ส่ง เมล สมัคร งาน หลาย ตำแหน่ง

ในยุคที่ทุกอย่างอยู่บนโลกออนไลน์ การสมัครงานไม่ต้องถึงขั้นเดินเข้า – ออกทีละบริษัท แต่ทุกคนสามารถเขียนอีเมลสมัครงานเพื่อส่งไปยังฝ่ายบุคคลหรือ HR ของบริษัทต่าง ๆ เพื่อพิจารณาและเรียกตัวไปสัมภาษณ์งานในลำดับต่อไป ซึ่งการเขียนอีเมลเพื่อสมัครงานก็มีสิ่งที่ควรรู้เพื่อนำไปใช้แล้วมีโอกาสเข้าทำงานได้ตามที่ตนเองคาดหวังไว้ มาพร้อมกับตัวอย่างที่ปรับตามความเหมาะสมกันเลย

3 วิธีเขียนอีเมลสมัครงาน ให้ออกมาโดนใจ HR

1. ข้อมูลของอีเมลต้องครบถ้วน ชัดเจน

เริ่มต้นด้วยข้อมูลต่าง ๆ ของอีเมลต้องมีความชัดเจน ไล่ตั้งแต่ชื่อของอีเมลปลายทาง (ฝ่าย HR), หัวข้อเรื่องที่ส่งถึง ซึ่งควรระบุจุดประสงค์คือ การสมัครงาน พร้อมตำแหน่งที่ต้องการ ในส่วนของอีเมลผู้สมัครมีเทคนิคเพิ่มเติมเล็กน้อยที่จะช่วยให้คุณมีภาพลักษณ์ที่ดีคือ ควรใช้อีเมลทางการที่เป็นชื่อ – สกุลหรือเนื้อหาที่เหมาะสม

2. เขียนเนื้อหาในการสมัครงานให้โดนใจ

ในการเขียนอีเมลสมัครงานจุดนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะถ้าเนื้อหาออกมาไม่ดี HR อ่านแล้วก็ไม่อยากทำความรู้จัก ไม่อยากพูดคุยต่อ ดังนั้นจึงมีตัวอย่างที่จะแนะนำให้ลองทำตาม ดังนี้

2.1 คำทักทาย – เขียนให้เป็นทางการมากที่สุด ต้องขึ้นด้วยคำว่า “เรียน” แล้วต่อด้วยชื่อของผู้รับสมัคร (กรณีมีระบุไว้ในเอกสารรับสมัครงาน) หรือถ้าไม่มีชื่ออาจระบุเป็น “ฝ่ายทรัพยากรบุคคล” แล้วตามด้วยชื่อบริษัทก็ได้

2.2 จุดประสงค์สมัครงาน – ให้แนะนำตนเองเบื้องต้น ชื่อ นาย, นางสาว สนใจที่จะสมัครงานในตำแหน่งใด อธิบายถึงประสบการณ์การเรียน, การทำงานคร่าว ๆ ที่คิดว่าดึงดูดให้ HR อยากทำความรู้จักคุณต่อ

2.3 ระบุถึงการแนบ Resume ไว้ด้วย – อีกสิ่งของการเขียนอีเมลสมัครงานที่ควรรู้คือ ต้องระบุให้ HR ทราบว่าคุณมีการแนบ Resume ของตนเองมาไว้กับไฟล์แนบของอีเมลนี้ด้วย รวมถึงกรณีมี Portfolio หรือเอกสารอื่น ๆ ต้องระบุให้ครบถ้วน

2.4 คำลงท้าย – ไม่แนะนำให้ใช้คำว่า “ขอบคุณ” แต่ควรเป็น “ขอแสดงความนับถือ” จากนั้นลงท้ายชื่อ – สกุล ช่องทางการติดต่อ เช่น เบอร์โทร, อีเมล

3. ตรวจสอบตัวสะกดให้ถูกต้อง และเนื้อหาโดยรวมอีกครั้ง

ข้อสุดท้ายในการเขียนอีเมลสมัครงานต้องไม่ลืมตรวจทานในเรื่องตัวสะกด เพราะถือเป็นความรับผิดชอบที่แสดงถึงการใส่ใจในรายละเอียดต่าง ๆ และดูเนื้อหาโดยรวมอีกครั้งว่าเขียนออกมาได้ดีแล้ว จึงค่อยกดส่งไปให้กับทาง HR พิจารณา

ตัวอย่างการเขียนอีเมลสมัครงาน 

ข้อควรระวัง 

  • ห้ามใช้ชื่ออีเมลเแปลกๆ เช่น [email protected]
  • อย่าลืมเปลี่ยนรูปโปรไฟล์อีเมล ควรใช้รูปที่เป็นทางการ
  • อย่าลืมเปลี่ยนชื่อไฟล์เอกสาร

นี่คือวิธีเขียนอีเมลสมัครงานที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้จริง ปรับให้เหมาะกับตำแหน่งงานของตนเองก็เรียบร้อย การเขียนอีเมล์ที่ดีก็แสดงออกถึงความตั้งใจ และอยากเข้าทำงานกับบริษัทนั้นจริง โอกาสที่ฝ่าย HR จะเรียกมาสัมภาษณ์งานก็ไม่ไกลเกินเอื้อม

อ่านทริคการหางาน ที่จะช่วยให้การหางานง่ายมากยิ่งขึ้น 

  • ทริคเด็ด! เคล็ดไม่ลับ กรอกโปรไฟล์สมัครงาน ยังไงให้ดูโปร
  • 4 How to การติดตามผลสัมภาษณ์ เพื่อตามติดพิชิตงานในฝัน! 
  • รวมคำถาม สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ พร้อมคำแปล ได้ใช่แน่ๆ ฟันธง
  • คาถาสมัครงาน คาถาสัมภาษณ์งาน มูยังไงให้ได้งาน!

สำหรับใครหลายคนโดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่กำลังมองหางานประจำ ส่งอีเมลสมัครงานไปกี่ครั้งเค้าก็เรียกสัมภาษณ์ทุกครั้ง ถ้าคุณเกิดเบื่อความสำเร็จในลักษณะนี้ ลองมาดู 10 วิธีการส่งอีเมลสมัครงานอย่างไรให้ “ไม่ได้งาน” กันบ้าง

ในครั้งนี้ทีมงานได้ไปลงพื้นที่พูดคุยกับหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่มีประสบการณ์ทำงานมากว่า 100 ปี รวมไปถึงผ่านการอ่านอีเมลสมัครงานมาแล้วนานกว่า 200 ปี เดี๋ยวเราจะพาทุกท่านไปดูกันว่าการส่งอีเมลสมัครงานแบบไหนที่ไม่ดี

1. ส่งอีเมลผิดบริษัท/ผิดคน

การส่งอีเมลสมัครงานผิดบริษัท โดยเขียนเนื้อหาอีเมลถึงบริษัทหนึ่ง แต่ไปใส่ชื่ออีเมลของอีกบริษัท แสดงถึงความสะเพร่าขั้นรุนแรงจนทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลแทบจะไม่รับพิจารณาคุณเข้ามาเลย

ข้อนี้จะยิ่งได้ผลมาก ถ้าหากคุณส่งอีเมลไปหาบริษัทคู่แข่ง นั่นจะทำให้เขาเข้าใจว่าคุณตั้งใจจะส่งใบสมัครไปหาทั้งสองบริษัท บริษัทไหนให้ข้อเสนอดีก็เอาอันนั้น รับรองว่านอกจากเขาจะไม่รับเราแล้ว เราจะถูกเข้าไปใน Black List อีกด้วย

2. Attach File ให้ผู้รับไม่อยากโหลด

การแนบไฟล์ก็เป็นเรื่องสำคัญนะครับ โดยปกติแล้วเราควรตั้งชื่อไฟล์ให้ชัดเจน เปิดผ่านโทรศัพท์ได้สะดวก รวมไปถึงไม่ควร Compress หรือบีบอัดไฟล์ให้เป็น .zip หรือ .rar และขนาดไฟล์ต้องกระทัดรัด ถ้าจำเป็นต้องแนบไฟล์ใหญ่จริงๆ ให้ใช้บริการที่เป็นมาตรฐานอย่าง wetransfer, Google Drive เป็นต้น

ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำเพื่อไม่ให้เค้ารับเข้าทำงานคือต้องตั้งชื่อไฟล์ประหลาดๆ หรือชื่อไฟล์ที่ไม่สื่อถึงเนื้อหาของไฟล์ อย่าลืม Compress ไฟล์ด้วยนามสกุลที่เปิดยากๆ หน่อย และลองทำให้ไฟล์ใหญ่มากๆ ถ้าจะให้ดีก็แนบหนังเผื่อไปสักเรื่อง

3. ใช้ชื่ออีเมลประหลาดๆ ไปเลย

การสร้างอีเมลด้วยชื่อและนามสกุลของเจ้าของดูจะเป็นเรื่องธรรมดาและออกจะดูเป็นทางการเกินไป การตั้งชื่ออีเมลสำหรับสมัครงานไม่ได้งานนั้นควรจะเป็นอีเมลเกรียนๆ ดูแล้วเหมือนเด็กๆ เอาไว้สมัครเกมออนไลน์ เช่น หรือ อะไรอย่างนี้เป็นต้น ชื่อเหล่านี้จะแสดงถึงความไม่ใส่ใจและไม่เป็นมืออาชีพ คุณจะถูกปรับตกอย่างแน่นอน

4. อย่าลืมสะกดคำให้ผิดบ้าง

การเขียนเนื้อหาสมัครงานโดยทั่วไปต้องมีความรอบคอบละเอียด ต้องตรวจคำผิดหลายครั้งก่อนกดส่ง แต่การสมัครงานของเราควรยกระดับไปอีกขั้น คือ การใส่คำสะกดผิดลงไปด้วย ยิ่ง คะ/ค่ะ ห้ามพิมพ์ถูกเด็ดขาด และถ้าจะให้ดีก็ใช้ภาษาสก๊อยไปเลย รับรองว่านอกจากจะไม่ได้งานแล้ว ฝ่ายบุคคลจะอารมณ์เสียไปทั้งวัน

5. เนื้อหาอีเมลใช้คำเหมือนคุยกับเพื่อน

การสมัครงานโดยทั่วไปไม่ว่าจะตำแหน่งอะไร หรือเขียนถึงใคร เนื้อหาในอีเมลจะต้องสุภาพและเป็นทางการ ประหนึ่งว่าเรากำลังคุยกับบุคคลที่อายุมากกว่าเราสิบปี การใช้เนื้อหาในอีเมลด้วยความเป็นกันเองมากเกินไปเหมือนคุยกับเพื่อน เพราะคิดว่าตัวเองน่ารักคิกขุ จึงต้องใช้ความเป็นวัยรุ่นแสดงความแตกต่าง อาจจะถูกปรับตกได้อย่างง่าย

6. ส่งอีเมลทีเดียวให้ครบทุกบริษัท

การสมัครงานแบบตรงไปตรงมาคือการค่อยๆ ส่งอีเมลถึงแต่ละบริษัทแบบ one by one ซึ่งการทำแบบนี้ทำให้ลดความผิดพลาดในการส่งไปได้แทบ 100% แต่อะไรช้าๆ แบบนั้นเราไม่ชอบ ส่งเมลรวดไปเลยให้ครบทุกบริษัทที่เราต้องการสมัครงาน ถึงแม้บางบริษัทจะเป็นคู่แข่งกันก็ตาม

ซึ่งถ้าเราทำไม่ดีบางทีก็จะทำให้เขียนชื่อบริษัทผิดบ้าง ลืมลบนู่นนี่บ้าง ความโป๊ะทั้งหลายเหล่านี้ฝ่ายบุคคลบอกว่าเจอบ่อยมาก และค่อนข้างทำให้อารมณ์บูดได้อย่างดี

7. ใช้ภาพถ่ายชิคๆ คูลๆ เห็นหน้าไม่ต้องชัด

การส่งภาพตรงชัดเจนเพื่อใช้ในการสมัครงานเป็นเรื่องปกติที่ทำให้ผู้ที่อ่านแฮปปี้ แต่ถ้าจะเอาให้สนุกต้องส่งภาพที่เห็นไม่ครบทั้งหน้า อาจจะหันซ้าย หันขวา ครอปให้ตกเฟรม หรือถ่ายรูปถอดเสื้อโชว์กล้ามก็แล้วแต่ชอบ

ถ้าอยากให้เค้าเห็นว่ามีเพื่อนเยอะก็อาจจะถ่าย Selfie กับเพื่อนสัก 20 คนก็ได้ ทำให้ฝ่ายบุคคลต้องมานั่งเดาว่าไอ้คนที่ส่งมามันอยู่ตรงไหน

8. Portfolio หรือ Resume โง่ๆ ก็พอแล้ว

การทำ Portfolio หรือ Resume ให้สวยงาม รายละเอียดครบถ้วน จัดเลย์เอาท์ดี อ่านง่าย เป็นเรื่องสำหรับคนที่ตั้งใจสมัครงานแล้วถูกเรียกสัมภาษณ์ ดังนั้นเราไม่ต้องแนบอะไรที่มันดูดีไปหรอก เอาแค่ภาพถ่ายง่ายๆ เขียนอธิบายสองบรรทัดก็พอแล้ว

9. ตั้ง Subject ประหลาดๆ แค่เห็นก็ไม่อยากคลิก

Subject หรือหัวเรื่องที่ดีคือองค์ประกอบของประโยคที่อ่านแล้วเข้าใจทันทีว่าต้องการสมัครงานที่บริษัทอะไร ในตำแหน่งไหน ซึ่งการทำอะไรแปลกๆ เพื่อเป็นการท้าทายฝ่ายบุคคลบ้างก็สนุกดี อย่างเช่นใส่ Subject ประมาณว่า “คลิกเข้าไปสิจ๊ะ จะได้รู้”, “สวัสดี รับเราสิ” อะไรประมาณนี้ การครีเอทีฟข้อความประหลาดใน Subject ทำให้เราสอบตกง่ายขึ้นแน่นอน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก