เพราะเหตุใด จึงต้องมีการปลูกจิตสํานึกให้ชาวพุทธช่วยกันบํารุงรักษาวัด

knowledge Boromarajonani Chon Buri > ความรู้ทั่วไป > “ปลูกจิต คิดธรรม นำสู่การปฏิบัติที่ดี” (วงรอบ 1 งบประมาณ 2562) ใหม่

มกราคม 23, 2019

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเรื่อง “ปลูกจิต คิดธรรม นำสู่การปฏิบัติที่ดี”

คำว่า “จิต” “ใจ” หรือ “จิตใจ” เป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่คิด นึก รับความรู้สึก เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกนึกคิดทางใจ มนุษย์ไม่ว่าชาติใดภาษาใด ล้วนมีสิ่งเหล่านี้เหมือนๆกัน การปลูกจิต จึงเป็นการทำให้เกิดความงอกงามของจิตใจ เป็นผู้คิด นึก ในสิ่งที่ดี มีประโยชน์ ที่เรียกว่า “คิดธรรม”

ธรรม หมายถึง ธรรมะ คือคุณความดี

ธรรม หมายถึง ธรรมดา ธรรมชาติ

ธรรม หมายถึง คำสั่งสอนในศาสนา

โดยหลักแล้ว การคิดดี พูดดี ทำดี มาจากการปลูกจิตที่ดี สู่ธรรมที่เป็นธรรมชาติ ธรรมดาของคุณงามความดี  ซึ่งการพูดดี ทำดี หมายถึงการปฏิบัติที่ดีนั่นเอง

อาจารย์สรวงทิพย์ ให้เกรียติมาเป็น Key Person เรื่อง “ปลูกจิต คิดธรรม นำสู่การปฏิบัติที่ดี” อ. สรวงทิพย์: เล่าถึงประสบการณ์การทำงานตั้งแต่เริ่มเป็นอาจารย์ใหม่ ความยากลำบากในการเป็นอาจารย์ ค่าตอบแทนน้อยมากเพียง 2000 บาทต่อเดือน ด้วยภาระงานที่มาก การปรับตัวในระยะแรกลำบากมาก และด้วยลักษณะบุคลิกภาพส่วนตัว เป็นคนเปิดเผย เสียงดัง พบปัญหาหลายอย่างในการทำงาน ต่อมาได้มีโอกาสไปอบรมทางจิตวิทยาของซาเธียร์ เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่ซาเธียร์ พูดถึงการเข้าใจตนเอง ศิษย์ เพื่อน ผ่านที่มาของครอบครัว และแบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง การเรียนรู้ทฤษฎีนี้ เป็นไปเพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเอง ไม่ใช่เพื่อเปลี่ยนผู้อื่น และเพื่อเข้าใจว่าภายใต้พฤติกรรมที่บุคคลแสดงออก อาจไม่ใช่สิ่งที่เขาคิดจริงๆ ทำให้ได้กลับมาปรับและแก้ไขที่ตนเองก่อน

เกิดความเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น เพราะจากการอบรมทฤษฎีของซาเธียร์ มีหลายคนที่เราเห็นเบื้องหน้าอ่อนโยน ดูดี แต่สิ่งที่บุคคลเหล่านั้นเก็บไว้ ไม่แสดงออก ล้วนมีแต่ความทุกข์ที่ถูกอัดแน่น และไม่มีโอกาสได้ระบายออกมา ตรงข้ามกับบุคลิกของตนเอง ที่เป็นคนเปิดเผย พูดตรง แสดงความรู้สึกตามความเป็นจริงซึ่งทำให้หลายคนไม่ชอบ และเมื่อได้ปรับแก้ที่ตนเอง และเข้าใจบุคคลอื่นมากขึ้น เข้าใจว่าทุกคนล้วนเป็นไปตามแบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น

อาจารย์เล่าถึงความสุขที่ได้รับจากการเป็นอาจารย์ ทำให้ลืมความยากลำบาก มีความสุขทางใจมาแทนที่ ได้เห็นภาพความสำเร็จ และการเติบโตของนักศึกษา รับรู้ถึงความกตัญญูของนักศึกษา การได้รับการช่วยเหลือขณะเจ็บป่วย ทำให้เกิดความสุข และความภาคภูมิใจ ซึ่งซาเทียร์ กล่าวถึง ความสุขว่า “ความสุขที่แท้นั้น ย่อมเริ่มต้นจากภายในจิตใจของตน ยอมรับตนเอง รัก เข้าใจ เมตตาตนเอง แล้วเผื่อแผ่ การยอมรับ ความรัก เข้าใจ และเมตตาสู่เพื่อนร่วมโลก” นี้คือทฤษฎีทางจิตวิทยาที่ชื่อว่า “ซาเทียร์” ที่เข้าถึงธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์มากที่สุด

ซาเทียร์มีแนวทางใกล้เคียงกับหลักธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าซาเทียร์จะเป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ครูบาอาจารย์หลายท่าน ท่านเทศน์เรื่องความสุข ความพอเพียง การมองตนเอง การแก้ไขที่ตนเอง ดีกว่าการปรับแก้ผู้อื่น ในเบื้องต้นท่านให้รักษาศีล 5 เพราะศีล 5 นำมาซึ่งความสุข ความมั่งคั่ง มีทรัพย์ และนำสู่มรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ได้จริง ดังบาลีที่พระท่านสวดให้พรเมื่อสมาทานศึล 5 “สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลังวิโสธะเย” ตามหลักของศีลแล้ว ศีลข้อ 5 สำคัญมาก เพราะหมายถึงสติสัมปชัญญะ ถ้าขาดศีลข้อนี้แล้วทำให้ผิดศีลได้ทุกข้อ แต่คุณกุ้งไม่ต้องท้อแท้นะคะ ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำให้สวดมนต์และสมาทานศีล5 ด้วยตนเองก่อนนอน ในระหว่างการนอนเราก็ไม่ทำผิดศีล เพราะอานิสงค์ของการรักษาศีลนั้นมีมาก

อ. สรวงทิพย์: เล่าถึงประสบการณ์การปฏิบัติธรรม อาจารย์เล่าว่าไม่ชอบเข้าวัด แต่ในทุกวันได้นำคำสอนมาปฏิบัติ การมีสติในการทำงาน การคิด การวิเคราะห์ เป็นต้น เพราะธรรมะ คือธรรมชาติ กายและใจ ของเราเป็นธรรมะ การปลูกจิต คิดธรรม จึงนำสู่การปฏิบัติที่ดี ในบทบาทของการเป็นอาจารย์ หรือการเป็นเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัย ทำให้ทุกท่านได้ทำ “ธรรมทาน” เป็นการให้ความรู้ ให้คำแนะนำ เป็นวิทยาทาน และทางด้านจิตใจ การให้อภัยเป็นสิ่งสำคัญค่ะ “การให้อภัย” ทำได้โดยไม่ต้องใช้ทรัพย์ ทำแล้วผู้ให้มีความสุข ผู้รับก็สุขใจ ดังบทเพลง

การให้อภัย เปรียบดอกไม้ที่ให้แก่กัน

จุดเริ่มต้นคือการแบ่งปัน ความสุขนั้นจะมีทั่วไป

ให้ความกรุณา ให้ความเมตตา เป็นคุณยิ่งใหญ่

ให้ความรักความจริงจากใจ นั้นคือการให้ที่ดี

จะให้อะไร โปรดจำไว้ จงให้ทันที

ไม่ต้องเกรงว่าใครจะมี การให้นี้เป็นเครื่องผูกใจ

อย่าหวังตอบแทนสิ่งหวงแหนที่เราให้ไป

เมื่อผู้ให้มีความสุขใจ นั้นคือการให้ที่ดี

การปลูกจิต คิดธรรม นำสู่การปฏิบัติที่ดี จำเป็นมากที่ต้องเริ่มที่ตนเอง ปรับแก้ที่ตนเอง เพราะเราไม่สามารถปรับแก้ผู้อื่นได้ ตราบใดที่เรารัก เมตตา ยอมรับ และมั่นใจในคุณค่าของตนเองอย่างแท้จริง เราก็จะรัก เมตตา ยอมรับ และมั่นใจในคุณค่าของผู้อื่น ของเพื่อนร่วมโลก ยังผลให้คนเราจิตใจสบาย สงบ มีปิติสุขในชีวิตมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการคิดดี จึงเป็นเบื้องต้นของการปลูกจิต คิดธรรม ส่วนการพูดดี ทำดี นั้นเป็นการปฏิบัติที่ดี ไม่ว่าเราจะอ้างอิงทฤษฎีทางจิตวิทยาของซาเทียร์ หรือจากหลักธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และหลักเศรษฐกิจพอเพียง ล้วนเป็นความจริงที่ไม่ขัดแย้งกัน เพราะเป็นหลักของธรรมชาติ

30/04/2015 · 1:03 pm

  1. การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธวัจนะนั้น สอดคล้องกับข้อใด
    1. การเรียนรู้หลักวิชาด้วยการปฏิบัติ
    2. การฝึกฝนปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ
    3. การเรียนธรรมะเพื่อมีความรู้ความเข้าใจชัดเจน
    4. การเรียนรู้หลักวิชาเพื่อเกื้อกูลและสนับสนุนการปฏิบัติธรรมให้เกิดผลดี
  2. การที่พระสงฆ์เผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น มีความสำคัญในข้อใดมากที่สุด
    1. สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา
    2. ทำให้ประชาชนที่นับถือศาสนาต่างๆ มีความสนใจในพระพุทธศาสนา
    3. ประชาชนเข้ามาร่วมพิธีกรรมต่างๆ ของพระพุทธศาสนา และทำบุญที่วัดมากขึ้น
    4. สังคมมีความสามัคคีกลมเกลียวกันอย่างแน่นแฟ้น
  3. เมื่อพระสงฆ์มาถึงบ้านที่มีงานทำบุญ เจ้าบ้านควรปฏิบัติตนอย่างไร
    1. นิมนต์ให้แสดงพระธรรมเทศนา
    2. สนทนากับพระสงฆ์ จนถึงเวลาประกอบพิธี
    3. นิมนต์ให้นั่งในที่ที่จัดไว้ แล้วถวายของรับรอง
    4. สนทนากับหัวหน้าพระสงฆ์ที่มาประกอบพิธีทำบุญ
  4. ศิษย์พึงปฏิบัติต่อครู-อาจารย์ ในข้อใดเหมาะสมที่สุด
    1. เรียนศิลปวิทยาด้วยความตั้งใจ
    2. เข้าไปพบครูที่ห้องพักครูทุกเช้า
    3. นำของขวัญมาให้ครูอย่างสม่ำเสมอ
    4. ให้ความคุ้มครองและปกป้องครู-อาจารย์ให้พ้นจากมิจฉาชีพ
  5. การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดีด้วยการเคารพครู-อาจารย์ตรงกับทิศ 6 ในข้อใด
    1. ทิศเบื้องขวา
    2. ทิศเบื้องซ้าย
    3. ทิศเบื้องล่าง
    4. ทิศเบื้องหน้า
  6. เมื่อมีการกล่าวจาบจ้วงให้ร้ายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พุทธศาสนิกชนจึงร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเป็นการปฏิบัติตนตามพุทธปณิธานในข้อใด
    1. ปกป้องพระพุทธศาสนา
    2. ปฏิบัติตนตามหลักธรรม
    3. ปฏิบัติตามขั้นตอนของพหูสูต
    4. เผยแผ่และสืบทอดพระพุทธศาสนา
  7. การแสดงตนเป็นพุทธมามกะมีความสำคัญอย่างไร
    1. ป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา
    2. เป็นการรวบรวมสมาชิกผู้นับถือ พระพุทธศาสนา
    3. เป็นการฝึกให้ชาวพุทธร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
    4. เป็นการประกาศย้ำความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี นับถือพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
  8. วิธีการที่จะเข้าใจพระพุทธศาสนาได้อย่างแจ่มแจ้งนั้น จะต้องปฏิบัติตามหลักใด
    1. หลักปฏิบัติ
    2. หลักพหูสูต
    3. หลักการบริหารจิต
    4. หลักการบริหารจัดการ
  9. การรวมตัวขององค์กรชาวพุทธมีผลสำคัญในเรื่องใด
    1. สร้างความเป็นปึกแผ่นขององค์กร
    2. สืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    3. ทำให้มีการผลิตตำราด้านพระพุทธศาสนา
    4. ชาวต่างชาติมีความชื่นชม และศรัทธาในพระพุทธศาสนา
  10. เพราะเหตุใด จึงต้องมีการปลูกจิตสำนึกให้ชาวพุทธช่วยกันบำรุงรักษาวัด
    1. เพราะวัดเป็นโบราณสถาน
    2. เพราะวัดเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์
    3. เพราะวัดเป็นที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา
    4. เพราะวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจด้านต่างๆ ของชาวพุทธ

เหตุใด จึงต้องมีการปลูกจิตสำนึกให้ชาวพุทธ ช่วยกันบำรุงรักษาวัด

การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่วัด ถือว่าเป็นการบูชาพระคุณของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ โดยถือว่าวัดเป็นสมบัติของพุทธศาสนิกชนทุกคน เราต้องรักและหวงแหนวัด โดยช่วยกันทำนุบำรุงวัดเพื่อความมั่นคงถาวรของพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติไทย

การรวมตัวกันขององค์กรชาวพุทธมีผลสำคัญในเรื่องใด

การรวมตัวขององค์กรชาวพุทธมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสืบทอดพระพุทธศาสนา รวมถึงการปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนช่วยกันบำรุงรักษาวัดและพุทธสถานให้คงอยู่สืบไป สาระการเรียนรู้ — การธำรงรักษาพระพุทธศาสนา - การศึกษาเรียนรู้เรื่อง องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา นำไปปฏิบัติและเผยแผ่ตามโอกาส

การรวมตัวขององค์กรชาวพุทธมีวัตถุประสงค์สําคัญอย่างไร

องค์กรชาวพุทธ หมายถึง หน่วยงานที่รวมตัวกันของชาวพุทธเพื่อศึกษา เผยแผ่ และปกป้องพุทธศาสนา การปลูกจิตสำนึกในด้านการบำรุงรักษาวัดและพุทธสถาน ชาวพุทธต้องช่วยกันรักษาและใช้ประโยชน์จากวัดและพุทธสถานให้ถูกต้องในฐานะเป็นที่พึ่งของประชาชน เพราะวัดและพุทธสถานมีความสำคัญในด้านต่างๆ

เพราะเหตุใดเราจึงต้องบําเพ็ญประโยชน์และบํารุงรักษาวัด

การบำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงรักษาวัด เป็นสิ่งที่ช่วยสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนา ให้ยืนยาวต่อไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคน ความเข้าใจที่คงทน (Enduring Understanding) การบำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงรักษาวัด เป็นหน้าที่ชาวพุทธทุกคนที่พึงปฏิบัติ เพื่อรักษาและสืบทอดพระพุทธศาสนา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก