เหตุการณ์ในพุทธประวัติตอนผจญมารนั้น ภาษาธรรม คําว่า มาร หมายถึงอะไร

การผจญมารก่อนการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

การผจญมารก่อนการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

 ก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ ได้มีเหตุการณ์มารผจญเกิดขึ้นกับพระองค์  ดังในพุทธประวัติได้กล่าวว่า เมื่อวันเพ็ญเดือนหก ก่อนการตรัสรู้ไม่นานนัก ขณะที่พระสิทธัตถะกำลังนั่งบำเพ็ญเพียรทางจิตที่ใต้ต้นโพธิ์นั้น  ได้มีเหล่ามารจำนวนมาก ถือหอกดาบและอาวุธอื่น ๆ มุ่งหน้ามาที่ประทับของพระองค์ เพื่อจะมาขัดขวางทำลายมิให้ได้ตรัสรู้ มารได้กล่าวหาว่าพระสิทธัตถะมาแย่งบัลลังค์ที่ใต้ต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นเป็นของตนไป จึงมาเรียกร้องคืน โดยได้อ้างพยานที่เป็นมารพวกเดียวกัน  ขณะนั้น พระพุทธองค์ไม่อาจหาใครเป็นพยานได้ว่าที่บัลลังค์ที่นั่งนั้นเป็นของพระองค์ จึงทรงยื่นพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นดินเพื่อขอให้แผ่นดินเป็นพยาน ทันใดนั้น ได้มีแม่นางธรณีผุดขึ้นจากพื้นดิน  เพื่อเป็นพยานให้กับพระองค์  พร้อมบีบมวยผมเป็นน้ำท่วมเหล่ามารจนพ่ายแพ้ไป  ซึ่งน้ำที่ออกจากมวยผมนั้น เป็นน้ำที่พระพุทธองค์เคยกรวดไว้ตอนที่ทรงบำเพ็ญบารมีทุก ๆ ชาติ  จึงรวมเป็นน้ำจำนวนมหาศาลมาช่วยพระองค์ให้ชนะมารได้

 เมื่อเหล่ามารได้พ่ายแพ้ไปแล้ว จึงได้คิดหาวิธีการใหม่ ที่จะเอาชนะพระพุทธองค์ให้ได้ก่อนที่จะตรัสรู้  เมื่อเห็นว่าใช้ไม้แข็งไม่ได้ผลจึงได้ลองใช้ไม้อ่อนบ้าง แล้วจึงส่งลูกสาวมาร (ธิดามาร) ๓ คน  ได้แก่ นางตัณหา  นางอรดี และนางราคา มายั่วยวนให้พระองค์หลงใหล แต่ก็ไม่สำเร็จ พระทัยของพระองค์คงหนักแน่นตามที่ได้อธิษฐานจิตไว้ จนได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในลำดับต่อมา หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว มารจึงหมดโอกาสที่จะขัดขวางรังควานได้อีกต่อไป

มาร ในพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งที่มารบกวนขัดขวางมิให้บรรลุถึงสิ่งที่ดีงาม มี ๕ ประการ ได้แก่ 

(๑) กิเลสมาร  มารคือกิเลสที่เกิดกับใจ

(๒) ขันธมาร มารคือขันธ์ ๕ อันเป็นองค์ประกอบของชีวิต ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งองค์ประกอบทั้งห้านี้ มีความแปรปรวนและเสื่อมสลายไปตามธรรมชาติ

(๓) อภิสังขารมาร มารคือความนึกคิดปรุงแต่งที่คิดไปในทางลบ

(๔) เทวปุตตมาร มารคือเทวบุตร ซึ่งอาศัยอยู่ในสวรรค์ชั้นกามาวจร คอยขัดขวางการทำความดีของผู้อื่น

(๕) มัจจุมาร มารคือความตาย ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางโอกาสที่จะได้พบกับสิ่งที่ดีงาม

แต่มารที่เกิดกับพระพุทธองค์นั้น หมายถึงมารคือกิเลสที่เกิดขึ้นในพระทัยของพระองค์ ซึ่งจะเป็นตัวขัดขวางมิให้ตรัสรู้ อันได้แก่การต่อสู้ทางความคิดของพระองค์ระหว่างกิเลสกับธรรมะ  ด้านหนึ่งมุ่งจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า แต่อีกด้านหนึ่งยังคิดถึงความสะดวกสบายในอดีตและความทุกข์ทรมานในการบำเพ็ญเพียร

กิเลสมารที่มาผจญพระองค์ในครั้งนี้ มิใช่เป็นครั้งแรก เมื่อตอนที่พระสิทธัตถะออกผนวช ก็ได้มีมารมาขัดขวางมิให้ออกบวชเช่นกัน มารนั้นหมายถึงกิเลสที่จะทำให้เกิดความลังเลในการออกบวช และเลิกล้มความตั้งใจ แต่พระองค์ก็ทรงชนะมารได้ทุกครั้ง

มารที่มาผจญพระองค์ตอนก่อนตรัสรู้นั้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นกิเลสสองด้าน คือด้านแรกเป็นกิเลสด้านอนิษฐารมณ์ (กิเลสฝ่ายลบ) คือความไม่ชอบใจ ความขัดเคือง ความย่อท้อ กับความทุกข์ยากลำบากที่ประสบ ซึ่งเปรียบเหมือนมารที่ดุร้าย

กิเลสด้านที่สอง เป็นด้านอิฎฐารมณ์ (กิเลสฝ่ายบวก) คือความยินดี ชอบใจ ความเพลิดเพลินลุ่มหลงในความสุขสบายต่างๆ ที่จะทำให้พระองค์ระลึกถึงความสุขในครั้งตอนเป็นเจ้าชาย เปรียบเหมือนกับธิดามารที่งดงามมายั่วยุให้หลงใหลยินดี

กิเลสมารทั้ง ๒ ด้านนี้ พระพุทธองค์ทรงชนะได้ด้วยพระทัยที่หนักแน่น และบุญบารมีที่สั่งสมมานับ ๔ อสงไขย แสนกัปป์ จึงรวมเป็นพลังสามารถเอาชนะมารได้

โดย พระมหาบุญเพียร ปุญญวิริโย จากสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ชุด พุทธประวัติ ฉบับ CD-ROM จัดทำโดย ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ห้องเรียนวัดศรีบุญเรือง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ข้อความข้างตนเป็นคำอธิบายของท่านพระมหาบุญเพียร ปุญญวิริโย ซึ่งผมไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร แต่ผมขออธิบายเสริมอีกนิด

  1. พระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับมารไว้ในที่ต่าง ๆ ไม่ได้ตรัสไว้ครบ ๕ ในที่เดียว และไม่ได้ตรัสว่ามารมีแค่ ๕ คือตรัสไว้ในที่ต่าง ๆ ที่ละมารสองมาร พระอาจารย์ทั้งหลายนำมารที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วนั้นรวมกันนับได้ ๕ เราจึงกล่าวว่ามาร ๕
  2. มารที่เกิดขึ้นก่อนการตรัสรู้นั้น กล่าวว่าเป็นกิเลสมารที่เกิดขึ้นกับพระทัยของพระองค์ แต่หลังจากตรัสรู้แล้ว กิเลสมารย่อมพินาศไป ฉะนั้น มารที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้ จึงไม่ใช่กิเลสมาร

  • ชนะมาร
  • พระพุทธเจ้า
  • เจ้าชายสิทธัตถะ

  •   7.4 สรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติ

    YouTube Video

      การผจญมาร

       ความเป็นมา


             ในวันที่พระพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะทรงตรัสรู้นั้น ได้ประทับนั่งบนบัลลังก์หญ้าคา ที่โสตถิยะพราหมณ์ถวายใต้ต้นมหาโพธิ์นั้นพระองค์ได้ทรงตั้งปณิธานแน่วแน่ว่า “แม้เลือดเนื้อในสรีระทั้งสิ้นจะเหือดแห้งไป เหลือแต่เอ็นกระดูกเท่านั้นก็ตามที เรายังไม่บรรลุสัมธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากที่นั่งนี้” ดังนี้ ต่อจากนั้นจึงได้ประทับนั่งและทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิต


              ขณะนั้นเป็นเวลาพระอาทิตย์ตกดิน จอมมารที่ชื่อว่า สวัดคี ที่คอยขัดขวางการทำความดีของพระองค์ตลอดมาเมื่อทราบว่าพระดำริปณิธานอันแน่วแน่ของพระองค์เช่นนั้น ก็เกิดหวั่นเกรงว่า หากปล่อยให้บรรลุความสำเร็จตามปณิธานแล้ว พระองค์ก็จะพ้นอำนาจของตนไป จึงได้ระดมพลเสนามารทั้งหลายมาผจญเพื่อขับไล่ด้วยวิธีที่น่ากลัวต่างๆเช่น บันดาลให้พายุพัดรุนแรง บันดาลฝนให้ตกหนัก บันดาลให้ปรากฏเป็นอาวุธต่างระดมยิงเข้าไปเพื่อให้ตกต้องพระองค์แต่ว่าพระองค์ได้ทรงระลึกถึงความดีที่ได้ทรงบำเพ็ญมา ที่เรียกว่า พระบารมี 10 ประการ จึงทรงมีพระทัยมั่นคง ไม่หวาดกลัวต่ออำนาจมารที่มาแสดงด้วยประการต่างๆ นั้นและยิ่งกว่านั้น กลับกลายเป็นเครื่องสักการบูชาพระองค์ไปหมดสิ้นพญามารได้แสดงทุรวาจาให้พระองค์ลุกหนีออกไปเสีย โดยแสดงว่าบัลลังก์ที่ประทับนั้นเป็นของพญามารเอง เพราะพญามารก็ได้บำเพ็ญบารมีต่างๆมามากมายโดยอ้างเสนามารทั้งหลายเป็นพยาน เสนามารเหล่านั้นก็ร้องกึกก้องสนับสนุนเป็นเสียงเดียวกันในเวลานั้นพระโพธิสัตว์ไม่มีเสนาหรือใครอื่นที่จะอ้างมาเป็นพยาน จึงได้ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาชี้ลงไปที่แม่พระธรณีเป็นพยานเพระได้ทรงบำเพ็ญทานต่างๆเป็นอันมากและในการให้ทานทุกครั้งก็ได้ทรงหลั่งทักษิโณทก(หยาดน้ำ)ลงบนที่แผ่นดินซึ่งโดย บุคลาธิฏฐานก็เหมือนดังตนลงไปบนมวยผมของแม่พระธรณี เพราะฉะนั้นแม่พระธรณีจึงเท่ากับเป็นพยานในการทรงบริจาคทาน จึงได้ปรากฏเป็นนางธรณีบีบมวยผม ซึ่งชุ่มด้วยน้ำหลั่งออกมามากมายกลายเป็นทะเลหลวง ท่วมพญามารและเสนาทั้งหลาย ช้างคีรีเมขลาซึ่งพญามารบัญชาการอยู่นั้นก็ฟุบเท้าหน้าทั้งสองลงเป็นการถวายนมัสการพระพุทธองค์ พญามารพร้อมทั้งเสนามารจึงแตกพ่ายถูกน้ำพัดพาไปหมดสิ้นจึงเป็นอันได้ทรงชนะมารก่อนพระอาทิตย์อัสดง และก็พอดีเป็นเวลาพบค่ำ จึงได้เริ่มบำเพ็ญความเพียรต่อไปและก็ได้บรรลุญาณทั้ง 3 ตามลำดับคือในปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความหยั่งรู้ในชาติภพก่อนๆกล่าวคือ ทรงระลึกชาติได้ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตณญาณ รู้จักกำหนดจุติและเกิด


              ในปัจฉิมยาม ได้ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ญาณเป็นเหตุทำอาสวะให้หมดสิ้นไป โดยได้ตรัสรู้ อริยสัจ 4เมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ก็ยังประทับเสวยวิมุตติสุขที่โคนต้นมหาโพธิ์นั้นเป็นเวลา 7 วัน และสถานที่อื่นๆอีก แห่งละ 7 วัน และโดยเฉพาะเมื่อประทับเสวยวิมุติสุขที่โคนต้นไม้อชปาลนิโครธ มีเรื่องเล่าว่า พญามารมีความเศร้าโศกเสียใจที่ไม่สามารถเอาชนะพระพุทธเจ้าได้ จึงนั่งเป็นทุกข์อยู่ ธิดามารทั้ง 3 นางคือ นางตัณหา นางราคา และนางอรดี จึงได้มาอาสาที่จะนำพระพุทธเจ้ามาอยู่ในอำนาจให้ได้ แล้วก็เข้าไปที่โคนต้นอชปาลนิโครธที่ประทับ ทั้ง 3 นาง โดยแสดงเป็นสตรีเพศอยู่ในวัยต่างๆโดยคิดว่าบุรุษเพศย่อมชอบ ย่อมมีรสนิยมในสตรีเพศต่างวัยกัน จึงได้มาแสดงเป็นสตรีเพศวัยรุ่นบ้าง วัยกลางคนบ้าง เป็นวัยแม่ลูกอ่อนบ้าง หมายมั่นที่จะให้พระองค์พอพระทัย แต่พระพุทธองค์ก็ได้ทรงแสดงพระวาจาประกาศความเป็นผู้สิ้นกิเลส ไม่ข้องแวะด้วยตัณหา ราคะและอรดี ทั้งมวลไม่ทรงสนพระทัยแม้แต่น้อยธิดามารทั้ง 3 ก็พ่ายแพ้ไปอีก จึงเป็นอันพระองค์ทรงชนะมารโดยเด็ดขาด


      บทวิเคราะห์


               คำว่า “มาร” ในพระพุทธศาสนา หมายถึง สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดี สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดีหรือเป็นผู้กำจัด ขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุผลสำเร็จอันดีงาม ประกอบด้วย


    1. กิเลสมาร หมายถึง การที่ยั่วยุให้คิดในกามคุณ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ซึ่งมีได้ทั้งด้านที่จิตใจไปคิดในกามคุณ และการตกแต่งวัตถุเนื้อหนังให้สวยงามจนเกิดความหลงติดใจ


    2. ขันธมาร หมายถึง หมายถึง มารคือขันธ์ 5 เป็นความหลงในสภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เช่น หลงตนเอง หรือการไปทำศัลยกรรมตกแต่งร่างกายตนเอง ทำให้ตัดโอกาสมิให้บุคคลทำกิจหน้าที่บำเพ็ญคุณความดีได้เต็มปรารถนา หรืออาจพลาดโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง


    3. อภิสังขารมาร หมายถึง มารที่ขัดขวางมิให้หลุดพ้นจากสังสารวัฎ มีเจตนาชั่ว


    4. เทวปุตตมารหมายถึง มารคือเทพบุตร คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนอำนาจครอบงำของตน โดยชักนำให้ห่วงพะวงในกามสุข ไม่อาจหายเสียสละออกไปบำเพ็ญคุณความดีที่ยิ่งใหญ่


    5. มัจจุมาร หมายถึง มารคือ ความตาย เพราะความตายเป็นตัวการตัดโอกาสที่จำให้ทำความดีงามทั้งหลายได้ มารมีวิธีปฏิบัติการสำคัญ 2 อย่าง ได้แก่ การล่อลวงและการจองจำเป้าหมายก็คือ การล่อลวงหรือจองจำจิตวิญาณของมนุษย์ให้ลุ่มหลงมัวเมา ตกเป็นทาสของมารในที่สุด


              ดังนั้น มารที่พระพุทธองค์ได้พบ สามารถวิเคราะห์ได้ว่า เกิดขึ้นมาจากมารทั้ง 4 ข้อแรก คือ กิเลสมาร ขันธมารอภิสังขารมารและ
    เทวปุตตมาร แต่มารที่ทำ หน้าที่เด่นที่สุด คือ กิเลสมารที่เกิดขึ้นในพระทัยของพระองค์ ซึ่งจะเป็นตัวขัดขวางมิให้พระองค์ตรัสรู้ได้ อันได้แก่ การต่อสู้ทางความคิดของพระองค์ระหว่างกิเลสกับธรรมะด้านหนึ่งมุ่งบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกด้านหนึ่งยังคิดถึงความสะดวกสบายในอดีตกาลและความทุกข์ทรมานในการบำเพ็ญเพียร กิเลสมารทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านที่เป็นอารมณ์น่าปรารถนา (อิฎฐารมณ์)ได้แก่ความยินดีความลุ่มหลงเพลิดเพลินอยู่กับความสุขสบายในขณะที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นต้น อีกด้านหนึ่งคืออารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา(อนิฎฐารมณ์) ได้แก่ ความไม่สบายใจ ความขัดเคืองใจ ความย่อท้อ ความทุกข์ยากลำบากในการบำเพ็ญเพียรมาต่างๆ


             นอกจากนั้นพระองค์ต้องเผชิญกับกิเลสมารจากธิดามารทั้ง 3 คือ นางราคา(มีลักษณะยั่วยวน) นางตัณหา(มีลักษณะสาวพราวเสน่ห์)และนางอรดี(มีลักษณะสาวอารมณ์ร้อน) ดังนั้นจะเห็นว่าพระองค์จะต้องต่อสู้กับจิตใจของพระองค์เองในการให้วิธีปฏิบัติการของมารจากการล่อลวง ไม่หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

                 ดังนั้นการชนะมารของพระองค์เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือชัยชนะที่มีต่อความคิดของตนเองจนถึงขั้นหลุดพ้น เป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวงและบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณในที่สุดพระพุทธองค์แสดงเป็นตัวอย่างได้เห็นว่า “มนุษย์สามารถเอาชนะกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของตนได้”ซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่

    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก