ที่มา รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ ปราบ น นท ก

มีหลายเรื่องได้แก่ บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ดาหลัง อุณรุธ กลอนนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง กฎหมายตราสามดวง ไตรภูมิโลกวินิจฉัย
สวรรคต  : พุทธศักราช ๒๓๕๒ พระชนมพรรษา ๗๓ พรรษา เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ ๒๗ พรรษา

ลักษณะคำประพันธ์ : เป็นกลอนบทละคร

        จุดประสงค์ในการแต่ง 
                ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเหตุผลหลายประการ คือ
      ๑.ใช้เป็นบทละครใน
      ๒.ทรงเกรงว่าจะสูญหายไป

      ๓. เพื่อให้มีเรื่องรามเกียรติ์ฉบับสมบูรณ์

5.   ๔. เพื่อแสดงให้เห็นว่า ธรรมะย่อมชนะอธรรม

6.   ๕. เพื่อให้มีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อบิดามารดา 

7.   ๖.เพื่อให้เห็นตัวอย่างของความไม่เที่ยงแท้ของสิ่งต่างๆในโลก


ลักษณะคำประพันธ์

แต่งด้วยกลอนบทละคร

                กลอนบทละคร เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการเล่นละคร ต้องอาศัยทำนองขับร้องและเครื่องดนตรีประกอบ แต่งเสร็จต้องนำไปซักซ้อมปรับปรุง ดังนั้น จำนวนคำของแต่ละวรรคจึงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจังหวะขับร้องเป็นสำคัญ ว่าโดยหลักมีแต่ คำ ถึง คำ แต่ที่ปรากฏว่าใช้มากสุด คือ คำ เช่นเรื่องรามเกียรติ์ เฉพาะวรรคแรกขึ้นต้น ใช้ คำ ถึง - คำ บางคราวก็ส่งสัมผัสไปยังวรรคที่ บางคราวก็ไม่ส่ง คำที่ใช้เช่น เมื่อนั้นบัดนี้น้องเอ๋ยน้องรัก

                                                                                                                                             

         แม้กลอนสดับ จะใช้คำพูดเพียงสองคำ ก็ถือถือว่าเต็มวรรค โดยลักษณะสัมผัสในวรรคและนอกวรรค นิยมใช้แบบกลอนสุภาพ แต่งเป็นตอน พอจบตอนหนึ่ง ขึ้นตอนต่อไปใหม่ ไม่ต้องรับสัมผัสไปถึงตอนที่จบ เพราะอาจเปลี่ยนทำนองตามบทบาทตัวละคร ที่ขึ้นต้นว่า เมื่อนั้น ใช้สำหรับพระเอกหรือผู้นำในเรื่อง บัดนั้น ใช้สำหรับเสนา กลอนนี้เป็นกลอนผสม คือ กลอน กลอน กลอน หรือ กลอน ผสมกันตามจังหวะ  มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้



1


    รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีของไทยที่สำคัญเรื่องหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เนื้อเรื่องและสำนวนกลอนในเรื่อง รามเกียรติ์ มีความไพเราะ มีคติสอนและแง่คิดในด้านต่าง  อยู่เป็นอันมาก สอดแทรกเอาไว้ตลอดทั้งเรื่อง ตามหลักนิยมของอินเดียในเนื้อเรื่อง และหลักนิยมของไทยในสำนวนกลอน  บทละครเรื่องรามเกียรติ์ได้วาดเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้ที่ศาลารายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้วนิยมนำมาแสดงเป็นโขน เขียนขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าฯ จำนวน ๑๗๘ ห้อง เขียนโดยจิตรกรที่มีฝีมือยอดเยี่ยมของไทย เป็นภาพวิจิตรงดงาม ทรงคุณค่าทางศิลปกรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยมีการ ซ่อมแซมหลายครั้งเมื่อปี .. ๒๓๗๕, .. ๒๔๒๕, .. ๒๔๗๕ และครั้งล่าสุดเมื่อปี .. ๒๕๒๕ นอกจากเนื้อเรื่อง รามเกียรติ์ แท้ ๆจากห้อง ๑ ถึงห้อง

ที่๑๗๘ ยังมีเรื่องการอวตารของพระนารายณ์ในปางก่อน  อันเป็นที่มาของเรื่อง รามเกียรติ์ อีกหลายปางคือนรสิงหาวตาร ซึ่งเป็นปางที่สี่ วราหาวคาร ซึ่งเป็นปางที่ก่อให้เกิดวงศ์พระนารายณ์ขึ้น ที่โลกมนุษย์คือ ท้าวอโนมาตัน โอรสพระนารายณ์ ที่เกิดจาก องค์พระนารายณ์เอง ให้ครองกรุงศรีอยุธยาที่ พระอิศวร โปรดให้ พระอินทร์ ลงมาสร้างให้หลานปู่ของ ท้าวอโนมาตัน คือ ท้าวทศรถ ผู้เป็นพระราชบิดาของ พระราม  





อนิเมชั่น รามเกียรติ์ ตอน พระนาราณย์ปราบนนกทก
ขอขอบคุณวีดีโอดีๆจากช่อง Chinnawat Prayoonrat


ส่วนตอนพระนารายณ์ปราบนนทก เรื่องย่อมีดังนี้ค่ะ

         นนทกเป็นยักษ์ที่อยู่บนสวรรค์นั่งประจำอยู่ที่เชิงเขาไกรลาศ มีหน้าที่ล้างเท้าให้กับเหล่าเทวดาที่จะเข้าเฝ้าพระอิศวร เหล่าเทวดาต่างพอใจที่นนทกรับใช้พวกตนเป็นอย่างดี แต่บางครั้งก็นึกสนุก เมื่อยื่น

เท้าให้ล้างแล้วก็แหย่เย้าเดี๋ยวถอนผมบ้าง เดี๋ยวถีบบ้าง นนทกแค้นใจ แต่จะหาทางตอบโต้ก็ไม่ได้เพราะไม่มีกำลังหรืออำนาจ จึงไปเฝ้าพระอิศวรแล้วทูลว่าตนทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบมาช้านานแล้วแต่ยังไม่ได้ของสิ่งใดเป็นรางวัลเลย วันนี้จะมาทูลขอให้นิ้วเป็นเพชรมีฤทธิ์สามารถลงโทษผู้ที่มารังแกตนได้ 

นนทกจึงมีนิ้วเพชรที่สามารถที่สั่งชี้สังหารใครๆได้ที่เข้ามารังแกตน




รูปตอนที่นนทกถูกแกล้งจากเหล่าเทวดา

ไม่อนุญาตให้นำภาพจากบล็อกนี้มาใช้เชิงพาณิชย์และห้ามบันทึกเด็ดขาด


       ไม่ทันนาน นนทกก็มีใจกำเริบไม่ยับยั้งชั่งใจและไม่ใคร่ครวญว่าจะใช้นิ้วเพชรนั้นอย่างไร เพียงแต่ถูกล้อเล่นเหมือนทุกวัน นนทกทกโกรธขึ้นมาทันที เทวดาที่มาแกล้ง นนทกก็สังหารเทวดานั้นเสียมากมาย พระอินทร์จึงไปทูลฟ้องพระอิศวร พระอิศวรทรงเห็นว่านนทกได้รางวัลความดีความชอบไปแล้วแต่ กลับทรยศกบถใจทำการหยาบใหญ่ถึงเพียงนี้สมควรจะต้องถูกลงโทษ
 ผู้ที่พระอิศวรขอให้ไปลงโทษนนทกคือพระนารายณ์ พระนารายณ์อยากจะให้นนทกรู้ฤทธิ์ของอำนาจที่นนทกเที่ยวใช้ระรานผู้อื่นจึงลวงให้นนทกร่ายรำตามท่าต่างๆจนถึงท่าที่ชี้นิ้วลงขาตัวเอง “นิ้วอำนาจจึงวกกลับมาทำร้ายตัวนนทกเองพอที่จะทำให้นนทกได้รู้สึกตัวเสียก่อนแล้วพระนารายณ์จึงสังหารนนทกเสียในที่สุด 



  
พระนารายณ์แปลงเป็นนางฟ้ามายั่วยวน นนทกนักรักจึงเกี้ยวนาง นางแปลงจึงชวนให้นนทกรำตามนางก่อนจึงจะรับรัก นนทกตกลงรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้งเพชรชี้เข่าตนเอง นนทกล้มลง ก่อนตายนนทกเห็นนางแปลงปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์ จึงต่อว่าพระนารายณ์มีอำนาจ มีถึง  กร เหตุใดจึงต้องทำอุบายมาหลอกลวงตน พระนารายณ์จึงให้นนทกไปเกิดใหม่ให้มีถึง ๒๐ มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง  มือลงไปสู้ด้วย นนทกจึงไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ก็อวตารลงมาเป็นพระราม



                           

                             
                                     เพลงประกอบรายเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนกทก
                                              ขอบคุณวิดีโอดีๆจากช่อง Blaxtae3012


แนวคิด

อำนาจเมื่ออยู่กับผู้ที่ไม่รู้จักใช้ย่อมเป็นโทษ

คุณค่างานประพันธ์

          ๑.คุณค่าด้านวรรณศิลป์

การดำเนินเรื่องรวดเร็ว กระชับ ใช้คำชมความงามของนางแปลงได้อย่างเห็นภาพพจน์ เหมาะสำหรับการนำไปแสดงโดยมีการขับร้องและใช้ดนตรีประกอบ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก