็นสองวิถีใหญ่ ๆ คือ การงัดลูกให้พ่งข้ามไปโดยไม่โด่งมากนัก ใช้เป็นการงัดลูกแบบรุก อีกวิถีหนึ่งคือการงัดลูกโด่งดึงให้คู่ต่อสู้ไปด้านหลังสนาม เพื่อให้เวลาสำหรับการกลับทรงตัวสู่จุดศูนย์กลางได้มากขึ้นฝึกหัดตีลูกโยนตามหลักวีธีที่แนะนำมาถึงขั้นตอนนี้ โปรดอย่าลืมหลักขั้นพื้นฐานที่ได้อธิบายไว้แล้วในบทก่อน ๆ ทุกครั้งที่ตีลูกนั้น จะต้องไม่ลืมหลักการตีลูกใหญ่ ๆดังนี้ คือ
1.         หน้าแร็กเก็ตต้องตั้งให้ตรงขณะตีลูก
2.         ขณะที่แร็กเก็ตสัมผัสกระทบตีลูกนั้นแขนทั้งสองของผู้เล่นจะต้องเหยียดตรงอยู่ในแนวตรงเสมอ
3.         วิ่งเข้าไปหาลูกอย่ารอให้ลูกวิ่งเข้ามาหาเรา
4.         เข้าประชิดลูกในระดับสูงที่สุดเท่าที่เราจะสามารถทำได้และ
5.         ต้องรู้จักดักลูก และเข้าปะทะลูกเสมอ
ลูกหยอด (Drop)คือลูกที่ตีจากส่วนต่าง ๆ ของสนามให้พุ่งย้อยข้ามตาข่าย และตกลงสู่พื้นสนามด้านตรงข้ามดดยไม่เกินเส้นส่งลูกสั้น จะหยอดด้วยด้วยลูกหน้ามือก็ได้ หรือหลังมือก็ได้ หรือจะตีตัดหยอดจากลูกโด่งเหนือศีรษะก็ได้ ลูกหยอดเป็นการทำให้คู่ต่อสู้ต้องวิ่งเข้ามาเล่นลูกหน้าตาข่ายทำให้พื้นที่ส่วนหลังของสนามมีพื้นที่มากขึ้น การหยอดมีหลายแบบ เช่น ลูกหยอดหน้าตาข่าย ลูกตัดหยอด แต่ลูกหยอดที่ดีจะต้องเลียดตาข่ายและพยายามให้ลูกตกชิดตาข่ายมากที่สุด

การตีลูกหยอดมีวิธีการดังนี้คือ
1.         เวลาตีลูกหยอดต้องให้แขนตึง ตามองลูกที่จะหยอด
2.         เมื่อหน้าไม้จะสัมผัสลูกขนไก่ให้เอียงหน้าไม้ไปในทิศทางที่ต้องการให้ลูกไปตกพร้อมทั้งกระดกข้อมือเมื่อไม้สัมผัสกับลูกขนไก่
3.         ลูกที่หยอดจะเป็นการหยอดจากหน้ามือหรือหลังมือก็ได้

การแข่งขันแบดมินตันประเภทเดี่ยว
เกมส์การแข่งขันประเภทเดี่ยวของแบดมินตันนั้น เป็นเกมการทดสอบสมรรถภาพทดสอบความอดทน ทดสอบพลังจิตการต่อสู้ ผู้เล่นต้องมีความชำนานและแม่นยำในการตีลูก การเล่นต้องอาศัยชั้นเชิงความไหวพริบปฏิภาณดีรู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าพยายามทำการแก้ไขลูกให้ฝ่ายตนต้องเตรียม พร้อมตัวเองอยู่เสมอ

คุณสมบัติของผู้เล่นแบดมินตันประเภทเดี่ยว
1.         ความสมบรูณ์ของร่างกายมีกำลังที่จะตีลูกขนไก่ได้ตลอดการแข่งขัน
2.         มีความแม่นยำในการตีลูกให้ถึงมุมทั้งลูกมุมสนามทางด้านหลังลูกหยอดมุมสนามทั้งสองด้าน
3.         มีพลังของจิตใจที่ดีในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ในทุกวิถีทาง
ในการตีลูกแต่ละครั้ง ต้องถือหลักเกณฑ์ว่าในการตีลูกข้ามตาข่ายต้องกระทำกับคู่ต่อสู้ดังนี้
1.         ให้คู่ต่อสู้วิ่งได้ไกลที่สุด
2.         ให้ฝ่ายคู่แข่งเสียแรงมากที่สุด
3.         ให้ตีลูกโต้กลับมาได้ยากที

การแข่งขันประเภทคู่
การแข่งขันประเภทคู่หมายถึงเกมการเล่นกันเป็นคู่มีฝ่ายละสองคนรวมกันเป็น4 คนเกมการเล่นประเภทนี้เป็นเกมการเล่นที่รวดเร็วไม่ว่าหญิงคู่หรือชายคู่หรือคู่ผสมต้องใช้ความว่องไวรวดเร็วใการตีลูกรับลูกมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันอยู่เสมอ การเล่นประเภทคู่จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.         ประเภทชายคู่
2.         ประเภทหญิงคู่
3.         ประเภทคู่ผสม
ทั้ง 3 ประเภทนี้ใช้หลักและวิธีการมาจากพื้นฐานเดียวกัน การเล่นประเภทคู่เป็นที่นิยมกันมากกว่าการเล่นประเภทเดี่ยว เพราะรับผิดชอบน้อยกว่าและเหนื่อยน้อยกว่าส่วนใหญ่เกมนี้มักใช้ในการสังสรรค์กันได้เป็นอย่างดี นักเล่นเดี่ยวที่ดีใช่ว่าจะเล่นคู่ได้ดีเสมอไปเพราะการเล่นคู่ทุกประเภทต้องอาศัยหลักการจู่โจมบุกตะลุยฝ่ายตรงข้าม ต้องมีการประสานกันอย่างดี ซึ่งผิดกับเกมการเล่นเดี่ยวที่ผู้เล่นต้องตัดสินใจคนเดียวเล่นคนเดียว ถ้ามาเล่นคู่อาจผิดพลาดไปมากก็ได้
เกมการเล่นคู่มีความเร็วมากกว่าเกมเดี่ยวเพราะผู้เล่นแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบบนพื้นที่ที่แคบกว่าต้องเข้าตีลุกได้เร็วขึ้นและตบลูกได้โดยไม่กลัวเสียความสมดุลหรือเสียท่าการทรงตัวเพราะมีอีกคนคอยช่วยเหลืออยู่ เกมประเภทนี้จึงต้องอาศัยความสัมพันธ์ของคู่รู้จักการประสานงานกันมีการรับผิดชอบต่อกันดี นักเล่นคู่จะพยายามหาคู่ที่มีมาตรฐานการเล่นไล่เลี่ยกัน อุปนิสัยค่อนข้างเหมือนกันมีความเข้า ใจและความเชื่อมั่นในฝีมือของกันและกัน เคยฝึกฝนมาด้วยกันทั้งสองคนต้องอ่านเกมการเล่นของทีมตรงข้ามได้และช่วยตอบโต้

แบบของการยืนเล่นประเภทคู่
แบดมินตันเป็นเกมการเล่นประเภทคู่ที่ต้องมีความสัมพันธ์ในคู่ของตัวเองจึงต้องฝึกแบบการยืนแบบการยืนแบดมินตันประเภทคู่นั้นพอจะแยกได้ว่ามี 5 แบบทุกแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ด้วยกันทั้งนั้นแต่ในระหว่างที่ลูกอยู่ในการเล่นนั้นการเปลี่ยนแบบเล่นนั้นเป็นผลเสียมากขึ้นแบบของการเล่นประเภทคู่ทั้ง 5 แบบดังนี้
1.         การยืนแบบเคียงข้างการเล่นคู่แบบนี้ผู้เล่นทั้งสองยืนเคียงข้างกันตลอดเวลาผู้เล่นในสนามด้านขวาต้องตีลูกใด ๆก็ตามที่พุ่งมาในสนามส่วนของตนจากตาข่ายถึงเส้นหลังสุดส่วนผู้เล่นที่ยืนอยู่ทางสนามด้านซ้ายมือก็ทำนองเดียวกันผู้เล่นคู่แบบนี้ต้องทราบด้วยว่าผู้เล่นที่อยู่ทางสนามด้านซ้ายมือนั้นต้องตีลูกขนไก่ซึ่งพุ่งมาตรงกลางเส้นสนามด้วย แต่ผู้เล่นอีกคนหนึ่งเล่นด้วยมือซ้าย ต้องตกลงกันก่อนว่าใครจะเป็นผู้ตีลูกขนไก่ที่พุ่งมาที่เส้นกลางสนามประเภทการยืนแบบนี้สำหรับผู้ที่เริ่มเล่นจะให้ผลดีมาก โดยที่ผู้เริ่มเล่นจะฝึกตีลูกต่างๆได้และการฝึกการวิ่งจากด้านหน้าสนามไปทางด้านหลังสนามแล้วกลับมายังตำแหน่งเตรียมพร้อมกลางสนามอยู่บ่อยๆ ทั้งหน้าที่กันในสนามก็แบ่งกันอย่างชัดเจนว่า คนนี้ตีด้านนั้นของสนาม ส่วนอีกคนตีอีกด้านหนึ่งตามแต่จะตกลงกัน
2.         การยืนแบบหน้า – หลังการเล่นคู่แบบยืนหน้า – หลังนี้ คือ คนหนึ่งยืนอยู่ส่วนหน้าของสนามใกล้ตาข่าย และตีลูกทางส่วนหน้าของสนาม และอีกคนหนึ่งต้องตีลูกส่วนหลังของสนาม การเล่นแบบยืนหน้า – หลังหรือคุมหน้าคุมหลังเหมาะสำหรับผู้เล่นที่มีฝีมือและความแข็ง แกร่งแตกต่างกันมาก จึงเป็นแบบมาตรฐานสำหรับการเล่นแบบคู่ผสมไปเมื่อทำการส่งลูกแล้วคนหนึ่งให้ไปยืนคุมทางด้านหน้าของสนามเมื่อตกเป็นฝ่ายรับลูกจากการส่งลูกให้คนรับลูกเป็นคนคุมหน้าอีกคนคุมหลังโดยจะแบ่งหน้าที่เช่นนี้ตลอดหรือสลับกันก็ได้การเล่นแบบนี้หากเป็นการเล่นแบบคู่ผสมชาย – หญิงแล้วจะให้ผลดีมากโดยใช้หญิงคอยตีด้านหน้าใกล้ตาข่ายตลอดเวลา สำหรับชายให้ยืนคุมหลังตลอด เพราะเป็นผู้ที่มีความแข็งแรงกว่าผู้เล่นหน้าสนามต้องมีความแม่นยำ รวดเร็ว และเชิงดี และไม่ต้องใช้กำลังมาก แต่การยืนประเภทนี้มีจุดอ่อนอยู่ คือตำแหน่งด้านหน้าหลังของผู้เล่นที่ยืนใกล้ตาข่ายเยื้องมาทางซ้ายมือและขวามือเป็นมุม 45 องศาชิดเส้นของทั้งสองเส้น จะเป็นจุดให้อีกฝ่ายโจมตีได้ง่าย แต่ในการเล่นคู่แล้วลูกโด่งจะเสียเปรียบให้กับอีกฝ่ายได้ง่ายการเล่นกับคู่ที่เล่นการยืนแบบนี้ ให้เล่นด้วยลูกทแยงให้เลยด้านหลังของผู้คนที่ยืนอยู่ใกล้ตาข่าย จะทำให้คนที่ยืนคุมหลังต้องถลำตัวเข้ามาแก้โดยต้องตีลูกโด่งขึ้น แล้วค่อยใช้ลูกตบหรือลูกทแยงไปอีกด้านหนึ่งโดยพยายามให้คนที่คุมหลังของคู่ต่อสู้ต้องวิ่งและเสียหลักอยู่ตลอดเวลาจะทำให้ฝ่ายเราได้เปรียบและหวังแต้มได้มากกว่า
3.         การยืนแบบเยื้องกันการยืนแบบนี้ เป็นการยืนรวมแบบการเล่นที่ยืนเคียงข้างกับการยืนหน้าหลังโดยแบ่งสนามเล่นตามแนวทแยง ผู้เล่นที่อยู่ทางขวามือต้องตีลูกทางด้านขวาครึ่งหนึ่ง และคุมหน้าตาข่ายทั้งหมดส่วนผู้ซึ่งอยู่ทางซ้ายมือรับผิดชอบตีลูกที่อยู่ทางซ้ายจากเส้นสั้นถึงเส้นหลัง และคุมด้านหลังสนามทั้งหมดการยืนคู่แบบนี้ปัจจุบันไม่นิยมกันมากนักนอกจากจะใช้ผสมกับแบบอื่นเป็นครั้งคราวจุดเด่นของการยืนแบบนี้นั้น อยู่ที่ว่าผู้เล่นคนหนึ่งสามารถรับลูกที่พุ่งมาทางมุมสนามด้านหลังมือได้ดีจุดอ่อนของการยืนแบบนี้มีอยู่ว่า ในบางครั้งที่ผู้เล่นหน้าโดยเฉพาะลูกที่เลยเส้นสั้นมาทางสนามด้านซ้าย และผู้ต่อสู้โต้กลับมาทางมุมขวาก็จะทำให้ผู้เล่นด้านซ้ายตกอยู่ฐานะลำบากขึ้นมาทันที ทั้งการแบ่งหน้าที่ก็ไม่ชัดเจนเหมือนกับการยืนเล่นคู่แบบอื่นๆ
4.         การยืนแบบวนการยืนแบบวนนี้เป็นการเล่นแบบผสมผสานระหว่างวิธีการยืนทั้งคู่ทั้ง 3 แบบดังที่ได้อธิบายไว้แล้วข้างต้นนำมารวมเข้าด้วยกันการยืนแบบคู่วนนี้ผู้เล่นคู่หมุนวนกันไปทั้งสองคนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เมื่อผู้เล่นในสนามด้านขวาต้องเคลื่อนตัวเข้ามาทางตาข่ายผู้เล่นที่ยืนในสนามด้านซ้ายจะเคลื่อนตัวมาทางสนามด้านขวา และต่อมาผู้เล่นที่ยืนอยู่ทางด้านหน้าเคลื่อนตัวเป็นวงกลับไปทางด้านหลัง ผู้ที่อยู่ด้านหลังก็จะกลัวตัวมาทางด้านหน้า การเล่นคู่แบบนี้มีผลดีกว่าตรงที่ว่า ผู้เล่นทั้งสองมีโอกาสตีหน้ามือ มากที่สุดซึ่งเป็นลูกที่ถนัดและหวังแต้มได้มากอย่างไรก็ตามสำหรับผู้เล่นชั้นดีนั้นการเล่นแบบนี้มีจุดอ่อนอยู่มิใช่น้อยโดยที่ผู้เล่นทางซ้ายมักถูกบีบบังคับให้ต้องเข้ามาใกล้ตาข่ายอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นทางด้านขวาต้องกลับไปคุมด้านหลังสนาม เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีผลทำให้วงกลมหมุนกลับคือหมุนตามนาฬิกา และผู้ต้องตีลูกด้วยหลังมือซึ่งเป็นลูกแก้ จะเป็นการทำลายข้อได้เปรียบที่จะได้ตีลูกทางด้านหน้า ให้มากที่สุดนั้นลงเสีย
5.         การยืนแบบรวมและวนสำหรับผู้เล่นที่ได้ฝึกฝนเล่นแบดมินตันมานานพอสมควร ก็ควรจะฝึกเล่นการยืนแบบรวมนี้การเล่นแบบยืนรวมนี้อาจเรียกอีกอย่างว่าแบบคนละข้างซึ่งให้ผลดีมากสำหรับผู้ตีลูกแบดมินตันได้คล่องทุกประเภทมาแล้วการยืนแบบรวมและวนนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นแบบพิเศษเป็นการรวมข้อดีของการยืนทั้ง 4 แบบ ดังที่กล่าวมาเข้าด้วยกัน เมื่อเป็นฝ่ายส่งลูกผู้เล่นจะยืนแบบคุมหน้าคุมหลังเมื่อคู่ต่อสู้ตีลูกมาก็จะแยกกลับกันคนละซีกสนามเพื่อป้องกันการตกเป็นฝ่ายรับเมื่อๆได้โอกาสบุกก็เปลี่ยนเป็นแบบยืนหน้ายืนหลัง ผุ้ยืนอยู่ทางด้านหน้าคอยตีให้ลูกขนไก่ต่ำกว่าตาข่าย เมื่อคู่ต่อสู้ใช้ลูกโด่งผู้อยู่ด้านหลังจะตบลูกแล้วผู้อยู่ด้านหน้าคอยซ้ำเติมวนกันไปมา การเล่นแบบนี้จัดว่าเหมาะสำหรับผู้เล่นชั้นเยี่ยมที่คู่ขามีกำลังและฝีมือทัดเทียมกันแบบการยืนประเภทคู่ทั้ง 5 แบบนี้สามารถใช้ในการเล่นกับประเภทคู่ทั้งหมดคือชายคู่หญิงคู่และคู่ผสมเหมือนกันหมดทุกอย่างแล้วแต่จะเลือกแบบใดก็ได้

การเล่นแบดมินตันประเภทคู่ ควรจะคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.         การประสานงาน ระบบหรือแบบการเล่นคู่ ได้มีข้อคิดเห็นกันเสมอถึงวิธีการเล่นที่ดีที่สุดและได้ผลดีบางคนก็ว่าวิธีการเล่นแบบคนละด้านของสนามดี บางคนก็บอกว่าเล่นแบบคุมหน้าหลังดี แต่ก็ถูกโยนซ้ายขวาจนหมดแรงไปได้ง่าย ดังข้อเสียในการยืนแต่ละแบบที่กล่าวมาแล้วผู้เล่นคู่จึงต้องหาวิธีการประสานงานกันให้ดีช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งระบบการเล่นที่ประสานงานกันได้ดี ก็อาจช่วยแก้ข้อเสียได้ (ให้ดูจากแบบการยืนคู่ทั้ง 5 แบบที่กล่าวมา) มีผู้เล่นบางคนได้พัฒนาการเล่นขึ้นโดยตัดสนามแบ่งเป็นรูปทแยงลากเส้นจากมุมหน้าซ้ายไปยังมุมหน้าขวาของสนามและให้ผู้เล่นคนหนึ่งรับผิดชอบบริเวณหน้าตาข่ายกับด้านขวาบางส่วนของสนาม ส่วนผู้เล่นอีกคนรับผิดชอบด้านซ้ายโดยคุมการตีลูกเหนือศีรษะแทนการตีลูกหลังมือ และผู้เล่นทั้งสองมีระบบการเล่นหมุนเวียนย้อนเข็มนาฬิกา กล่าวคือ ถ้าผู้เล่นคนหนึ่งวิ่งเข้ารับลูกหยอด เวลาจะคอยก็จะคอยทางซ้ายเสมอ ผู้เล่นทางหลังจะเคลื่อนตัวทางซีกขวาเพื่อป้องกันช่องว่างของสนามที่ถูกโจมตีระบบการหมุนเวียนแบบนี้ได้ถูกดัดแปลงเรื่อยมา และนิยมเล่นกันทั่วไปโดยที่ผู้เล่นกับคู่ขามีลักษณะการยืนเหมือนกับการอยู่คนละด้านของลูกศรเมื่อคู่วิ่งเข้ารับลูกหน้าตาข่าย อีกคนจะคุมเชิงทางด้านหลังท่าเตรียมพร้อม จึงจะเห็นได้ว่าการเล่นระบบนี้ต้องอาศัยการประสานงานที่ดี และเป็นที่เข้าใจระหว่างผู้เล่นและคู่ขาอย่างดี เพื่อจะได้ทำการรุกและรับสอดคล้องกันตามแบบฉบับการเล่นแต่ละประเภท และหลีกเลี่ยงความสับสนก้าวก่ายในที่ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ
2.    ตำแหน่งการตั้งรับ ผู้เล่นทุกคนมีการประสานงานกันรู้จักตำแหน่งการตั้งรับและรุก ถ้าเราตกเป็นฝ่ายรับให้ใช้วิธีการแยกรับกันคนละข้างทันทีจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่เมื่อผู้เล่นคนหนึ่งต้องการจะตบลูกคู่ขาอีกคนควรขยับตัวเข้าหาส่วนหน้า (ระหว่างเส้นส่งลูกสั้นกับเส้นกลาง) เพื่อคอบดักตบลูกโดยใช้แบบ “ดาบสอง” (คือลูกซ้ำ) ซ้ำเติมลูกที่ฝ่ายตรงข้ามตีตอบมาอ่อนแอ

3.   การเลือกเป้าหมาย เกมการเล่นแบดมินตันเป็นเกมที่ต้องต่อสู้กันถ้าฝีมือการเล่นเท่าๆ กันแล้วจะแพ้ชนะกันยาก นอกจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องตีลูกหาช่องว่างหรือเป้าหมายที่จะทำคะแนนช่องเกมคู่นี้มีน้อยกว่าเกมเดี่ยวการตีลูกจึงมีทางเล

ือกได้น้อยกว่าเกมเดี่ยววิธีการโยกสี่มุมสนามในเกมเดี่ยวจึงนำใช้หรือลูกที่ต่ำกว่าการเล่นลูกประเภทเดี่ยวเช่นกันลูกเป้าหมายที่เล็งตีนั้นควรจะเป็นมุมที่สามของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเสมอ เพราะจะเป็นมุมที่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งต้องวิ่งมาตีลูกทั้งลูกหยอดและลูกตบ หรือลูกดาดก็ตามถ้าคู่ขาใช้ระบบหน้ากับหลังมุมที่สามจะได้แก่กึ่งกลางหน้าตาข่าย เป็นต้น การตีลูกเข้าหามุมที่สามนี้อาจทำให้คู่แข่งขันเกิดความลังเลใจเกี่ยวกับการรับลูกก็ได้เป้าหมายในการเล่นคู่โดยทั่วไปจะเป็นมุมที่สามระหว่างคู่ต่อสู้สองคนเสมอ เว้นแต่การตบต้องใช้ความเด็ดขาดซึ่งบางครั้งการตบควรตบเข้าหาตัวหรือตบลงกึ่งกลางสนามซอกกลางของผู้เล่นทั้งสองจะทำให้อีกฝ่ายเกี่ยงกันรับลูกเกมการเล่นคู่ต้องคอยจับจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ทั้งสองให้ดี ซึ่งต้องมีข้

มีฝีมืออ่อนกว่าอีกคนหนึ่งเสมอ เป้าหมายการตีจึงควรตีบุกกระหน่ำไปที่คู่ต่อสู้ที่มีฝีมือด้อยกว่าเพื่อทำคะแนน
การส่งลูกกับการตั้งรับลูก
การส่งลูก (เสิร์ฟ) เป็นหัวใจที่สำคัญของการเล่นประเภทคู่ฝ่ายที่ฝีมือเหนือกว่าแต่ส่งลูกไม่ดีจะไม่สามารถกำชัยชนะได้เด็ดขาด หรืออาจแพ้ได้ เพราะส่งลูกเสียไปไม่ได้คะแนน การส่งลูกประเภทคู่มักใช้ส่งลูกเฉียดตาข่าย อย่าให้สูงเหนือตาข่ายมากเพราะลูกอันตรายสำหรับการส่งลูกประเภทนี้คือ ลูกแย็บ คู่ขาผู้ส่งลูกจึงต้องยืนคุมเชิงให้ดีโดยยืนอยู่ด้านหลังผู้ส่งลูก ลูกแย็บเป็นลูกอันตรายที่สุดของการเล่นประเภทคู่โดยเฉพาะตอนส่งลูกลูกรองลงมาคือลูกดาดคือเวลาคู่แข่งขันส่งลูกมา อีกฝ่ายหนึ่งรับด้วยรูปแย็บถ้าแย็บไปทันทีจึงจะตีด้วยลูกดาดไปที่เป้าหมายต่างๆได้ การส่งลูกในเกมคู่ฝ่ายส่งมักตกเป็นฝ่ายรับและต้องแก้สถานการณ์อยู่เสมอจึงใช้วิธีการยืนแบบคุมหน้าคุมหลังซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการที่ดีใช้สำหรับจู่โจมและนำมาใช้ในการส่งลูกได้ดีคือผู้เล่นคุมหน้าจะรับผิดชอบด้านหน้าทั้งหมด ผู้เล่นคุมหลังจะรักษาบริเวณหลังทั้งหมดคอยรับลูกจู่โจมของฝ่ายตรงข้ามวิธีนี้เป็นวิธีการตั้งรับแบบส่งลูกต่ำ

ถ้าผู้ส่งลูกโยนหรือลูกโด่งหลังจะถูกฝ่ายตรงข้ามตอบโต้ด้วยลูกตบเป็นส่วนใหญ่เพื่อแผ่รัศมีการป้องกันของฝ่ายตนผู้ส่งลูกกับคู่ขาจะต้องเปลี่ยนตำแหน่งจากการตั้งรับแบบ “หน้า – หลัง” มาเป็นแบบระบบ “คนละข้าง” ทันทีและวิธีลูกที่ตบส่วนใหญ่ลูกจะวิ่งมาหาผู้ส่งมากกว่า
ในกรณีที่ส่งลูกเสริฟ์โด่งไปยังมุมที่ใกล้กับเส้นข้าง จุดอันตรายได้แก่การตบขนานเส้นกลับมาในกรณีเช่นนี้ ผู้เล่นที่อยู่ซีกสนามด้านซ้ายจะต้องเปลี่ยนจุดการตั้งรับค่อนไปทางด้านซ้ายเล็กน้อยเพื่อคอยรับมือกับลูกตบ แต่ถ้าฝ่ายตรงข้ามไม่ตบขนานกับเส้นข้างอาจจะเจาะทะลวงผ่านช่องกลางทแยงสนาม ผู้เล่นที่อยู่สนามซีกขวาควรเป็นผู้รับมือโดยการตีลูกดาดหยอดหรือลูกดาดสุดแรงไปยังทิศทางเดียวกับลูกตบที่ข้ามมาโดยหลีกมือหน้าของฝ่ายตรงข้ามที่คอยดักซ้ำ “ดาบสอง” ทางด้านหน้าของสนาม

มุมของการส่งลูกของการเล่นคู่ที่ปลอดภัยที่สุดได้แก่มุมหน้าใกล้เส้นกลางเพราะมีระยะทางใกล้ที่สุด และฝ่ายตรงข้ามจะตอบโต้ข้ามมาด้วยลูกแรงหรือเบาอยู่ภายในรัศมีการต้านรับของฝ่ายส่งลูกจะเป็นการหยอดสองมุมหน้าหรือผลักแย็บไปยังสองมุมหลัง ฝ่ายส่งลูกก็จะสามารถดักไปรับได้ก่อนที่ลูกจะถึงจุดมุ่งหมายปลายทาง เป็นการย่นระยะทางแนวการป้องกันให้อยู่ในวงแคบกว่าเดิม

ข้อคิดต่างๆที่เกี่ยวกับการเล่นแบดมินตันประเภทคู่
1.         กดลูกลงต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นฝ่ายรับไม่เล่นลูกโด่งบ่อยนักพยายามเล่นลูกให้ต่ำไว้ ไม่ว่าจะเล่นลูกหยอดหรือลูกตบก็พยายามเล่นลูกให้ต่ำและตีให้เร็วมากที่สุดจะได้เปรียบ
2.         อย่าเอาแต่ใจตัวเอง การเล่นคู่นั้นต้องนึกถึงคู่ขาเสมอ อย่าคิดแต่เอาตัวรอดอย่างเดียว เพราะลุกที่โต้กลับนั้นอาจจะปลอดภัยดีสำหรับผู้ตี แต่อาจมีผลทำให้ฝ่ายตรงข้ามโจมตีคู่ขาตัวเองอย่างหนักก็ได้ จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการตีให้มาก
3.         การประสาน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นคู่ประเภทใดก็ตาม ต้องคอยให้ความช่วยเหลือกันหรือมีการประสานงานกันเป็นอย่างดี
4.         ต้องตีลูกพื้นฐานให้ได้ดี ลูกพื้นฐานการเล่นคู่ก็มี ลูกตบ ลูกโยนหลัง และลูกตัด เช่นเดียวกับประเภทกับประเภทเดี่ยวแต่พยายามใช้ลูกตบให้มากกว่าใช้ลูกโยนหลังลูกตัดที่จำเป็นต้องใช้อีกลูกหนึ่งคือลูกหยอด แต่ต้องเลือกมุมให้ดี
5.         การเล่นคู่หญิงนั้นลูกตบมีความรุนแรงน้อยไม่เหมือนชายจึงต้องใช้ลูกโยนหลังกับลูกตีเหนือศีรษะแต่ต้องเลือกมุมให้ดีตัด แต่อย่าใช้บ่อยเกินไป
6.         พยายามหาเวลาสำหรับการศึกษาเกมของคู่แข่งขันล่วงหน้าแล้วนำไปวางแผนเพื่อพิชิตคู่ต่อสู้ตามแผนที่วางไว้ให้สำเร็จ
7.         ต้องมีความแน่นอนในการตีลูกควรตีให้แน่นอนแม่นยำตรงเป้าหมายและมีความรุนแรงพอสมควร
8.         การเล่นลูกซ้ำหรือลูกดาบสองอย่าหักโหมทำคะแนนจากคู่ต่อสู้เพียงลูกเดียวคงไม่ได้พยายามซ้ำลูกสองทำคะแนนจะง่ายกว่า การเล่นลูกซ้ำหรือลูกจะขาดเสียมิได้ในการเล่นประเภทคู่เพราะเป็นหนทางที่จะทำคะแนนจากลูกนี้ได้มากนับโอกาสที่ดีได้ตีลูกในขณะที่อีกฝ่ายกำลังเพลี่ยงพล้ำอยู่ ผู้เล่นที่มีหน้าที่คอยซ้ำ (ลูกดาบสอง) ส่วนมากจะคุมเชิงอยู่บริเวณระหว่างเส้นส่งลูกสั้นกับกลาง ยกไม้แบดมินตันชูให้อยู่ในระดับสูงเตรียมตีลูกซ้ำสอง
9.         การเล่นลูกทแยง (ลูกครอส) ควรใช้ให้ถูกกาลเทศะจะเป็นลูกที่ได้ผลที่สุดเช่นกันแต่ถ้าใช้ผิดโอกาสก็จะถูกคู่ต่อสู้ดักทำคะแนนจากลูกนี้ได้ง่ายโดยหลักทั่วๆไป ลูกนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อฝ่ายตรงข้ามยืนค่อนอยู่ซีกหนึ่งของสนามหรือผู้เล่นคนหนึ่งของอีกฝ่ายยืนดักลูกหรือรับลูกโดยทิ้งปีกด้านหนึ่งของตนให้เกิดช่องว่างก็จะเป็นโอกาสให้เราใช้ลูกตบทแยงหรือตีทแยง ซึ่งจะเป็นลูกทำคะแนนได้ง่ายขึ้นไม่ควรใช้ลูกนี้เมื่อฝ่ายตรงข้ามแยกรับคนละข้างเพราะจะถูกเล่นลูกดาดเสียคะแนนได้ง่าย
10.       การเป็นฝ่ายจู่โจมเป็นความสำคัญในการแข่งขันประเภทคู่มากฝ่ายจู่โจมมักได้รับชัยชนะเพราะการจู่โจมเป็นผลให้อีกฝ่ายงัดลูกโด่งมาทำให้ฝ่ายจู่โจมเลือกตีได้หลายรูปย่อมได้เปรียบฝ่ายรับการจู่โจมต้องอาศัยการประสานงานที่ดีจึงจะทำคะแนนได้มีโอกาสมากกว่าฝ่ายร
ับ

แบตมินตัน

ผลงานของ

นาย ตะวัน เกิดใหญ่ ม.6/3 เลขที่ 15

นาย ณัฐวุฒิ แก้วหล้า ม.6/4 เลขที่ 6

นางสาว กาญจนา ศรีจันทร์ ม.6/4 เลขที่ 20

เสนอ

ครู มงคล แพ่งประสิทธิ์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก