ขอบคุณหลังจบการนําเสนอ ภาษาอังกฤษ

"ขอบคุณค่ะ"

"ขอบคุณครับ"

"Thank you"

"Thank you for your attention”

หากคุณไปฟังการนำเสนอ 10 ครั้ง

9 ใน 10 ครั้ง ต้องปิดท้ายด้วยประโยคนึงใน 4 ประโยคข้างต้น

จริงอยู่ค่ะ... ว่าเรารู้สึกขอบคุณคนฟังที่ให้ความสนใจในการนำเสนอ

แต่... เรากำลังทำพลาดค่ะ

เพราะ สไลด์ปิดท้ายด้วยคำขอบคุณ กำลังทำให้เราเสียโอกาส...

มาปรับปรุงการปิด...การนำเสนอของเราให้มีประสิทธิภาพขึ้นกันดีกว่าค่ะ

More...

เมื่อมาถึงบรรทัดนี้ สิ่งหนึ่งที่คุณสามารถปรับปรุงได้ทันที คือ อย่าใช้สไลด์ปิดท้ายการนำเสนอด้วย 4 ประโยคยอดฮิตนี้ ทำไมหรอคะ? ก็เพราะ

  • เราสามารถขอบคุณด้วยคำพูดได้ ไม่จำเป็นต้องใช้สไลด์
  • สไลด์สุดท้ายมีแนวโน้มจะถูกเปิดค้างเอาไว้ ระหว่างการตอบคำถาม หรือรอผู้นำเสนอคนต่อไป ดังนั้นสไลด์สุดท้ายจึงเป็นโอกาสทองในการทิ้งท้ายให้ผู้ฟังคิดหรือเชิญชวนให้ผู้ฟัง take action นั่นเอง

สิ่งที่ควรทำในสไลด์สุดท้าย

ในสไลด์สุดท้ายสิ่งที่เราควรพิจารณาใส่ไว้แทนคำขอบคุณ คือ

  • ประโยคสรุปสิ่งที่เรานำเสนอ หากผู้นำเสนอจะจำอะไรไม่ได้เลย ประโยคเดียวที่เราอยากให้เขาเอาไปเล่าให้คนอื่นฟังต่อได้ คือ อะไร เมื่อคิดได้แล้ว ให้ใส่ประโยคนั้นลงในสไลด์สุดท้ายค่ะ
  • สิ่งที่เราอยากให้ผู้ฟังทำ ในการนำเสนอที่เราต้องการให้ผู้ฟังทำอะไรบางอย่าง ในสไลด์สุดท้ายเป็นโอกาสที่ดีที่จะเชิญชวนผู้ฟังให้ลงมือทำ เช่น มาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ เพื่อช่วยกันลดต้นทุนในโรงงานของคุณ เป็นต้น
  • คำคมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่เราพูด บางครั้งเราอาจไม่ได้มีการเชิญชวนให้ผู้ฟังทำอะไรเป็นพิเศษ แต่อาจเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไรบางอย่าง คำคมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่เราพูดก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่น่าสนใจค่ะ
  • คำถามฉุกคิด การตั้งคำถามให้กับผู้ฟังเพื่อให้เขาได้คิด เป็นอีกรูปแบบนึงของสไลด์ปิดท้ายที่ได้ผลดีทีเดียว เช่น ในการพูดเรื่อง circular economy กับเหล่าวิศวกร เราอาจปิดท้ายถามผู้ฟังว่าแล้ว What can you do as an engieer? (แล้วในฐานะวิศวกร คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง)
  • ข้อมูลสำหรับการติดต่อ บางครั้งเราอยากให้ผู้ฟังสามารถจดหรือถ่ายรูปข้อมูลสำหรับการติดต่อเรา การใส่ข้อมูลสำหรับการติดต่อไว้เป็นสไลด์สุดท้ายก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่ดี (อาจเพิ่มข้อสรุปหรือคำคมตบท้ายสั้นๆ ไว้ในหน้าเดียวกันเลยก็ได้)

หรือเราอาจมีสไลด์ปิดท้ายแบบอื่นๆ ที่เหมาะกับบริบทของการนำเสนอของเรามากกว่านี้ก็ได้ ขอเพียงแค่ไม่ใช่สไลด์ขอบคุณก็พอค่ะ

คำถามชวนคิด

ในการนำเสนอครั้งที่แล้ว สไลด์ปิดท้ายของคุณเป็นอย่างไร?

และในการนำเสนอครั้งหน้า สไลด์ปิดท้ายของคุณควรเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดผลต่อผู้ฟังมากที่สุด?

Post Views: 31,832

Ing

วิศวกรสิ่งแวดล้อมที่หันมาทำงานบริหารโครงการ แต่สนใจเรื่องการนำเสนอมาก
จนอยากจะแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดหลายปี (ไม่กล้าบอกปี เดี๋ยวรู้อายุ) ให้กับผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

เคยมั้ย ? กลัวมาก ว่าหลัง Present งานเสร็จ ก็ต้องมีคำถามที่ตอบไม่ได้ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี?

We all have been there. แอดมินก็เคยผ่านสถานการณ์แบบนี้ มาเช่นเดียวกันค่ะ

ดังนั้น เตรียมบันทึกบทความนี้ไว้ได้เลยค่ะ เพราะนี่คือ…

  1. Acknowledge the question กล่าวรับคำถามมาก่อน

อาจจะใช้ประโยคนี้ เป็นการดีเลย์ ให้เรามีเวลาคิดประโยคถัดไปนิดนึง

อาจจะเป็นคำถามที่เราตอบได้ แต่ขอเวลาคิดนิดนึง

หรือจะเป็นคำถามที่เราตอบไม่ได้เลย ก็ใช้ได้เช่นเดียวกันค่ะ

ตัวอย่างประโยค

  • That’s a good question.
  • That’s a great question.
  • That’s an insightful question.

(เป็นคำถามที่ดี /ชาญฉลาด)

That’s an __(adjective)__ question.

หรือจะลองเลือกใช้ Adjective อื่น ๆ ที่มีความหมายเชิงบวก มาวางหน้าคำว่า “question” ในประโยคข้างต้น

เพื่อสื่อความหมายว่า “คำถามนี้ เป็นคำถามที่ดีนะ” ก็ได้เช่นเดียวกันค่ะ

  • Thank you for bringing this/that up.

(ขอบคุณที่พูดเรื่องนี้/นั้น

หรือขอบคุณที่ยกประเด็นนี้/นั้นขึ้นมาพูด)

  • Thank you for the question.

(ขอบคุณสำหรับคำถาม)

  • Thank you for a very interesting point.

(ขอบคุณสำหรับประเด็นที่น่าสนใจ)

  • I appreciate your concern with …

(ฉันซาบซึ้งใจ/ดีใจที่คุณสนใจเรื่อง … [เรื่องที่ผู้ถามสนใจ])

  1. Admit ยอมรับไปเลย ว่าไม่รู้

คือการที่บอกกับผู้ถามไปเลยว่า เราไม่รู้เกี่ยวกับประเด็นนี้ หรืออาจจะรู้ไม่มาก รู้ไม่ลึกพอ

อาจจะดีกว่าที่เรายิ่งดึงดันตอบสิ่งที่ไม่ถูกต้องไป  และเราก็ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่องด้วย

แต่เราจะทำบางอย่างให้ผู้ซักถาม สามารถได้คำตอบตามที่ต้องการ

เช่น เราจะไปทำการบ้านเพิ่มให้ จะไปหาคำตอบให้ หรือจะไปถามคนที่เกี่ยวข้องให้ เป็นต้น

ตัวอย่างประโยค

  • That’s a great question. I’m afraid I don’t have the exact information right now, but let me find out and get back to you.

(เป็นคำถามที่ดีมากเลย ฉันเกรงว่าจะไม่มีข้อมูลที่ละเอียด และแน่ชัดตอนนี้ แต่ฉันจะไปหาข้อมูลและติดต่อกลับหาคุณ)

  • You brought up a very interesting point. As far as I know, what we have done about [the topic] is. But to answer your question more accurately, I will think it over/find the answer for you.

(คุณพูดถึงประเด็นที่น่าสนใจมาก เท่าที่ฉันรู้ สิ่งที่เราได้ทำไปเกี่ยวกับ..[เรื่องนี้].. คือ …. แต่เพื่อจะตอบคำถามคุณได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ฉันจะกลับไปคิดต่อ/หาคำตอบให้คุณ)

  • I appreciate your concern with [this topic]. To be perfectly honest, I don’t have a detailed answer at the moment. But what I will do is I will find out more and get back to you.

(ฉันดีใจที่คุณให้ความสนใจเรื่อง… ถ้าพูดตรง ๆ เลย ฉันยังไม่มีคำตอบโดยละเอียด ณ ตอนนี้ แต่สิ่งที่ฉันจะทำคือฉันจะหาข้อมูลเพิ่ม และติดต่อกลับหาคุณ)

  • That’s interesting, I’m afraid I only have half knowledge about it, but I will be happy to search for more information and get back to you.

(เป็นเรื่องที่น่าสนใจเลย ฉันเกรงว่าจะมีความรู้ไม่ครบถ้วน หรือมากพอในเรื่องนี้ แต่ฉันยินดีที่จะค้นคว้าเพิ่มเติม และติคต่อกลับหาคุณ)

  1. Pass on ส่งต่อคำถาม

บอกกับผู้ถามว่า มีคนอื่นที่สามารถตอบคำถามนี้ได้ดีกว่าเรา

แทนที่จะบอกว่า “I can not answer this” (ฉันไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้)

ก็สามารถบอกในความหมายว่า  “I’m not the best person to answer this” (ฉันไม่ใช่คนที่ดีที่สุดที่จะตอบคำถามนี้)

ตัวอย่างประโยค

  • Thank you for the question. I don’t have the exact information now but I can ask John for the details.

(ขอบคุณสำหรับคำถามค่ะ/ครับ ฉันไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดตอนนี้ แต่ฉันสามารถขอรายละเอียดจาก จอห์น ให้ได้)

  • That’s a great question. I’m afraid that’s not my field/specialty/under my supervision, but I’m sure John will be able to answer you.

(เป็นคำถามที่ดีเลย ฉันเกรงว่ามันจะไม่ได้อยู่ในสายงาน/ความเชี่ยวชาญ/ ภายใต้การดูแลของฉัน แต่ฉันมั่นใจว่า จอห์น จะสามารถตอบคุณได้)

  • Unfortunately, I wasn’t involved in that particular project. So, I might not be the best person to answer this, perhaps John can help you with this.

(น่าเสียดาย/โชคไม่ดีที่ ฉันไม่ได้มีส่วนในโปรเจ็คนี้ ฉันเลยไม่นำจะเป็นคนที่ตอบเรื่องนี้ได้ดีที่สุด แต่ จอห์น น่าจะสามารถช่วยคุณในเรื่องนี้ได้)

  1. Ask back ถามกลับ

หากเราไม่เข้าใจคำถาม หรือมีบางคำ/ บางประโยคที่ไม่ชัดเจน ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า

อยากให้ผู้ถามอธิบายเพิ่มเติม ก็สามารถถามผู้ถามกลับไปด้วยประโยคดังต่อไปนี้ได้ค่ะ

  • Could you please clarify what you mean by ____?

(คุณช่วยอธิบายเพิ่มว่า _____ หมายความว่าอะไร/อย่างไร ได้มั้ยคะ/ครับ?)

  • Allow me to repeat your question to make sure I understand everything correctly. You mean _____

(ขอให้ฉันย้ำคำถามคุณอีกรอบให้มั่นใจว่า ฉันเข้าใจทุกอย่างถูกต้องนะคะ/ครับ คุณหมายถึง ____)

  • Let me just check if I understand you correctly, you are asking ____

(ฉันขอเช็คว่าฉันเข้าใจคุณถูกมั้ยนะคะ/ครับ คุณถามว่า _____)

ลองนำไปปรับใช้ในการ Present งานเป็นภาษาอังกฤษในรอบถัดไปดูนะคะ

แอดมินเข้าใจปัญหา และข้อกังวลของคนที่ต้องพูดภาษาอังกฤษในที่สาธารณะ

ฝรั่งอั่งม้อขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจในการพัฒนาทักษะภาษาของทุกท่านค่า

All the best & happy learning, คะน้า 😀

————————————-

ยังไม่สะใจ?! ขอเรียนต่อแบบลงลึก??

พัฒนาทักษะการพูด Public Speaking & Presentation in English ให้โดดเด่น ดึงดูด และโดนใจผู้ฟัง แบบโปร !!

ด้วยคอร์สออนไลน์ Speak Brilliantly – Excel At Public Speaking in English

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่า 👇😍

SPEAK BRILLIANTLY – Excel at Public Speaking & Presentation in English

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก