กาก ถั่วเหลือง ทำ อาหารปลา

สัตว์แต่ละชนิดมีความต้องการกินอาหารเพื่อนำพลังงานมาใช้ในการดำรงชีวิตและเพื่อการเจริญเติบโตตามวัยที่ต่างกัน  ดังนั้นวัตถุดิบที่ใช้ในการผสมอาหาร ตัวอย่างเช่น ปลาป่น กากถั่วเหลือง รำข้าว ปลายข้าว กากถั่วเหลืองหมัก อาหารเสริม เช่น โปรไบโอติก หรือ อาหารสำเร็จรูป นั้นก็ต้องมีคุณภาพดี สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ และยังต้องมีวิธีการจัดการให้อาหารอย่างมีประสิทธิภาพสัมพันธ์กับปริมาณที่พอเหมาะกับความต้องการของสัตว์ชนิดนั้นๆ ด้วย

กากถั่วเหลืองหมักเป็นวัตถุดิบที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ทดแทนโปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้นได้ ซึ่งผลิตจากการนำกากถั่วเหลืองชนิดกะเทาะเปลือก (Dehulled Soybean Meal) ที่ผ่านการสกัดน้ำมันแล้วมาหมักด้วยจุลินทรีย์  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการย่อยโครงสร้างโปรตีนในกากถั่วเหลืองให้อยู่ในรูปของเปปไทด์สายสั้น หรืออยู่ในรูปของกรดอะมิโนอิสระมากขึ้น สัตว์จึงย่อยและดูดซึมโปรตีนได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ซึ่งจุลินทรีย์ที่นำมาใช้หมักนั้นได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติในการผลิตเอนไซม์โปรติเอส เช่น Bacillus spp., Aspergillus spp. เป็นต้น

กากถั่วเหลืองหมักเป็นวัตถุดิบที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ทดแทนโปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้นได้ ซึ่งผลิตจากการนำกากถั่วเหลืองชนิดกะเทาะเปลือก (Dehulled Soybean Meal) ที่ผ่านการสกัดน้ำมันแล้วมาหมักด้วยจุลินทรีย์  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการย่อยโครงสร้างโปรตีนในกากถั่วเหลืองให้อยู่ในรูปของเปปไทด์สายสั้น หรืออยู่ในรูปของกรดอะมิโนอิสระมากขึ้น สัตว์จึงย่อยและดูดซึมโปรตีนได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ซึ่งจุลินทรีย์ที่นำมาใช้หมักนั้นได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติในการผลิตเอนไซม์โปรติเอส เช่น Bacillus spp., Aspergillus spp. เป็นต้น

การนำกากถั่วเหลืองดิบมาเป็นวัตถุดิบแหล่งโปรตีนผสมในอาหารสัตว์นั้นก็ทำได้เพราะเป็นแหล่งของโปรตีน ที่ดี แต่การใช้กากถั่วเหลืองดิบจะส่งผลเสียต่อสัตว์เนื่องจากกากถั่วเหลืองดิบมีสารต้านโภชนะ เช่น Trypsin inhibitor, Hemaglutin, Lectin และ B-conglycinin โดยรวมสารดังกล่าวมีผลต่ออัตราการให้ผลผลิตลดลง มีผลทำให้การย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันลดลง (Herkelma et al., 1992)

 ปัจจุบันกากถั่วเหลืองส่วนใหญ่ได้มาจากการสกัดน้ำมันถั่วเหลืองซึ่งในกระบวนการผลิตกากถั่วเหลืองจะผ่านความร้อนทำให้สารต้านโภชนะบางส่วนถูกทำลายไป อย่างไรก็ตามในกากถั่วเหลืองก็ยังมีส่วนที่เป็นสารประกอบอินทรีย์บางชนิดที่ความร้อนไม่สามารถทำลายได้ ซึ่งสารดังกล่าวสัตว์จะไม่สามารถย่อยและนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น Non-starch poly saccharides (NSP) ที่มักอยู่ในรูปของ Galacto-Oligosaccharide (Stachyose และ Raffinose) และ Phytin จากข้อจำกัดในการใช้ดังกล่าว

ปัจจุบันจึงได้มีการนำกากถั่วเหลืองมาหมักและพัฒนาคุณภาพโปรตีนให้ใกล้เคียงกับปลาป่นด้วยการนำเอนไซม์จากจุลินทรีย์ในกลุ่มบาซิลลัสมาใช้ในกระบวนการหมัก จึงทำให้การย่อยโปรตีนได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถทำลายสารต้านโภชนะในกลุ่มโปรตีน เช่น Trypsin inhibitor, B-conglycinin, Lectin ได้ นอกจากนี้ยังเป็นโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลง (Small peptide) หรือเป็นเปปไทด์สายสั้น มีคุณสมบัติย่อยง่ายและเป็นโปรไบโอติก จึงทำให้สัตว์สามารถดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น มีค่าการละลายน้ำสูงและยังเข้าไปช่วยปรับสมดุลในระบบทางเดินอาหารทำให้จำนวนของจุลินทรีย์ดีมีมากกว่าจำนวนจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ดังนั้นจุลินทรีย์ก่อโรคจึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้

ทำไมต้องใช้กากถั่วเหลืองหมักเป็นอาหารสัตว์

1.ใช้เป็นอาหารเสริมโปรตีนสำหรับสัตว์ทุกชนิด โดยเฉพาะในสัตว์วัยอ่อน

2.การใช้ประโยชน์ของโปรตีนในกากถั่วเหลืองดีขึ้น เนื่องจากโปรตีนถูกหมักย่อยให้อยู่ในรูปเปปไทด์สายสั้น และกรดอะมิโนอิสระ

3.มีสารต้านโภชนะอยู่ต่ำ ทำให้ไม่เกิดการรบกวนต่อทางเดินอาหารของสัตว์วัยอ่อน สัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากโภชนะได้เต็มที่

4.สามารถใช้ทดแทนแหล่งโปรตีนอื่นที่มีราคาแพงอย่างเช่นโปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้น หรือใช้ทดแทนแหล่งโปรตีนจากสัตว์

5.สุขภาพของสัตว์ดีขึ้นเนื่องจากไม่มีความเสี่ยงจากสารยับยั้งการเจริญเติบโต, สารพิษจากเชื้อรา และน้ำตาลที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้

6.กากถั่วเหลืองหมักมีกลิ่นหอมชวนกิน ซึ่งกระตุ้นการกินอาหารของสัตว์ได้

7.จุลินทรีย์ที่ใช้จัดอยู่ในกลุ่มโปรไบโอติคที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของสัตว์ ช่วยในการปรับสมดุลย์ในระบบทางเดินอาหาร ควบคุมจุลินทรย์ก่อโรค ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะได้ในระยะยาวหากใช้ต่อเนื่อง

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนจากถั่วเหลือง โดยการนำกากถั่วเหลืองมาพัฒนาคุณภาพโปรตีนให้ใกล้เคียงกับปลาป่น โดยนำเอนไซม์จากจุลินทรีย์ในกลุ่มบาซิลัสมาใช้ในกระบวนการหมักกับวัตถุดิบซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของ สยาม อะกริ ซัพพลาย จึงมีความเข้มข้นเทียบเท่าเปปไทด์โปรไบโอติก

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนนี้มีคุณสมบัติย่อยง่าย เนื่องจากเป็นเปปไทด์สายสั้น (Small peptide) และมีโปรไบโอติกที่เข้าไปช่วยสร้างสมดุลในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ ผลิตภัณฑ์นี้สามารถนำไปใช้ทดแทนวัตถุดิบในกลุ่มปลาป่นได้เป็นอย่างดี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก